Skip to main content

feet picture
ภาพจาก: http://imaim.wordpress.com

แรงกระเพื่อมของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ต่อเรื่อง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้ต้องมานั่งนับวันว่า เมื่อไหร่จะถึงวันที่กฎหมายฉบับนี้นี้จะเขาที่ประชุม ครม.เพื่อลุ้นเอาแค่กฎหมายฉบับนั้นจะผ่านครม.เข้าสู่สภาฯ ได้หรือไม่ แล้วค่อยไปว่ากันต่อด้วยเรื่องหน้าตาว่าจะออกมาสวย หล่อ เพียงใด

ตามที่ รมว.คลัง ท่านบอกผ่านสื่อมวลชนไว้ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา มีกำหนด 2 สัปดาห์ นี่ก็คงอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหมายแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ล่าสุด รมว.คลังกล่าวผ่านสื่อว่า กระทรวงการคลังยังเดินหน้าแนวคิดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือน ส.ค.นี้

นับย้อนไป..

หลังจากที่รัฐบาลโดยการนำของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกมาประกาศสนับสนุนให้เดินหน้ากฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และพ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ตามแนวคิด นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ที่ให้เหตุผลว่า "เพื่อความเป็นธรรมในสังคม" หลังจากพบว่าการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายเดิมมีปัญหาความเหลื่อมล้ำมากมาย

แถมยังแสดงความกระตือรือร้นในการออกกฎหมายดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด ด้วยการประกาศว่าร่างกฎหมายจัดทำเสร็จแล้วตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคม จ่อเข้าที่ประชุม ครม.แล้ว และคาดหวังว่าร่างกฎหมายภาษีที่ดินดังกล่าวจะผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรและบังคับใช้ได้ช่วงปลายปี 2552

แต่ข้อสงสัยที่ยังเซ็งแซ่ คือ ท่าน รมว.คลัง จะผลักดันเรื่องนี้สำเร็จหรือ เพราะรู้ๆ กันอยู่ว่า ส.ส.และ สว.ในสภา ต่างประกอบไปด้วยมหาเศรษฐีที่ดินที่เรียกกันถึงขั้นราชา ราชินี หากนับมูลค่าที่ดินรวมๆ คงจะนับเลขในหลักสิบล้านกับไม่หวาดไม่ไหว

.....

หลายคนมองว่า...

รัฐบาลชุดนี้ นายแน่มาก ที่กล้าหาญชาญชัยออกมาผลักดันเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงในเรื่องภาษีมรดก เพราะเขาวาดภาพถึงการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าต่อทรัพย์สินเหล่านี้ แต่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐบาลนี้ก็ยังไม่ใช่ภาษีก้าวหน้าอย่างแท้จริง และรัฐบาลนี้ไม่ใช่รัฐบาลแรกที่มองเห็นปัญหาการจัดเก็บภาษีที่มีอยู่

เรื่องนี้เคยเริ่มตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งมีกระแสความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเงินทุนจากของบุคคลเป็นระบบสหกรณ์ และ "ท่านปรีดี พนมยงค์" แกนนำคณะราษฎรได้ยกร่างฯ "เค้าโครงเศรษฐกิจ" แต่ถูกยกเลิกไป และในสมัยของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เองก็ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำการศึกษาร่างกฎหมาย ล่าสุดที่จ่อคิวจะเข้า ครม.คือในสมัยของ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็น รมว.คลัง แต่ก็มีการเปลี่ยนรัฐบาลเสียก่อน

ในส่วนหลักการที่ รมว.คลัง คนปัจจุบัน ยืนยัน มาตลอดนั่น คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะนำมาใช้นี้ จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม มีระบบจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ มีความทั่วถึง

