Skip to main content
 

  

อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง ดรีมทีม ฮีโร่ฟันน้ำนม' (Dream Team) ปล่อยตัวอย่างภาพยนตร์แสนน่ารักออกมายั่วยวนคนรักเด็กแล้ว ในสัปดาห์แรกที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายซึ่งประจวบเหมาะเป็นช่วงปิดเทอม จึงเห็นมีเด็กตัวเล็กๆ มาดูกันคับโรงไปหมด

เช่นเคย ทุกครั้งก่อนภาพยนตร์จะได้ฉาย คนดูหนังจะต้องลุกขึ้นยืนเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงขึ้น และอาจจะด้วยความไร้เดียงสา เด็กคนหนึ่งพูดออกมาเสียงงอแงค่อนข้างดังว่า "มาดูหนัง ทำไมต้องยืนด้วย"

อาจไม่แปลกที่เด็กน้อยไม่คุ้นชินกับธรรมเนียมที่โลกของผู้ใหญ่ปฏิบัติกันมายาวนาน แต่นั่นยังไม่ซับซ้อนน่าสงสัย เท่ากับการที่เรื่องทำนองนี้อาจสุ่มเสี่ยงต่อการถูกตีความได้ว่า เป็นการดูหมิ่นเบื้องสูง และการ ‘ดูหมิ่น' นี้ต่างจากกรณีดูหมิ่นทั่วๆ ไป ที่เปิดช่องให้ผู้อื่นเรียกร้องสิทธิ์และศักดิ์ศรีแทนกันได้ โดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นผู้เสียหาย

สังคมไทยยอมให้มีการเป็นเดือดเป็นร้อนแทนกันได้ อาจเพราะเชื่อว่า เป็นการแสดงความรักและปรารถนาดีต่อสถาบันอันเป็นที่รัก กฎหมายจึงเปิดให้การคุ้มครองป้องกันการถูกดูหมิ่นมีหลายระดับ มีทั้งมาตราธรรมดา กับมาตราที่ไม่ธรรมดา

ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้วในเมืองไทย เมื่อคนสองคนเข้าไปดูภาพยนตร์แล้วไม่ลุกขึ้นยืนก่อนหนังฉาย จนทำให้มีคนอีกคนหนึ่งโกรธแล้วทะเลาะวิวาทกันขึ้น ตอนนี้กำลังเป็นคดีความที่คนผู้นั้นฟ้องร้องว่า คนทั้งสองได้ดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง

ในด้านหนึ่ง กฎหมายอาจใช้คุ้มครองสังคม แต่ลืมไม่ได้ว่า ผู้ที่สามารถใช้อำนาจตามกฎหมาย ก็เปรียบดั่งคนที่มีดาบอยู่ในมือ เราจึงได้ยินบ่อยๆ ว่า คนที่ยิ่งมีอำนาจ ยิ่งต้องใช้มีระดับการไตร่ตรองที่สูงตามระดับอำนาจที่ถือครอง เพราะแม้จะมีดาบอยู่ในมือ แต่การใช้ดาบฟาดฟันโดยหวังให้ผลลัพธ์ผลิดอกออกมาเป็นความรักและศรัทธา ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะไปทางเดียวกัน

เราคงยากจะตีความไปว่า ยิ่งจำนวนคดีหมิ่นเบื้องสูงมากขึ้น ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความรัก แต่ข้อเท็จจริงชี้ว่าตำรวจทำคดีที่เป็นความผิดตาม ป..อาญา มาตรา 112 มากขึ้นเรื่อยๆ

กรณีล่าสุด ตำรวจเข้าแจ้งข้อหาหมิ่นเบื้องสูงต่อนาย โจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวประจำภูมิภาคเอเชียของบีบีซี และคณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) สืบเนื่องจากการจัดสัมมนาหัวข้อ Coup, Capital and Crown เป็นวงเสวนาเกี่ยวกับหนังสือ 2 เล่ม คือ Thai Capital after the 1997 Crises ซึ่ง ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ร่วมเขียนกับ คริส เบเกอร์ และ Journal of Contemporary Asia Special: The Thailand Coup ซึ่งเควิน ฮิววิสัน และไมเคิล คอนเนอร์เป็นบรรณาธิการร่วมกัน โดยกล่าวหาว่า นายโจนาธานซึ่งเป็นพิธีกรกล่าวเปิดงานสัมมนา ใช้ถ้อยคำเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง (อ่านข่าวนี้เพิ่มเติม)

