Skip to main content

feet picture
ภาพจาก: http://imaim.wordpress.com

แรงกระเพื่อมของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ต่อเรื่อง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้ต้องมานั่งนับวันว่า เมื่อไหร่จะถึงวันที่กฎหมายฉบับนี้นี้จะเขาที่ประชุม ครม.เพื่อลุ้นเอาแค่กฎหมายฉบับนั้นจะผ่านครม.เข้าสู่สภาฯ ได้หรือไม่ แล้วค่อยไปว่ากันต่อด้วยเรื่องหน้าตาว่าจะออกมาสวย หล่อ เพียงใด

ตามที่ รมว.คลัง ท่านบอกผ่านสื่อมวลชนไว้ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา มีกำหนด 2 สัปดาห์ นี่ก็คงอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหมายแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ล่าสุด รมว.คลังกล่าวผ่านสื่อว่า กระทรวงการคลังยังเดินหน้าแนวคิดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือน ส.ค.นี้

นับย้อนไป..

หลังจากที่รัฐบาลโดยการนำของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกมาประกาศสนับสนุนให้เดินหน้ากฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และพ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ตามแนวคิด นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ที่ให้เหตุผลว่า "เพื่อความเป็นธรรมในสังคม" หลังจากพบว่าการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายเดิมมีปัญหาความเหลื่อมล้ำมากมาย

แถมยังแสดงความกระตือรือร้นในการออกกฎหมายดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด ด้วยการประกาศว่าร่างกฎหมายจัดทำเสร็จแล้วตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคม จ่อเข้าที่ประชุม ครม.แล้ว และคาดหวังว่าร่างกฎหมายภาษีที่ดินดังกล่าวจะผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรและบังคับใช้ได้ช่วงปลายปี 2552

แต่ข้อสงสัยที่ยังเซ็งแซ่ คือ ท่าน รมว.คลัง จะผลักดันเรื่องนี้สำเร็จหรือ เพราะรู้ๆ กันอยู่ว่า ส.ส.และ สว.ในสภา ต่างประกอบไปด้วยมหาเศรษฐีที่ดินที่เรียกกันถึงขั้นราชา ราชินี หากนับมูลค่าที่ดินรวมๆ คงจะนับเลขในหลักสิบล้านกับไม่หวาดไม่ไหว

.....

หลายคนมองว่า...

รัฐบาลชุดนี้ นายแน่มาก ที่กล้าหาญชาญชัยออกมาผลักดันเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงในเรื่องภาษีมรดก เพราะเขาวาดภาพถึงการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าต่อทรัพย์สินเหล่านี้ แต่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐบาลนี้ก็ยังไม่ใช่ภาษีก้าวหน้าอย่างแท้จริง และรัฐบาลนี้ไม่ใช่รัฐบาลแรกที่มองเห็นปัญหาการจัดเก็บภาษีที่มีอยู่

เรื่องนี้เคยเริ่มตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งมีกระแสความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเงินทุนจากของบุคคลเป็นระบบสหกรณ์ และ "ท่านปรีดี พนมยงค์" แกนนำคณะราษฎรได้ยกร่างฯ "เค้าโครงเศรษฐกิจ" แต่ถูกยกเลิกไป และในสมัยของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เองก็ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำการศึกษาร่างกฎหมาย ล่าสุดที่จ่อคิวจะเข้า ครม.คือในสมัยของ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็น รมว.คลัง แต่ก็มีการเปลี่ยนรัฐบาลเสียก่อน

ในส่วนหลักการที่ รมว.คลัง คนปัจจุบัน ยืนยัน มาตลอดนั่น คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะนำมาใช้นี้ จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม มีระบบจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ มีความทั่วถึง

ด้วยการจัดเก็บจากฐานมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และตามประเภทการใช้งาน ถ้าเป็นสำหรับการเกษตรอัตราการจัดเก็บก็จะต่ำสุดคือไม่เกิน 0.05 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นที่อยู่อาศัยก็จะสูงขึ้นหน่อยคือไม่เกิน 0.1 เปอร์เซ็นต์ และถ้าเป็นเชิงพาณิชย์จะอยู่ที่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนถ้าเป็นที่ดินที่ไม่ใช้ประโยชน์ก็จะจัดเก็บในอัตราสูงสุดนั่นก็คือ 0.5 เปอร์เซ็นต์

