Skip to main content
 

เมื่อหนุ่มน้อย "สี TOA" เขียนจดหมายถึง "ศรีบูรพา" ว่าด้วยความสับสนและอคติต่ออุดมการณ์สื่อ

 

3 หมู่ 7 .ท่ากว้าง

.สารภี จ.เชียงใหม่

 

4 กรกฎาคม 2551

 

เรียน คุณศรีบูรพา ตำนานนักหนังสือพิมพ์ นักคิด นักเขียน ผู้ยิ่งใหญ่  

 

สวัสดีครับ คุณศรีบูรพา คุณซวยเข้าให้แล้ว! ที่ผมเขียนจดหมายถึงคุณ เป็นเพราะว่ามันเป็นเวรที่ทางต้นสังกัดบังคับให้ผมเขียนอะไรซักอย่าง และเมื่อยามใดที่ผมหมดมุข รูปแบบงานเขียนในแบบฉบับจดหมายจะต้องถูกควักมาใช้อยู่ร่ำไป

 

แต่ที่เจาะจงเขียนถึงคุณ มันมีเหตุผล เพราะคุณคือสัญลักษณ์ของวงการที่ผมประกอบสัมมาอาชีพอยู่

 

ผมจำได้เลาๆ ว่าเคยอ่านงานที่กล่าวถึงคำกล่าวของคุณคล้ายๆ กับว่า คุณพยายามบอกกับสังคมในช่วงยุคสมัยของคุณว่า การทำสื่อจักต้องทำให้เป็นอาชีพจริงจัง และอุดมการณ์ทำสื่อคือการต่อสู้กับความอยุติธรรมทั้งหลายทั้งปวง อะไรเทือกนี้

 

ผมเข้าใจว่าในยุคสมัยนั้น การทำสื่อ (ในความหมายของคุณคงหมายถึงหนังสือ, หนังสือพิมพ์) คงไม่ได้รับการถือหน้านับตาเฉกเช่นกับการเป็นเจ้าขุนมูลนาย หนำซ้ำสื่อสมัยนั้นยังเป็นของเล่นของเจ้าขุนมูลนาย อีกที หรือไม่ก็เป็นโทรโข่งของรัฐของเจ้าขุนมูลนายอีกที (เช่นกัน)

 

ที่คุณกล้าออกมาประกาศเช่นนั้นก็คล้ายกับเป็นการท้าทายว่า พลเมืองธรรมดาสามัญก็สามารถทำสื่อได้ และแน่นอนว่าทำให้มันเป็นอาชีพได้ จะไม่ใช่ของเล่นและกระบอกเสียงของพวกส่วนน้อยที่ทำนาบนหลังคนส่วนใหญ่อีกต่อไป

 

มันวิเศษมาก!

 

ในเมื่อคุณเป็นส่วนหนึ่งสำคัญที่สถาปนาความศักดิ์สิทธิ์ให้กับวิชาชีพนี้ และคุณเองก็ควรจะมีส่วนรับผิดชอบกับอคติที่ผมมีอยู่กับมันบ้าง โดยขอย้ำว่าข้อเขียนนี้เกิดจากอคติของผมคนเดียว ส่วนคนส่วนใหญ่ทั่วไปจะคิดยังไงก็แล้วแต่ จะหาใครมาระบายมารับผิดชอบเมื่อยามผิดหวังก็หากันไป จะหาใครมาเชิดชูยกยอเมื่อยามฮึกเหิมก็หากันไป

 

แต่วันนี้ผมขอจองผ้าป่าคุณ โดยเฉพาะประเด็นการผลิตอุดมการณ์ต่อต้านความอยุติธรรม และการสถาปนาให้ของเล่นจำพวกสื่อนี้เป็นวิชาชีพขึ้นมาได้ ส่วนประเด็นที่คุณและพลพรรคสามารถช่วงชิงเอามันมาจากพวกหนักแผ่นดินในสมัยของคุณ ผมคิดเห็นว่าคุณทำได้ถูกต้อง ผมชอบมาก ทำได้ดี

 

โดยภาพรวมคุณไม่ผิดหรอก แต่ผมมันอดหมั่นไส้ในถ้อยคำทั้งหลายที่ยกยอปอปั้นให้คนทำอาชีพนี้กลายเป็นเทวดารวมถึงไปบังคับให้พวกเขาต้องแบกรับอุดมการณ์เลิศหรู แต่ส่วนใหญ่มักจะแบกไม่ค่อยจะได้เรื่อง

 

