Skip to main content

< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >


หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)

จรัสพงษ์ บอกว่า สาเหตุของปัญหาที่เกิดในขณะนี้นั้นมาจาก 3 ปัจจัยนั่นคือ การโกงกิน ความแตกแยก และ คุณภาพผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยได้ขยายความถึงคุณภาพของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้อย่างละเอียดตั้งแต่ชาติกำเนิด (ไทย/ จีน/ เจ๊ก/ ลาว/ เสี่ยว) ไปจนถึงระดับการศึกษา และสถานภาพทางชนชั้น

ลองนั่งคิดต่อเล่นๆ จากบทสัมภาษณ์ของจรัสพงษ์แล้ว ก็น่าสนใจอย่างยิ่งว่า ถ้าจะให้คนมีเสียงไม่เท่ากัน เพราะ “คุณภาพ” แล้ว จะวัดกันอย่างไร

การจะให้สิทธิใครได้มากกว่าใครอาจต้องคิดคำนวณกันตั้งแต่ระดับดีเอ็นเอ คนที่พ่อเรียนจบปริญญาโท ส่วนแม่จบ ป.4 กับคนที่พ่อเรียนไม่จบ แต่แม่มีดีกรีเป็นดอกเตอร์ จะมีค่า หรือสิทธิ เท่าหรือต่างกันกี่มากน้อย

เมื่อเข้าโรงเรียน เด็กที่เรียนโรงเรียนวัดจะมีสิทธิต่างจากคนที่เข้าเรียนในโรงเรียนระดับท็อปไฟว์ของประเทศแค่ไหน แล้วเด็กที่ได้ที่หนึ่งของหมู่บ้านเล็กๆ ในอีสานจะมีค่าเทียบเท่ากับที่โหล่ของโรงเรียนท็อปไฟว์ในกรุงเทพฯ หรือเปล่า

เมื่อจบการศึกษา เราจะให้สิทธิแก่นักศึกษาเหล่านั้นลดหลั่นตามลำดับชั้นความยอดนิยมของมหาวิทยาลัย หรือจะวัดจากอะไร ความเก่าแก่? คุณภาพ? การจัดอันดับโดยคนไทย? (ที่ขี้เกียจ และปล่อยให้ “เจ๊ก” กับ “เสี่ยว” ยึดเมืองตามความเห็นของจรัสพงษ์) หรือ อาจต้องโดยต่างชาติแบบสิงคโปร์? (ที่เจริญแล้วในสายตาของจรัสพงษ์)

เพียงไม่กี่ช่วงของชีวิตก็ดูเหมือนการให้สิทธิตีค่าของคนจะซับซ้อนทับซ้อนจนยากจะคำนวณ

งานแบบไหนจะได้รับสิทธิสูงสุดกว่ากัน ข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้า (ห้างร้าน/ หาบเร่/ แบกะดิน) โปรแกรมเมอร์ นักบิน ครู หมอ ดีไซเนอร์ คนขายข้าวหน้าเป็ด มอเตอร์ไซค์รับจ้าง นักเขียน ?

ต้องขึ้นอยู่กับบริษัทด้วยไหม บริษัทเฉยๆ บริษัทมหาชน บรรษัทสากล หรือบริษัทระดับจักรวาล?
 
ผู้ใช้แรงงาน (ที่เหมือนบาบูนในสายตาของจรัสพงษ์) ซึ่งฝึกฝนฝีมือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจนชำนาญ แต่ได้ค่าแรงน้อยนิดเพราะถูกนายจ้าง ซึ่งมีการศึกษาสูง เฉียบแหลมในการคำนวณต้นทุนให้ต่ำสุดใจ เพื่อกำไรสูงสุดขีด จะมีเสียงสักเท่าใดดี  

คนรากหญ้าที่เดือนเงินหรือค่าแรงต่อวันถูกแสนถูก จนรัฐบาลไม่ (อาจ) เก็บภาษีเงินได้ แต่ต้องจ่ายภาษีทางอ้อม 7% ผ่านการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคทุกวันๆ กับเศรษฐีใหญ่ ที่แน่นอนว่าจ่าย 7% เหมือนกัน แต่ที่ดินที่บังเอิญมีหลายร้อยแปลงนั้นไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน หรือภาษีมรดกสักแดง (คนจะรวยช่วยไม่ได้?) จะมีค่าต่างกันยังไง
 
