Skip to main content
 

  

ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง

เป็นเรื่องปกติในสังคมการเมืองแบบไทยๆ เมื่อมีบางคนใน ตองหนึ่ง' อดีตผู้บริหารไทยรักไทยเรียกร้องในสิทธิความเป็นมนุษย์ที่พึงมีต่อองค์กร ไม่ใช่พ่อ' และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอให้เข้ามาดูแลสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติห้ามอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยยุ่งเกี่ยวการเมืองทุกรูปแบบกรณี ซึ่งอาจเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพในการพูดและแสดงออก

แทบฉับพลันทันทีนั้น เสียงแขวะฝอยเลาะตะเข็บก็ดังควากออกมาอย่างหยามหยันมากมายตามหน้าสื่อต่างๆ

เมื่อตามรอยตะเข็บที่เลาะไป ใช่จะไม่มีมูล เพราะความชัดเจนในสิ่งที่รัฐบาลไทยรักไทยเคยทำเมื่อครั้งเรืองอำนาจสูงสุดก็คือ ความเฉยเมย' ต่อเรื่องที่พวกเขากำลังร้องหาเสียงหลงในเวลานี้ นั่นคือเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน' ซึ่งในช่วงเวลานั้นค่อนข้างเป็นไปอย่างรุนแรง ทั้งการทำสงครามยาเสพติดที่นำไปสู่การฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ การอุ้มฆ่าใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การประกาศใช้กฏอัยการศึก หรือกรณีการอุ้มทนาย สมชาย นีละไพจิตร เป็นต้น

แน่นอนว่าประเด็นเหล่านี้ล้วนสำคัญอย่างสมเหตุสมผลพอจะตั้งคำถามและสืบสวนตามกระบวนการยุติธรรมกลับไปยังรัฐบาลทักษิณ

แต่นั่นเป็นคนละประเด็นกับการ เรียกร้องสิทธิ' แม้ว่ามันจะมาจากผู้ที่เคยละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้อื่นอย่างรุนแรงก็ตาม ซึ่งในเรื่องราวดังกล่าวนี้ สิ่งที่น่าตระหนก ณ ขณะปัจจุบัน คือการปรากฏสัญญาณแห่งความมืด' ที่มีผลต่ออารมณ์และอุณหภูมิสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจะต้องรีบทบทวนกันก่อนจะกลายเป็นสามานย์สำนึกร่วม'

เพราะในเสียงที่แขวะฝอยหาตะเข็บนั้น แฝงนัยความหมายแห่งถ้อยคำที่หล่นออกมาจากปากของนัก (ที่เรียกตัวเองว่า) ประชาธิปไตย นักสิทธิมนุษยชนบางคน หรือสื่อบางฉบับดูในลักษณะเสียดสีเชิงสมน้ำหน้า การ เรียกร้องสิทธิ' ถูกมองเป็นเรื่องของคน ไม่เจ็บไม่จำ' หรือ ไม่โดนเอง ไม่รู้' และยกเรื่องเหล่านี้มาเปรียบเทียบแบบเด็กๆ ในทำนองทีเธอ-ทีฉัน' 

พูดง่ายๆ คือคล้ายกับจะบอกเป็นนัยๆ ว่า ทีเธอเมื่อก่อนยัง ทำ' ยิ่งกว่านี้ แค่เรื่องมติ กกต.นิดเดียวยังมีหน้ามาเรียกร้องสิทธิมนุษยชนอีกหรือ การกระทำแบบนี้เป็นแค่พวกห่วงแต่เสรีภาพตัวเองเท่านั้นเอง ในสื่อบางฉบับมีการใช้คำไปจนถึงขั้นว่า นักการเมือง' กำลังทำให้ สิทธิมนุษยชน' เป็นเรื่องตลก 

แต่มันคงตลกไม่ออก ถ้าจะถามต่อไปว่า สิทธิมนุษยชน' มันยกเว้น การใช้' ได้ด้วยหรือ ???

เพราะถ้าทำได้-มันเท่ากับการยกเว้น หลักการ' สำคัญของความเป็น มนุษย์' ที่มีสิทธิขั้นพื้นฐานเท่าเทียมกันในทั้งการคิด การกระทำ และการแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่ควรมีตราติดยี่ห้อไว้ว่ามนุษย์ผู้นั้น ดี' หรือ เลว'

หาก สิทธิมนุษยชน' คือการยกเว้นการใช้สำหรับผู้ที่ถูกติดตราบาปไว้แล้ว และคนเหล่านั้นไม่สามารถมีสิทธิเรียกร้องความชอบธรรมในความเป็นมนุษย์ใดๆ อีกต่อไป