ด้วยการจัดเก็บจากฐานมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และตามประเภทการใช้งาน ถ้าเป็นสำหรับการเกษตรอัตราการจัดเก็บก็จะต่ำสุดคือไม่เกิน 0.05 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นที่อยู่อาศัยก็จะสูงขึ้นหน่อยคือไม่เกิน 0.1 เปอร์เซ็นต์ และถ้าเป็นเชิงพาณิชย์จะอยู่ที่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนถ้าเป็นที่ดินที่ไม่ใช้ประโยชน์ก็จะจัดเก็บในอัตราสูงสุดนั่นก็คือ 0.5 เปอร์เซ็นต์

ผลคือ"ที่ดินเกิดการใช้ประโยชน์" จะถูกนำมาพัฒนาอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ถูกปล่อยให้ทิ้งร้างเหมือนที่พบเห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน แม้ผลปรากฏออกมาจะเป็นสวนกล้วยในพื้นที่ทำเลทองก็ตาม

ส่วนรัฐในส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อย่าง อบต.และเทศบาลจะมี "รายรับเพิ่ม" จากการจัดเก็บภาษี เพื่อการบริหารจัดการในท้องถิ่น พูดได้ว่า รัฐบาลและกระทรวงการคลังกำลังเพ่งเล็งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก

สำหรับความเป็นธรรมแก่สังคมที่ รมว.คลังและท่านนายยกว่าไว้ ตีความได้ถึงการยึดหลัก "ผู้ที่ได้ประโยชน์ต้องจ่าย" ที่ดินพื้นที่มากในทำเลทองยอมได้ดอกผลจากที่ดินมากกว่าพื้นที่ขนาดเล็ก ก็ต้องจ่ายมากและเงินนั้นก็นำมาทำประโยชน์เพื่อท้องถิ่นนั้นๆ เอง

คำถามคือ จริงหรือที่ว่าสิ่งเหล่านี้คือการใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อมาช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ตามนัยการสร้างความเป็นธรรมในสังคมของใครหลายๆ คน

......

หลายคนให้ความเห็นว่า...

รัฐบาลหยิบเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกมาในช่วงนี้ ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับปากท้องประชาชนที่จะต้องเร่งแก้ในช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจ โดยมองว่ามันเป็นการเร่งรัดนำเงินออกจากกระเป๋าประชาชนทั้งที่เศรษฐกิจกำลังลุ่มๆ ดอนๆ

ยกตัวอย่างคนทั่วๆ ไป ในปัจจุบันคนที่เป็นเจ้าของบ้านหรือที่อยู่อาศัยนั้นไม่ต้องเสียภาษี แต่ภาษีตัวใหม่นั้นต้องเสีย เพราะฉะนั้นภาระของคนที่มีบ้านเป็นขอตัวเองตรงนี้เพิ่มขึ้น แต่ว่าอัตราภาษีก็ไม่ได้ถูกกำหนดมาแบบที่สูงมาก

ด้วยเหตุผลที่ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นช่องทางที่ทำให้รัฐสามารถมีรายได้เข้าคลังที่ดูเหมือนกำลังต้องการเอาอากาศเข้าไปเพื่อยื้อชีวิต หลังลุยรีดภาษีน้ำมัน เหล้า บุหรี่ไปกันแล้ว และเตรียมไล่บี้ภาษีสรรพาสามิตสถานบันเทิงผับ บาร์ คาราโอเกะ กันต่อ รวมทั้งการออก พ.ร.ก.เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ กู้เงินฉุกเฉิน 400,000 ล้านบาท ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามีความจำเป็นรีบด่วนเมื่อไม่กี่วันมานี้

แต่การที่กฎหมายตัวนี้แม้ว่าจะผ่านสภาแล้วก็จะยังไม่มีมีผลบังคับใช้ทันที เนื่องจากบทเฉพาะกาลที่กำหนดไว้ว่าหลังจากนั้นอีก 2 ปี จึงจะมีการจัดเก็บภาษี เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัว ตรงนี้ช่วยลดแรงเสียดทานจากการบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนั้นยังการออกกพระราชกฤษฎีกายกเว้นการเก็บภาษี หากทรัพย์สินมีมูลค่าต่ำกว่าที่กำหนด และมีช่องในการนำค่าเสื่อมสภาพของบ้านมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้

