Skip to main content
 

อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

ดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อน

แม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตาม

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน

เราอาจจะไม่สามารถเหมารวมได้ทันที ว่าผู้ที่เข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย จะมีความเห็นที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เสนอไปหรือไม่  เพราะการเข้าชื่อเป็นเพียงกระบวนการขั้นแรกที่ทำให้กฎหมายได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาถกเถียงเพื่อแก้ไขต่อไป ซึ่งจะเห็นต่างหรืออยากแก้ไขอย่างไรนั้น เป็นเรื่องของ สนช. 'ที่เหลือ' ที่จะแปรญัตติ

เมื่อจำนวนเพียง 25 ชื่อ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการเปิดพื้นที่ให้กฎหมายสักฉบับเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาแต่งตั้ง แต่โดยธรรมเนียมของสภาที่ผ่านๆ มา หากเป็นกฎหมายสำคัญๆ จำนวนของรายชื่อ ก็มีนัยยะที่สื่อสารกับสังคมได้เช่นกัน ยิ่งมากก็ยิ่งเห็นดีกรีที่สภาแสดงออกถึงความจำเป็น ความเร่งด่วนในการผลักดัน แล้วก็ไม่ค่อยจะมีใครที่ลงนามในกฎหมายที่ตนไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ขาดสิทธิในการแปรญัตติ

จำนวนมากกว่า 60 รายนาม จึงมีนัยยะสำคัญที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกเอาไว้แล้ว การแก้ไข ป.อาญา มี สนช.แต่งตั้งเข้าชื่อถึง 64 รายชื่อ ส่วนป.วิอาญา มีสนช.แต่งตั้งร่วมเข้าชื่อถึง 61 รายชื่อ

สาระของการเสนอแก้ไข ประเด็นแรก คือ การเพิ่มเติมความคุ้มครอง ในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไปถึงพระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง เรื่องนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย สนช. ผู้เสนอ ให้เหตุผลของการแก้เนื้อหาไว้ว่า เพราะที่ผ่านมา "บางท่านกลายเป็นหยื่อทางการเมือง"

การแก้ไขแบบนี้ มีผู้วิพากษ์วิจารณ์หนาหู ถึงการวางให้คณะองคมนตรีอยู่ในฐานะพิเศษเหนือปุถุชนสามัญ และคณะองคมนตรีก็แสดงความไม่สบายใจ จนท้ายที่สุด นายพรเพชร ก็ตัดสินใจถอนการแก้ไขกฎหมายออกไป

การเสนอแก้ไขอีกฉบับหนึ่งนั้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14/1 ของ ป.วิอาญา ซึ่งมีสาระว่า ในระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์พระ มหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีเห็นสมควร พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือคู่ความ อาจยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้สั่งห้ามมิให้โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีไม่ว่าสื่อประเภทใด และหากศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว เห็นว่ามีเหตุอันสมควรเพื่อการคุ้มครองปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ศาลสั่งอนุญาตตามคำร้องและอาจกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามคำสั่งห้ามของศาลดังกล่าวได้

อย่างไรก็ตาม การเสนอแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ก็ถูกถอนตามไปด้วย โดยนายพรเพชรให้เหตุผลว่า เมื่อถอนก็ต้องถอนทั้งสองฉบับ เพราะมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน

มาตรา 14/1 ที่แก้ไขนั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องเสรีภาพสื่อมวลชน ซึ่งปรากฏว่า มีสื่อที่แสดงท่าทีชัดเจนต่อเรื่องนี้ ตัวอย่างหนึ่งคือ บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม 2550 หรือ 2 วันหลังการถอนการแก้กฎหมาย และอาจเพราะเป็นธรรมเนียมของ 'รูปแบบ' บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ อันเป็นพื้นที่แสดงจุดยืนของหนังสือพิมพ์นั้นๆ งานชิ้นนี้จึงไม่ระบุชื่อผู้เขียน

ขออนุญาตคัดบางส่วนที่น่าสนใจของบทบรรณาธิการชิ้นนี้...

            "เป็นที่เข้าใจได้ว่า สำนักข่าวต่างประเทศจำนวนไม่น้อย ขาดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับคนไทย อันเนื่องมาจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงการก่อกำเนิดของชาติที่ต่างกัน จึงนำเสนอข่าวสารคัดค้านในแง่มุมของตะวันตก

            น่าตระหนกที่ สาระตามมาตรา 14/1 กลับถูกสื่อมวลชนไทยจำนวนหนึ่ง และนักสิทธิมนุษยชนบางคน พยายามเคลื่อนไหวคัดค้าน กล่าวประณาม สนช.กลุ่มที่นำเสนอร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ เพราะตีความว่า มาตรานี้เป็นการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อในการนำเสนอข่าวสาร ทำให้ศาลมีอำนาจสั่งห้าม มิให้โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีไม่ว่าสื่อประเภทใด

            ในฐานะสื่อมวลชนไทยเช่นกัน จำเป็นต้องสอบถามถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพต่อการแสดงท่าทีดังกล่าวด้วยความเคารพว่า ท่านต้องการเสรีภาพ โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องในความ ผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จริงๆ น่ะหรือ