การให้คุณค่าแก่ใครคนใดคนหนึ่งนั้น ต่างคนก็มีมาตรฐานกันคนละชุด สายตาคนละแบบ ความเชื่อคนละลัทธิ

อะไรคือจุดที่ลงตัว หากไม่กลับมาที่จำนวนที่ “นับได้” (1 คน 1 เสียง)

“การเมืองใหม่” ที่หลายคนผลักดัน ไม่ว่าจะมีรูปแบบอย่างไร สุดท้ายแล้วก็ใช้จำนวนเสียงจำนวนหัวของผู้ชุมนุม ในการผลักดันประเด็นมิใช่หรือ ไม่อย่างนั้นการมารวมตัวชุมนุมเพื่อ “แสดงพลัง” นั้นจะมีความหมายอะไร

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
  ตติกานต์ เดชชพงศ  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้ไปดูฉากโหดๆ อาทิ หัวขาดกระเด็น เลือดสาดกระจาย กระสุนเจาะกระโหลกเลือดกระฉูด ในหนังไทย (ทุ่มทุนสร้างกว่า 80 ล้านบาท!) เรื่อง ‘โอปปาติก'  รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าหนังเรื่องนี้รอดพ้นเงื้อมมือกองเซ็นเซอร์ผู้เคร่งครัดมาได้ยังไง?เพราะด้วยการทำงานของหน่วยงานเดียวกันนี้ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งถูกห้ามฉาย เพราะมีฉากพระสงฆ์เล่นกีตาร์, และฉากนายแพทย์บอกเล่าว่าตนก็มีึความรู้สึกทางเพศ แม้แต่ฉากเด็กผู้หญิงอาบน้ำ (ซึ่งเป็นเพียงตัวการ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ยังถูกเซ็นเซอร์มาแล้ว ด้วยข้อหา ‘ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดี'…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรือง ผมไปเจอข่าวชิ้นหนึ่ง เหตุเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งไม่ว่าจะยังไง ข่าวชิ้นนี้ผมว่ามันสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง สำหรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือข่าวที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาลศิริราช มาหากินกับพสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ลงคอ ... (กรุณาอ่านให้จบก่อนด่า)ท่านพงศพัศ พงษ์เจริญ ตำรวจหน้าหล่อ ได้กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลศิริราช มีเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นนั่นคือมีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรม และที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คือเป็นการก่อเหตุในเขตพระราชฐาน โดยขณะนี้ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานแล้วเตือนไปยังแก๊งมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาก่ออาชญากรรมว่า…
Hit & Run
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ 26 กันยายน 2550ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง   ภาพที่เห็นคือ...ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าวประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้นก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด…
Hit & Run
  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อนแม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์ สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆเมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นข่าวคราวกันพักใหญ่ในรอบสัปดาห์จนผู้หลักผู้ใหญ่ต้องรีบออกมาเต้นเร่าร้อนกันทั่ว เมื่อคุณหนูสาวๆ มีแฟชั่นเทรนใหม่เป็นการนุ่งกระโปงสั้นจุ๊บจิมโดยไม่สวมใส่ ‘กุงเกงลิง’ ความนิยมนี้เล่นเอาหลายคนหน้าแดงผ่าวๆจนพากันอุทาน ต๊ายยย ตาย อกอีแป้นจะแตก อีหนูเอ๊ยย ทำกันไปได้อย่างไร ไม่อายผีสาง เทวดาฟ้าดินกันบ้างหรืออย่างไรจ๊ะ โอ๊ย..ย สังคมเป็นอะไรไปหมดแล้ว รับแต่วัฒนธรรมตะวันตกมาจนไม่ลืมหูลืมตา วัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยไปไหนโม๊ดดดดเรื่องนี้มองเล่นๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ไม่เล็ก จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ คล้ายกับว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘กุงเกงลิง’…