เด็กชาวว้ากับเรื่องที่ไม่ถูกบันทึก

< แสงธรรม >

20 มิถุนายน 2551

ฉันได้รับการแจ้งข่าว ชาวบ้านในหมู่บ้านชายแดนไทย – พม่า ด้านที่ติดกับรัฐฉาน พบกลุ่มเด็กชายและหญิงจำนวน 5 คน วิ่งมาจากอีกฝั่งแล้วข้ามเข้ามาในเขตไทย

ดูเหมือนพวกเขาวิ่งหนีบางสิ่งบางอย่าง

ชาวบ้านมาพบเด็กกลุ่มนี้เข้า พบว่าเป็นเด็กชาวว้า

0 0 0

ไม่ต้องแปลกใจ หากจะพบหมู่บ้านชาวว้า ฐานทัพของกองทัพสหรัฐว้า (USWA) จำนวนมาก เริ่มเข้ามาตั้งอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ด้านรัฐฉาน

ตามรายงาน ‘สั่งอพยพ’: โครงการบังคับโยกย้ายถิ่นฐานชาวว้าในเขตรัฐฉานตะวันออก (2542-2544) ระบุว่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2542-2544 รัฐบาลพม่าเริ่มทำการบังคับอพยพโยกย้ายประชาชนว้าอย่างน้อย 126,000 คนจาก ‘ปางซาง’ เมืองติดชายแดนจีน ลงมายังรัฐฉานใต้หลายพื้นที่ และมาสร้างเมืองใหม่ชื่อ ‘เมืองยอน’ ติดกับชายแดน ภาคเหนือของไทย [1]

โดยที่ปางซาง กองบัญชาการสูงสุดของกองทัพสหรัฐว้า (USWA) มี ‘เปาโหย่วเฉียง’ เป็นผู้บัญชาการสูงสุด ส่วนเมืองยอน เมืองใหม่ที่ติดกับชายแดนไทยมี ‘เหว่ย เซียะ กัง’ ผู้นำกองพล 171 ของกองทัพสหรัฐว้าเป็นผู้คุมกำลัง

การอพยพที่เกิดขึ้น ทั้งรัฐบาลทหารพม่าและกองทัพสหรัฐว้าอ้างว่าเพื่อต่อต้านการปลูกฝิ่นของชาวบ้าน และส่งเสริมให้เพาะปลูกพืชชนิดอื่นๆ โดยจัดสรรพื้นที่ในรัฐฉานตอนใต้ให้

แต่เมื่อมีการอพยพกลับพบว่ายิ่งมีการปลูกฝิ่นในพื้นที่รัฐฉานตอนใต้โดยการสนับสนุนของทหารพม่าและว้า เกิดการบังคับเกณฑ์แรงงานชาวว้า ความอดอยาก การละเมิดสิทธิมนุษยชน

ขณะที่โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพะโรคมาลาเรีย ตลอดจนความยากลำบากในการเดินทางของชาวบ้านที่ต้องเดินเท้าจากเหนือลงใต้กินเวลานับ 2 เดือนจึงทำให้ชาวว้าเสียชีวิตระหว่างการอพยพมากกว่า 4 พันคน

0 0 0

เด็กชาวว้ากลุ่มนี้เป็นเด็กชาย 3 คน เด็กหญิง 2 คน อายุ 12 ปีบ้าง 13 ปีบ้าง กำลังเดินขออาหาร และถามชาวบ้านว่า “อยากได้คนงานบ้างไหม เราทำงานอะไรก็ได้ ขอแค่ให้ที่อยู่ อาหารและเสื้อผ้าสักสองชุด”

เด็กๆ ทั้งหมดไม่มีอะไรติดตัวเลย นอกจากเสื้อผ้าที่ใส่ติดตัว รองเท้าที่ขาดวิ่น และยังพกพาความหิวโหย

พวกเด็กๆ ถูกพาเข้าไปในหมู่บ้าน

ชาวบ้านที่ตลาด ให้ความช่วยเหลือเด็กๆ เหล่านั้น ให้ข้าว ให้น้ำ ชาวบ้านได้แต่ฟัง ชาวบ้านคนหนึ่งร้องไห้ทันทีที่เด็กๆ เล่าถึงเหตุผลที่พวกเขาต้องหนีมาฝั่งไทย