            หากเป็นเช่นนั้น ก็สมควรที่เข้าชื่อเปิดเผยตัวตนต่อประชาชน เพื่อบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ของความเป็นนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพให้ประจักษ์

            เสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารล้วนเป็นที่หมายปองของคนในวิชาชีพสื่อสารมวลชนทุกผู้คน หากแต่เสรีภาพนั้นย่อมมีขอบเขตข้อจำกัดด้วยจารีต ประเพณี หน้าที่ของพลเมืองในแต่ละสังคม

            หน้าที่ของคนไทย คือ ทำนุบำรุง ปกป้อง รักษาซึ่งสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หากเสรีภาพจะได้มาด้วยการสูญเสียซึ่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดในสามสิ่งนี้

            เราขอยืนหยัดคัดค้านอย่างสุดกำลัง"

แม้ท้ายที่สุด สนช. จะ 'หยุดชะงัก' การแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับไปแล้วก็ตาม แต่ใช่ว่าจะลบล้างเรื่องทั้งหมดได้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น และกระแสที่ตามมา ได้สะท้อนเรื่องราวหลายอย่าง และเป็นคุณประโยชน์ต่อหลายๆ แวดวงในเมืองไทย โดยเฉพาะสถาบันวิชาชีพและสถาบันการศึกษา ด้าน 'สื่อมวลชน'

ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยเสื้อเหลืองแบบนี้ ความกังวลใจของ 'เขา' ไม่ได้อยู่ที่คุ้มครองใคร แต่ตรงกันข้าม สิ่งที่ 'เขา' เกรงกลัว น่าจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินคดีหมิ่น และมูลเหตุของคดีหมิ่น

นั่นคือ การแก้ไขกฎหมายเพื่อระบุว่า ห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่น มีความสำคัญที่เป็นอันตราย ยิ่งกว่าการให้สถานะอภิสิทธิ์ชนเป็นไหนๆ

สังคมไทยมีบรรยากาศของความเงียบ ที่ปกคลุมความรู้สึกสงสัยแบบตรงไปตรงมาอันมีต่อสถาบันกษัตริย์ เรื่องนี้ไม่เป็นผลดีไม่ว่ากับฝ่ายใด แม้แต่กับชาวเสื้อเหลืองแห่งสยามประเทศ เพราะไม่เพียงแต่สถาบันอันเป็นที่รักของชาวเสื้อเหลืองจะไม่มีผู้ใดตรวจสอบได้เท่านั้น แต่ยิ่งเปิดช่องให้สถาบันอันเป็นที่รัก ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ผ่านความศรัทธาของชาวเสื้อเหลืองเอง (ไม่แน่ใจว่า บทบรรณาธิการของโพสต์ทูเดย์คิดกับเรื่องนี้อย่างไร)

 

เรื่องนี้ น่าจะเป็นคำถามท้าทาย ให้คนแวดวงสื่อ และแวดวงวิชาการสื่อสารมวลชน ว่าจะอยู่ภายใต้ฟ้าเหลืองอย่างเท่าทันได้อย่างไร

อย่างไรก็ดี ไม่เคยมีตำราทางนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์ที่สอนว่า มีเรื่องประเภทใดที่ห้ามหรือไม่ควรเอ่ยถึงในสื่อมวลชน สิ่งที่เป็นข้อห้าม จะมีก็แต่การห้ามละเมิดหรือเหยียดในสีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา กล่าวความเท็จให้ผู้อื่นเสียหาย

ตรงกันข้าม สิ่งใดยิ่งมีความสำคัญมาก ยิ่งต้องพูดถึง วิจารณ์มาก เปิดพื้นที่ให้เห็นความคิดที่หลากหลายให้มาก เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งสำคัญนั้นๆ

โดยไม่มีข้อยกเว้นสำหรับการตรวจสอบ ไม่ว่าเรื่องใด

เรื่องนี้อาจจะไม่แปลกหรือไม่มีนัยยะสำคัญ หากผู้พูดไม่ได้มาในนามของสื่อ และสิ่งที่เกิดขึ้นคือ สื่อมวลชนเสนอตัวในการประกาศเรื่องความจำเป็นในการจำกัดเสรีภาพเสียเอง

บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ แสดงอาการยินยอมอย่างเต็มที่ หากศาลจะวินิจฉัยมิให้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีที่มีการกล่าวหา ฟ้องร้อง ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พร้อมทั้งประกาศความเชื่อด้วยว่า การมีเสรีภาพภายใต้ขอบเขตที่จำกัดด้วยจารีตประเพณี หน้าที่พลเมือง จะเป็นทางหนึ่งที่จะทำนุบำรุง ปกป้อง รักษา ซึ่งสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้

หลายคนคงรู้ดีว่า การถูกรัก ด้วย 'วิธีรัก' ในบางรูปแบบ เป็นอันตราย และการทำให้เรื่องสำคัญที่ยากตรวจสอบได้ถูกตรวจสอบ ว่าไปก็เป็นเรื่องจรรโลง สร้างสรรค์ มากกว่าเพื่อหวังจะเอาใจชั่วครู่ชั่วยาม