ผลคือ"ที่ดินเกิดการใช้ประโยชน์" จะถูกนำมาพัฒนาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ถูกปล่อยให้ทิ้งร้างเหมือนที่พบเห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน แม้ผลปรากฏออกมาจะเป็นสวนกล้วยในพื้นที่ทำเลทองก็ตาม

ส่วนรัฐในส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อย่าง อบต.และเทศบาลจะมี "รายรับเพิ่ม" จากการจัดเก็บภาษี เพื่อการบริหารจัดการในท้องถิ่น พูดได้ว่า รัฐบาลและกระทรวงการคลังกำลังเพ่งเล็งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก

สำหรับความเป็นธรรมแก่สังคมที่ รมว.คลังและท่านนายยกว่าไว้ ตีความได้ถึงการยึดหลัก "ผู้ที่ได้ประโยชน์ต้องจ่าย" ที่ดินพื้นที่มากในทำเลทองยอมได้ดอกผลจากที่ดินมากกว่าพื้นที่ขนาดเล็ก ก็ต้องจ่ายมากและเงินนั้นก็นำมาทำประโยชน์เพื่อท้องถิ่นนั้นๆ เอง

คำถามคือ จริงหรือที่ว่าสิ่งเหล่านี้คือการใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อมาช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ตามนัยการสร้างความเป็นธรรมในสังคมของใครหลายๆ คน

......

หลายคนให้ความเห็นว่า...

รัฐบาลหยิบเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกมาในช่วงนี้ ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับปากท้องประชาชนที่จะต้องเร่งแก้ในช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจ โดยมองว่ามันเป็นการเร่งรัดนำเงินออกจากกระเป๋าประชาชนทั้งที่เศรษฐกิจกำลังลุ่มๆ ดอนๆ

ยกตัวอย่างคนทั่วๆ ไป ในปัจจุบันคนที่เป็นเจ้าของบ้านหรือที่อยู่อาศัยนั้นไม่ต้องเสียภาษี แต่ภาษีตัวใหม่นั้นต้องเสีย เพราะฉะนั้นภาระของคนที่มีบ้านเป็นขอตัวเองตรงนี้เพิ่มขึ้น แต่ว่าอัตราภาษีก็ไม่ได้ถูกกำหนดมาแบบที่สูงมาก

ด้วยเหตุผลที่ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นช่องทางที่ทำให้รัฐสามารถมีรายได้เข้าคลังที่ดูเหมือนกำลังต้องการเอาอากาศเข้าไปเพื่อยื้อชีวิต หลังลุยรีดภาษีน้ำมัน เหล้า บุหรี่ไปกันแล้ว และเตรียมไล่บี้ภาษีสรรพาสามิตสถานบันเทิงผับ บาร์ คาราโอเกะ กันต่อ รวมทั้งการออก พ.ร.ก.เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ กู้เงินฉุกเฉิน 400,000 ล้านบาท ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามีความจำเป็นรีบด่วนเมื่อไม่กี่วันมานี้

แต่การที่กฎหมายตัวนี้แม้ว่าจะผ่านสภาแล้วก็จะยังไม่มีมีผลบังคับใช้ทันที เนื่องจากบทเฉพาะกาลที่กำหนดไว้ว่าหลังจากนั้นอีก 2 ปี จึงจะมีการจัดเก็บภาษี เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัว ตรงนี้ช่วยลดแรงเสียดทานจากการบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนั้นยังการออกกพระราชกฤษฎีกายกเว้นการเก็บภาษี หากทรัพย์สินมีมูลค่าต่ำกว่าที่กำหนด และมีช่องในการนำค่าเสื่อมสภาพของบ้านมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้

ตรงนี้ทำให้เกิดความสงสัยว่าหากหวังเม็ดเงินจากการเก็บภาษีในส่วนนี้ รัฐบาลนี้ก็คงต้องอยู่ยาวไปอย่างน้อย 2 ปี เพื่อจะได้ดำเนินการให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่วางแนวทางไว้ แต่หากหวังจะดึงเม็ดเงินมาช่วยหนุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ มองอย่างไรก็คงไม่ทันการ

ความจริงสิ่งที่ ปฏิเสธไม่ได้คือไม่ว่าในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจหรือไม่ ปัญหาที่ดินทำกินเป็นปัญหาปากท้องของประชาชนที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไข และอยู่ในขั้นวิกฤตลงทุกขณะ

.....

หลายคนตั้งความหวังว่า...

การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะช่วยลดการสะสมที่ดินเพื่อการเก็งกำไร เพราะที่ดินมีมูลค่าที่ต้องจ่ายไปกับภาษี ทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน โดยที่ดินถูกคายมาสู่ตลาด จนทำให้ราคาที่ดินต่ำลงพอที่ผู้มีความต้องการทั่วไป (ไม่เฉพาะคนจน) เข้าถึงได้

นั่นคือความคาดหวังของประชาชน ที่หวังแม้มันจะเป็นเพียงผลพลอยได้ของกฎหมายฉบับนี้

ก่อนหน้านี้หลายต่อหลายครั้ง ชาวบ้าน เกษตรกร คนจนไร้ที่ดิน หลายต่อหลายกลุ่มได้จากบ้านมาชุมนุมตากแดดตากฝนหน้าทำเนียบและกระทรวงต่างๆ เพื่อหวังมาต่อรองให้นักการเมืองมาช่วยแก้ปัญหาที่ดินทำกิน

ขณะที่เราจับจ้องอยู่กับกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่แม้จะได้รับแรงหนุนจากนายกรัฐมนตรีที่ออกปากว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลและของพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องผลักดัน แต่ก็ต้องรอลุ้นกับความจริงใจของรัฐบาลและนักการเมืองว่าจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องมากกว่ากัน

หลายพื้นที่ของประเทศนี้ ประชาชนกำลังประสบภัยปัญหาไม่มีที่ดินทำกิน มีการแย่งชิงพื้นที่เพื่อทำการเกษตรระหว่างชาวบ้านและนายทุนเจ้าที่ดินขนาดใหญ่ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ ซึ่งเป็นภาคประชาชนกลุ่มใหญ่ที่ออกมาเคลื่อนไหวแก้ปัญหาที่ดินของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ได้ร่วมทำงานแก้ปัญหาที่ดินกับรัฐบาล โดยนายกอภิสิทธิ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ และได้นั่งเป็นประธานด้วยตัวเอง ถึงวันนี้ใกล้ครบกำหนด 90 วัน ของการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ ในคณะกรรมการอำนวยการฯ แต่การดำเนินงานยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ในพื้นที่ ปัญหาการแย่งชิงที่ดินทำกินของชาวบ้านกับรัฐราชการ รวมทั้งอิทธิพลเถื่อนยังคงเกิดขึ้น มีการข่มขู่ คุกคาม และรุนแรงถึงขั้นยิงกราด เผาบ้านอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย

ตัวอย่างกรณีแรกที่ เขตพื้นที่ ส.ป.ก.ใน อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. มีการข่มขู่ คุกคาม ใช้อาวุธปืนยิงกราด และเผาบ้านพักชั่วคราวจำนวน 19 หลัง โดยกลุ่มชายฉกรรจ์ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นกลุ่มอิทธิพลมืดในพื้นที่ ที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทขนาดใหญ่ที่เคยขออนุญาตใช้พื้นที่เพื่อปลูกปาลืมน้ำมัน แม้ขณะนี้บริษัทได้หมดอายุแล้วแต่ยังมีความพยายามขับไล่ชุมชนต่างๆ ให้ออกจากพื้นที่ ส่งผลให้สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ต้องย้ายพื้นที่ไปอาศัยกับชุมชนใกล้เคียง

อีกกรณีหนึ่งในพื้นที่ ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งในอดีตเป็นพื้นที่อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดพื้นที่ป่าให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินเมื่อปี พ.ศ. 2515-2516 ต่อมาเมื่อสถานการณ์สงบลง รัฐบาลมีนโยบายให้ชาวบ้านอพยพออกจากพื้นที่ ซึ่งก็คือพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ให้บริษัทเอกชนเช่าปลูกป่ายูคาลิปตัส และเมื่อบริษัทหมดสัญญาเช่าแล้ว ชาวบ้านกลุ่มเดิมที่เคยทำกินในพื้นที่นี้มาก่อน จำนวน 171 ครอบครัวจึงเข้าไปทำกินในพื้นที่ แต่กลับถูกขู่คุกคามโดยการปล่อยข่าวว่าจะมีการใช้กำลังเข้าปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่

นอกจากนี้ยังมีกรณีของชาวบ้านที่ถูกประกาศพื้นที่ป่าทับที่ทำกินที่ปัญหายังคาราคาซังกันอยู่ แม้ในบางพื้นมีการตกลงให้ชาวบ้านทำกินชั่วคราว แต่ในบางพื้นที่กฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือข่มขู่คุกคามชาวบ้าน ให้ไม่สามารถทำมาหาอยู่ได้อย่างเป็นสุข