ตรงนี้ทำให้เกิดความสงสัยว่าหากหวังเม็ดเงินจากการเก็บภาษีในส่วนนี้ รัฐบาลนี้ก็คงต้องอยู่ยาวไปอย่างน้อย 2 ปี เพื่อจะได้ดำเนินการให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่วางแนวทางไว้ แต่หากหวังจะดึงเม็ดเงินมาช่วยหนุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ มองอย่างไรก็คงไม่ทันการ

ความจริงสิ่งที่ ปฏิเสธไม่ได้คือไม่ว่าในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจหรือไม่ ปัญหาที่ดินทำกินเป็นปัญหาปากท้องของประชาชนที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไข และอยู่ในขั้นวิกฤตลงทุกขณะ

.....

หลายคนตั้งความหวังว่า...

การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะช่วยลดการสะสมที่ดินเพื่อการเก็งกำไร เพราะที่ดินมีมูลค่าที่ต้องจ่ายไปกับภาษี ทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน โดยที่ดินถูกคายมาสู่ตลาด จนทำให้ราคาที่ดินต่ำลงพอที่ผู้มีความต้องการทั่วไป (ไม่เฉพาะคนจน) เข้าถึงได้

นั่นคือความคาดหวังของประชาชน ที่หวังแม้มันจะเป็นเพียงผลพลอยได้ของกฎหมายฉบับนี้

ก่อนหน้านี้หลายต่อหลายครั้ง ชาวบ้าน เกษตรกร คนจนไร้ที่ดิน หลายต่อหลายกลุ่มได้จากบ้านมาชุมนุมตากแดดตากฝนหน้าทำเนียบและกระทรวงต่างๆ เพื่อหวังมาต่อรองให้นักการเมืองมาช่วยแก้ปัญหาที่ดินทำกิน

ขณะที่เราจับจ้องอยู่กับกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่แม้จะได้รับแรงหนุนจากนายกรัฐมนตรีที่ออกปากว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลและของพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องผลักดัน แต่ก็ต้องรอลุ้นกับความจริงใจของรัฐบาลและนักการเมืองว่าจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องมากกว่ากัน

หลายพื้นที่ของประเทศนี้ ประชาชนกำลังประสบภัยปัญหาไม่มีที่ดินทำกิน มีการแย่งชิงพื้นที่เพื่อทำการเกษตรระหว่างชาวบ้านและนายทุนเจ้าที่ดินขนาดใหญ่ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ ซึ่งเป็นภาคประชาชนกลุ่มใหญ่ที่ออกมาเคลื่อนไหวแก้ปัญหาที่ดินของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ได้ร่วมทำงานแก้ปัญหาที่ดินกับรัฐบาล โดยนายกอภิสิทธิ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ และได้นั่งเป็นประธานด้วยตัวเอง ถึงวันนี้ใกล้ครบกำหนด 90 วัน ของการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ ในคณะกรรมการอำนวยการฯ แต่การดำเนินงานยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ในพื้นที่ ปัญหาการแย่งชิงที่ดินทำกินของชาวบ้านกับรัฐราชการ รวมทั้งอิทธิพลเถื่อนยังคงเกิดขึ้น มีการข่มขู่ คุกคาม และรุนแรงถึงขั้นยิงกราด เผาบ้านอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย

ตัวอย่างกรณีแรกที่ เขตพื้นที่ ส.ป.ก.ใน อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ช่วงวันที่ 16-19 พ.ค. มีการข่มขู่ คุกคาม ใช้อาวุธปืนยิงกราด และเผาบ้านพักชั่วคราวจำนวน 19 หลัง โดยกลุ่มชายฉกรรจ์ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นกลุ่มอิทธิพลมืดในพื้นที่ ที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทขนาดใหญ่ที่เคยขออนุญาตใช้พื้นที่เพื่อปลูกปาลืมน้ำมัน แม้ขณะนี้บริษัทได้หมดอายุแล้วแต่ยังมีความพยายามขับไล่ชุมชนต่างๆ ให้ออกจากพื้นที่ ส่งผลให้สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ต้องย้ายพื้นที่ไปอาศัยกับชุมชนใกล้เคียง

อีกกรณีหนึ่งในพื้นที่ ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งในอดีตเป็นพื้นที่อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดพื้นที่ป่าให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินเมื่อปี พ.ศ. 2515-2516 ต่อมาเมื่อสถานการณ์สงบลง รัฐบาลมีนโยบายให้ชาวบ้านอพยพออกจากพื้นที่ ซึ่งก็คือพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ให้บริษัทเอกชนเช่าปลูกป่ายูคาลิปตัส และเมื่อบริษัทหมดสัญญาเช่าแล้ว ชาวบ้านกลุ่มเดิมที่เคยทำกินในพื้นที่นี้มาก่อน จำนวน 171 ครอบครัวจึงเข้าไปทำกินในพื้นที่ แต่กลับถูกขู่คุกคามโดยการปล่อยข่าวว่าจะมีการใช้กำลังเข้าปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่

นอกจากนี้ยังมีกรณีของชาวบ้านที่ถูกประกาศพื้นที่ป่าทับที่ทำกินที่ปัญหายังคาราคาซังกันอยู่ แม้ในบางพื้นมีการตกลงให้ชาวบ้านทำกินชั่วคราว แต่ในบางพื้นที่กฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือข่มขู่คุกคามชาวบ้าน ให้ไม่สามารถทำมาหาอยู่ได้อย่างเป็นสุข

หลายครั้ง และหลายพื้นที่ ที่มักได้ยินเสียงสะท้อนจากในพื้นที่ว่า "ชาวบ้านกลัวกฎหมาย แต่นายทุนไม่กลัว เพราะเขามีเงิน เขามีรัฐเป็นเพื่อน"

และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนได้ถึงความจริงใจของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน

มันสร้างข้อสงสัยขึ้นในใจว่า การที่นายกรัฐมนตรีหยิบยกเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไปจนถึงเรื่องโฉนดชุมชน ธนาคารที่ดิน ขึ้นมาพูดถึง นั่นคือการหาเสียงท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ดูไม่ค่อยมั่นคงของรัฐบาลบนฐานคะแนนของคนรากหญ้า มากกว่าความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรคนยากจนโดยแท้จริง

.....

การที่คนส่วนหนึ่งให้การสนับสนุนแนวคิดจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง นั่นเพราะเขาถือว่ามันคือจุดเริ่มต้นหนึ่งของความพยายามจัดการกับความไม่เท่าเทียมที่มีอยู่ในสังคม ทั้งๆ ที่รู้ทั้งรู้ว่าแค่การจัดเก็บภาษีนี้ มันไม่สามารถทำให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างคนรวยและคนจนแคบลงได้ ไม่สามารถเร่งรัดให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินจากมือคนรวยสู่มือเกษตรกรได้ ไม่สามารถทำให้ราคาที่ดินถูกลงพอที่คนธรรมดาสามัญไม่ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำทำงานกว่าจะมีที่ดินมีบ้านเป็นของตัวเอง ฯลฯ

ถึงอย่างไรมันก็ยังดีกว่าไม่ได้เริ่มทำอะไร...

