Skip to main content
 

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย...

 

ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ  

 

แต่ที่แน่ๆ ข่าวสารที่ได้รับในช่วงเวลาที่ผ่านมาบอกเราว่า ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในวันนี้คงไม่ใช่สิ่งที่จะแก้กันได้ง่ายดาย โดยคนบางคน หรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม และอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูความคิดประชาธิปไตยกันอีกนานหลายสิบปี

 

...............................................

 

ย้อนถอยหลังไป 11 วันก่อนหน้านี้ ที่เชียงใหม่... วันแล้ววันเล่า กิจกรรมที่ไปทำรวมกับเพื่อนหลากหลายเชื้อชาติในลุ่มน้ำโขงยังคงดำเนินไปได้อย่างปกติ ท่ามกลางความกระวนกระวายใจของใครหลายคนต่อสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น ด้วยเป้าประสงค์คือการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนอาเซียนในงาน "มหกรรมประชาชนอาเซียน (AFP)" และการจัดทำข้อเสนอต่อ "การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ ASEAN Summit" โดยทั้งสองงานถือเป็นงานใหญ่ระดับชาติที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย ช่วงเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเองถือเป็นงานที่มีความสำคัญต่อรัฐบาลไทย เพราะถือเป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาลที่ต้องแสดงศักยภาพของไทยต่อประเทศที่เป็นประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ

 

อาจเป็นด้วยตารางกิจกรรมที่อัดแน่นด้วยเนื้อหาที่ถูกกำหนดไว้แล้ว และสถานที่พักพิงไม่ได้สะดวกเอาเสียเลยที่จะรับข่าวสารผ่านสื่อมวลชนทั้งกระแสหลักกระแสรองต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสถานการณ์ข่าวสารเองก็เรียกได้ว่าสับสนอลหม่านพอสมควร การพูดคุยกันถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่รัฐสภาหรือเรื่องราวความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบฯ จึงจำกัดอยู่ในวงเล็กๆ ของการพูคุยแสดงความเห็นและบอกเล่าความคืบหน้าที่ได้รับรู้มา

 

 

ในช่วงหนึ่งของการพูดคุย น้องสาววัยมัธยมจากภาคกลางคนหนึ่งบอกเล่าว่าแม่ของเธอได้เข้าไปร่วมในการชุมนุมของพันธมิตรมานานหลายเดือน แต่หลังจากที่เกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาที่ผ่านมา แม่ของเธอก็ได้เดินทางกลับบ้านแล้วเพราะกลัวเกิดความรุนแรง แม้เธอจะบอกเล่าด้วยท่าทีที่เรียบเฉย แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าข้างในจิตใจคงหวาดหวั่นไม่น้อยหากความสูญเสียเป็นสิ่งที่เกิดกับครอบครัวเธอเอง

 

ส่วนพี่ชายจากเมืองใต้บอกว่า จากที่ได้ติดเป็นระยะกับเพื่อนที่อยู่ในการชุมนุม ภายหลังการปะทะและมีคนบาดเจ็บพี่น้องภาคใต้ได้รวบรวมคนเพื่อเข้าร่วมการชุมนุมเพราะทนไม่ได้ที่รัฐบาลใช้ความรุนแรงกับประชาชนจนทำให้เกิดความสูญเสียนับหลายร้อยราย แต่ข้อมูลที่ได้รับก็ไม่ได้บ่งบอกถึงข้อสรุปหรือจุดจบของความวุ่นวายใดๆ ที่เกิดขึ้น

 

เมื่อได้พูดคุยกับเพื่อนชาวเวียดนามที่มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน เธอเล่าว่าทางครอบครัวของเธอที่เวียดนามได้โทรศัพท์มาเร่งเร้าให้รีบเดินทางกลับเนื่องจากกลัวเหตุการณ์ความวุ่นวายในประเทศจะบายปลาย แต่ที่เชียงใหม่การดำเนินชีวิตของชาวบ้านทั่วไปแทบไม่ได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายที่กำลังดำเนินอยู่ในเมืองหลวงเลย แม้จะรับรู้ข่าวความรุนแรงมีการใช้แก๊สน้ำตา มีการเสียชีวิต และคิดว่าอาจมีการใช้อาวุธ แต่การอยู่ที่เชียงใหม่กับกับระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพฯ ราว 750 กิโลเมตรก็ทำให้เธอรู้สึกปลอดภัยดีอยู่

 

..............................................

