Skip to main content

  

 

จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์

ตลอดสัปดาห์นี้ ดูเหมือนเรื่องร้อนๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องจะแก้-ไม่แก้' รัฐธรรมนูญ

บางคนบอกว่า ไม่ควรแก้กันตอนนี้ เพราะรัฐบาลยังไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้เรียบร้อย ผู้เขียนกลับเห็นว่า ควรจะแก้เสียตอนนี้เลย

เพราะแม้ว่า รัฐธรรมนูญไทยจะถูกฉีกเป็นว่าเล่น ต้องร่างใหม่กันบ่อยๆ จนตอนนี้ปาเข้าไปฉบับที่ 18 คำนวณอายุโดยเฉลี่ยของรัฐธรรมนูญก็ตกอยู่ราวๆ ฉบับละ 4 ปีนิดๆ พอๆ กับอายุบัตรนักศึกษามหาวิทยาลัย สั้นกว่ากฎหมายและระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] หรือแม้กระทั่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์ฉบับเก่า ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.. 2473 (ที่ตอนนี้ ได้ฉบับใหม่มาประกาศใช้แทนเรียบร้อย ร.ร. สนช. ไปแล้ว)


แต่ก็นับว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ มีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของประชาชน เพราะได้กำหนดถึงวิธีการได้มาซึ่งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ที่จะมาทำหน้าที่บริหารประเทศ ออกกฎหมาย และควบคุมไม่ให้การกระทำของฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมาย หรือไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ แทนเรา (ซึ่งจะขอพูดถึงในลำดับต่อไป)

ยิ่งมาตรา 237 ที่ว่าด้วยเรื่องของการยุบพรรคการเมือง ยิ่งสำคัญกับเราทุกคน ตามที่ 5 อาจารย์แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า ไม่เห็นด้วยกับการตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพื่อยุบพรรคการเมือง เพราะเท่ากับความผิดของบุคคลคนเดียวนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง ที่ประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวนมากซึ่งไม่ได้ทำผิด อีกทั้งการเอาผิดกับบุคคลซึ่งไม่ได้กระทำ ยังขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างร้ายแรงด้วย

หากรัฐธรรมนูญไม่สามารถตีความครอบคลุมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลได้ เรื่องอื่นๆ ที่คงจะหวังได้ยาก... อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจะขอหยุดการแสดงความเห็นเรื่องมาตรา 237 ไว้ตรงบรรทัดนี้ เพราะได้มีผู้แสดงความเห็นไปแล้วหลาย คน (และผู้เขียนเห็นด้วย)

เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ทันทีที่ญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร กลุ่มพันธมิตรฯ ก็จะมีความชอบธรรมและจะชัดเจนว่าจะเคลื่อนไหวโดยการชุมนุมหรือไม่ เพราะมีจุดยืนคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่ามาตราใดๆ เนื่องจากไม่ใช่เรื่องสำคัญ โดยเห็นว่า รัฐบาลควรจะแก้ไขปัญหาอื่นของประเทศชาติก่อนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ผู้เขียนเห็นต่างว่า การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน เพราะการออกแบบการได้มาซึ่ง ส.ส. ส.ว. รวมถึง ศาล และองค์กรอิสระนั้น ออกจะบิดเบี้ยวไม่น้อย

เริ่มตั้งแต่ ส.ว. การสรรหา ส.ว. เกือบครึ่งหนึ่ง (74 คน) มาจากคณะกรรมการ 7 คน ได้แก่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตัวแทนที่ประชุมศาลฎีกา และตัวแทนที่ประชุมศาลปกครองสูงสุด

(โดยที่ ส.ว. ทั้งสรรหา และเลือกตั้ง นั้น สามารถถอดถอน ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้  และมีอำนาจแต่งตั้ง-ถอดถอนองค์กรอิสระ หรือก็คือบุคคลที่เลือกตนเองมาได้ด้วย)

ขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น จะได้มาจากการสรรหาโดยประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มาจากการสรรหาโดยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มาจากการสรรหาโดยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ตัวแทนที่ประชุมศาลฏีกา ตัวแทนที่ประชุมศาลปกครอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาจากการสรรหาโดยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ตัวแทนที่ประชุมศาลฏีกา ตัวแทนที่ประชุมศาลปกครอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ผู้ตรวจการแผ่นดิน สรรหาโดยโดยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ตัวแทนที่ประชุมศาลฏีกา และตัวแทนที่ประชุมศาลปกครอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[2]

