Skip to main content

ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง

เพื่อนนักโบราณคดีส่งภาพความเสียหายที่ ‘ปราสาทหินพนมรุ้ง’ จังหวัดบุรีรัมย์มาให้ดูอย่างเศร้าๆ สะพานนาคราชชั้นที่ 1, 2 และ 3 เศียรนาคถูกตีใบหน้าตรงส่วนปากกึ่งจมูก เสียหายไป 13 เศียร โคนนทิ พาหนะแห่งองค์ศิวะถูกตีทำลายบริเวณใบหน้า ส่วน ‘แท่งศิวลึงค์’ ศูนย์กลางแห่งจักรวาลในไศวะนิกาย สัญลักษณ์แห่งองค์ศิวะถูกเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิมบนฐานโยนีแล้วเอาลงไปวางไว้ในร่องน้ำมนต์

ข้างนอกปราสาทแม้แต่ทวารบาลผู้รักษาประตูประจำทิศใต้ก็ไม่อาจรักษาดูแลตัวเองได้ แขนและมือถูกทำลายมือข้างหนึ่งถูกวางไว้ที่สะพานนาคราชชั้นที่ 1 มืออีกข้างถูกเอาไปวางที่สะพานนาคราชชั้นที่ 2 ด้านทิศเหนือ สิงห์ทวารบาลด้านทิศตะวันตกของปราสาทใบหน้าถูกทำลายทั้ง 2 ตัว รวมจำนวนตำแหน่งของโบราณสถานที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 18 แห่ง

ที่วงกลมกลีบบัวบนพื้นพบเครื่องบูชาเป็นพวงมาลัย บุหรี่ แก้วน้ำ เงินเหรียญ 10 บาท มีข้อสันนิษฐานกันว่าเบื้องลึกแล้วคงเป็นการทำพิธีกรรมบางอย่างเพื่อสลาย ‘อำนาจ’ โดยมีเป้ามุ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลายฝ่ายผูกโยงกันไปเป็น ‘คุณไสยทางการเมือง’ ที่จงใจทำให้สัญลักษณ์ของการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลง ‘ศิวลึงค์’ อันเป็นศูนย์กลางโลกและการกำเนิดไป ‘ลดทอนพลัง’ บางอย่างของคนบางคน.. โดยเฉพาะ ‘คนเล่นของเขมร’ แถวๆ บุรีรัมย์..คนที่คุณก็รู้ว่าใคร

คุณไสยการเมืองนี้ก็คล้ายกับกรณี ‘ทุบพระพรหมเอราวัณ’ กับ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ที่ถูกนำมาผูกโยงกันก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549  แม้แต่คนในวงการโหรที่ชอบโหนอย่าง วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ หรือที่รู้จักกันในนามโหร คมช.ก็รีบสะท้อนออกมาว่า จะเกิดวิกฤตไม่ว่าภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์นองเลือด ให้ทำบุญรักษาศีลกันไว้เยอะๆ ให้หันหน้าเข้าหากัน เลยไม่วายกล่าวถึง ‘น้าจิ๋วหวานเจี๊ยบ’ ให้มาช่วยประคอง ‘ลุงหมัก’ ด้วย

ก็ว่ากันไป..การเมืองกับไสยศาสตร์

อีกมุมมองหนึ่งก็น่าสนใจไม่น้อยเพราะการทุบทำลายโบราณวัตถุในโบราณสถานครั้งนี้อาจมีเงื่อนงำความขัดแย้งจากภายในกรมศิลปากรท้องถิ่นเอง บล็อกเกอร์ชื่อ  ‘ศุภศรุต’ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าของที่ถูกทุบทำลายเป็นเฉพาะรูปที่เป็นซีเมนต์หล่อจำลองใหม่อายุไม่กี่ปี เครื่องบูชาๆ ขอขมาก็เป็นของง่ายๆ เพียงแค่บุหรี่ หรือดอกไม้ธูปเทียน เท่านั้น บางทีการทุบทำลายเพียงของจำลองอาจเป็นการตั้งใจเลือกของ “กลุ่มคน” ผู้เสียผลประโยชน์ อาจเป็นทั้งลูกจ้าง ข้าราชการ แม่ค้า พระ ที่อยู่รายล้อมรอบซากปราสาทโบราณมาก่อนแต่ถูกกีดกันออกไปจากเดิม  