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการปฏิรูประบบภาษีที่จะมีส่วนอย่างสำคัญต่อการกระจายการถือครองที่ดิน ที่เราต้องการจะไปให้ถึง

เมื่อที่ดินคือทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ไม่แพ้น้ำ อากาศ ป่าไม้ ในฐานทรัพยากรในการผลิตที่ผูกพันกับวิถีชีวิตผู้คนมาเนินนาน และเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเข้าถึง แต่มันกลับถูกแปลงเป็นสินค้าที่ถูกควบคุมโดยกลไกตลาดอย่างเต็มรูป ที่ถูกปั่นราคา เก็งกำไร ซื้อมาขายไปกันอย่างคล่องมือในหมู่ผู้มีอันจะกินที่ไม่ต้องอาบเหงื่อลงดินก็มีกินไปตลอดชาติ

ในขณะนี้ที่การออกกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรการทางภาษียังต้องลุ้น แถมความคาดหวังถึงการปฏิรูปที่ดิน ยังเป็นเรื่องที่ดูยาวไกล

เอาแค่เฉพาะหน้านี้ จะทำอย่างไรให้ทุกคนที่อยากใช้ทรัพยากรที่ดินในการผลิตสามารถเข้าถึงได้ โดยไม่ถูกข่มขู่คุกคามจากกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ นี่คงเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหาที่ดินให้กับประชาชน และดูเหมือนมันจะยากเย็นเต็มกลืนอยู่แล้ว

รัฐบาลอย่าหยิบยกเรื่องปฏิรูปภาษีเพื่อความเป็นธรรม ปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน ขึ้นมาสร้างกระแส แล้วปล่อยให้เราต้องมานั่งฟันหวานอยู่กับอะไรที่เลื่อนลอย ช่วยสร้างผลงานสักชิ้นให้เห็นประจักษ์ในความจริงต่อการแก้ปัญหา ที่ไม่ใช่แค่การเอาผลประโยชน์ของประชาชนใช้เป็นเครื่องมือหาเสียงสนับสนุนทางการเมือง

เหมือนที่บอกกันมาว่า "ประชาธิปไตยของคนจนคือประชาธิปไตยที่กินได้" รัฐบาลที่ไม่มีน้ำยาแก้ปัญหาให้ประชาชนมีอยู่มีกินได้ก็ไม่ควรเป็นรัฐบาลของประชาชนเช่นกัน