 

จากการพูดคุยและสังเกตผู้คนทั่วไปในเชียงใหม่ที่ได้รับรู้ข่าวสารจากทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ต่างพากันสะเทือนใจและตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงความรู้สึกร่วมในการเป็นคนไทยด้วยกัน ถึงผลกระทบต่อประเทศชาติ เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวที่เกี่ยวพันไปถึงปากท้อง แต่สิ่งที่พวกเขาทำได้หรือได้ทำ คือการติดตามสถานการณ์ต่อๆ ไป ซึ่งคงเป็นความคิดความรู้สึกที่ไม่ได้แตกต่างกันกับผู้คนในภาคในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ

 

 

และสิ่งที่สัมผัสได้ คือ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในเมืองหลวง เราในฐานะประชาชนของประเทศก็ยังคงต้องดิ้นร้นเพื่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางการเมืองที่ถูกโหมกระหน่ำด้วยปัญหา เศรษฐกิจที่ทะยานลงตามกระแสโลก สภาพสังคมที่เขาว่ากันว่าอยู่ในภาวะวิกฤติของจริยธรรมและศีลธรรมอันดี และข่าวที่รอบด้านหลากหลายจนชักเริ่มสับสนกับการเลือกบริโภคกันต่อไป

 

อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกเศร้าโศกไปกับการสูญเสีย สะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องการให้พบทางออกของปัญหาในเร็ววัน ซึ่งจะยังขอเชื่ออีกด้วยว่าทุกคนควรสามารถออกมาแสดงความคิดเห็นกับการกระทำของฝ่ายต่างๆ ได้ รวมทั้งรับรู้ข้อมูลข่าวสารตามสิทธิเสรีภาพอันพึงของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย

 

......................................

 

ห้วงเวลาที่ผ่านมา... ด้วยความไม่รู้ และอยากจะรู้ว่าถึงเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นแข่งกับเวลาในฐานะของคนที่ไม่ได้อยู่ร่วมแต่อยากมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ทำให้เข้าใจได้ว่าชีวิตเราผูกพันกับการสื่อสาร และข่าวสาร ไม่ว่าจะในวงแคบหรือวงกว้างกันมากพอดู แต่เมื่อพูดเกี่ยวกับความสำคัญของ "ข่าว" หากใครได้ผ่านการเรียนจิตวิทยา ที่ให้ความหมายว่า "ข่าว" คือ "เรื่องราวในอดีต ที่เมื่อคุณอ่านข่าวคุณกำลังอ่านเรื่องราวในอดีต และเข้าใจในสิ่งที่คุณแก้ไขไม่ได้" จึงมีการตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการบริโภคข่าวในการการดำเนินชีวิต

 

ซึ่งนั้นย่อมไม่ได้หมายความว่าข่าวหรือเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วนั้น ไม่มีความสำคัญต่อผู้คนที่จะต้องรับรู้มัน แต่ในแต่ละวันเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกนั้นมีอยู่มากมาย นอกจากนี้ความเป็นไปของสังคมโลกที่เราพยายามก้าวเดินตาม มันได้นำไปสู่การอธิบายปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และมันก็เป็นสิ่งที่เราต้องรู้เท่าทันซึ่งไม่ใช่เฉพาะข่าวสารเท่านั้น แต่มันยังหมายรวมถึงกระบวนวิธีการได้มาและการนำเสนอข่าวสารเหล่านั้นด้วย

 

มันจึงไม่แปลกเลยทำให้รู้สึกคล้อยตามว่า คนเราไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นไปเสียทุกอย่าง อีกทั้งยังจะต้องยุ่งยากในการชั่งตวงวัดเพื่อเสพข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วน รอบด้าน หากมันทำให้สภาพจิตใจย่ำแย่ พักบ้างก็ได้ หยุดคิดปิดหูปิดตาบ้างก็ได้ ถ้าปัญหาวุ่นวายนั้นเราไม่ได้เป็นทั้งผู้ก่อและไม่สามารถเป็นผู้แก้ สักประเดี๋ยวสถานการณ์ก็จะคลี่คลายเหมือนที่มันเคยเป็นมา

 