ก็ไม่แน่..ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร

แต่ที่แน่ๆ การทุบทำลายครั้งนี้ เป็นการทุบทำลายความรู้สึกของคนท้องถิ่น เพราะไม่ว่าปราสาทพนมรุ้งจะสร้างด้วยแรงศรัทธาแบบฮินดู ที่ดูห่างไกลกับศรัทธาในสังคมพุทธและผีแบบสังคมไทยในปัจจุบันก็ตาม แต่แท้จริงแล้วปราสาทพนมรุ้งยังคงมีพลังทางวิญญาณที่ส่งผ่านกาลเวลามาถึงผู้คนรุ่นปัจจุบันอย่างไม่เสื่อมคลาย หินทรายไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ ที่นี่ยังคงซึมซับศรัทธาทุกแบบไว้อยู่เสมอ

แต่ไม่ว่าคำตอบของการทุบทำลายจะไปตามแนวประเด็นใดก็ตาม มันก็ล้วนสะท้อนวิธีคิดของสังคมที่มีต่อ ‘มรดกทางวัฒนธรรม’ อยู่ไม่น้อย ‘คุณค่า’ ของโบราณวัตถุ/ สถานควรจะถูกหวงแหนไว้แบบใดกันแน่

ครั้งหนึ่งที่ปราสาทพนมรุ้งแห่งนี้นี้ เคยเป็นจุดกำเนิดของเรียกร้อง ‘ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์’ กันแทบเป็นแทบตาย เพราะมันถูกขโมยจากที่นี่ไปจนถึงพิพิธภัณฑ์ชิคาโก สหรัฐอเมริกา เราเคยคิดกันไปถึงว่าภูมิหลังแห่งชาติถูกขโมยไปเสียด้วยซ้ำในครานั้น แต่เมื่อ ‘ทับหลัง’ กลับมา เพียงเวลาผ่านไป 20 ปีนี้ สังคมไทยคงลืมทับหลังที่สลักภาพองค์นารายณ์อนันตศายินที่มีดอกปัทมะผุดพรายจากนาภะ พรหมสถิตย์อยู่เหนือดอกบัวเสด็จสู่การสร้างโลกชิ้นนี้ไปแล้ว และบางคนอาจนึกไปเลยว่า ‘เคยมีเหตุการณ์แบบนี้ด้วยหรือ’

หรือบางทีที่เราลืมเป็นเพราะหินทรายที่ถูกขโมยครั้งนั้นหรืออิฐเก่าๆ ก้อนหนึ่งที่ถูกทำลายครั้งนี้อาจไม่มีค่ามากมายเพียงเพราะอิฐเก่าๆ ก้อนนั้นไม่ใช่อิฐเก่าๆ ของ ‘สุโขทัย’ ของ ‘อยุธยา’ ที่ทำให้ ‘รัตนโกสินทร์’ มีความหมาย มันแค่เป็นเพียงอิฐเก่าๆ ของพวก ‘ขอม’ ที่มาสร้างไว้ในเขตประเทศไทยเท่านั้นเอง

ปราสาทหินพนมรุ้งอันวิจิตรสำหรับสังคมไทยอาจเป็นเพียงฉากถ่ายรูปฉากหนึ่งที่สวยงามของจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านมาครั้งหนึ่งแล้วก็ผ่านไป แต่...จะสามารถมองลงไปให้ลึกกว่านั้นได้หรือไม่ เพราะหินทรายแต่ละก้อนที่ก่อเป็นปราสาทมันยังมีเรื่องเล่าอีกมากมายซ่อนอยู่ตั้งแต่เรื่องของผู้คน แรงงาน นักบวช ศาสนา พิธีกรรม ปากท้อง เศรษฐกิจไปจนถึงเรื่องราวของเจ้านายผู้ปกครอง