เมื่อเร็วๆ นี้เอง (3 เม.. 50) เจ้าหน้าที่กระทรวงไอซีทีก็ได้ขอเชิญประชุมผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท และเว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน เพราะทั้งสองเว็บไซต์นี้มีเว็บบอร์ดที่ดูจะเป็นพื้นที่ที่มีการวิเคราะห์วิพากษ์ถกเถียงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ค่อนข้างมาก บ้างก็เป็นไปในทางวิชาการ บ้างก็เป็นไปในทางหมิ่นเหม่ ที่ไม่ว่าเนื้อหาจะเป็นอย่างไร แต่ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ไอซีทีนั่งไม่ติดและตกเป็นจำเลยของสังคมว่า ทำไมปล่อยให้เรื่องแบบนี้โลดแล่นได้ในโลกไซเบอร์

กระทรวงเล็กๆ ที่ไม่ค่อยจะได้รับความสนใจเท่าไร อย่างกระทรวงไอซีที จึงถึงกับต้องมีหน่วยหน่วยหนึ่งที่คอย "กำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ" ของประชาชน มีหน้าที่เปิดอินเตอร์เน็ตตามไปยังที่ที่มีการร้องเรียนเข้ามามากๆ ว่าเนื้อหาหมิ่นเหม่ อย่างที่เรารู้กันว่าโลกไซเบอร์นั้นไพศาลไม่มีที่สิ้นสุด มันกลายเป็นภาระชิ้นโตที่กระทรวงขนาดจิ๋วต้องรับผิดชอบ

แต่ไม่ว่ากระทรวงไอซีทีจะขยับตัวอย่างไรก็ถูกก่นด่าไปทุกทาง ทางหนึ่งก็บอกว่าทำไมปล่อยให้เนื้อหาเหล่านั้นเรี่ยราดออกมาได้ อีกทางก็บอกว่าทำไมคิดจะมากีดกันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทางวิชาการ

เรื่องทำนองนี้เถียงอย่างไรก็ไม่จบง่ายๆ เพราะประเด็นมันอยู่ที่ เรา - สังคม คิดและเชื่ออย่างไร ต่อการวางแนวปฏิบัติ ที่เชื่อว่าจะเป็นการเคารพและปรารถนาดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์?

แนวคิดในการปกป้องสถาบันอันเป็นที่รักนั้น ที่ต้องขอเรียกว่า เป็นแบบ ‘ไทยๆ' ยังมีอีกตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ และเป็นตัวอย่างที่น่าเวทนา คือเมื่อคณะกรรมการเซ็นเซอร์ เซ็นเซอร์ภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษ โดยจะตัดออก 4 ฉากที่เขาเชื่อว่าไม่สมควร และเมื่อมีการอุทธรณ์ให้ทบทวนการพิจารณา ผลกลับออกมาว่า ยืนยันตัด 4 ฉากเดิม และตัดเพิ่ม 2 ฉาก รวมเป็น 6 ฉาก!

ธรรมเนียมการทำงานเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ของไทย คือ ถ้าภาพยนตร์เรื่องไหน มีสถาบัน มีวิชาชีพไหนมาเกี่ยวข้อง ก็จะมีตัวแทนจากสถาบัน วิชาชีพ นั้น เข้าร่วมเป็นกรรมการพิจารณา

สำหรับภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษ ที่โดนหั่น 4 ฉากแรก ประกอบด้วย ฉากพระเล่นเครื่องร่อน และฉากพระเล่นกีตาร์ ซึ่งตัวแทนองค์กรสงฆ์ออกมาป้องว่า แม้ไม่ผิดศีลธรรม แต่ผิดพระวินัย และฉากหมอดื่มเหล้าในโรงพยาบาล ฉากหมอจูบกับแฟนสาวแล้วอวัยวะเพศแข็งตัวในโรงพยาบาล ซึ่งตัวแทนองค์กรแพทย์บอกว่า มันทำให้เสื่อมเสียภาพลักษณ์ต่อวิชาชีพแพทย์

คณะกรรมการเซ็นเซอร์ลงความเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ไร้ซึ่งความเป็นศิลปะ ทำให้เสื่อมเสีย ซึ่งอีกสองฉากที่โดนหั่นเพิ่ม คือ ฉากที่เห็นพระรูปปั้นของสมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี และฉากที่เห็นพระรูปปั้นสมเด็จพระบรมราชชนก เพราะทั้งสองฉากนี้ทำให้คนที่เห็นอาจรู้ได้ว่า ‘ที่นี่เมืองไทย'