เด็กๆ เล่าให้ฟังว่า พวกเขาไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ ไม่มีบ้าน อีกแล้ว

ตอนนี้ถูกทหารว้า คนชาติเดียวกัน เอามารับใช้ในค่ายทหาร ใช้งานสารพัด บางคนถูกทหารว้าใช้ให้ไปทำงานในไร่ เจ้าของไร่ใช้งานหนักจนไม่ได้พัก หากเดือนไหน ‘โชคดี’ ก็จะได้เงิน ที่เรียกว่าเป็น ‘ค่าแรง’ 60 บาท จากเจ้าของสวน

ชาวบ้านถามเด็กๆ ว่าถูกทำร้ายบ้างไหม มีเสียงหนึ่งบอกว่าถูกทำร้ายสารพัดจนไม่อยากพูดถึงมันอีก

เด็กคนหนึ่งชี้ให้ดูรอยมีดสับที่นิ้วเท้าข้างขวา อีกคนให้ดูรอยมีดที่คาง พอพูดไปน้ำตาก็ตามมาด้วยทันที

พอเราทนไม่ได้จึงหนีออกมาอย่างไม่คิดชีวิต ทิ้งข้าวของสมบัติติดตัวที่มีน้อยนิด หนี หนี หนี ทั้งวิ่ง ทั้งเดิน บางคนรีบวิ่ง รีบหนี จนทิ้งร้องเท้าแตะไว้กลางป่า

ชาวบ้านสงสารเด็กๆ จึงเลี้ยงข้าวแล้วพาไปส่งที่วัด ที่พักพิงแห่งเดียวในหมู่บ้านชายแดนสำหรับเด็กๆ ที่ระหกระหนอย่างไม่รู้อนาคตว่าจะไปไหนอย่างพวกเขา

เช้าวันรุ่งขึ้น ไม่ทันที่ชาวบ้านจะสอบถามพวกเด็กๆ ที่ค่ายทหารว้า มีเด็กๆ คนอื่นๆ ในสภาพดุจเดียวกับพวกเขาอีกกี่คน ทหารว้าทำอะไรพวกเขาบ้าง จะช่วยเหลือเด็กๆ พวกนี้อย่างไร

อปพร. ในหมู่บ้านตามหาจนพบกับกลุ่มเด็กพวกนี้ และยืนยันให้จับส่งทหารว้า

ดูเหมือนว่านี่เป็นการ “ขอ” มาจากทหารว้า

พวกเขาพาเด็กขึ้นรถกะบะ

ในจำนวนเด็กทั้งห้า ไม่มีใครยอมกินข้าวหรือยอมแตะอาหารกำลังจะกิน หลังจากที่รู้ว่าต้องถูกจับส่งกลับ พวกเขาพากันร้องไห้จ้า ไม่อยากกลับไปอีก บางคนพยายามกระโดดลงมา แต่ อพปร. ก็จับเด็กนั้นไว้มั่นมือ เสียงร้องไห้ของเด็กๆ ไม่ได้ทำให้จิตใจผู้ใหญ่สองสามคนที่จับพวกเขา รู้ถึงความกลัวและเสียใจที่จะถูกส่งกลับไปเลยสักนิด

รถกระบะหายลับไปแล้ว เสียงร้องไห้เด็กๆ หายลับไปแล้ว พร้อมกับอิสรภาพชั่วคราว ของเด็กๆ ก็อันตรธานหายไปด้วย

0 0 0

ฉันไม่เข้าใจ ประเทศไทยที่บอกว่าเป็นประชาธิปไตย แต่ทำไม เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจึงไม่ยึดหลักการนั้น แล้วคิดช่วยเหลือเด็กๆ เหล่านั้น