แต่สิ่งสำคัญที่หลงลืมไม่ได้ คือ ทุกวันนี้ปัญหาในสังคมนี้ ประเทศนี้ โลกนี้มันไม่ได้มีอยู่เฉพาะที่รัฐสภาหรือที่ทำเนียบ ปัญหาคนยากคนจน การป่วยไข้ ผลกระทบการจากแย่งชิงทรัพยากร การเบียดขับให้กลายเป็นอื่น ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาพื้นที่ฐานของสังคมที่พัวพันกันอีรุงตุงนัง และยังรอการแก้ไขอยู่อีกมากมาย ซึ่งการปิดหูปิดตา มันก็เป็นเพียงการหลีกหนีปัญหาที่วุ่นวาย และไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมที่เรากำลังตกอยู่ในบ่วงเหล่านี้ไปได้

 

...........................................

 

สำหรับฉันคนที่อยู่ไกลทั้งระยะทาง และถอยออกห่างทางความรู้สึกในการมีส่วนร่วมกับปัญหาทางการเมืองที่คาราคาซังยืดเยื้อจนน่าเวียนหัว คงต้องขอบคุณเครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ช่วยส่งผ่านข่าวมาไปให้รับรู้ถึงถิ่นห่างไกลและนี่คงเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีในโลกทุนนิยมที่แม้ใครจะว่ามันฟอนเฟะ แต่อย่างนี้น้อยมันก็ทำให้เราได้สามารถร่วมแลกเปลี่ยน พูดคุย วิพากษ์วิจารณ์ต่อสถานการณ์ความเป็นไปของสังคมได้แม้อยู่ในถิ่นที่ห่างไกล จนแทบเหมือนได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ แม้จะไม่รู้เลยว่าความจริงที่ได้รับเป็นเพียงกี่เศษเสียวของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

 

คิดแล้วก็ให้ย้อนไปถึงในห้องเรียนวิชาการสื่อสารมวลชนเท่าที่จำได้พอเลือนๆ ที่อาจารย์พูดไว้เรื่องเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวว่า ต้องทันเหตุการณ์ เร้าอารมณ์ ใกล้ชิดสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม รอบด้าน และสิ่งที่เราได้รับรู้ผ่านสื่อคือสารที่ได้รับการคัดสรรค์แล้วเพื่อการนำเสนอเพื่อให้คนรู้เท่าทันเหตุการณ์  แต่เมื่อเสพมันแล้วก็ผ่านเลยไป ในขณะที่สภาพความเป็นจริงของปัญหาที่ต้องแสวงหาแนวทางแก้ไขคือความซับซ้อนที่ได้ถูกซ่อนเอาไว้

 

ทำให้เกิดคำพูดที่ว่าสื่อมอมเมาประชาชน แต่หากมองอีกด้านหนึ่งการนำเสนอข่าวของสื่อในปัจจุบันมีทางเลือกที่มากขึ้น และการนำเสนอแง่มุมที่หลากหลาย ซึ่งในส่วนของการรับข่าวสารจากสื่อในปัจจุบันผู้รับข่าวสารเองแม้ไม่ใช้คนถูกกำหนดไว้ให้เป็นผู้แก้ปัญหา แต่เป็นผู้กระตุ้นเตือนผู้มีหน้าที่รับผิดชอบให้ต้องเร่งแก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคม

 

ดังนั้นคงไม่แปลกหากจะวาดฝันว่าในฐานะผู้บริโภคข่าวสารที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราน่าจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสังคมจากการรับรู้ข่าวสารที่นอกจากการวิเคราะห์เลือกรับข้อมูลแล้ว ยังสำคัญในกระบวนการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสังคม ไม่ใช่เพียงแต่ตกเป็นเหยื่อการมอมเมาจากสื่อ และข่าวสารที่มีอยู่มากมายในปัจจุบันอย่างที่ว่ากันเท่านั้น