ลองฟังดูดีๆ สิ... อิฐ หิน ดินและทรายในโบราณสถานมันพูดได้จริงๆ

ปราสาทพนมรุ้งบอกเราคร่าวๆ ถึงร่องรอยความเชื่อมต่อสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมที่ทำให้เราลืมเลือนเส้นเขตแดนประเทศได้อย่างน่าสนใจ เช่น จารึกที่พบหลักหนึ่งบอกเราให้ทราบว่าผู้สร้างปราสาท ‘นเรนทราทิตย์’ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระ ที่ปกครองดินแดนแถบนี้ เป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด อันงามตระการ อย่างน้อยครั้งหนึ่งคนที่นี่กับคนในกัมพูชาก็คงเป็นเครือญาติกัน และถ้าไม่มองแบบเหยียดคนอื่นกันเกินไป บางทีความเป็นเครือญาติกันนับพันปีมันก็อาจซ่อนอยู่ในเซลล์เม็ดเล็กๆ เม็ดไหนเม็ดหนึ่งของเรา

พนมรุ้งแม้เป็นเรื่องราวอันไพศาลของศาสนาหรือเจ้าผู้ปกครอง แต่กระนั้นเองพนมรุ้งและปราสาทหินใหญ่โตในวัฒนธรรมแบบขอมก็บอกและช่วยตอกย้ำให้เห็นว่า ‘ทาส’ หรือ ‘แรงงาน’ ผู้สร้างปราสาทอันใหญ่โตพิศวงนี้ถูกกดขี่เช่นไร และทำไม ‘ชนชั้นปกครอง’ แบบขอมอ่อนแอลงเรื่อยๆ และหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์อย่างรวดเร็ว

บางทีในความงามก็ซ่อนไว้ด้วยความจริงของประวัติศาสตร์อีกลักษณ์หนึ่ง และอาจเป็นบทเรียนสำคัญให้ใครบางคนได้เช่นกัน

และอาจมีเรื่องราวอีกมากมายอาจซ่อนอยู่ในหินทรายหรือในอิฐที่ถูกทุบ ไม่ว่ามันจะเป็นของใหม่หรือเก่าก็ตาม เพราะทั้งหมดมันย่อมมีนัยแห่งการผสมผสานกลมกลืนอย่างซับซ้อนและสะท้อนออกมาเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรม ไม่วันนี้ก็ในอนาคตข้างหน้า มันจึงควรจะยังอยู่ให้เราค้นหาและส่งผ่านไปต่อให้คนในวันข้างหน้าได้สนุกกับเรื่องราวที่มันเล่าผ่านบ้าง เรามีแง่คิดกับมัน เรามีบทเรียนกับมัน จะผิดบ้างหรือถูกบ้าง... ว่ากันไป

แต่ในตอนนี้หากเรายังไม่หาคำตอบของ 20 ปีก่อนที่ว่า “เราทวงคืนทับหลังฯ มาทำไม” ไม่ได้ การทุบทำลายใดๆ มันก็คงเกิดขึ้นได้อีก เพราะเรื่องเหล่านี้เราอาจไม่ได้สนใจอะไรมันกว่ากระแสตามหน้าสื่อที่ปลุกให้รู้จักและรู้สึกว่ามันสำคัญมันเป็นพักๆ มรดกทางวัฒนธรรมคงสูญสลายจากไปอย่างน่าเสียดายในสภาพแบบนี้ และคงน่าสมน้ำหน้าในวันข้างหน้าที่เราจะตอบอะไรที่เป็นเรื่องราวของเราเองไม่ได้เลย

สำหรับเพื่อนนักโบราณคดีของผม เวลานี้ก็ปล่อยให้มันเศร้าต่อไปก่อนเถอะ... เพราะกรมศิลปากรคงไม่สามารถจ้างยามหรือนักโบราณคดีไปนั่งเฝ้าอิฐทุกก้อนได้จริงๆ แน่นอน

20080524 hitandrun (1)

20080524 hitandrun (2)

20080524 hitandrun (3)

20080524 hitandrun (4)