ทำไมรีบส่งเด็กพวกนั้นกลับ ทำไมไม่สอบถามเด็กๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นใน ‘ฝั่งโน้น’ ทหารว้าทารุณพวกเขาหรือไม่ ทำไมต้องมาอยู่กับทหารว้า ทำไมทหารว้าพรากลูก ออกจากพ่อแม่ ทำไม นอกจากไม่ให้ความช่วยเหลือพวกเขา แล้วยังต้องซ้ำเติมชะตากรรมที่พวกเขายอมหนีตาย เพื่อเอาชีวิตมาแลกกับความหวังเพียงน้อยนิด ที่จะรอดพ้นจากความโหดร้ายเหล่านี้

ถ้าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะอ้างว่าไม่มีอำนาจสอบถามเท้าความถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในฝั่งพม่า

ก็แล้วทำไมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นถึงมีอำนาจส่งกลับเด็กชาวว้าข้ามชายแดนโดยพละการ

หรือมีคำสั่ง มีการอนุมัติ มาจากเจ้าหน้าที่ๆ อยู่ระดับสูงกว่านั้น

หรือ ‘ความมั่นคงมนุษย์’ ความเป็นมนุษย์และชีวิตของเด็กเหล่านี้ สำคัญน้อยกว่าความมั่นคงของชาติ ความมั่นคงของทหารว้า และความั่นคงอย่างมหาสถาพรของรัฐบาลทหารพม่า

ทำไมเด็กชาวว้าถึงไม่มีโอกาสที่จะมีอิสรภาพ เหนือการบังคับกดขี่ เหนือความหวาดกลัว เหนือการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ใด

เด็กๆ หายลับไปพร้อมรถกะบะที่มุ่งหน้าไปชายแดนและส่งพวกเขาให้กับทหารว้า หากแต่ใจฉันยังได้ยินเสียงร้องไห้ และภาพที่พวกเขาถูกบังคับลากขึ้นรถ ทุกวินาที

ทันทีที่เท้าเหยียบอีกฝั่งหนึ่งของชายแดน พวกเขาต้องเผชิญกับอะไรบ้าง ตอนนี้อยู่กันอย่างไร

ไม่มีใครรู้

ฉันถามตัวเอง

คำตอบเหล่านั้น อยู่ในสายลม

- - - - -

หมายเหตุ
[1]
อ่านรายงานการอพยพชาวว้าได้ที่ The Lahu National Development Organisation, “UNSETTLING MOVES: The Wa resettlement program in Eastern Shan State (1999-2001).” in http://www.shanland.org/resources/bookspub/humanrights/wa

ความเห็น

Submitted by จรรยา on

บ้าฉิบ... อ่านเรื่องนี้แล้วรู้สึกโกรธมากเหลือเกิน เรื่องราวความเจ็บปวดของชนกลุ่มน้อยต่างๆ โดยเฉพาะจากพม่ามีอยู่ในเกือบทุกผู้อพยพที่ลี้ภัยมาประเทศไทย มันบาดลึกถึงหัวใจ และก็คิดเสมอว่า "ถ้าเป็นเราล่ะ" ถ้าคำว่า "พม่า" มันเปลี่ยนเป็น "ไทย" ล่ะ คนเหล่านั้นก็อาจจะเป็นเราหรือพวกเราใช่ไหม แล้วเราใยเผิกเฉยกับความจริงที่ปวดร้าวเหล่านี้ได้โดยไม่ได้ทำอะไร

สุนทรพจน์ที่มีชื่อมากของมาติน ลูเธอ คิงส์ คือ ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในที่ใดที่หนึ่ง จะเป็นภัยคุกคามในทุกๆ ที่ที่มีความยุติธรรม "Injustice anywhere is a threat to justice everywhere"

ถ้าเราเผิดเฉยต่อกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า หรือในประเทศเรา หรือในประเทศเพื่อนบ้าน เราเองนั้นแหล่ะกำลังปล่อยให้ความอยุติธรรมทั้งหลายเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ

Submitted by แสงดาว ศรัทธามั่น on

พวกเรา กวี นักเขียน ก็ให้กำลังใจพี่น้องทุกชนเผ่าทึ่ถูกกดขี่ข่มเหงรุกรานอยู่ คับ ขอบคุณที่เสนอให้สาธารณชนชาวเว็บได้รับทราบ