หลายครั้ง และหลายพื้นที่ ที่มักได้ยินเสียงสะท้อนจากในพื้นที่ว่า "ชาวบ้านกลัวกฎหมาย แต่นายทุนไม่กลัว เพราะเขามีเงิน เขามีรัฐเป็นเพื่อน"

และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนได้ถึงความจริงใจของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน

มันสร้างข้อสงสัยขึ้นในใจว่า การที่นายกรัฐมนตรีหยิบยกเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไปจนถึงเรื่องโฉนดชุมชน ธนาคารที่ดิน ขึ้นมาพูดถึง นั่นคือการหาเสียงท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ดูไม่ค่อยมั่นคงของรัฐบาลบนฐานคะแนนของคนรากหญ้า มากกว่าความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรคนยากจนโดยแท้จริง

.....

การที่คนส่วนหนึ่งให้การสนับสนุนแนวคิดจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง นั่นเพราะเขาถือว่ามันคือจุดเริ่มต้นหนึ่งของความพยายามจัดการกับความไม่เท่าเทียมที่มีอยู่ในสังคม ทั้งๆ ที่รู้ทั้งรู้ว่าแค่การจัดเก็บภาษีนี้ มันไม่สามารถทำให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างคนรวยและคนจนแคบลงได้ ไม่สามารถเร่งรัดให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินจากมือคนรวยสู่มือเกษตรกรได้ ไม่สามารถทำให้ราคาที่ดินถูกลงพอที่คนธรรมดาสามัญไม่ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำทำงานกว่าจะมีที่ดินมีบ้านเป็นของตัวเอง ฯลฯ

ถึงอย่างไรมันก็ยังดีกว่าไม่ได้เริ่มทำอะไร...

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการปฏิรูประบบภาษีที่จะมีส่วนอย่างสำคัญต่อการกระจายการถือครองที่ดิน ที่เราต้องการจะไปให้ถึง

เมื่อที่ดินคือทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ไม่แพ้น้ำ อากาศ ป่าไม้ ในฐานทรัพยากรในการผลิตที่ผูกพันกับวิถีชีวิตผู้คนมาเนินนาน และเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเข้าถึง แต่มันกลับถูกแปลงเป็นสินค้าที่ถูกควบคุมโดยกลไกตลาดอย่างเต็มรูป ที่ถูกปั่นราคา เก็งกำไร ซื้อมาขายไปกันอย่างคล่องมือในหมู่ผู้มีอันจะกินที่ไม่ต้องอาบเหงื่อลงดินก็มีกินไปตลอดชาติ

ในขณะนี้ที่การออกกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรการทางภาษียังต้องลุ้น แถมความคาดหวังถึงการปฏิรูปที่ดิน ยังเป็นเรื่องที่ดูยาวไกล

เอาแค่เฉพาะหน้านี้ จะทำอย่างไรให้ทุกคนที่อยากใช้ทรัพยากรที่ดินในการผลิตสามารถเข้าถึงได้ โดยไม่ถูกข่มขู่คุกคามจากกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ นี่คงเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหาที่ดินให้กับประชาชน และดูเหมือนมันจะยากเย็นเต็มกลืนอยู่แล้ว

รัฐบาลอย่าหยิบยกเรื่องปฏิรูปภาษีเพื่อความเป็นธรรม ปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน ขึ้นมาสร้างกระแส แล้วปล่อยให้เราต้องมานั่งฟันหวานอยู่กับอะไรที่เลื่อนลอย ช่วยสร้างผลงานสักชิ้นให้เห็นประจักษ์ในความจริงต่อการแก้ปัญหา ที่ไม่ใช่แค่การเอาผลประโยชน์ของประชาชนใช้เป็นเครื่องมือหาเสียงสนับสนุนทางการเมือง

เหมือนที่บอกกันมาว่า "ประชาธิปไตยของคนจนคือประชาธิปไตยที่กินได้" รัฐบาลที่ไม่มีน้ำยาแก้ปัญหาให้ประชาชนมีอยู่มีกินได้ก็ไม่ควรเป็นรัฐบาลของประชาชนเช่นกัน

