ดูเหมือนว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์เวชชาชีวะจะให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์-รณรงค์ทางอินเทอร์เน็ตเป็นพิเศษโดยที่ผ่านมามีการเปิดตัวเว็บไซต์หลายโครงการอาทิโครงการต้นกล้าอาชีพhttp://www.tonkla-archeep.com/ เว็บไซต์ช่วยชาติที่แสดงข้อมูลและความคืบหน้าของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรััฐบาล http://www.chuaichart.com/ เว็บโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนhttp://www.chumchon.go.th/ โครงการคิดอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกอ.รมน. หรือ MOSO http://mosothai.com และล่าสุดhttp://ilovethailand.org เว็บที่ชวนคนมาแสดงความรักประเทศไทยผ่านบล็อกคลิปวิดีโอรูปถ่ายและข้อความสั้น
แต่ขณะที่มีการส่งเสริมการให้ข้อมูลด้านหนึ่งข้อมูลอีกด้านกลับถูกปิดลงโดยใครก็ไม่รู้เพราะไม่เคยมีใครยอมรับและด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่มีคำตอบที่ดูจะมีเจ้าภาพในการปิดกั้นก็ตอนเหตุการณ์เมษาที่กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศหรือไอซีทีส่งอีเมลอ้างคำสั่งคณะอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้บล็อคเว็บไซต์หรือ URL 66 แห่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นของคนเสื้อแดง ส่วนกรณีอื่นเมื่อสอบถามไปยังผู้ให้บริการก็มักได้รับคำตอบว่าไม่มีคำสั่งให้บล็อคเว็บจากหน่วยงานใดรวมถึงตัวผู้ให้บริการเองก็ไม่ได้บล็อค (ขณะที่ มาตรา 15 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ระบุว่า “ผู้ให้บริการ” (ซึ่งถูกตีความอย่างกว้างมาก) ที่จงใจ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ถูกกำหนดใ้ห้มีความผิดเท่ากับผู้ที่กระทำ)
ด้านCS Loxinfo มีผู้พบว่ามีการบล็อคเว็บไซต์Mashable http://mashable.com/ ซึ่งเป็นบล็อกที่เสนอข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตรวมถึงบล็อคหน้าเว็บทุกหน้าที่ตรง URL มีคำว่า‘lese-majeste’ หรือ‘lesemajeste’ โดยแสดงหน้า404 ปลอม (อ่านเพิ่มเติมที่
จะเห็นว่า ขณะที่คนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตกลับเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารบางด้าน คนที่เข้าไม่ถึงก็ยังเป็นคนที่เข้าไม่ถึงต่อไป เพราะรัฐบาลก็ดูจะยังไม่มีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมใดๆเพื่อทำให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเช่นกันแม้ในวันแถลงนโยบายนายกฯจะพูดถึงนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารว่าจะพัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียมกันก็ตาม
ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีเองก็เคยกล่าวหลังรับตำแหน่งว่างานที่จะให้ความสำคัญในลำดับแรกๆ คือ การดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อความหรือภาพที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่จดทะเบียนจากต่างประเทศ รวมถึงดำเนินการกับเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ เช่น เว็บที่เผยแพร่เกมออนไลน์ที่มีเนื้อหาลามกอนาจาร เป็นต้น
การมีเว็บไซต์ให้ข้อมูลหรือรณรงค์จากทางรัฐบาลนั้นไม่ได้เป็นปัญหา เพราะการพยายามเปิดเผยหรือทำอะไรให้เห็นต่อหน้านั้นย่อมดีกว่าการซ่อนเร้นปกปิด แต่ที่แย่ก็คือการไม่มีช่องทางสำหรับข้อมูลที่หลากหลายพอ ให้เอาไปชั่ง ตวง วัด และตัดสินใจเอาเองต่างหาก