Submitted by สำแดง แสงธรรม on

ชาวพม่า กลุ่มชาติพันธุ์ ล้วนรักประชาธิปไตย ไม่ต้องการเผด็จการ หวังว่าศิลปินไทยจะเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นอุทธาหรณ์ ไม่หลวมตัวไปสนับสนุนระบอบเผด็จการโจรโพกผ้าเหลือง ตามอย่างบักวสันต์ สิทธิเขตต์ ที่หากินกับผู้ทุกข์ยากตลอดมา

Submitted by แสงตะวัน on

รู้ได้งัย ที่ว่า วสันต์ สิทธิเขตต์ หากินกับผู้ทุกขฺยากตลอดมา เท่าที่เราติดตามเขา เราเคาวพเขาที่เขาต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมเสมอมา เราเองหล่ะได้เคยไปร่วมสูกับพี่น้องชาวบ้านชาวเมืองรึเป่า ไปลงในพื้นที่ที่เขาเดือดร้อนหรือเปล่า? ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของประชาชนไม่ว่าจะต่อสู้กะเผด็จการทหาร หรือเผด็รการพลเรือนรัฐสภาที่อ้างเสียงข้างมาก มันก็อต้องต่อสู้กับมันทุกรูปแบบ ไร้กระบวนท่า เมื่อเอ็งใช้ เล่ห์ ใช้เวทย์มนต์คาถา ข้าก้อต้องใช้บ้าง มันก้อต้องสามัคคีชั่วคราวกับผู้ที่มีความคิดแตกต่าง เพียงแต่ต้องมีจุดยืนเพื่อความถูกต้องเป็นธรรม แต่ถ้าเมื่อใดที่ประชาชนเห็นว่าทรยศต่อประชาชน เราก็พร้อมที่จะบดขยี้ ไม่ว่าจะเป็น วสันต์ สมเกียรติ สนธิ สมศักดิ์ ภิภพ ฯลฯ เอวังก้อมีด้วยประ กา ระ ฉะ นี้

Submitted by แสงโสม on

ฮ่าๆๆๆๆๆๆ
ภูมิปัญญาของศิลปิน

อนาคตวงการศิลแช่งมืดมนจริงๆ

Submitted by sue on

สื่อต้องเป็นกลางและให้ความจริงแก่ผู้อ่าน ปัจจุบันสื่อลำเอียงไม่มีจริยธรรม คุณธรรม(สื่อบางฉบับ)อยากได้ประชาธิปไตยเมื่อได้แล้วต้องทำตามกติกา คนไทยส่วนมากนับถือศาสนาพุทธคงจำได้ ทำดี ได้ดี กฎแห่งกรรมมีให้เห็นมากมาย ใครทำอย่างไรก็จะได้อย่างนี้นจะช้าหรือเร็วก็แล้วแต่อานิสงส์ที่ได้รับ คนไทยเกิดความแตกแยกเพราะได้ข่าวสารที่ไม่เป็นกลาง สื่อบางชนิดอำนาจล้นฟ้า ด่าใครก็ได้ไม่ผิดกฎหมายอย่างนั้นหรือ ...น่าสงสารนะ...คิดได้อย่างไร กรรมของประเทศไทย เราตามหลังประเทศอื่นมามากหากเดินตามหลัง...ลาว...เขมร...มันน่าช้ำใจจริงๆ...สงสารคนที่เห็นแก่ตัวจัง...อายุมากแล้วแต่ยอมให้คนอายุน้อยกว่าจูงหาง...ผิดศีล 5 ศีล 8 คนจะเชื่อถือได้อย่างไร เคยสัญญาว่าจะไม่สมัคร สส. สว.และไม่เล่นการเมืองที่ทำอย่นี้เรียกว่าอะไรล่ะ น่าสงสารจัง เมื่อไรจะคิดได้ ประเทศขาติเสียหายมามากท่านจะแก้ไขอย่างไร คงไม่มั่ง เพราะสมองไร้ปัญญาและไม่มีสติ ดีแต่ใส่ร้ายคนอื่น จริงไม๊!!!!!! มีโอกาสจะเขียนมาอีก