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 ภาพจาก reutersคิม ไชยสุขประเสริฐวันฝนตก ฉันนั่งอ่านบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงษ์ <1> ในหนังหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง ที่เขียนเกี่ยวกับภาพของ นางการ์เม่ ชาคอน (Carme Chacon) วัย 37 ปี ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ The International Herald Tribune ขณะที่นางชาคอน ผู้ซึ่งในรัฐบาลชุดก่อนเป็นรัฐมนตรีการเคหะ กำลังเดินตรวจพลสวนสนามครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ของสเปน ในกรุงมาดริด เมื่อวันที่ 14 เม.ย.... เธออยู่ในชุดกางเกงกับเสื้อคลุมท้อง และสวมรองเท้าส้นสูง...นางชาคอนได้เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของสเปน เมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บไซต์ artshole โดย Richard Sayerตติกานต์ เดชชพงศ เมื่อไม่กี่วันก่อน อาจารย์ 2 ท่านจากสถาบันอุดมศึกษาเก่าแก่ ออกแถลงการณ์เตือนให้ ‘คนทำสื่อ' และ ‘คนบริโภคสื่อ' ระมัดระวังภาวะ ‘สื่อเป็นพิษ' อันเนื่องมาจากการบริโภคข้อมูลปนเปื้อน ‘ความรุนแรง' ที่แฝงเร้นมากับข่าวและบทความอันท่วมท้นล้นหลามในยุคสารสนเทศครองเมืองไม่แน่ใจนักว่า ‘สื่อเป็นพิษ' จะก่อให้เกิดอาการอะไรที่เป็นผลร้ายแรงกับสุขภาพร่างกายหรือไม่ แต่ถ้าพูดถึงอาการ ‘อาหารเป็นพิษ' ซึ่งคนส่วนใหญ่ ‘บริโภค' เข้าไปเพราะไม่รู้เท่าทัน จะทำให้ผู้บริโภคอาเจียน ท้องเสีย หน้ามืดหมดแรง หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตเพราะพิษเข้าสู่กระแสเลือด...…
Hit & Run
  [^_^]/ระเบิด (bomb) [n.] คือวัตถุที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' จะบรรจุ ‘วัตถุระเบิด' หรือสารที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' ไว้ภายใน00025 เมษายน 2551 เวลา 6.30 น.วัดแสนฝาง ถนนท่าแพ จ.เชียงใหม่นายนที อนันทปัญญสุทธิ์ อายุ 45 ปี พ่อค้าขายเสื้อผ้า กำลังรถไปจอดภายในบริเวณวัดแสนฝาง เขาพบกล่องพัสดุสีขาวไม่ระบุชื่อผู้รับ วางอยู่หน้าทางขึ้นศาลาวัด  นายนทีหยิบกล่องนั้นขึ้นมารู้ว่ามีน้ำหนัก คิดว่าเป็นของมีค่าอยู่ภายในจึงได้แกะดูพร้อมกับเดินไปตามถนนเพื่อเข้ามาเปิดร้านขายเสื้อผ้าที่ตลาดวโรรสหรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า ‘กาดหลวง'แต่พอใกล้ถึงร้านเขาเปิดฝากล่องออกมาดูพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องจริงๆ…
Hit & Run
  มุทิตา เชื้อชั่ง โอว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่ ....สุ้มเสียงเธอเป็นอย่างไร ไม่สู้จำได้ ตราตรึงไว้เพียงริมฝีปากทำนองเพลงฟังผ่านๆ ไป แต่ทำนองการเคลื่อนไหวเร้าใจกว่ามากบุคลิกแคล่วคล่องว่องไว หนุ่มๆ ขอใกล้ ป้าๆ ขอจากยาลม ยาดม ยาหม่อง เร่งเอามากอง อย่าให้หายาก  โอว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่....สีสันแห่งยุคสมัย ขายได้ ขายไว เลื่อนไหลเชี่ยวกรากจับเธอมาใส่ชุดไทย น่ารักสดใส เซ็กซี่ไม่เหลือซากปกติเสื้อหาย กางเกงหด คราวนี้งามงด โอ้... ไทยมั่กๆเด็กชอบ ผู้ใหญ่อมยิ้ม ดูหนังสือพิมพ์ คอนทราสต์หายอยากหยดเยิ้ม หยาดย้วย หยอดย้อย ผู้ใหญ่หวังคอยเด็กไทยรู้รากแต่ราฟฟี่ แนนซี่ กอล์ฟ ไมค์…
