Skip to main content
 

อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

ดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อน

แม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตาม

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน

เราอาจจะไม่สามารถเหมารวมได้ทันที ว่าผู้ที่เข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย จะมีความเห็นที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เสนอไปหรือไม่  เพราะการเข้าชื่อเป็นเพียงกระบวนการขั้นแรกที่ทำให้กฎหมายได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาถกเถียงเพื่อแก้ไขต่อไป ซึ่งจะเห็นต่างหรืออยากแก้ไขอย่างไรนั้น เป็นเรื่องของ สนช. 'ที่เหลือ' ที่จะแปรญัตติ

เมื่อจำนวนเพียง 25 ชื่อ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการเปิดพื้นที่ให้กฎหมายสักฉบับเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาแต่งตั้ง แต่โดยธรรมเนียมของสภาที่ผ่านๆ มา หากเป็นกฎหมายสำคัญๆ จำนวนของรายชื่อ ก็มีนัยยะที่สื่อสารกับสังคมได้เช่นกัน ยิ่งมากก็ยิ่งเห็นดีกรีที่สภาแสดงออกถึงความจำเป็น ความเร่งด่วนในการผลักดัน แล้วก็ไม่ค่อยจะมีใครที่ลงนามในกฎหมายที่ตนไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ขาดสิทธิในการแปรญัตติ

จำนวนมากกว่า 60 รายนาม จึงมีนัยยะสำคัญที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกเอาไว้แล้ว การแก้ไข ป.อาญา มี สนช.แต่งตั้งเข้าชื่อถึง 64 รายชื่อ ส่วนป.วิอาญา มีสนช.แต่งตั้งร่วมเข้าชื่อถึง 61 รายชื่อ

สาระของการเสนอแก้ไข ประเด็นแรก คือ การเพิ่มเติมความคุ้มครอง ในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไปถึงพระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง เรื่องนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย สนช. ผู้เสนอ ให้เหตุผลของการแก้เนื้อหาไว้ว่า เพราะที่ผ่านมา "บางท่านกลายเป็นหยื่อทางการเมือง"

การแก้ไขแบบนี้ มีผู้วิพากษ์วิจารณ์หนาหู ถึงการวางให้คณะองคมนตรีอยู่ในฐานะพิเศษเหนือปุถุชนสามัญ และคณะองคมนตรีก็แสดงความไม่สบายใจ จนท้ายที่สุด นายพรเพชร ก็ตัดสินใจถอนการแก้ไขกฎหมายออกไป

การเสนอแก้ไขอีกฉบับหนึ่งนั้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14/1 ของ ป.วิอาญา ซึ่งมีสาระว่า ในระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์พระ มหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีเห็นสมควร พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือคู่ความ อาจยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้สั่งห้ามมิให้โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีไม่ว่าสื่อประเภทใด และหากศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว เห็นว่ามีเหตุอันสมควรเพื่อการคุ้มครองปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ศาลสั่งอนุญาตตามคำร้องและอาจกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามคำสั่งห้ามของศาลดังกล่าวได้

อย่างไรก็ตาม การเสนอแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ก็ถูกถอนตามไปด้วย โดยนายพรเพชรให้เหตุผลว่า เมื่อถอนก็ต้องถอนทั้งสองฉบับ เพราะมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน

มาตรา 14/1 ที่แก้ไขนั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องเสรีภาพสื่อมวลชน ซึ่งปรากฏว่า มีสื่อที่แสดงท่าทีชัดเจนต่อเรื่องนี้ ตัวอย่างหนึ่งคือ บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม 2550 หรือ 2 วันหลังการถอนการแก้กฎหมาย และอาจเพราะเป็นธรรมเนียมของ 'รูปแบบ' บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ อันเป็นพื้นที่แสดงจุดยืนของหนังสือพิมพ์นั้นๆ งานชิ้นนี้จึงไม่ระบุชื่อผู้เขียน

ขออนุญาตคัดบางส่วนที่น่าสนใจของบทบรรณาธิการชิ้นนี้...

