ขอ 'อภัย' ในความ 'คับแค้น'

ขอ 'อภัย' ล่วงหน้า หากว่าเรื่องนี้จะ(ไม่) เกี่ยวข้องกับการ 'อภัย' ใน 'โทษ' ของคนตนหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นร้อน!

เพณิญ

        ตาย ก็ไม่ต้องมาเผาผีกัน

คิดๆ แล้วแค้นสุดขีด สุดฤทธิ์ สุดเดช ว่าทำไม ทำไมต้องทำร้ายกันอย่างนี้

        บุณคุณต้องทดแทน ความแค้นต้องชำระ

เกริ่นมาแบบนี้ เพราะจะชวนให้ตั้งคำถามว่า

แท้จริงแล้ว...สังคมไทยเป็นสังคมที่พร้อมจะให้ อภัย กันเสมอ จริงหรือ?

และขอ อภัย ล่วงหน้า หากว่าเรื่องนี้จะ (ไม่) เกี่ยวข้องกับการ อภัย ใน โทษ ของคนคนหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นร้อน!

             

การแก้แค้น ซากกบตาย :  ตลกร้ายและความชิบหายวายป่วง

          เป็นความจริงที่ว่า มนุษย์สามารถเกิดอารมณ์โกรธแค้นและมีแนวโน้มโดยธรรมชาติที่จะใช้ความรุนแรงในการตอบโต้หรือแก้แค้น เราสามารถใช้หลักการทางจิตวิทยามาสนับสนุน โดยจากการศึกษาพฤติกรรมการชมละครหรือภาพยนตร์ ในตอนท้ายเรื่องหากตัวเอกสามารถแก้แค้นตัวร้ายได้สำเร็จ ผู้ชมจะเกิดความพึงใจมากกว่าจะนั่งชมความสำเร็จของตัวร้ายที่ไม่ได้รับผลร้ายตอบแทนให้สาสมกับความชั่วของตนเอง

ไม่แปลกที่ละครไทยไทย มักจะจบด้วยภาพการประสบเคราะห์กรรมของตัวร้าย ก่อนจะฉายภาพให้เห็นความสุขสมหวังของตัวเอก ทั้งที่หากพิจารณาดูแล้ว สัดส่วนของเคราะห์กรรมที่ตัวร้ายได้รับมักเกินกว่าเคราะห์กรรมของตัวเอก (แต่ก็อีกนั่นแหละ เราเรียกการได้รับการแก้แค้นหรือการรับความผิดจนจมกองเลือดเหล่านั้นว่าเป็นการสั่งสอนในเรื่องผลของการกระทำความชั่ว ศีลธรรม ฯลฯ)

 

ทีนี้ ลองมาฟังการแก้แค้นในแบบเด็กๆ ที่จะว่าเป็นเพียงมุขตลกขำขำ หรือจะมองให้ลึกซึ้ง ถึงความชิบหายวายป่วงที่เกิดขึ้น ก็ตามแต่วาระแห่งการพิจารณา

เรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าอันไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ริเริ่ม อย่างไรขอยกมาเล่าอีกครั้ง...

เรื่องมีอยู่ว่า เด็กชายคนหนึ่ง เดินลากซากกบตัวแบนแต๊ดแต๋ ไปที่หอนางโลม แล้วบอกกับมาม่าซังว่า

ผมต้องการนอนกับหญิงสาวที่เป็นโรค ได้ยินมาว่าใครที่มาที่หอนางโลมนี้ จะต้องไปโรงพยาบาลและโดนฉีดยา ผมเลือกหญิงสาวที่เป็นโรคคนนั้นแหละ

แรกๆ มาม่าซังก็อิดออด หากแต่ทนการรบเร้าของเด็กชายไม่ไหว

เอาเถอะ ทำตามความต้องการของผม ผมมีเงินจ่าย เด็กชายควักเงินออกมาจากกระเป๋า แล้วถูกพาไปยังห้องของหญิงสาวที่เป็นโรค

15 นาทีผ่านไป เด็กชายเดินลงบันไดมา มือก็ยังคงลากซากกบตายอยู่อย่างนั้น

ถามหน่อยเถอะ ทำไมถึงเลือกนอนกับหญิงสาวที่เป็นโรค มาม่าซังถาม
"มันเป็นแผนการแก้แค้นของผมน่ะเด็กชายตอบด้วยแววตาเปี่ยมไปด้วยความคับแค้น