20080524 hitandrun (5)

20080524 hitandrun (6)

20080524 hitandrun (7)

20080524 hitandrun นารายณ์บรรทมสิทธุ์
นารายณ์บรรทมสิทธุ์

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
   อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาในเกมช่วงชิงพื้นที่สื่อ กลยุทธ์หนึ่งก็คือ ทำยังไงก็ได้ ให้ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้เป็นข่าว ส่วนฝ่ายตนนั้น ต่อให้เป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายแต่ถ้าได้พื้นที่ข่าวก็ถือว่าได้เปรียบใน ระดับหนึ่ง เพราะอย่างน้อยก็พอทำให้ชื่อเสียงเรียงนามเป็นที่คุ้นหูอยู่ในความจดจำ ดีกว่าเป็นบุคคลโนเนมที่ไม่มีใครรู้จักเช่นเดียวกัน ช่วงนี้ ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีพูดอะไร ให้สัมภาษณ์ว่าอะไร สื่อมักจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ สังเกตได้ว่าเวลาอ่านหรือฟังข่าวในเวลานี้ ผู้สื่อข่าวจะหยิบคำพูดของนายกรัฐมนตรีมาเปิดเผยแบบยาวๆพูดแบบตามตำรา ก็คือ แหล่งข่าวเป็นผู้นำในรัฐบาล พูดอะไรก็ย่อมเป็นข่าวอยู่แล้ว…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง"ไปตายให้หนอนแดกเถอะ..ไป๊"ผมกำลังหาคำพูดที่ถ่ายทอดความคิดของคนบางคนที่มีอำนาจในบ้านเมืองนี้ แม้อำนาจของเขาจะยึดโยงจากการเลือกตั้งด้วยการกากบาทของเรา กระนั้นก็เถอะ..เท่าที่รู้สึกได้ เขาอาจกำลังอยากบอกกับคุณด้วยถ้อยคำแบบนี้ อาจเป็นการบอกกล่าวที่ซ่อนถ้อยความหิวกระหายมาช้านานแล้ว ตั้งแต่อำนาจถูกกระชากไปจากมือ และที่เขาบอกแบบนี้ได้ อาจเป็นเพราะเขากำลังมองคุณเป็นเพียง ‘มดปลวก' อันอ่อนแอ ไม่มีประโยชน์โดยเฉพาะถ้าคุณป่วยหรือไม่สบาย มันจะยิ่งสะท้อนความอ่อนแอไร้ประโยชน์เสียยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด มากไปกว่านั้น หากโชคร้าย…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ เสาร์ที่ผ่านมา มีงานประชุมชื่อ Barcamp Bangkok จัดขึ้นที่ร้าน Indus สุขุมวิท 26 งานนี้ งานนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นงานที่มีผู้จัดมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะผู้ร่วมงานหลายคนมากันแต่เช้าเพื่อช่วยจัดโต๊ะเก้าอี้ แปะป้าย บางคนทำสมุดทำมือมาแจก หลายคนเตรียมหัวข้อพร้อมสไลด์มาพูดในงาน ------------------------------------- http://www.flickr.com/photos/poakpong http://www.flickr.com/photos/plynoi ทันทีที่งานเริ่ม กระดาษแผ่นแล้วแผ่นแล้ว ถูกทยอยนำไปแปะบนกระจกของร้าน ว่ากันว่า หัวข้อที่พูดกันในงาน มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับเว็บแอพพลิเคชันใหม่ๆ เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส…
Hit & Run