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 หอกหักจูเนียร์  ขณะที่นั่งปั่นข้อเขียนชิ้นนี้ ยังมีสองเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และผมต้องอาศัยการแทงหวยคาดเดาเอาคือ1. การเลือกนายกรัฐมนตรี (จะมีในวันที่ 15 ธ.ค. 2551)2. การโฟนอินเข้ามายังรายการความจริงวันนี้ของคุณทักษิณ (จะมีในวันที่ 13 ธ.ค. 2551)เรื่องที่ผมจะพูดก็เกี่ยวเนื่องกับสองวันนั้นและเหตุการณ์หลังสองวันนั้น ผมขอเน้นประเด็น การจัดการ - การบริหาร "ความแค้น" ของสองขั้ว I ขอแทงหวยข้อแรกคือ ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551 หากว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกโหวตให้เป็นนายก และพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล (ขออภัยถ้าแทงหวยผิด แต่ถ้าแทงผิด…
Hit & Run
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ  หลังการประกาศชัยชนะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลังการยุบพรรค แล้วล่าถอยในวันที่ 3 ธ.ค. พอตกค่ำวันที่ 3 ธ.ค. เราจึงกลับมาเห็นบรรยากาศที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แทนที่สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ จะปราศรัยบนเวที หรือหลังรถปราศรัย ก็กลายเป็นเสวนา และวิเคราะห์การเมืองกันในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์ ASTV อย่างไรก็ตาม สนธิ ลิ้มทองกุล ก็พยายามรักษากระแสและแรงสนับสนุนพันธมิตรฯ หลังยุติการชุมนุมเอาไว้ โดยเขาเผยว่าจะจำลองบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไว้ในห้องส่ง เพื่อแฟนๆ ASTV โดยเขากล่าวเมื่อ 3 ธ.ค. [1] ว่า “พี่น้องครับ…
Hit & Run
พิชญ์ รัฐแฉล้ม            นานมากแล้วที่ “ประเทศของเรา” ประสบกับสภาพความมั่นคงและเสถียรภาพที่แหว่งวิ่นเต็มทน และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าความหวังในความสำเร็จของการจัดการกับปัญหายิ่งเลือนรางไปทุกที ทุกเรื่อง ทุกราว กำลังถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศเพื่อมารวมศูนย์ ณ เมืองหลวงมิคสัญญีแห่งนี้ จนกระแสข่าวรายวันจากปักษ์ใต้ อีสาน...แผ่วและเบาเหมือนลมต้นฤดูหนาว   สื่อต่างๆ ทั้งไทย-ต่างประเทศ ประโคมข่าวจากเมืองหลวงกระจายสู่ทุกอณูเนื้อโลก ช่างน่าตกใจ! ภาพแห่ง “ความรุนแรง” ของฝูงชนขาดสติและไม่เหลือแม้สายใยในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ถูกกระจายออกไป…
Hit & Run
  ธวัชชัย ชำนาญ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาร่วมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ "พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ" ความยิ่งใหญ่อลังการที่ทุกคนคงรู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ความสงบเงียบของบ้านเมืองที่ดูเหมือนมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างมากดทับกลิ่นอายของสังคมไทยที่เคยเป็นอยู่กลิ่นอายที่ว่านั้น..เป็นกลิ่นอายของความขัดแย้ง ความเกลียดชังของคนในสังคมที่ถูกกดทับมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บบอร์ด pantipจันทร์ ในบ่อ เชื่อว่าหลายคนคงได้ชมรายการตีสิบเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเชิญ ‘คุณต้น' อดีตนักร้องวง ‘ทิค แทค โท' บอยแบนด์ไทยสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นแรกๆ ที่โด่งดังราวสิบปีก่อนมาออกรายการ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่สังคมเรื่องผลเสียจากการใช้ยาเสพติดคุณต้นสูญเสียความทรงจำและมีอาการทางสมองชนิดที่เรียกว่า ‘จิตเภท' จากการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและยานอนหลับชนิดรุนแรง จนหลายปีมานี้เขาได้หายหน้าหายตาไปจากวงการบันเทิงและจดจำใครไม่ได้เลย คุณแม่เคยสัญญากับคุณต้นไว้ว่า หากอาการดีขึ้นจะพามาออกรายการตีสิบอีกครั้งเพื่อทบทวนเรื่องราวในอดีต เพราะคุณต้นและเพื่อนๆ…
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100…
Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   …
Hit & Run
   (ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่มฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลยฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า…
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า…
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น…