เย็นนี้พอผมกลับบ้าน พ่อกับแม่จะออกไปกินข้าวนอกบ้านกัน แล้วทิ้งให้ผมอยู่กับพี่เลี้ยง
ผมก็จะฟันพี่เลี้ยงซะ แล้วพี่เลี้ยงผมก็จะติดโรคที่ผมเพิ่งติดไปเนี่ยแหละ

จากนั้นพ่อก็จะต้องขับรถไปส่งพี่เลี้ยงของผมที่โรงพยาบาล ระหว่างทางพ่อก็จะฟันพี่เลี้ยงของผม แล้วพ่อก็จะติดโรค พอพ่อกลับมาบ้าน พ่อก็มีอะไรกับแม่ แล้วแม่ก็จะติดโรคอีก

มาม่าซัง ตาโตกับแผนการแก้แค้นของเด็กชาย
แล้วพอถึงตอนเช้า พอพ่อไปทำงาน คนส่งนมก็จะมาส่งนม แล้วเขาก็จะฟันแม่ของผม

แล้วเขาก็จะติดโรค
            "ไอ้คนส่งนมเนี่ยแหละ ที่มันขับรถทับกบของผมตาย"

 

            โอ้ละหนอ ช่างเป็นการแก้แค้นที่แสนขำขื่น หากแต่ก็กลายเป็น กระบวนการแก้แค้นที่ ลากคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่จำนวนมาก เข้ามาอยู่ในกระบวนการแก้แค้นนั้น

ฟังเรื่องนี้แล้วก็อดคิดไม่ได้ว่า คนไทยกี่คนต่อกี่คนที่ต้องติดโรคร้าย อันเป็นผลจากกระบวนการแก้แค้นให้สาสมกับการกระทำของผู้ชายคนหนึ่ง (ชายส่งนม คนที่คุณก็รู้ว่าเป็นใคร)

 

สมการและความชอบธรรมของการแก้แค้น

นาย ก. ดีดหู นาย ข. = นาย ข. ดีดหูนาย ก.

คือสมการการแก้แค้นที่ได้ หากนาย ก. ดีดหู นาย ข. แล้วนาย ข. ดีดหูนาย ก. กลับ

แต่ในความเป็นจริงรูปแบบของการแก้แค้นมักไม่ได้เป็นไปดั่งสมการ เพราะความแค้นมักจะถูกระบายออกโดยการแก้แค้นหรือการล้างแค้นในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ การสาบแช่ง การก่นด่า การลงโทษโดยทางตรงและทางอ้อม

ดังนั้นหากนาย ก. ดีดหูนาย ข. แล้ว นาย ข. อาจแก้แค้นด้วยการชกหน้านาย ก. จนฟันหัก และเอายาเบื่อให้สุนัขของนาย ก.กิน เพราะโดยสัญชาตญาณแล้ว มนุษย์มักจะแก้แค้นด้วยความรุนแรงที่เกินส่วนขึ้นในทุกๆ ครั้งที่เกิดการแก้แค้น

และความรุนแรงที่เกินส่วนนั้นเองที่ทำให้เกิดการแก้แค้นครั้งต่อๆ ไป เราจึงเห็นการแก้แค้นกลับไปกลับมาอย่างไม่รู้จักจบสิ้น

ข้อน่าสังเกตอีกอย่างก็คือ การแก้แค้นยังแฝงอยู่ในหลายๆ พฤติกรรมทางสังคมอย่างชอบธรรม เช่น การลงโทษผู้กระทำผิด การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกินความเสียหายที่แท้จริงอย่างมาก แม้ว่าหากจะอธิบายในเรื่องของกฏหมายและความยุติธรรมแล้ว เรื่องดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อการป้องกันการกระทำความผิด แต่ในความเข้าใจของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจของคนเรียกร้องให้ดำเนินคดี นั่นคือการแก้แค้นอีกอย่างหนึ่งที่เคลือบแฝงไปด้วยความรู้สึก สะใจและความรู้สึกที่ว่าจะต้องดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด เพื่อให้ สาสมแก่ความผิด

แต่สิ่งที่หายไปจากการแก้แค้นในรูปแบบนี้ก็คือ การปิดโอกาสการแก้แค้นกลับ ด้วยการวางระบบยับยั้งสัญชาตญาณของมนุษย์โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น ศีลธรรม จริยธรรมและกระบวนการยุติธรรม อันเป็นการสร้างความชอบธรรมให้แก่การแก้แค้นนั้น

