Skip to main content

..การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมิอาจกระทำได้โดยละเลยขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งโดยเฉพาะกระบวนการค้นหาและสถาปนาความจริงเป็นสิ่งที่ยากจะฟังขึ้น การใช้ข้ออ้างเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม เป็นแต่เพียงการจุดชนวนระเบิดเวลาที่จะรอวันระเบิดเท่านั้น..อานนท์ ชวาลาวัณย์

 

อานนท์ ชวาลาวัณย์, กลุ่มประกายไฟ

ในระหว่างสงครามกลางเมืองหรือยุคสมัยแห่งความขัดแย้ง การใช้ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนคือสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไปในสังคมทั้งการละเมิดที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำต่อประชาชนเช่นกรณีทหารเขมรแดงละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวกัมพูชาหรือกรณีที่ประชาชนชาวรวันดาถูกรัฐบาลใช้สื่อปลุกปั่นให้จับอาวุธเข้าห้ำหั่นกัน ภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรงผ่านพ้นไป และสภาวะโกลาหล(Chaos) สิ้นสุดลงกระบวนการยุติธรรมก็จะถูกสถาปนาขึ้นมาเพื่อจัดระเบียบสังคมและควบคุมไม่ให้เกิดความรุนแรงอย่างไรก็ดีเนื่องจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานการณ์ทางการเมืองกระบวนการยุติธรรมที่สถาปนาขึ้นจึงไม่สามารถตั้งอยู่บนตรรกะทางนิติศาสตร์หากแต่จำเป็นต้องผสานตรรกะทางรัฐศาสตร์เข้ามาด้วย

กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านนั้นประกอบด้วยสามกระบวนการใหญ่ๆได้แก่การค้นหาความจริง การบังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำผิดและกระบวนการทางการเมืองอันจะทำให้รัฐสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งและเดินหน้าต่อไปได้ กระบวนการทางการเมืองนี้ก้อได้แก่การเยียวยาเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อ การสมานแผลระหว่างคู่ขัดแย้งหรือการปรองดองที่เป็นประเด็นในสังคมไทยและท้ายที่สุดการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำผิดระดับรองๆ

การค้นหาและเปิดเผยความจริงคือบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่าน หากปราศจากซึ่งกระบวนการค้นหาและเปิดเผยความจริงก็ยากที่กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านจะประสบความสำเร็จเพราะเมื่อปราศจากซึ่งความจริงก็ไม่อาจลงโทษหรือให้อภัยผู้กระทำผิดเพราะไม่รู้ว่าใครทำอะไร ไม่อาจคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเป็นธรรมให้แก่เหยื่อผู้วายชนม์และครอบของเขา การค้นหาและการประกาศความเป็นจริงคือหัวใจของกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านอันจะขาดเสียไม่ได้  หลังการค้นหาความจริงกระบวนการทางกฎมหายที่จะลงโทษผู้กระทำผิดคือสิ่งที่จะต้องดำเนินไป ผู้กระทำผิดในส่วนที่กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมักมุ่งที่จะลงโทษได้แก่ผู้บังคับบัญชาและผ่ายบริหารที่เป็นผู้กำหนดหรือควบคุมนโยบายแห่งรัฐหรือคุมการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเนื่องจากบุคคลเหล่านี้คือผู้ที่อย่เบื้องหลังเพราะเป็นผู้จุดประกายความขัดแย้ง ในส่วนกระบวนการทางการเมืองจะเน้นการผสานรอยร้าวระหว่างผู้คนในสังคมเช่นการจัดให้มีการพบปะพูดคุยและปรับความเข้าใจระหว่างผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ กระบวนการรื้อฟื้นความทรงจำและสถาปนาที่ทางในประวัติศาสตร์แก่ผู้วายชนม์เช่นการสร้างอนุสรณ์สถานและท้ายที่สุดการนิรโทศกรรมแก่ผู้กระทำผิดทั้งนี้ผู้ที่จะได้รับนิรโทศกรรมมักจะไม่ใช่คนที่อยู่ในระดับบัญชาการแต่เป็นผู้ปฏิบัติการเพราะบุคคลเหล่านี้มักไม่ได้กระทำผิดด้วยเจตนาแต่กระทำเพราะสถานการณืพาไป การลงโทษบุคคลเหล่านี้อาจทำให้รัฐสูญเสียประโยชน์ในระยะยาวเช่นการสูญเสียกำลังแรงงานเพราะมีผู้กระทำผิดติดคุกเป็นจำนวนมาก กระบวนการทั้งหมดทั้งสิ้นที่กล่าวมาหากได้มีการปฏิบัติสอดคล้องกันอย่างเหมาะสมอาจนำไปสู่การสถาปนาความยุติธรรมในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านได้ อย่างไรก็ดีสิ่งเหล่านี้กลับไม่เคยเกิดขึ้นในรัฐไทยทั้งที่รัฐไทยเองก็ประสบพบเจอกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองมาแทบจะนับครั้งไม่ถ้วน