แค่ผัวเมียทะเลาะกัน...ครับ

 
โจว ชิงหมาเกิด
 
 
ประเด็นฮอตฮิตในรอบสัปดาห์นี้หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือบทสัมภาษณ์ "สมชาย หอมละออ"แย้มผลสอบสลายชุมนุมพฤษภา′53 ผัวเมียทะเลาะกัน... ผิดทั้งคู่ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 14:00:45 น. สัมภาษณ์พิเศษ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์)
 
 

ด้วยรักและไว้อาลัยแด่การสอบโอเน็ต (และบทสัมภาษณ์ 'ติ่งหู' กับ 'ผู้ไม่เชี่ยวชาญ')

เดือนมีนาคมแล้วค่ะท่านผู้อ่าน

ช่วงเวลาที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องจำจากจรสถาบันอันเป็นที่รักเพื่อก้าวไปข้างหน้า ทั้งจากความต้องการของตัวเองและกระแสสังคมที่ต่างคาดหวังว่าการ ศึกษาคือหนทางแห่งการเป็น “เจ้าคนนายคน”

หากท่านผู้อ่านเคยผ่านช่วงเวลาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระบบเอนทรานซ์หรือระบบแอดมิชชันคงยังจำช่วงเวลาหฤโหดของการเข้าห้องสอบที่แบกเอาความฝันของตัวเอง ความคาดหวังของผู้บุพการี และหน้าตาของสถาบันระดับมัธยมศึกษา (ที่มักจะวัดกันด้วยจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้)ตลอดจนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์ ไปจนถึงผู้บริหารสถานศึกษาก็ต่างลุ้นตัวโก่งกับผลการเข้ามหาวิทยาลัยในอีกไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ….ช่างเป็นช่วงชีวิตที่ลืมไม่ลง เสียจริง ๆ

รักเทอซะให้เข็ด ..แม่เจ็ดสาวลีโอ

ปีนี้บรรยากาศเหน็บหนาวที่มาพร้อมกับลานเบียร์หลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า มีเรื่องสนุกสนานทวีคูณมากขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการ “สาวลีโอ” ที่ยุ่งเหยิงอีรุงตุงนังเมื่อไปพันกับการเมืองยุคอำมาตย์ฝึกหัดครองเมือง

เมื่อมาถึงปลายปีที่มีบรรยากาศหนาวๆ ชวนให้เปล่าเปลี่ยว ธรรมเนียมปฏิบัติของบรรษัทค่ายน้ำเมาต่างๆ จะต้องมีแคมเปญอะไรมาเป็นของกำนัลให้กับหนุ่มๆ คึกคักมีชีวิตชีวา โดยปฏิทินรูปแบบวาบหวามมักจะถูกเข็นออกมาในช่วงนี้ และลีโอก็ไม่เคยพลาด หลังจากที่ได้ “ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม” มาช่วยเป็นแม่ทัพดูแลการผลิตด้านสื่อหวาบหวิวให้ค่ายลีโอ เป็นส่วนหนึ่งในการฟาดฟันต่อสู้กับค่ายช้างจนทำให้เบียร์ลีโอเป็นเบียร์อันดับหนึ่งของประเทศ โดยกลยุทธการตลาดที่สำคัญนั้นก็คือการขายความเซ็กซี่และมีระดับกว่าช้างมาหน่อย

ขออนุญาต "ไม่แปล"

สถานการณ์ในเมืองไทยตอนนี้ทำให้พวกเราไม่สามารถนำเสนออะไรหลายอย่างได้โดยเฉพาะสิ่งที่มาจากต่างประเทศ ก็เพราะประเทศสยามกำลังพยายามปิดกั้นไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลจากสื่อต่างชาติ หรือถ้าจะให้รับรู้ก็จะถูกบิดเบือนหรือรับเอามาดัดแปลงให้เป็นวาทศิลป์มุ่งสำเร็จความใคร่ในการทำลายล้างศัตรูของตนเอง โดยไม่สนถึงผลกระทบที่ตามมาว่าจะบานปลายร้ายแรงขนาดไหน