ในฐานะที่ไม่ใช่นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพ แต่เชื่อมั่นว่า หากประชาชนไทยมีพื้นที่ให้ได้รับรู้ เข้าถึงข้อเท็จจริง มีโอกาสและมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องร้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จะเป็นผลดีต่อทุกๆ สถาบันและทุกๆ อุดมการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

ค่ะ ...ดิฉันชื่อ  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

 

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 หอกหักจูเนียร์  ขณะที่นั่งปั่นข้อเขียนชิ้นนี้ ยังมีสองเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และผมต้องอาศัยการแทงหวยคาดเดาเอาคือ1. การเลือกนายกรัฐมนตรี (จะมีในวันที่ 15 ธ.ค. 2551)2. การโฟนอินเข้ามายังรายการความจริงวันนี้ของคุณทักษิณ (จะมีในวันที่ 13 ธ.ค. 2551)เรื่องที่ผมจะพูดก็เกี่ยวเนื่องกับสองวันนั้นและเหตุการณ์หลังสองวันนั้น ผมขอเน้นประเด็น การจัดการ - การบริหาร "ความแค้น" ของสองขั้ว I ขอแทงหวยข้อแรกคือ ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551 หากว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกโหวตให้เป็นนายก และพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล (ขออภัยถ้าแทงหวยผิด แต่ถ้าแทงผิด…
Hit & Run
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ  หลังการประกาศชัยชนะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลังการยุบพรรค แล้วล่าถอยในวันที่ 3 ธ.ค. พอตกค่ำวันที่ 3 ธ.ค. เราจึงกลับมาเห็นบรรยากาศที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แทนที่สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ จะปราศรัยบนเวที หรือหลังรถปราศรัย ก็กลายเป็นเสวนา และวิเคราะห์การเมืองกันในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์ ASTV อย่างไรก็ตาม สนธิ ลิ้มทองกุล ก็พยายามรักษากระแสและแรงสนับสนุนพันธมิตรฯ หลังยุติการชุมนุมเอาไว้ โดยเขาเผยว่าจะจำลองบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไว้ในห้องส่ง เพื่อแฟนๆ ASTV โดยเขากล่าวเมื่อ 3 ธ.ค. [1] ว่า “พี่น้องครับ…
Hit & Run
พิชญ์ รัฐแฉล้ม            นานมากแล้วที่ “ประเทศของเรา” ประสบกับสภาพความมั่นคงและเสถียรภาพที่แหว่งวิ่นเต็มทน และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าความหวังในความสำเร็จของการจัดการกับปัญหายิ่งเลือนรางไปทุกที ทุกเรื่อง ทุกราว กำลังถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศเพื่อมารวมศูนย์ ณ เมืองหลวงมิคสัญญีแห่งนี้ จนกระแสข่าวรายวันจากปักษ์ใต้ อีสาน...แผ่วและเบาเหมือนลมต้นฤดูหนาว   สื่อต่างๆ ทั้งไทย-ต่างประเทศ ประโคมข่าวจากเมืองหลวงกระจายสู่ทุกอณูเนื้อโลก ช่างน่าตกใจ! ภาพแห่ง “ความรุนแรง” ของฝูงชนขาดสติและไม่เหลือแม้สายใยในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ถูกกระจายออกไป…
Hit & Run
  ธวัชชัย ชำนาญ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาร่วมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ "พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ" ความยิ่งใหญ่อลังการที่ทุกคนคงรู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ความสงบเงียบของบ้านเมืองที่ดูเหมือนมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างมากดทับกลิ่นอายของสังคมไทยที่เคยเป็นอยู่กลิ่นอายที่ว่านั้น..เป็นกลิ่นอายของความขัดแย้ง ความเกลียดชังของคนในสังคมที่ถูกกดทับมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บบอร์ด pantipจันทร์ ในบ่อ เชื่อว่าหลายคนคงได้ชมรายการตีสิบเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเชิญ ‘คุณต้น' อดีตนักร้องวง ‘ทิค แทค โท' บอยแบนด์ไทยสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นแรกๆ ที่โด่งดังราวสิบปีก่อนมาออกรายการ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่สังคมเรื่องผลเสียจากการใช้ยาเสพติดคุณต้นสูญเสียความทรงจำและมีอาการทางสมองชนิดที่เรียกว่า ‘จิตเภท' จากการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและยานอนหลับชนิดรุนแรง จนหลายปีมานี้เขาได้หายหน้าหายตาไปจากวงการบันเทิงและจดจำใครไม่ได้เลย คุณแม่เคยสัญญากับคุณต้นไว้ว่า หากอาการดีขึ้นจะพามาออกรายการตีสิบอีกครั้งเพื่อทบทวนเรื่องราวในอดีต เพราะคุณต้นและเพื่อนๆ…
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100…
Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   …
Hit & Run
   (ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่มฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลยฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า…
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า…
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น…