            "เป็นที่เข้าใจได้ว่า สำนักข่าวต่างประเทศจำนวนไม่น้อย ขาดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับคนไทย อันเนื่องมาจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงการก่อกำเนิดของชาติที่ต่างกัน จึงนำเสนอข่าวสารคัดค้านในแง่มุมของตะวันตก

            น่าตระหนกที่ สาระตามมาตรา 14/1 กลับถูกสื่อมวลชนไทยจำนวนหนึ่ง และนักสิทธิมนุษยชนบางคน พยายามเคลื่อนไหวคัดค้าน กล่าวประณาม สนช.กลุ่มที่นำเสนอร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ เพราะตีความว่า มาตรานี้เป็นการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อในการนำเสนอข่าวสาร ทำให้ศาลมีอำนาจสั่งห้าม มิให้โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีไม่ว่าสื่อประเภทใด

            ในฐานะสื่อมวลชนไทยเช่นกัน จำเป็นต้องสอบถามถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพต่อการแสดงท่าทีดังกล่าวด้วยความเคารพว่า ท่านต้องการเสรีภาพ โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องในความ ผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จริงๆ น่ะหรือ

            หากเป็นเช่นนั้น ก็สมควรที่เข้าชื่อเปิดเผยตัวตนต่อประชาชน เพื่อบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ของความเป็นนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพให้ประจักษ์

            เสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารล้วนเป็นที่หมายปองของคนในวิชาชีพสื่อสารมวลชนทุกผู้คน หากแต่เสรีภาพนั้นย่อมมีขอบเขตข้อจำกัดด้วยจารีต ประเพณี หน้าที่ของพลเมืองในแต่ละสังคม

            หน้าที่ของคนไทย คือ ทำนุบำรุง ปกป้อง รักษาซึ่งสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หากเสรีภาพจะได้มาด้วยการสูญเสียซึ่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดในสามสิ่งนี้

            เราขอยืนหยัดคัดค้านอย่างสุดกำลัง"

แม้ท้ายที่สุด สนช. จะ 'หยุดชะงัก' การแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับไปแล้วก็ตาม แต่ใช่ว่าจะลบล้างเรื่องทั้งหมดได้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น และกระแสที่ตามมา ได้สะท้อนเรื่องราวหลายอย่าง และเป็นคุณประโยชน์ต่อหลายๆ แวดวงในเมืองไทย โดยเฉพาะสถาบันวิชาชีพและสถาบันการศึกษา ด้าน 'สื่อมวลชน'

ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยเสื้อเหลืองแบบนี้ ความกังวลใจของ 'เขา' ไม่ได้อยู่ที่คุ้มครองใคร แต่ตรงกันข้าม สิ่งที่ 'เขา' เกรงกลัว น่าจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินคดีหมิ่น และมูลเหตุของคดีหมิ่น

นั่นคือ การแก้ไขกฎหมายเพื่อระบุว่า ห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่น มีความสำคัญที่เป็นอันตราย ยิ่งกว่าการให้สถานะอภิสิทธิ์ชนเป็นไหนๆ

สังคมไทยมีบรรยากาศของความเงียบ ที่ปกคลุมความรู้สึกสงสัยแบบตรงไปตรงมาอันมีต่อสถาบันกษัตริย์ เรื่องนี้ไม่เป็นผลดีไม่ว่ากับฝ่ายใด แม้แต่กับชาวเสื้อเหลืองแห่งสยามประเทศ เพราะไม่เพียงแต่สถาบันอันเป็นที่รักของชาวเสื้อเหลืองจะไม่มีผู้ใดตรวจสอบได้เท่านั้น แต่ยิ่งเปิดช่องให้สถาบันอันเป็นที่รัก ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ผ่านความศรัทธาของชาวเสื้อเหลืองเอง (ไม่แน่ใจว่า บทบรรณาธิการของโพสต์ทูเดย์คิดกับเรื่องนี้อย่างไร)

 

เรื่องนี้ น่าจะเป็นคำถามท้าทาย ให้คนแวดวงสื่อ และแวดวงวิชาการสื่อสารมวลชน ว่าจะอยู่ภายใต้ฟ้าเหลืองอย่างเท่าทันได้อย่างไร

อย่างไรก็ดี ไม่เคยมีตำราทางนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์ที่สอนว่า มีเรื่องประเภทใดที่ห้ามหรือไม่ควรเอ่ยถึงในสื่อมวลชน สิ่งที่เป็นข้อห้าม จะมีก็แต่การห้ามละเมิดหรือเหยียดในสีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา กล่าวความเท็จให้ผู้อื่นเสียหาย

ตรงกันข้าม สิ่งใดยิ่งมีความสำคัญมาก ยิ่งต้องพูดถึง วิจารณ์มาก เปิดพื้นที่ให้เห็นความคิดที่หลากหลายให้มาก เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งสำคัญนั้นๆ

โดยไม่มีข้อยกเว้นสำหรับการตรวจสอบ ไม่ว่าเรื่องใด

เรื่องนี้อาจจะไม่แปลกหรือไม่มีนัยยะสำคัญ หากผู้พูดไม่ได้มาในนามของสื่อ และสิ่งที่เกิดขึ้นคือ สื่อมวลชนเสนอตัวในการประกาศเรื่องความจำเป็นในการจำกัดเสรีภาพเสียเอง

บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ แสดงอาการยินยอมอย่างเต็มที่ หากศาลจะวินิจฉัยมิให้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีที่มีการกล่าวหา ฟ้องร้อง ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พร้อมทั้งประกาศความเชื่อด้วยว่า การมีเสรีภาพภายใต้ขอบเขตที่จำกัดด้วยจารีตประเพณี หน้าที่พลเมือง จะเป็นทางหนึ่งที่จะทำนุบำรุง ปกป้อง รักษา ซึ่งสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้

หลายคนคงรู้ดีว่า การถูกรัก ด้วย 'วิธีรัก' ในบางรูปแบบ เป็นอันตราย และการทำให้เรื่องสำคัญที่ยากตรวจสอบได้ถูกตรวจสอบ ว่าไปก็เป็นเรื่องจรรโลง สร้างสรรค์ มากกว่าเพื่อหวังจะเอาใจชั่วครู่ชั่วยาม

ในฐานะที่ไม่ใช่นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพ แต่เชื่อมั่นว่า หากประชาชนไทยมีพื้นที่ให้ได้รับรู้ เข้าถึงข้อเท็จจริง มีโอกาสและมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องร้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จะเป็นผลดีต่อทุกๆ สถาบันและทุกๆ อุดมการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

ค่ะ ...ดิฉันชื่อ  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

 