คณะกรรมการเซ็นเซอร์จึงตัดออกไป 6 ฉาก แต่ในทางปฏิบัตินั้นโดนตัดไป 7 ฉาก เพราะตำรวจตัดผิด ไปตัดรูปปั้นอื่น ที่ไม่ใช่พระรูปปั้น

นั่นคือผลสรุปที่มาจากความปรารถนาจะปกป้องหวงแหนสถาบันอันเป็นที่เคารพรัก

อีกกรณีที่โด่งดังไปข้ามโลก และยืนยันถึงเอกลักษณ์ทำนอง ‘ที่นี่เมืองไทย' คือ กรณีที่เกิดกับเว็บไซต์ยูทูบ (youtube.com)

เมื่อเมษายนปีที่แล้ว รัฐไทยตัดสินใจขั้นเด็ดขาด ในการบล็อคเว็บไซต์ยูทูบในประเทศไทย หลังจากมีคลิปหนึ่งถูกเผยแพร่ ไอซีทีเจรจากับทางเว็บไซต์ยูทูบให้ถอดคลิปดังกล่าวออก แต่ไม่เป็นผลในคราวแรก เพราะยูทูบถือว่า คลิปนั้นซึ่งมีเนื้อหาเป็นการล้อเลียนผู้นำประเทศไม่ได้ผิดนโยบายของยูทูบ กระทรวงไอซีทีจึงตัดสินเอง ด้วยการปิดช่องทางให้คนที่อยู่ในประเทศไทยดูคลิปในยูทูบไม่ได้เป็นเวลานาน 4 เดือน (เมษายน 2550 - สิงหาคม 2550)

มาวันนี้ คนไทยเข้าเว็บไซต์ยูทูบได้แล้ว หลังจากกระทรวงไอซีทีตกลงกับยูทูบสำเร็จเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2550 โดยยูทูบตกลงใช้มาตรการ ‘เซ็นเซอร์ตัวเอง' คือ จัดการบล็อคคลิปที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายไทยหรือ ‘ทำร้ายจิตใจคนไทย' ทำให้คนที่อยู่ในประเทศไทยดูไม่ได้ ปรากฏข้อความที่ว่า This video is not available in your country - "วิดีโอนี้ไม่ได้รับอนุญาตในประเทศของคุณ"

แต่อย่างที่รู้กัน วิธีคิดในการปิดกั้น ไม่เคยเป็นคำตอบที่ดีในการปกป้องสถาบันอันเป็นที่เคารพรัก คณะกรรมการเซ็นเซอร์ตัด 6 (ซึ่งจริงๆ คือ 7) ฉาก เรื่องนี้ถูกพูดถึงไปทั่วว่ากองเซ็นเซอร์ทำอะไรลงไป เราได้รู้วิธีคิดของกองเซ็นเซอร์ไปพร้อมๆ กับรู้รายละเอียดส่วนที่เขาหั่นหนังออก ทั้งยังมีช่องทางอื่นๆ ที่กองเซ็นเซอร์ตามไล่จับไม่ทัน (ไม่เชื่อลองวิ่งตามทีละก้าว 1... 2... 3... 4... 5... 6...)

มิพ้นคนส่วนใหญ่ยังต้องสมเพชกับวงการแพทย์และพระสงฆ์ ที่มีตัวแทนมาปฏิบัติการในนามขององค์กรวิชาชีพที่วิธีคิดคับแคบ .. คงได้แต่ภาวนาหวังว่า สังคมไทยคงไม่เหมารวมคนทั้งสองวิชาชีพนี้ว่ามีวิสัยทัศน์แบบเดียวกับตัวแทนองค์กรทั้งสอง

ส่วนกรณียูทูบนั้น สะท้อนว่าเราจะใช้วิธีที่เคยชินแบบนี้ไปได้อีกนานแค่ไหน ในเมื่อโลกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มันสะท้อนชัดว่า การแบนไม่ได้ช่วยอะไร อย่างน้อยก็มีวิธีง่ายๆ มากมายในการเขาถึงสิ่งที่รัฐพยายามปิดกั้น ไม่เพียงเท่านั้น มันจะมีความหมายอะไรที่คลอบกะลามาให้คนเฉพาะในอาณาเขตด้ามขวานทอง ให้เข้าไม่ถึงสิ่งที่คนทั่วโลกเข้าถึง