หากบุคคลที่ถูกติดตราบาปเหล่านั้นจะถูกกระทำที่มากขึ้น หนักหนายิ่งกว่าแค่การตัดสิทธิ ไปจนถึงจองจำเสรีภาพ หรือเลวร้ายไปจนถึงการเผาเพื่อกำจัดพ่อมด-แม่มดในยุโรปยุคกลางก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะถ้าตรรกะของสังคมไทยยังเป็นไปด้วยความลักลั่นในการเลือกใช้ สิทธิมนุษยชน' แบบนี้ เราคงมีโอกาสเห็นปรากฏการณ์แบบ ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป' เกิดขึ้นอีกครั้งได้ไม่ยาก

การที่นัก (ที่เรียกตัวเองว่า) ประชาธิปไตย, นักสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชนกำลังทำให้การเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์เป็นเรื่องของการวัดกันที่ ความดี' และ ความเลว' ซึ่งเป็นเรื่อง (โคตรจะ) นามธรรมแล้ว ความเป็นมนุษย์ของนักนิยามตัวเองและผู้อื่นเหล่านี้คงมีวิธีคิดไม่ต่างอะไรกับวิธีคิดแบบนาซีหรือเขมรแดงที่มีลักษณะจำแนกมนุษย์ที่ลงเอยด้วยการ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์' ที่ตนมองว่า ไม่บริสุทธิ์' ไปหลายล้านคน...

แล้ว หัวใจ' ที่เริ่มต้นมองมนุษย์ด้วยกันอย่างเต็มไปด้วย ความรุนแรง' ของท่านเหล่านี้ ยังจะสามารถเดินไปบนเส้นทางที่พิทักษ์สิทธิมนุษยชนร่วมกับประชาชนได้อีกหรือ !!!

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
  ตติกานต์ เดชชพงศ  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้ไปดูฉากโหดๆ อาทิ หัวขาดกระเด็น เลือดสาดกระจาย กระสุนเจาะกระโหลกเลือดกระฉูด ในหนังไทย (ทุ่มทุนสร้างกว่า 80 ล้านบาท!) เรื่อง ‘โอปปาติก'  รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าหนังเรื่องนี้รอดพ้นเงื้อมมือกองเซ็นเซอร์ผู้เคร่งครัดมาได้ยังไง?เพราะด้วยการทำงานของหน่วยงานเดียวกันนี้ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งถูกห้ามฉาย เพราะมีฉากพระสงฆ์เล่นกีตาร์, และฉากนายแพทย์บอกเล่าว่าตนก็มีึความรู้สึกทางเพศ แม้แต่ฉากเด็กผู้หญิงอาบน้ำ (ซึ่งเป็นเพียงตัวการ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ยังถูกเซ็นเซอร์มาแล้ว ด้วยข้อหา ‘ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดี'…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรือง ผมไปเจอข่าวชิ้นหนึ่ง เหตุเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งไม่ว่าจะยังไง ข่าวชิ้นนี้ผมว่ามันสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง สำหรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือข่าวที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาลศิริราช มาหากินกับพสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ลงคอ ... (กรุณาอ่านให้จบก่อนด่า)ท่านพงศพัศ พงษ์เจริญ ตำรวจหน้าหล่อ ได้กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลศิริราช มีเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นนั่นคือมีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรม และที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คือเป็นการก่อเหตุในเขตพระราชฐาน โดยขณะนี้ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานแล้วเตือนไปยังแก๊งมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาก่ออาชญากรรมว่า…
Hit & Run
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ 26 กันยายน 2550ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง   ภาพที่เห็นคือ...ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าวประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้นก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด…
Hit & Run
  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อนแม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์ สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆเมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นข่าวคราวกันพักใหญ่ในรอบสัปดาห์จนผู้หลักผู้ใหญ่ต้องรีบออกมาเต้นเร่าร้อนกันทั่ว เมื่อคุณหนูสาวๆ มีแฟชั่นเทรนใหม่เป็นการนุ่งกระโปงสั้นจุ๊บจิมโดยไม่สวมใส่ ‘กุงเกงลิง’ ความนิยมนี้เล่นเอาหลายคนหน้าแดงผ่าวๆจนพากันอุทาน ต๊ายยย ตาย อกอีแป้นจะแตก อีหนูเอ๊ยย ทำกันไปได้อย่างไร ไม่อายผีสาง เทวดาฟ้าดินกันบ้างหรืออย่างไรจ๊ะ โอ๊ย..ย สังคมเป็นอะไรไปหมดแล้ว รับแต่วัฒนธรรมตะวันตกมาจนไม่ลืมหูลืมตา วัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยไปไหนโม๊ดดดดเรื่องนี้มองเล่นๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ไม่เล็ก จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ คล้ายกับว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘กุงเกงลิง’…