เมื่อใดที่ได้ยัดอุดมการณ์เข้าไปให้มนุษย์ล่ะก็ จะมีอยู่สองอย่างก็ อย่างแรกคือ สร้างเขาให้แข็งทื่อหมดโอกาสเพิ่มรสชาติโหด เลว ดี ในการเป็นมนุษย์

 

อย่างที่สองคือสร้างพระปลอมออกมาบิณฑบาตตามท้องถนน

 

อย่างที่สองผมจะไม่วิจารณ์ เพราะพระปลอมโดนวิจารณ์กันเสียพรุนแล้ว และผมยังแอบชอบพระปลอมๆ เหล่านี้เสียด้วยซ้ำ ให้ตายสิ! พวกเขาหลักแหลมและทำสวนทางกับอุดมการณ์บางข้อของคุณ... สะใจชะมัด!

 

อย่างแรกแหละ สมควรถูกวิจารณ์เสียบ้าง เพราะบางครั้งการแบกอุดมการณ์จัดเกินไป มันมักจะพาลทำให้เราไปดูถูกคนที่เห็นต่าง และพาลทำตัวพาลอย่างที่เราวิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามกับเราว่าเป็นคนพาล วิจารณ์ดูถูกดูแคลนคนที่มีอุดมการณ์คนละชุดกับเรา

 

และที่ต้องน่าวิจารณ์จำพวกแรก เพราะพวกคงแก่อุดมการณ์ทั้งหลาย มักจะไม่ค่อยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเสียเลย

 

ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะในช่วงเวลาที่ผมกำลังหายใจเข้าออกอยู่นี้ สังคมบ้านเรามันเป็นแบบนี้อยู่จริงๆ และผมกล้าเอาหัวเป็นประกันว่าศัตรูสำหรับคนจนธรรมดาสามัญในยุคสมัยผมมันชวนให้น่ามึนหัวและควานหาตัวออกมาจิกด่ายากกว่าสมัยคุณอยู่มากโขทีเดียว ดังนั้นอุดมการณ์อย่างเดียวคงยังไม่พอ สัญชาตญาณความเป็นมนุษย์จะต้องถูกนำมาช่วยเป็นเข็มทิศในการเดินไปแต่ละก้าวในยุคสมัยของผม

 

ดังนั้นในความสับสนนี้ ผมจึงใคร่ขอเสนอนโยบายโมเดลการจัดวางในการให้ความสำคัญต่อสื่อเสียใหม่ (คล้ายๆ กับเทพบุตรสุดหล่อที่นำเสนอโมเดลการเมืองใหม่) คือมองว่ามันเป็นเรื่องเล่นๆ ขำๆ อย่าไปกระแดะปฏิรูป ปฏิวัติอะไรมันเลย และอย่าไปให้ค่าเปรียบเทียบว่าสื่อไหนเจ๋งกว่าสื่อไหนเลย

 

 

ทั้งนี้อยากให้ลองมองคนทำสื่อเหมือน แพทย์ ภารโรง นักล้วงกระเป๋า สามล้อ นักมวย มิจฉาชีพ นักการเมือง(เลือกตั้ง) นักการเมือง(ไม่เลือกตั้ง) อาชีพจักสาน ทหาร ตำรวจ แมงดา ขอทาน ฯลฯ ที่ถึงแม้ว่าจะมีเกียรติตามสเกลวัดจริยธรรมไม่เท่ากัน แต่ให้ถือว่าเป็นคนสู้ชีวิต ทำอะไรเพื่อปากท้อง เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งทั้งสิ้น ไม่มีใครจ๊าบเกินหน้าใครในเรื่องปากกัดตีนถีบตามวิถีมนุษย์

 

สุดท้ายจะขอกล่าวไว้ว่า ในขณะนี้ผมภาวนาให้สื่อไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างที่คุณคิดอีกต่อไป ใครที่เข้ามาเหยียบดินแดนสนธยานี้ก็ขอให้อย่าได้คิดทำจริงจัง และอย่าไปหวังว่ามันจะช่วยปลดแอกอะไรได้ แต่ถ้ามันทำได้ก็ถือว่ามันฟลุ๊คก็แล้วกัน

 

อย่างน้อยที่สุด ถ้าคิดอย่างสิ้นคิดอย่างที่ผมกล่าวไป มันก็จะไม่ได้กดดัน และหวังอะไรกับโลกที่เราไม่สามารถให้มันเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็นได้

 

โลกใบนี้พร้อมทำลายนักอุดมการณ์ให้เสียสติได้เสมอน่ะ!