มุทิตา เชื้อชั่งด้วยทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ขนาบไปด้วยทะเลยาวเหยียด เหมาะเป็นเส้นทางขนส่งวัตถุดิบสารพัด ประจวบฯ จึงเป็นที่หมายตาของโครงการขนาดใหญ่ ไม่ว่าโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งไม่เห็นด้วยกับโครงการเหล่านี้ ก็นับเป็นความอาภัพของชีวิต เพราะภูมิศาสตร์แบบนี้เองที่ทำให้พวกเขาต้องต่อสู้คัดค้านกับรัฐหรือทุนขนาดใหญ่กันไม่หยุดหย่อน ไม่โครงการนั้น ก็โครงการนี้ และไม่รู้ว่าด้วยความอาภัพนี้หรือไม่ที่ทำให้ขบวนการประชาชนที่นี่ ‘แข็งแกร่ง' จะว่าที่สุดในประเทศก็คงไม่ผิดนัก ล่าสุด มีการต่อสู้คัดค้านโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยา ซึ่งเป็นโครงการขนาดมหึมา ที่จะไปลงในพื้นที่แม่รำพึง…
Hit & Run
ตติกานต์ เดชชพงศคงรู้กันหมดแล้วว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีถูกยึด และต่อจากนี้ ทีวีช่องนี้จะไม่มีรายการบันเทิง ‘ไร้แก่นสาร' อีก จะมีก็แต่รายการที่มีประโยชน์ สร้างสรรค์สังคม มีคุณค่า ประเทืองปัญญากว่ารายการทีวีแบบเดิมๆๆๆๆ ฯลฯ แล้วทีวีช่องนั้นก็ถูกเรียกเสียใหม่ว่า ‘ทีวีสาธารณะ' ในฐานะประชาชนคนหนึ่งซึ่งเติบโตมากับสิ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ‘รสนิยมสาธารณ์' ไม่ว่าจะเป็น ละครน้ำเน่า (ผ่านยุคของ พจมาน สว่างวงศ์, ดาวพระศุกร์ หรือ โสรยา ใน ‘จำเลยรัก' มามากกว่าหนึ่งยุค!) รวมถึงเกมโชว์ที่ ‘ได้รับแรงบันดาลใจ' มาจากต่างประเทศ และการ์ตูนญี่ปุ่นที่เอะอะก็ต่อสู้กัน (แม้แต่การ์ตูนแมวหุ่นยนต์ ‘โดราเอมอน'…
Hit & Run
  วิทยากร  บุญเรืองกลุ่ม แบ๊คซ้าย' มิถุนาฯ   23 ธันวาคม 2550...เป็นอีกวาระหนึ่งที่เราจะต้องออกไปช่วยเพื่อนรัก ‘นักการเมือง' (กลุ่มคนที่ถูกประณามมากที่สุดในสังคมไทยปัจจุบัน)สื่อต่างๆ ชอบที่จะกระแซะแซวว่า นักการเมืองมักจะมืออ่อนนอบน้อมกราบไหว้ประชาชนเสมอในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งมันก็ถูก แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน คนอีกบางจำพวกนั้น ‘ไม่มี' ช่วงเวลาพิเศษไหนเลยที่จะลงมาไหว้กราบกรานขอคะแนนจากประชาชน หนำซ้ำพวกเรากลับต้องกราบกรานไหว้เขาอยู่เป็นกิจวัตรใครล่ะน่าเกลียดกว่ากัน? สำหรับวาระสำคัญก่อนการเลือกตั้ง การรณรงค์ไม่ให้มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ทำนองที่ว่า ‘…
Hit & Run
   พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจใครที่ไม่ได้มาเชียงใหม่หลายปี หากมาเยือนปีนี้ คงผิดหูผิดตาเลยทีเดียวไม่ใช่แค่งานพืชสวนโลก ไม่ใช่แค่ ‘ช่วง ช่วง' หรือ ‘หลิน ฮุ่ย' ไม่ใช่แค่ร้าน ‘ไอเบอรี่' ของโน้ต อุดม ที่ทำให้ ‘หน้าตา' เมืองเชียงใหม่เปลี่ยนไปหากแต่ยังมีเจ้าสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ ที่ชื่อว่า ‘ทางลอด' ผุดขึ้นทุกมุมเมือง ซึ่งเบื้องหลังของมัน ยังมีเรื่องราวอันยาวนานของการพัฒนา ‘เมือง' อีกด้วย!หลายปีมานี้ ยวดยานใน จ.เชียงใหม่ ต้องประสบกับความทุลักทุเลในการข้ามสี่แยก เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างทางลอดแยก ผุดขึ้นบนถนนสายหลักของเมืองเชียงใหม่ เช่น การก่อสร้างทางลอด 7 แห่ง บนถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี…
Hit & Run