Hit & Run
   อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘ดรีมทีม ฮีโร่ฟันน้ำนม' (Dream Team) ปล่อยตัวอย่างภาพยนตร์แสนน่ารักออกมายั่วยวนคนรักเด็กแล้ว ในสัปดาห์แรกที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายซึ่งประจวบเหมาะเป็นช่วงปิดเทอม จึงเห็นมีเด็กตัวเล็กๆ มาดูกันคับโรงไปหมด เช่นเคย ทุกครั้งก่อนภาพยนตร์จะได้ฉาย คนดูหนังจะต้องลุกขึ้นยืนเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงขึ้น และอาจจะด้วยความไร้เดียงสา เด็กคนหนึ่งพูดออกมาเสียงงอแงค่อนข้างดังว่า "มาดูหนัง ทำไมต้องยืนด้วย"อาจไม่แปลกที่เด็กน้อยไม่คุ้นชินกับธรรมเนียมที่โลกของผู้ใหญ่ปฏิบัติกันมายาวนาน แต่นั่นยังไม่ซับซ้อนน่าสงสัย…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรืองคณะสุภาพบุรุษ (เสี่ยว)กระแสหนังสือ ‘ลับ ลวง พราง: ปฏิวัติปราสาททราย' ของ คุณวาสนา นาน่วม กำลังมาแรง และวันนี้เราลองมาคุยกันถึงเรื่องนี้หน่อย ผมได้ลองหยิบหนังสือเล่มนี้ของลูกพี่ไปอ่าน ทีแรกไม่ได้ตั้งใจอ่านม้วนเดียวจบ แต่คุณวาสนา เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง (?) น่าติดตาม และสนุกไปกับกลวิธีการเขียน --- ผมอ่านจากหน้าไปหลัง หลังไปหน้า ดูสารบัญแล้วเปิดอ่าน แต่สรุปแล้วก็อ่านจบทุกบท เพราะมันคล้ายๆ หนังสือกอสซิปดาราถามว่าอ่านแล้วได้อะไรบ้าง? สิ่งที่สำคัญที่ผมได้ก็คือ รู้สึกว่ากลยุทธ์ของทหารไทย ไม่ได้หนีไปจากยุคสามก๊กเท่าไร และมันทำให้ได้รู้ว่า ชายชาติทหารก็คือปุถุชนคนธรรมดา…
Hit & Run
   จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ ตลอดสัปดาห์นี้ ดูเหมือนเรื่องร้อนๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องจะ ‘แก้-ไม่แก้' รัฐธรรมนูญ บางคนบอกว่า ไม่ควรแก้กันตอนนี้ เพราะรัฐบาลยังไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เรียบร้อย ผู้เขียนกลับเห็นว่า ควรจะแก้เสียตอนนี้เลย เพราะแม้ว่า รัฐธรรมนูญไทยจะถูกฉีกเป็นว่าเล่น ต้องร่างใหม่กันบ่อยๆ จนตอนนี้ปาเข้าไปฉบับที่ 18 คำนวณอายุโดยเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญก็ตกอยู่ราวๆ ฉบับละ 4 ปีนิดๆ พอๆ กับอายุบัตรนักศึกษามหาวิทยาลัย สั้นกว่ากฎหมายและระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] หรือแม้กระทั่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับเก่า ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2473 (ที่ตอนนี้…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองตั้งใจจะพักเรื่องการเมืองที่กำลังร้อนขึ้นหลังวันที่ 28 มี.ค.นี้ เลยหลบไปแถวแม่น้ำเพื่อให้ลมเย็นๆ กับสายน้ำที่ชุ่มฉ่ำๆ ไหลมาชโลมให้ชื่นจิตชื่นใจ แต่ไปจนถึงริมฟังแม่โขง กลับมาไม่วายร้อนรุ่มใจดังเดิม ไม่ใช่เพราะดื่มไปหลายกลมจนตัวร้อน แต่ได้ไปฟังข่าวแว่วๆ มาแล้วท่าทางไม่ค่อยจะดี....วันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมาเป็น ‘วันหยุดเขื่อนโลก' และตรงกับงานบุญ 100 วัน คุณมด ‘วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์' ที่ ตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี หลังไปร่วมงาน เลยไปอีกหน่อยเป็นอำเภอโขงเจียม ติดแม่น้ำโขง ได้ดูแม่น้ำอันกว้างใหญ่สมใจ แต่ชาวบ้านที่งานบุญคุณมดเล่าให้ฟังว่า หลังท่านสมัคร สุนทรเวช…