มาถึงตรงนี้ ทำให้หวนนึกไปถึงคำพูดของเจ้าหน้าที่กระทรวงไอซีที ที่เชิญประชาไทและฟ้าเดียวกันไปร่วมประชุม เขาตั้งประเด็นนำไว้ว่า ต้องการชวนคิดว่า "เราจะมีแนวทางร่วมกันจงรักภักดีอย่างไร"

อาจยังไม่มีคำตอบชัดเจนนักที่จะรับมือกับโลกยุคใหม่ แต่พอจะบอกได้ชัดว่าวิธีแบบไหนไม่เข้าท่า อาทิ  วิธีการปิดกั้นการแสดงออก ปิดกั้นไปถึงความคิดและวิญญาณ เป็นทางที่ไม่มีวันบรรลุผล และยังน่าจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี

และว่ากันตามตรง บางที.. วิธีการออกมาปกป้อง แสดงความเคารพอย่างไม่ยั้งคิด ดูจะเหมาะที่จะใช้กับศัตรู มากกว่าใช้กับคนที่เคารพรักเสียอีก.

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
   อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาในเกมช่วงชิงพื้นที่สื่อ กลยุทธ์หนึ่งก็คือ ทำยังไงก็ได้ ให้ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้เป็นข่าว ส่วนฝ่ายตนนั้น ต่อให้เป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายแต่ถ้าได้พื้นที่ข่าวก็ถือว่าได้เปรียบใน ระดับหนึ่ง เพราะอย่างน้อยก็พอทำให้ชื่อเสียงเรียงนามเป็นที่คุ้นหูอยู่ในความจดจำ ดีกว่าเป็นบุคคลโนเนมที่ไม่มีใครรู้จักเช่นเดียวกัน ช่วงนี้ ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีพูดอะไร ให้สัมภาษณ์ว่าอะไร สื่อมักจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ สังเกตได้ว่าเวลาอ่านหรือฟังข่าวในเวลานี้ ผู้สื่อข่าวจะหยิบคำพูดของนายกรัฐมนตรีมาเปิดเผยแบบยาวๆพูดแบบตามตำรา ก็คือ แหล่งข่าวเป็นผู้นำในรัฐบาล พูดอะไรก็ย่อมเป็นข่าวอยู่แล้ว…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง"ไปตายให้หนอนแดกเถอะ..ไป๊"ผมกำลังหาคำพูดที่ถ่ายทอดความคิดของคนบางคนที่มีอำนาจในบ้านเมืองนี้ แม้อำนาจของเขาจะยึดโยงจากการเลือกตั้งด้วยการกากบาทของเรา กระนั้นก็เถอะ..เท่าที่รู้สึกได้ เขาอาจกำลังอยากบอกกับคุณด้วยถ้อยคำแบบนี้ อาจเป็นการบอกกล่าวที่ซ่อนถ้อยความหิวกระหายมาช้านานแล้ว ตั้งแต่อำนาจถูกกระชากไปจากมือ และที่เขาบอกแบบนี้ได้ อาจเป็นเพราะเขากำลังมองคุณเป็นเพียง ‘มดปลวก' อันอ่อนแอ ไม่มีประโยชน์โดยเฉพาะถ้าคุณป่วยหรือไม่สบาย มันจะยิ่งสะท้อนความอ่อนแอไร้ประโยชน์เสียยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด มากไปกว่านั้น หากโชคร้าย…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ เสาร์ที่ผ่านมา มีงานประชุมชื่อ Barcamp Bangkok จัดขึ้นที่ร้าน Indus สุขุมวิท 26 งานนี้ งานนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นงานที่มีผู้จัดมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะผู้ร่วมงานหลายคนมากันแต่เช้าเพื่อช่วยจัดโต๊ะเก้าอี้ แปะป้าย บางคนทำสมุดทำมือมาแจก หลายคนเตรียมหัวข้อพร้อมสไลด์มาพูดในงาน ------------------------------------- http://www.flickr.com/photos/poakpong http://www.flickr.com/photos/plynoi ทันทีที่งานเริ่ม กระดาษแผ่นแล้วแผ่นแล้ว ถูกทยอยนำไปแปะบนกระจกของร้าน ว่ากันว่า หัวข้อที่พูดกันในงาน มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับเว็บแอพพลิเคชันใหม่ๆ เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส…