 

โดยความขำๆ

สี T O A

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 หอกหักจูเนียร์  ขณะที่นั่งปั่นข้อเขียนชิ้นนี้ ยังมีสองเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และผมต้องอาศัยการแทงหวยคาดเดาเอาคือ1. การเลือกนายกรัฐมนตรี (จะมีในวันที่ 15 ธ.ค. 2551)2. การโฟนอินเข้ามายังรายการความจริงวันนี้ของคุณทักษิณ (จะมีในวันที่ 13 ธ.ค. 2551)เรื่องที่ผมจะพูดก็เกี่ยวเนื่องกับสองวันนั้นและเหตุการณ์หลังสองวันนั้น ผมขอเน้นประเด็น การจัดการ - การบริหาร "ความแค้น" ของสองขั้ว I ขอแทงหวยข้อแรกคือ ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551 หากว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกโหวตให้เป็นนายก และพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล (ขออภัยถ้าแทงหวยผิด แต่ถ้าแทงผิด…
Hit & Run
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ  หลังการประกาศชัยชนะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลังการยุบพรรค แล้วล่าถอยในวันที่ 3 ธ.ค. พอตกค่ำวันที่ 3 ธ.ค. เราจึงกลับมาเห็นบรรยากาศที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แทนที่สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ จะปราศรัยบนเวที หรือหลังรถปราศรัย ก็กลายเป็นเสวนา และวิเคราะห์การเมืองกันในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์ ASTV อย่างไรก็ตาม สนธิ ลิ้มทองกุล ก็พยายามรักษากระแสและแรงสนับสนุนพันธมิตรฯ หลังยุติการชุมนุมเอาไว้ โดยเขาเผยว่าจะจำลองบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไว้ในห้องส่ง เพื่อแฟนๆ ASTV โดยเขากล่าวเมื่อ 3 ธ.ค. [1] ว่า “พี่น้องครับ…
Hit & Run
พิชญ์ รัฐแฉล้ม            นานมากแล้วที่ “ประเทศของเรา” ประสบกับสภาพความมั่นคงและเสถียรภาพที่แหว่งวิ่นเต็มทน และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าความหวังในความสำเร็จของการจัดการกับปัญหายิ่งเลือนรางไปทุกที ทุกเรื่อง ทุกราว กำลังถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศเพื่อมารวมศูนย์ ณ เมืองหลวงมิคสัญญีแห่งนี้ จนกระแสข่าวรายวันจากปักษ์ใต้ อีสาน...แผ่วและเบาเหมือนลมต้นฤดูหนาว   สื่อต่างๆ ทั้งไทย-ต่างประเทศ ประโคมข่าวจากเมืองหลวงกระจายสู่ทุกอณูเนื้อโลก ช่างน่าตกใจ! ภาพแห่ง “ความรุนแรง” ของฝูงชนขาดสติและไม่เหลือแม้สายใยในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ถูกกระจายออกไป…
Hit & Run
  ธวัชชัย ชำนาญ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาร่วมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ "พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ" ความยิ่งใหญ่อลังการที่ทุกคนคงรู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ความสงบเงียบของบ้านเมืองที่ดูเหมือนมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างมากดทับกลิ่นอายของสังคมไทยที่เคยเป็นอยู่กลิ่นอายที่ว่านั้น..เป็นกลิ่นอายของความขัดแย้ง ความเกลียดชังของคนในสังคมที่ถูกกดทับมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บบอร์ด pantipจันทร์ ในบ่อ เชื่อว่าหลายคนคงได้ชมรายการตีสิบเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเชิญ ‘คุณต้น' อดีตนักร้องวง ‘ทิค แทค โท' บอยแบนด์ไทยสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นแรกๆ ที่โด่งดังราวสิบปีก่อนมาออกรายการ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่สังคมเรื่องผลเสียจากการใช้ยาเสพติดคุณต้นสูญเสียความทรงจำและมีอาการทางสมองชนิดที่เรียกว่า ‘จิตเภท' จากการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและยานอนหลับชนิดรุนแรง จนหลายปีมานี้เขาได้หายหน้าหายตาไปจากวงการบันเทิงและจดจำใครไม่ได้เลย คุณแม่เคยสัญญากับคุณต้นไว้ว่า หากอาการดีขึ้นจะพามาออกรายการตีสิบอีกครั้งเพื่อทบทวนเรื่องราวในอดีต เพราะคุณต้นและเพื่อนๆ…
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100…
Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   …
Hit & Run
   (ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่มฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลยฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า…
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า…
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น…