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 ภาพจาก reutersคิม ไชยสุขประเสริฐวันฝนตก ฉันนั่งอ่านบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงษ์ <1> ในหนังหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง ที่เขียนเกี่ยวกับภาพของ นางการ์เม่ ชาคอน (Carme Chacon) วัย 37 ปี ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ The International Herald Tribune ขณะที่นางชาคอน ผู้ซึ่งในรัฐบาลชุดก่อนเป็นรัฐมนตรีการเคหะ กำลังเดินตรวจพลสวนสนามครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ของสเปน ในกรุงมาดริด เมื่อวันที่ 14 เม.ย.... เธออยู่ในชุดกางเกงกับเสื้อคลุมท้อง และสวมรองเท้าส้นสูง...นางชาคอนได้เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของสเปน เมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บไซต์ artshole โดย Richard Sayerตติกานต์ เดชชพงศ เมื่อไม่กี่วันก่อน อาจารย์ 2 ท่านจากสถาบันอุดมศึกษาเก่าแก่ ออกแถลงการณ์เตือนให้ ‘คนทำสื่อ' และ ‘คนบริโภคสื่อ' ระมัดระวังภาวะ ‘สื่อเป็นพิษ' อันเนื่องมาจากการบริโภคข้อมูลปนเปื้อน ‘ความรุนแรง' ที่แฝงเร้นมากับข่าวและบทความอันท่วมท้นล้นหลามในยุคสารสนเทศครองเมืองไม่แน่ใจนักว่า ‘สื่อเป็นพิษ' จะก่อให้เกิดอาการอะไรที่เป็นผลร้ายแรงกับสุขภาพร่างกายหรือไม่ แต่ถ้าพูดถึงอาการ ‘อาหารเป็นพิษ' ซึ่งคนส่วนใหญ่ ‘บริโภค' เข้าไปเพราะไม่รู้เท่าทัน จะทำให้ผู้บริโภคอาเจียน ท้องเสีย หน้ามืดหมดแรง หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตเพราะพิษเข้าสู่กระแสเลือด...…
Hit & Run
  [^_^]/ระเบิด (bomb) [n.] คือวัตถุที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' จะบรรจุ ‘วัตถุระเบิด' หรือสารที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' ไว้ภายใน00025 เมษายน 2551 เวลา 6.30 น.วัดแสนฝาง ถนนท่าแพ จ.เชียงใหม่นายนที อนันทปัญญสุทธิ์ อายุ 45 ปี พ่อค้าขายเสื้อผ้า กำลังรถไปจอดภายในบริเวณวัดแสนฝาง เขาพบกล่องพัสดุสีขาวไม่ระบุชื่อผู้รับ วางอยู่หน้าทางขึ้นศาลาวัด  นายนทีหยิบกล่องนั้นขึ้นมารู้ว่ามีน้ำหนัก คิดว่าเป็นของมีค่าอยู่ภายในจึงได้แกะดูพร้อมกับเดินไปตามถนนเพื่อเข้ามาเปิดร้านขายเสื้อผ้าที่ตลาดวโรรสหรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า ‘กาดหลวง'แต่พอใกล้ถึงร้านเขาเปิดฝากล่องออกมาดูพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องจริงๆ…
Hit & Run
  มุทิตา เชื้อชั่ง โอว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่ ....สุ้มเสียงเธอเป็นอย่างไร ไม่สู้จำได้ ตราตรึงไว้เพียงริมฝีปากทำนองเพลงฟังผ่านๆ ไป แต่ทำนองการเคลื่อนไหวเร้าใจกว่ามากบุคลิกแคล่วคล่องว่องไว หนุ่มๆ ขอใกล้ ป้าๆ ขอจากยาลม ยาดม ยาหม่อง เร่งเอามากอง อย่าให้หายาก  โอว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่....สีสันแห่งยุคสมัย ขายได้ ขายไว เลื่อนไหลเชี่ยวกรากจับเธอมาใส่ชุดไทย น่ารักสดใส เซ็กซี่ไม่เหลือซากปกติเสื้อหาย กางเกงหด คราวนี้งามงด โอ้... ไทยมั่กๆเด็กชอบ ผู้ใหญ่อมยิ้ม ดูหนังสือพิมพ์ คอนทราสต์หายอยากหยดเยิ้ม หยาดย้วย หยอดย้อย ผู้ใหญ่หวังคอยเด็กไทยรู้รากแต่ราฟฟี่ แนนซี่ กอล์ฟ ไมค์…