Hit & Run
มุทิตา เชื้อชั่งด้วยทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ขนาบไปด้วยทะเลยาวเหยียด เหมาะเป็นเส้นทางขนส่งวัตถุดิบสารพัด ประจวบฯ จึงเป็นที่หมายตาของโครงการขนาดใหญ่ ไม่ว่าโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งไม่เห็นด้วยกับโครงการเหล่านี้ ก็นับเป็นความอาภัพของชีวิต เพราะภูมิศาสตร์แบบนี้เองที่ทำให้พวกเขาต้องต่อสู้คัดค้านกับรัฐหรือทุนขนาดใหญ่กันไม่หยุดหย่อน ไม่โครงการนั้น ก็โครงการนี้ และไม่รู้ว่าด้วยความอาภัพนี้หรือไม่ที่ทำให้ขบวนการประชาชนที่นี่ ‘แข็งแกร่ง' จะว่าที่สุดในประเทศก็คงไม่ผิดนัก ล่าสุด มีการต่อสู้คัดค้านโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยา ซึ่งเป็นโครงการขนาดมหึมา ที่จะไปลงในพื้นที่แม่รำพึง…
Hit & Run
ตติกานต์ เดชชพงศคงรู้กันหมดแล้วว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีถูกยึด และต่อจากนี้ ทีวีช่องนี้จะไม่มีรายการบันเทิง ‘ไร้แก่นสาร' อีก จะมีก็แต่รายการที่มีประโยชน์ สร้างสรรค์สังคม มีคุณค่า ประเทืองปัญญากว่ารายการทีวีแบบเดิมๆๆๆๆ ฯลฯ แล้วทีวีช่องนั้นก็ถูกเรียกเสียใหม่ว่า ‘ทีวีสาธารณะ' ในฐานะประชาชนคนหนึ่งซึ่งเติบโตมากับสิ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ‘รสนิยมสาธารณ์' ไม่ว่าจะเป็น ละครน้ำเน่า (ผ่านยุคของ พจมาน สว่างวงศ์, ดาวพระศุกร์ หรือ โสรยา ใน ‘จำเลยรัก' มามากกว่าหนึ่งยุค!) รวมถึงเกมโชว์ที่ ‘ได้รับแรงบันดาลใจ' มาจากต่างประเทศ และการ์ตูนญี่ปุ่นที่เอะอะก็ต่อสู้กัน (แม้แต่การ์ตูนแมวหุ่นยนต์ ‘โดราเอมอน'…
Hit & Run
  วิทยากร  บุญเรืองกลุ่ม แบ๊คซ้าย' มิถุนาฯ   23 ธันวาคม 2550...เป็นอีกวาระหนึ่งที่เราจะต้องออกไปช่วยเพื่อนรัก ‘นักการเมือง' (กลุ่มคนที่ถูกประณามมากที่สุดในสังคมไทยปัจจุบัน)สื่อต่างๆ ชอบที่จะกระแซะแซวว่า นักการเมืองมักจะมืออ่อนนอบน้อมกราบไหว้ประชาชนเสมอในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งมันก็ถูก แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน คนอีกบางจำพวกนั้น ‘ไม่มี' ช่วงเวลาพิเศษไหนเลยที่จะลงมาไหว้กราบกรานขอคะแนนจากประชาชน หนำซ้ำพวกเรากลับต้องกราบกรานไหว้เขาอยู่เป็นกิจวัตรใครล่ะน่าเกลียดกว่ากัน? สำหรับวาระสำคัญก่อนการเลือกตั้ง การรณรงค์ไม่ให้มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ทำนองที่ว่า ‘…
Hit & Run
   พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจใครที่ไม่ได้มาเชียงใหม่หลายปี หากมาเยือนปีนี้ คงผิดหูผิดตาเลยทีเดียวไม่ใช่แค่งานพืชสวนโลก ไม่ใช่แค่ ‘ช่วง ช่วง' หรือ ‘หลิน ฮุ่ย' ไม่ใช่แค่ร้าน ‘ไอเบอรี่' ของโน้ต อุดม ที่ทำให้ ‘หน้าตา' เมืองเชียงใหม่เปลี่ยนไปหากแต่ยังมีเจ้าสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ ที่ชื่อว่า ‘ทางลอด' ผุดขึ้นทุกมุมเมือง ซึ่งเบื้องหลังของมัน ยังมีเรื่องราวอันยาวนานของการพัฒนา ‘เมือง' อีกด้วย!หลายปีมานี้ ยวดยานใน จ.เชียงใหม่ ต้องประสบกับความทุลักทุเลในการข้ามสี่แยก เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างทางลอดแยก ผุดขึ้นบนถนนสายหลักของเมืองเชียงใหม่ เช่น การก่อสร้างทางลอด 7 แห่ง บนถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี…