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
ศรายุธ ตั้งประเสริฐ
Hit & Run
  โจว ชิงหมาเกิด     ประเด็นฮอตฮิตในรอบสัปดาห์นี้หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือบทสัมภาษณ์ "สมชาย หอมละออ"แย้มผลสอบสลายชุมนุมพฤษภา′53 ผัวเมียทะเลาะกัน... ผิดทั้งคู่ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 14:00:45 น. สัมภาษณ์พิเศษ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์)    
Hit & Run
เดือนมีนาคมแล้วค่ะท่านผู้อ่าน ช่วงเวลาที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องจำจากจรสถาบันอันเป็นที่รักเพื่อก้าวไปข้างหน้า ทั้งจากความต้องการของตัวเองและกระแสสังคมที่ต่างคาดหวังว่าการ ศึกษาคือหนทางแห่งการเป็น “เจ้าคนนายคน” หากท่านผู้อ่านเคยผ่านช่วงเวลาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระบบเอนทรานซ์หรือระบบแอดมิชชันคงยังจำช่วงเวลาหฤโหดของการเข้าห้องสอบที่แบกเอาความฝันของตัวเอง ความคาดหวังของผู้บุพการี และหน้าตาของสถาบันระดับมัธยมศึกษา (ที่มักจะวัดกันด้วยจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้)ตลอดจนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์…
Hit & Run
ปีนี้บรรยากาศเหน็บหนาวที่มาพร้อมกับลานเบียร์หลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า มีเรื่องสนุกสนานทวีคูณมากขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการ “สาวลีโอ” ที่ยุ่งเหยิงอีรุงตุงนังเมื่อไปพันกับการเมืองยุคอำมาตย์ฝึกหัดครองเมือง เมื่อมาถึงปลายปีที่มีบรรยากาศหนาวๆ ชวนให้เปล่าเปลี่ยว ธรรมเนียมปฏิบัติของบรรษัทค่ายน้ำเมาต่างๆ จะต้องมีแคมเปญอะไรมาเป็นของกำนัลให้กับหนุ่มๆ คึกคักมีชีวิตชีวา โดยปฏิทินรูปแบบวาบหวามมักจะถูกเข็นออกมาในช่วงนี้ และลีโอก็ไม่เคยพลาด หลังจากที่ได้ “ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม” มาช่วยเป็นแม่ทัพดูแลการผลิตด้านสื่อหวาบหวิวให้ค่ายลีโอ…
Hit & Run
สถานการณ์ในเมืองไทยตอนนี้ทำให้พวกเราไม่สามารถนำเสนออะไรหลายอย่างได้โดยเฉพาะสิ่งที่มาจากต่างประเทศ ก็เพราะประเทศสยามกำลังพยายามปิดกั้นไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลจากสื่อต่างชาติ หรือถ้าจะให้รับรู้ก็จะถูกบิดเบือนหรือรับเอามาดัดแปลงให้เป็นวาทศิลป์มุ่งสำเร็จความใคร่ในการทำลายล้างศัตรูของตนเอง โดยไม่สนถึงผลกระทบที่ตามมาว่าจะบานปลายร้ายแรงขนาดไหน
Hit & Run
ก่อนที่คนเสื้อแดงจะได้รับการยอมรับนับถืออย่างทุกวันนี้ เราผ่านอะไรมามากมาย และมาวันนี้เราอาจจะลืมอะไรไปมากมายเช่นกัน ทุกวันนี้การสอดแทรกประเด็นประชาธิปไตยเพื่อผูกโยงกับมวลชนคนรักทักษิณเป็นเรื่องหลักๆ ที่เราพูดถึงกัน โดยจุดสำคัญที่ฝ่ายที่เรียกว่าตนเองเป็น“ฝ่ายที่เป็นปัญญาชน-ฝ่ายที่ต้านลัทธิเสรีนิยม” สามารถมายืนข้างคนรักทักษิณได้อย่างไม่เคอะเขิน ก็คือการที่คุณทักษิณได้รับการเลือกตั้งมาตามวิถีประชาธิปไตยแล้วถูกโค่นอำนาจโดยการรัฐประหาร
Hit & Run
“กม.มั่นคงคุมเขตดุสิต แดงเย้ยตื่นตูม พท.ชี้ยั่วยุคนมาชุมนุม นายกฯ อ้างมีข่าวมือที่สาม”
Hit & Run
ขอ 'อภัย' ล่วงหน้า หากว่าเรื่องนี้จะ(ไม่) เกี่ยวข้องกับการ 'อภัย' ใน 'โทษ' ของคนตนหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นร้อน!
Hit & Run
ดูเหมือนว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์เวชชาชีวะจะให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์-รณรงค์ทางอินเทอร์เน็ตเป็นพิเศษโดยที่ผ่านมามีการเปิดตัวเว็บไซต์หลายโครงการอาทิโครงการต้นกล้าอาชีพhttp://www.tonkla-archeep.com/ เว็บไซต์ช่วยชาติที่แสดงข้อมูลและความคืบหน้าของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรััฐบาล http://www.chuaichart.com/ เว็บโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนhttp://www.chumchon.go.th/ โครงการคิดอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกอ.รมน. หรือ MOSO http://mosothai.com และล่าสุดhttp://ilovethailand.org เว็บที่ชวนคนมาแสดงความรักประเทศไทยผ่านบล็อกคลิปวิดีโอรูปถ่ายและข้อความสั้น
Hit & Run
คุณ ลิเดีย กูวารา อาจไม่ได้มีความงามตามแบบฉบับสาวทั่วไป แต่ จากองค์ประกอบการจัดวาง การตกแต่ง อุปกรณ์เสริมคือแครอทเป็นเหมือนแถบคาดกระสุน รวมถึงการโพสท์ท่าของเธอ ทำให้ดูมีเสน่ห์ด้วยพลังของความเป็นชาย (masculine) ...แม้แครอทจะดูเล็ก ๆ เหี่ยว ๆ ไปหน่อยก็ตาม
Hit & Run
ในปีนี้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐคว้ารางวัล “ภาพข่าวยอดเยี่ยม” ไปครอง หลังจากนั้นมาไม่กี่วันก็แทบจะต้องเพิ่มตำแหน่งมิสป๊อบปูล่าไปให้ด้วย เพราะมันไม่ใช่ได้รางวัลแล้วก็แล้วกันไปแบบทุกปี หากแต่ถูกพูดถึงอย่างมากมาย โดยเฉพาะในโลกไซเบอร์ มีทั้งคำชื่นชมและผรุสวาทให้ระงม ฐานที่เกี่ยวพันกับการเมืองลูกกวาดหลากสีของเราเต็มๆ ในฐานะที่ไม่ใช่คณะกรรมการ (และไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ ด้วย) ขอประกาศสนับสนุนคณะกรรมการที่ให้รางวัลแก่ภาพนี้ โดยจะขอยกเหตุผลเพิ่มเติมจากท่านคณะกรรมการตัวจริงที่อาจพูดสั้นไป เพราะท่านคงไม่อยากต่อล้อต่อเถียงกับพวกไม่รู้จักจบจักสิ้น ไม่รู้จักแพ้ชนะ ทั้งยังไม่มีองค์ความรู้ด้านสื่อสารมวลชน…
Hit & Run
ภาพจาก: http://imaim.wordpress.com แรงกระเพื่อมของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ต่อเรื่อง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้ต้องมานั่งนับวันว่า เมื่อไหร่จะถึงวันที่กฎหมายฉบับนี้นี้จะเขาที่ประชุม ครม.เพื่อลุ้นเอาแค่กฎหมายฉบับนั้นจะผ่านครม.เข้าสู่สภาฯ ได้หรือไม่ แล้วค่อยไปว่ากันต่อด้วยเรื่องหน้าตาว่าจะออกมาสวย หล่อ เพียงใด ตามที่ รมว.คลัง ท่านบอกผ่านสื่อมวลชนไว้ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา มีกำหนด 2 สัปดาห์ นี่ก็คงอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหมายแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ล่าสุด รมว.คลังกล่าวผ่านสื่อว่า กระทรวงการคลังยังเดินหน้าแนวคิดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.…