Hit & Run
   อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘ดรีมทีม ฮีโร่ฟันน้ำนม' (Dream Team) ปล่อยตัวอย่างภาพยนตร์แสนน่ารักออกมายั่วยวนคนรักเด็กแล้ว ในสัปดาห์แรกที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายซึ่งประจวบเหมาะเป็นช่วงปิดเทอม จึงเห็นมีเด็กตัวเล็กๆ มาดูกันคับโรงไปหมด เช่นเคย ทุกครั้งก่อนภาพยนตร์จะได้ฉาย คนดูหนังจะต้องลุกขึ้นยืนเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงขึ้น และอาจจะด้วยความไร้เดียงสา เด็กคนหนึ่งพูดออกมาเสียงงอแงค่อนข้างดังว่า "มาดูหนัง ทำไมต้องยืนด้วย"อาจไม่แปลกที่เด็กน้อยไม่คุ้นชินกับธรรมเนียมที่โลกของผู้ใหญ่ปฏิบัติกันมายาวนาน แต่นั่นยังไม่ซับซ้อนน่าสงสัย…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรืองคณะสุภาพบุรุษ (เสี่ยว)กระแสหนังสือ ‘ลับ ลวง พราง: ปฏิวัติปราสาททราย' ของ คุณวาสนา นาน่วม กำลังมาแรง และวันนี้เราลองมาคุยกันถึงเรื่องนี้หน่อย ผมได้ลองหยิบหนังสือเล่มนี้ของลูกพี่ไปอ่าน ทีแรกไม่ได้ตั้งใจอ่านม้วนเดียวจบ แต่คุณวาสนา เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง (?) น่าติดตาม และสนุกไปกับกลวิธีการเขียน --- ผมอ่านจากหน้าไปหลัง หลังไปหน้า ดูสารบัญแล้วเปิดอ่าน แต่สรุปแล้วก็อ่านจบทุกบท เพราะมันคล้ายๆ หนังสือกอสซิปดาราถามว่าอ่านแล้วได้อะไรบ้าง? สิ่งที่สำคัญที่ผมได้ก็คือ รู้สึกว่ากลยุทธ์ของทหารไทย ไม่ได้หนีไปจากยุคสามก๊กเท่าไร และมันทำให้ได้รู้ว่า ชายชาติทหารก็คือปุถุชนคนธรรมดา…
Hit & Run
   จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ ตลอดสัปดาห์นี้ ดูเหมือนเรื่องร้อนๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องจะ ‘แก้-ไม่แก้' รัฐธรรมนูญ บางคนบอกว่า ไม่ควรแก้กันตอนนี้ เพราะรัฐบาลยังไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เรียบร้อย ผู้เขียนกลับเห็นว่า ควรจะแก้เสียตอนนี้เลย เพราะแม้ว่า รัฐธรรมนูญไทยจะถูกฉีกเป็นว่าเล่น ต้องร่างใหม่กันบ่อยๆ จนตอนนี้ปาเข้าไปฉบับที่ 18 คำนวณอายุโดยเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญก็ตกอยู่ราวๆ ฉบับละ 4 ปีนิดๆ พอๆ กับอายุบัตรนักศึกษามหาวิทยาลัย สั้นกว่ากฎหมายและระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] หรือแม้กระทั่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับเก่า ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2473 (ที่ตอนนี้…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองตั้งใจจะพักเรื่องการเมืองที่กำลังร้อนขึ้นหลังวันที่ 28 มี.ค.นี้ เลยหลบไปแถวแม่น้ำเพื่อให้ลมเย็นๆ กับสายน้ำที่ชุ่มฉ่ำๆ ไหลมาชโลมให้ชื่นจิตชื่นใจ แต่ไปจนถึงริมฟังแม่โขง กลับมาไม่วายร้อนรุ่มใจดังเดิม ไม่ใช่เพราะดื่มไปหลายกลมจนตัวร้อน แต่ได้ไปฟังข่าวแว่วๆ มาแล้วท่าทางไม่ค่อยจะดี....วันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมาเป็น ‘วันหยุดเขื่อนโลก' และตรงกับงานบุญ 100 วัน คุณมด ‘วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์' ที่ ตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี หลังไปร่วมงาน เลยไปอีกหน่อยเป็นอำเภอโขงเจียม ติดแม่น้ำโขง ได้ดูแม่น้ำอันกว้างใหญ่สมใจ แต่ชาวบ้านที่งานบุญคุณมดเล่าให้ฟังว่า หลังท่านสมัคร สุนทรเวช…