Hit & Run
   พวกปาหินหนักแผ่นดิน น่าจะตายไปเสียให้หมด...ขอให้จับคนร้ายได้ไวๆ แล้วเอาตัวไปประหารชีวิต...พวกวัยรุ่นปาหินสมควรตาย... {ตติกานต์ เดชชพงศ}ประโยคที่ถูกส่งผ่านทาง SMS มายังหน้าจอโทรทัศน์ซึ่งกำลังเสนอรายการประเภท ‘เล่าข่าว' เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551 ส่วนใหญ่เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นคือ การแสดงความเกลียดชังต่อผู้ก่อเหตุ ‘ปาหิน' ไปโดนศีรษะเด็กชายอนุพงษ์ สายเพ็ชร หรือ ‘น้องมอส' อายุ 12 ปี ซึ่งนั่งรถมากับพ่อผู้เป็นคนขับรถบรรทุก และน้องมอสได้เสียชีิวิตในเวลาไม่นานหลังจากนั้นหลายคนสาปแช่งคนลงมือก่อเหตุให้ตายตกไปตามกัน ในขณะที่อีกบางส่วนก็แสดงความเห็นใจผ่านข้อความที่ส่งมา…
Hit & Run
คิม ไชยสุขประเสริฐ กับภาพเคลื่อนไหวในจอตู้สี่เหลี่ยม...คุณครูคนหนึ่งกับกิจวัตรประจำวันในการสอนหนังสือ... ดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งที่สะกิดใจฉันอย่างจังคือประโยคที่ว่า"จะรู้ว่าใครเก่งแค่ไหนต้องรอดูว่าใคร (สอบ) ได้ที่หนึ่ง... ได้ที่หนึ่งแล้วจะบอกว่าไม่เก่งก็คงไม่ได้"ครูซึ่งดูก็รู้ว่าเชี่ยวกรำกับวิชาชีพนี้มานานนับสิบปี พูดถึงการวัด ‘ความเก่ง’ ของเด็กนักเรียน โดยใช้ลำดับที่ของการสอบ ถูกนำไปผูกโยงกับ ‘ตัวสินค้า’ ในฐานะรถกระบะคันเก่งที่ขายได้เป็น ‘อันดับหนึ่ง' ซึ่งมีสโลแกนว่า ‘รถกระบะอันดันหนึ่งของคนไทย' ทั้งนี้ เมื่อว่าด้วยเรื่องของการตลาดแล้ว ในฐานะที่ไม่ได้ติดตามในเรื่องนี้ก็ไม่อาจทราบได้ว่า…
Hit & Run
 ถ้าจะสร้างวิวาทะอะไรที่มันๆ ให้ NGO's นักวิชาการ หรือแอคทิวิสต์แนวชุมชนโรแมนติก ที่เราเรียกพวกเขาว่า "ปัญญาชน" แลกเปลี่ยนกันมันๆ นั้น วันนี้เรามาพูดถึงความดีของ "ทักษิณ ชินวัตร" กันดีกว่า...วิทยากร บุญเรืองคณะสุภาพบุรุษ (เสี่ยว) *ผมเป็นคนจน คนแถวบ้านผมก็เป็นคนจน เราเป็นคนจนกึ่งเมืองกึ่งชนบทแบบว่าไม่มีต้นทุนเป็นผืนป่า แม่น้ำ หรือภูเขาเป็นของตัวเอง ไม่มีการสร้างโครงการขนาดใหญ่จากรัฐหรือนายทุน ปัญหาที่เราต้องเจอก็มีแค่การหาเงินซื้อข้าวสารกรอกหม้อ เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย เลี้ยงครอบครัวไปวันๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็หาเลี้ยงชีพด้วยวิธีออกไปขายแรงในเมือง หรือตามเทือกสวนไร่นา แปลงเล็กๆ ที่ยังเหลืออยู่…
Hit & Run
  พืชผักผลไม้ในท้องตลาด เสี่ยงต่อการมีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างจากการผลิตแบบเกษตรเชิงพาณิชย์ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตดังนั้นจึงมีเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งแสวงหาทางเลือกใหม่ หนึ่งในทางเลือกนั้นคือการทำ ‘เกษตรอินทรีย์'พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) และสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) จัดกิจกรรมผู้บริโภคสัญจรไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ ที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พบกับเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์…