"ต้นตอของปัญหาใหญ่ๆ ในสังคม พบว่าเรื่องหนึ่งคือ คนที่เป็นเจ้าของปัญหาไม่มีช่องทางส่งเสียงของตัวเองในช่องทางสื่อสารมวลชน ยิ่งวิทยุและทีวีนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึง พื้นที่ของคนเดือดร้อน ถูกเบียดออกมาบนท้องถนนที่ออกมาประท้วงให้คนเมืองใหญ่รำคาญ" 
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์หลังจากได้อ่านข้อความในหนังสือที่ คมช. ส่งถึงคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ของ กกต. ที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบว่า หนังสือ ซึ่งออกโดย คมช. (สปค.ศปศ.คมช. ลับ-ด่วนมาก ที่ คมช ๐๐๐๓.๕/๔๘๐ ลง ๑๔ กันยายน ๒๕๕๐) นั้น เข้าข่ายความผิดฐาน เจ้าหน้าที่ของรัฐวางตัวไม่เป็นกลางในการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๕๗ หรือไม่ เพื่อขอให้ทบทวนบทบาทของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน เนื่องจากการออกหนังสือฉบับดังกล่าวของ คมช.เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ แล้ว ก็เกิดความรู้สึก ‘สบายใจ'…
Hit & Run
   ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นเรื่องปกติในสังคมการเมืองแบบไทยๆ เมื่อมีบางคนใน ‘ตองหนึ่ง' อดีตผู้บริหารไทยรักไทยเรียกร้องในสิทธิความเป็นมนุษย์ที่พึงมีต่อองค์กร ‘ไม่ใช่พ่อ' และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอให้เข้ามาดูแลสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติห้ามอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยยุ่งเกี่ยวการเมืองทุกรูปแบบกรณี ซึ่งอาจเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพในการพูดและแสดงออก แทบฉับพลันทันทีนั้น เสียงแขวะฝอยเลาะตะเข็บก็ดังควากออกมาอย่างหยามหยันมากมายตามหน้าสื่อต่างๆเมื่อตามรอยตะเข็บที่เลาะไป ใช่จะไม่มีมูล…
Hit & Run
"ความพยายามสร้างกติกาอันบิดเบี้ยวตลอดปีกว่าที่ผ่านมา ส่งผลให้ ‘ผี' ยิ่งน่ากลัวสำหรับคนที่กลัว และยิ่งน่าพิสมัยสำหรับผู้ที่ไม่กลัว และผู้ที่ไม่กลัวส่วนใหญ่นั้นแม้จะอยู่ห่างไกล ไร้อำนาจ แต่ก็สามารถแสดงพลังเงียบของตนได้อย่างมีนัยสำคัญ"  ภาพจาก dschild.exteen มุทิตา  เชื้อชั่ง ผมเป็นคนกลัวผีมากจนแทบจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการกลัวผี และรู้สึกว่าสังคมไทยกำลังกลัว ‘ผี' อย่างหนัก ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ จากที่เคยมีคำอธิบายมากมายว่าทำไมจึงต้องกลัว ‘ผี' หรือไล่ ‘ผี' แต่นานวันเข้า สถานการณ์เปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังเท้า ความกลัว ‘ผี'…
Hit & Run
ภาพจาก http://www.kathmandu-bkk.com/คิม ไชยสุขประเสริฐช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีปัญหายุ่งยากใจกันอยู่นิดหน่อยในออฟฟิศ เรื่องการทำเสื้อทีมว่าจะเอาแบบไหน-สีอะไร ที่ยังไงก็ไม่ลงตัวสักที เพราะสีแต่ละสีตอนนี้ถูกนำเอาไปทำสัญลักษณ์ของกลุ่มต่างๆ กันไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแม่สีอย่าง สีแดง สีเหลือง หรือสีขั้นสองอย่างสีเขียว สีส้ม หรือสีม่วง