Hit & Run
"ต้นตอของปัญหาใหญ่ๆ ในสังคม พบว่าเรื่องหนึ่งคือ คนที่เป็นเจ้าของปัญหาไม่มีช่องทางส่งเสียงของตัวเองในช่องทางสื่อสารมวลชน ยิ่งวิทยุและทีวีนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ของคนเดือดร้อน ถูกเบียดออกมาบนท้องถนนที่ออกมาประท้วงให้คนเมืองใหญ่รำคาญ" 
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์หลังจากได้อ่านข้อความในหนังสือที่ คมช. ส่งถึงคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ของ กกต. ที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบว่า หนังสือ ซึ่งออกโดย คมช. (สปค.ศปศ.คมช. ลับ-ด่วนมาก ที่ คมช ๐๐๐๓.๕/๔๘๐ ลง ๑๔ กันยายน ๒๕๕๐) นั้น เข้าข่ายความผิดฐาน เจ้าหน้าที่ของรัฐวางตัวไม่เป็นกลางในการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๕๗ หรือไม่ เพื่อขอให้ทบทวนบทบาทของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน เนื่องจากการออกหนังสือฉบับดังกล่าวของ คมช.เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ แล้ว ก็เกิดความรู้สึก ‘สบายใจ'…
Hit & Run
   ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นเรื่องปกติในสังคมการเมืองแบบไทยๆ เมื่อมีบางคนใน ‘ตองหนึ่ง' อดีตผู้บริหารไทยรักไทยเรียกร้องในสิทธิความเป็นมนุษย์ที่พึงมีต่อองค์กร ‘ไม่ใช่พ่อ' และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอให้เข้ามาดูแลสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติห้ามอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยยุ่งเกี่ยวการเมืองทุกรูปแบบกรณี ซึ่งอาจเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพในการพูดและแสดงออก แทบฉับพลันทันทีนั้น เสียงแขวะฝอยเลาะตะเข็บก็ดังควากออกมาอย่างหยามหยันมากมายตามหน้าสื่อต่างๆเมื่อตามรอยตะเข็บที่เลาะไป ใช่จะไม่มีมูล…
Hit & Run
"ความพยายามสร้างกติกาอันบิดเบี้ยวตลอดปีกว่าที่ผ่านมา ส่งผลให้ ‘ผี' ยิ่งน่ากลัวสำหรับคนที่กลัว และยิ่งน่าพิสมัยสำหรับผู้ที่ไม่กลัว และผู้ที่ไม่กลัวส่วนใหญ่นั้นแม้จะอยู่ห่างไกล ไร้อำนาจ แต่ก็สามารถแสดงพลังเงียบของตนได้อย่างมีนัยสำคัญ"  ภาพจาก dschild.exteen มุทิตา  เชื้อชั่ง ผมเป็นคนกลัวผีมากจนแทบจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการกลัวผี และรู้สึกว่าสังคมไทยกำลังกลัว ‘ผี' อย่างหนัก ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ จากที่เคยมีคำอธิบายมากมายว่าทำไมจึงต้องกลัว ‘ผี' หรือไล่ ‘ผี' แต่นานวันเข้า สถานการณ์เปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังเท้า ความกลัว ‘ผี'…
Hit & Run
ภาพจาก http://www.kathmandu-bkk.com/คิม ไชยสุขประเสริฐช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีปัญหายุ่งยากใจกันอยู่นิดหน่อยในออฟฟิศ เรื่องการทำเสื้อทีมว่าจะเอาแบบไหน-สีอะไร ที่ยังไงก็ไม่ลงตัวสักที เพราะสีแต่ละสีตอนนี้ถูกนำเอาไปทำสัญลักษณ์ของกลุ่มต่างๆ กันไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแม่สีอย่าง สีแดง สีเหลือง หรือสีขั้นสองอย่างสีเขียว สีส้ม หรือสีม่วง