Hit & Run
   พวกปาหินหนักแผ่นดิน น่าจะตายไปเสียให้หมด...ขอให้จับคนร้ายได้ไวๆ แล้วเอาตัวไปประหารชีวิต...พวกวัยรุ่นปาหินสมควรตาย... {ตติกานต์ เดชชพงศ}ประโยคที่ถูกส่งผ่านทาง SMS มายังหน้าจอโทรทัศน์ซึ่งกำลังเสนอรายการประเภท ‘เล่าข่าว' เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551 ส่วนใหญ่เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นคือ การแสดงความเกลียดชังต่อผู้ก่อเหตุ ‘ปาหิน' ไปโดนศีรษะเด็กชายอนุพงษ์ สายเพ็ชร หรือ ‘น้องมอส' อายุ 12 ปี ซึ่งนั่งรถมากับพ่อผู้เป็นคนขับรถบรรทุก และน้องมอสได้เสียชีิวิตในเวลาไม่นานหลังจากนั้นหลายคนสาปแช่งคนลงมือก่อเหตุให้ตายตกไปตามกัน ในขณะที่อีกบางส่วนก็แสดงความเห็นใจผ่านข้อความที่ส่งมา…
Hit & Run
คิม ไชยสุขประเสริฐ กับภาพเคลื่อนไหวในจอตู้สี่เหลี่ยม...คุณครูคนหนึ่งกับกิจวัตรประจำวันในการสอนหนังสือ... ดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่สิ่งที่สะกิดใจฉันอย่างจังคือประโยคที่ว่า"จะรู้ว่าใครเก่งแค่ไหนต้องรอดูว่าใคร (สอบ) ได้ที่หนึ่ง... ได้ที่หนึ่งแล้วจะบอกว่าไม่เก่งก็คงไม่ได้"ครูซึ่งดูก็รู้ว่าเชี่ยวกรำกับวิชาชีพนี้มานานนับสิบปี พูดถึงการวัด ‘ความเก่ง’ ของเด็กนักเรียน โดยใช้ลำดับที่ของการสอบ ถูกนำไปผูกโยงกับ ‘ตัวสินค้า’ ในฐานะรถกระบะคันเก่งที่ขายได้เป็น ‘อันดับหนึ่ง' ซึ่งมีสโลแกนว่า ‘รถกระบะอันดันหนึ่งของคนไทย' ทั้งนี้ เมื่อว่าด้วยเรื่องของการตลาดแล้ว ในฐานะที่ไม่ได้ติดตามในเรื่องนี้ก็ไม่อาจทราบได้ว่า…
Hit & Run
 ถ้าจะสร้างวิวาทะอะไรที่มันๆ ให้ NGO's นักวิชาการ หรือแอคทิวิสต์แนวชุมชนโรแมนติก ที่เราเรียกพวกเขาว่า "ปัญญาชน" แลกเปลี่ยนกันมันๆ นั้น วันนี้เรามาพูดถึงความดีของ "ทักษิณ ชินวัตร" กันดีกว่า...วิทยากร บุญเรืองคณะสุภาพบุรุษ (เสี่ยว) *ผมเป็นคนจน คนแถวบ้านผมก็เป็นคนจน เราเป็นคนจนกึ่งเมืองกึ่งชนบทแบบว่าไม่มีต้นทุนเป็นผืนป่า แม่น้ำ หรือภูเขาเป็นของตัวเอง ไม่มีการสร้างโครงการขนาดใหญ่จากรัฐหรือนายทุน ปัญหาที่เราต้องเจอก็มีแค่การหาเงินซื้อข้าวสารกรอกหม้อ เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย เลี้ยงครอบครัวไปวันๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็หาเลี้ยงชีพด้วยวิธีออกไปขายแรงในเมือง หรือตามเทือกสวนไร่นา แปลงเล็กๆ ที่ยังเหลืออยู่…
Hit & Run
  พืชผักผลไม้ในท้องตลาด เสี่ยงต่อการมีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างจากการผลิตแบบเกษตรเชิงพาณิชย์ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตดังนั้นจึงมีเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งแสวงหาทางเลือกใหม่ หนึ่งในทางเลือกนั้นคือการทำ ‘เกษตรอินทรีย์'พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) และสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) จัดกิจกรรมผู้บริโภคสัญจรไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ ที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พบกับเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์…