            หากแต่คำถามก็คือ การแก้แค้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ หรือใช้วิธีการใดๆ มีความชอบธรรมจริงหรือ

 

ให้อภัย การตกผลึกทางความแค้นในจิตใจของมนุษย์

            จากเรื่องของการแก้แค้น ลองมาฟังเรื่องของการให้อภัยกันบ้าง

ลอร่า บูลเมนเฟลด์ - นักเขียนสาวประจำหนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ ออกเดินทางจากอเมริกาไปตะวันออกกลาง เพื่อชำระหนี้แค้นให้กับพ่อของเธอ (ชาวอเมริกันเชื้อสายยิวถูกมือปืนชาวปาเลสไตน์ยิงกลางตลาดในเยรูซาเล็ม แต่รอดชีวิตมาได้)

จากการเดินทางเพื่อชำระหนี้แค้น ทำให้เธอพบเรื่องราวเกี่ยวกับความแค้นมากมายในพื้นที่ต่างๆ และสุดท้ายได้พบคนที่ยิงพ่อของเธอ ระหว่างที่ความคับแค้นเต็มอก เธอก็ได้เรียนรู้เรื่องการให้อภัย นั่นทำให้เธอเข้าใจว่า ความแค้นไม่ใช่ความหิว แต่มันคือความอยาก เรามีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยความอยาก แต่มันจะค่อยๆ กัดแทะเรา อาหารบางอย่างเท่านั้นที่สนองตอบความอยากของเราได้ ไม่ใช่สเต็กธรรมดา แต่ต้องเป็นสเต็กที่หั่นบนเขียงไม้เป็นชิ้น ยาวสองนิ้วและเนื้อต้องนุ่มเป็นสีชมพูอ่อนไม่แข็งกระด้าง ความอยากเป็นความเรื่องมากและจู้จี้เอาแต่ใจ

การเรียนรู้จากความแค้น ในใจตนเองทำให้เธอพบกับความหวังที่เธอจะดับความแค้นนั้น ซึ่งเธอได้บันทึกไว้ในหนังสือ ข้ามฝั่งแค้น: การเดินทางแห่งความหวัง

 

ครั้งหนึ่ง พระไพศาล วิสาโล พระนักสันติวิธี เล่าถึงความประทับใจต่อ คิม ฟุค เด็กผู้หญิงเปลือยในภาพถ่ายที่กำลังวิ่งหนีระเบิดสมัยที่อเมริกามาทำสงครามกับเวียดนาม ผู้มีบาดแผลกว่าครึ่งตัวจากแรงระเบิด และยังสูญเสียลูกพี่ลูกน้องไปสองคน บ้านพังพินาศย่อยยับ

ว่าครั้งหนึ่ง เธอได้รับเชิญให้ไปพูดเนื่องในวันทหารผ่านศึกที่อเมริกา เธอพูดถึงโทษของสงครามแล้วก็กล่าวในที่ประชุมว่า

อยากจะขอบอกกับคนที่ทิ้งระเบิดใส่บ้านฉันว่า ฉันเคยโกรธคุณมาก แต่เราไม่สามารถเปลี่ยนอดีตอันเลวร้ายได้ เราสามารถสร้างอนาคตที่ดีได้

 พอเธอพูดจบ ทหารคนนั้นที่เผอิญนั่งฟังอยู่ รีบเข้ามากล่าวขอโทษเธอด้วยน้ำตา

แต่เธอตอบกลับไปว่า ไม่เป็นไร ฉันให้อภัย

 

นั่นเป็นตัวอย่างของการให้ อภัยท่ามกลางความรู้สึก คับแค้นที่กำลังเกิดขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก           

        บางที หากเราจะยุติความแค้น เราควรจะต้อง ล้างแค้น

        ล้างแค้น ในความหมายของการ ล้าง ให้สะอาดสะอ้านจากจิตใจ เพราะถึงที่สุด การให้อภัย ก็คือ การตกผลึกทางความแค้นขั้นสูงสุดในจิตใจของมนุษย์

 

 

หมายเหตุ

หนังสือ ข้ามฝั่งแค้น: การเดินทางแห่งความหวัง

ผู้เขียน ลาร่อ เบลเมนฟูลด์ สำนักพิมพ์โกมล คีมทอง

 

ความเห็น

Submitted by แสงดาว ศรัทธามั่น on

หันตวย...เห็นด้วย แผ่เมตตาเถิดเพื่อนมนุษย์เอ๋ย

Submitted by นกสีเหลือง on

ถ้าหากคนเรารู้จักคำว่าพอบ้านเมืองของเราคงไม่เป็นเช่นนี้หรอกและหากคนเรารู้จักให้อภัยซึ่งกันและกันชีวิตของทุกคนก็จะพบแต่ความสุข