นอกจากนี้ ขณะที่รัฐธรรมนูญห้ามกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญลงสมัคร ส.ส. ส.ว. แต่กลับไม่ห้ามดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ[3] ทั้งยังไม่มีการห้าม ส.ส.ร. และ สนช. ดำรงตำแหน่ง ส.ส. และ ส.ว.[4] ทั้งที่ ส.ส.ร. มีส่วนได้ส่วนเสียกับรัฐธรรมนูญ ที่ออกแบบการได้มาซึ่ง ส.ส. ส.ว. และ สนช.ก็เป็นผู้ผ่าน พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว.

หลักการไขว้กันขนาดนี้ ไม่แก้คงไม่ได้?

 



[1] ดู ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ : ฐานะและบทบาททางประวัติศาสตร์ของรธน.ในระบบประชาธิปไตยไทย

[2] ดู ตารางเปรียบเทียบจำนวน ที่มา ของศาล และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี2540และ2550

[3] จรัญ ภักดีธนากุล และสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้รับการสรรหาเป็นว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

[4] คำนูณ สิทธิสมาน และสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา

 

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
  ตติกานต์ เดชชพงศ  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้ไปดูฉากโหดๆ อาทิ หัวขาดกระเด็น เลือดสาดกระจาย กระสุนเจาะกระโหลกเลือดกระฉูด ในหนังไทย (ทุ่มทุนสร้างกว่า 80 ล้านบาท!) เรื่อง ‘โอปปาติก'  รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าหนังเรื่องนี้รอดพ้นเงื้อมมือกองเซ็นเซอร์ผู้เคร่งครัดมาได้ยังไง?เพราะด้วยการทำงานของหน่วยงานเดียวกันนี้ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งถูกห้ามฉาย เพราะมีฉากพระสงฆ์เล่นกีตาร์, และฉากนายแพทย์บอกเล่าว่าตนก็มีึความรู้สึกทางเพศ แม้แต่ฉากเด็กผู้หญิงอาบน้ำ (ซึ่งเป็นเพียงตัวการ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ยังถูกเซ็นเซอร์มาแล้ว ด้วยข้อหา ‘ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดี'…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรือง ผมไปเจอข่าวชิ้นหนึ่ง เหตุเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งไม่ว่าจะยังไง ข่าวชิ้นนี้ผมว่ามันสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง สำหรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือข่าวที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาลศิริราช มาหากินกับพสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ลงคอ ... (กรุณาอ่านให้จบก่อนด่า)ท่านพงศพัศ พงษ์เจริญ ตำรวจหน้าหล่อ ได้กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลศิริราช มีเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นนั่นคือมีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรม และที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คือเป็นการก่อเหตุในเขตพระราชฐาน โดยขณะนี้ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานแล้วเตือนไปยังแก๊งมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาก่ออาชญากรรมว่า…
Hit & Run
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ 26 กันยายน 2550ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง   ภาพที่เห็นคือ...ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าวประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้นก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด…
Hit & Run
  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อนแม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์ สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆเมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นข่าวคราวกันพักใหญ่ในรอบสัปดาห์จนผู้หลักผู้ใหญ่ต้องรีบออกมาเต้นเร่าร้อนกันทั่ว เมื่อคุณหนูสาวๆ มีแฟชั่นเทรนใหม่เป็นการนุ่งกระโปงสั้นจุ๊บจิมโดยไม่สวมใส่ ‘กุงเกงลิง’ ความนิยมนี้เล่นเอาหลายคนหน้าแดงผ่าวๆจนพากันอุทาน ต๊ายยย ตาย อกอีแป้นจะแตก อีหนูเอ๊ยย ทำกันไปได้อย่างไร ไม่อายผีสาง เทวดาฟ้าดินกันบ้างหรืออย่างไรจ๊ะ โอ๊ย..ย สังคมเป็นอะไรไปหมดแล้ว รับแต่วัฒนธรรมตะวันตกมาจนไม่ลืมหูลืมตา วัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยไปไหนโม๊ดดดดเรื่องนี้มองเล่นๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ไม่เล็ก จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ คล้ายกับว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘กุงเกงลิง’…