ใคร ๆอาจให้อภัย
ใคร ๆอาจหมายถึงคนทั้งโลก
แต่
ไม่ใช่เด็กเจ้าของกบที่ตาย

แค่ผัวเมียทะเลาะกัน...ครับ

 
โจว ชิงหมาเกิด
 
 
ประเด็นฮอตฮิตในรอบสัปดาห์นี้หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือบทสัมภาษณ์ "สมชาย หอมละออ"แย้มผลสอบสลายชุมนุมพฤษภา′53 ผัวเมียทะเลาะกัน... ผิดทั้งคู่ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 14:00:45 น. สัมภาษณ์พิเศษ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์)
 
 

ด้วยรักและไว้อาลัยแด่การสอบโอเน็ต (และบทสัมภาษณ์ 'ติ่งหู' กับ 'ผู้ไม่เชี่ยวชาญ')

เดือนมีนาคมแล้วค่ะท่านผู้อ่าน

ช่วงเวลาที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องจำจากจรสถาบันอันเป็นที่รักเพื่อก้าวไปข้างหน้า ทั้งจากความต้องการของตัวเองและกระแสสังคมที่ต่างคาดหวังว่าการ ศึกษาคือหนทางแห่งการเป็น “เจ้าคนนายคน”

หากท่านผู้อ่านเคยผ่านช่วงเวลาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระบบเอนทรานซ์หรือระบบแอดมิชชันคงยังจำช่วงเวลาหฤโหดของการเข้าห้องสอบที่แบกเอาความฝันของตัวเอง ความคาดหวังของผู้บุพการี และหน้าตาของสถาบันระดับมัธยมศึกษา (ที่มักจะวัดกันด้วยจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้)ตลอดจนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์ ไปจนถึงผู้บริหารสถานศึกษาก็ต่างลุ้นตัวโก่งกับผลการเข้ามหาวิทยาลัยในอีกไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ….ช่างเป็นช่วงชีวิตที่ลืมไม่ลง เสียจริง ๆ

รักเทอซะให้เข็ด ..แม่เจ็ดสาวลีโอ

ปีนี้บรรยากาศเหน็บหนาวที่มาพร้อมกับลานเบียร์หลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า มีเรื่องสนุกสนานทวีคูณมากขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการ “สาวลีโอ” ที่ยุ่งเหยิงอีรุงตุงนังเมื่อไปพันกับการเมืองยุคอำมาตย์ฝึกหัดครองเมือง

เมื่อมาถึงปลายปีที่มีบรรยากาศหนาวๆ ชวนให้เปล่าเปลี่ยว ธรรมเนียมปฏิบัติของบรรษัทค่ายน้ำเมาต่างๆ จะต้องมีแคมเปญอะไรมาเป็นของกำนัลให้กับหนุ่มๆ คึกคักมีชีวิตชีวา โดยปฏิทินรูปแบบวาบหวามมักจะถูกเข็นออกมาในช่วงนี้ และลีโอก็ไม่เคยพลาด หลังจากที่ได้ “ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม” มาช่วยเป็นแม่ทัพดูแลการผลิตด้านสื่อหวาบหวิวให้ค่ายลีโอ เป็นส่วนหนึ่งในการฟาดฟันต่อสู้กับค่ายช้างจนทำให้เบียร์ลีโอเป็นเบียร์อันดับหนึ่งของประเทศ โดยกลยุทธการตลาดที่สำคัญนั้นก็คือการขายความเซ็กซี่และมีระดับกว่าช้างมาหน่อย

ขออนุญาต "ไม่แปล"

สถานการณ์ในเมืองไทยตอนนี้ทำให้พวกเราไม่สามารถนำเสนออะไรหลายอย่างได้โดยเฉพาะสิ่งที่มาจากต่างประเทศ ก็เพราะประเทศสยามกำลังพยายามปิดกั้นไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลจากสื่อต่างชาติ หรือถ้าจะให้รับรู้ก็จะถูกบิดเบือนหรือรับเอามาดัดแปลงให้เป็นวาทศิลป์มุ่งสำเร็จความใคร่ในการทำลายล้างศัตรูของตนเอง โดยไม่สนถึงผลกระทบที่ตามมาว่าจะบานปลายร้ายแรงขนาดไหน