หากศึกษาประวัติศาสตร์ของรัฐไทยก็จะพบว่าเหตุการณ์การความรุนแรงทางการเมืองที่ขยายตัวไปสู่การปะทะระหว่างฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาชนซึ่งนำไปสู่การเสียเลือดเนื้อเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สิบสี่ตุลาหนึ่งหก หกตุลาหนึ่งเก้า สงครามประชาชนในยุคสงครามเย็นระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับรัฐบาลไทย  เหตุการณ์พฤษภาทมิฬสองห้าสามห้า เหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้และท้ายที่สุดเหตุการณ์เมษาและพฤษภาเลือดในปี2552กับปี2553 เหตุการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมานำไปสู่การสูญเสียเลือดเนื้อของผู้บริสุทธิ์หลายต่อหลายคน ทว่าหลังเหตุการณ์ทั้งหมดจบลง(ยกเว้นเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ที่ยังคงดำรงอยู่) กลับไม่ได้มีการพยายามสถาปนากระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านขึ้นในประเทศไทย แม้ว่าจะมีการบังคับใช้นโยบายที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านบางประการในอดีตเช่นการออกคำสั่ง66/23เพื่อนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย การสร้างอณุสรณ์สถานสิบสี่ตุลา การเนรเทศ (ลงโทษ) ถนอมประภาส ณรงค์ จากกรณีสิบสี่ตุลาและการออกมากล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการของสุรยุทธ์ จุลานนท์ต่อกรณีความรุนแรงในภาคใต้และล่าสุดการจ่ายเงินเยียวยาวแก่เหยื่อในเหตุการณ์ทางการเมืองช่วงปี52-53รวมไปถึงเหตุการณืทางการเมืองอื่นๆนับแต่รัฐประหารสองห้าสี่เก้าและเหยื่อความรุนแรงในภาคใต้ ทว่าการบังคับใช้นโยบายทั้งหลายเหล่านี้กลับประสบความล้มเหลวในภาพรวม สิ่งที่รัฐไทยทำอาจกล่าวได้ว่ารัฐไทยได้แต่ทำกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านให้เป็นกระบวนการอยุติธรรมเปลี่ยนผ่านซึ่งหมายถึงการบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านอย่างพิกลพิการเพื่อให้บริหารประเทศต่อไปได้โดยไม่สนใจว่าในระยะยาวความขัดแย้งอาจหวนกลับมาอีก  

หากจะพิจารณาลึกลงไปนโยบายในกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านที่ถูกนำมาบังคับในรัฐไทยดังที่กล่าวมาในตอนท้ายของย่อหน้าก่อนมิได้มีนโยบายใดที่เกี่ยวข้องกับการสืบหาและประกาศความจริงต่อสาธารณะ  นี่คงเป็นสาเหตุสำคัญที่กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านไม่เคยทำความยุติธรรมให้บังเกิดในไทยเพราะกระบวนการค้นหาและทำความจริงให้ปรากฏไม่เคยเกิดขึ้นกระบวนการอื่นๆที่เกิดขึ้นมาจึงดูพิกลพิการไปเสียสิ้นเช่นกรณีหกตุลาและสงครามประชาชนที่แม้ภายหลังจะมีการประกาศนิรโทษกรรมแต่ก็ไม่เคยมีการทำความจิงให้ปรากฎต่อสาธารณะว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังใครคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด การนิรโทษกรรมในกรณีดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่น่าขบขัน ประการแรกไม่มีการพิสูจน์ว่าประชาชนและนักศึกษาที่ได้รับการนิรโทษกรรมนั้นจริงๆแล้วพวกเขากระทำความผิดหรือปล่าว เพราะหากไม่ได้กระทำความผิดก็ไม่ควรจะมีการนิรโทษกรรมเพราะไม่มีความผิดให้นิรโทษ ขณะเดียวกันในฝ่ายของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของรัฐก่อนการนิรโทษกรรมก็ไม่ได้มีการใต่สวนหรือประกาศความผิดให้สาธารณชนรับ เมื่อญาติของผู้เสียชีวิตไม่ได้ทราบความจริงการให้อภัยก็คงบังเกิดไม่ได้ ขณะที่เหยื่อของเหตุการณ์ก็ไม่ได้รับรื้อฟื้นตัวตนและศักดิศรีความเป็นมนษย์ไม่มีที่ยืนทั้งในทางประวัติศาสตร์แห่งรัฐหรือการจัดสร้างอณุสรณ์สถาน ที่สำคัญที่สุดเมื่อไม่มีการค้นหาประกาศความจริงก็ไม่มีการถอดหน้ากากและนำตัวผู้บงการ(Master mind) มาลงโทษซึ่งโดยทั่วไปการนิรโทษกรรมในกระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมักไม่นับรวมผู้บงการ ล่าสุดในเหตุการณ์เมษาพฤษภา53 รัฐบาลที่ถูกเลือกมาโดยเหยื่อของเหตุการณ์ดูจะเพิกเฉยมีเพียงการจ่ายเงินเยียวยาทว่าไม่มีการทำความเป็นจริงให้ปรากฎ รัฐบาลอ้างความปรองดองพักเรื่องการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษหรือเพื่อให้ประเทศเดินหน้าไปได้ อย่างไรก็ดีการปรองดองที่ปราศจากการค้นหาความจริง นั้นเป็นเพียงการปรองดองจอมปลอมที่จะเป็นเสมือนระเบิดเวลาที่รอการระเบิดในอนาคต 

กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านคือสิ่งที่จะจะต้องสถาปนาในสังคมหลังสงครามกลางเมืองและความขัดแย้งทางการเมือง หากปราศจากเสียซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็ยากที่รัฐจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ การบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเปลี่ยนผ่านมิอาจกระทำได้โดยละเลยขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งโดยเฉพาะกระบวนการค้นหาและสถาปนาความจริงเป็นสิ่งที่ยากจะฟังขึ้น การใช้ข้ออ้างเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม(Cultural relativism) เป็นแต่เพียงการจุดชนวนระเบิดเวลาที่จะรอวันระเบิดเท่านั้น หากรัฐไทยยังไม่เปลี่ยนวิธีคิดและการกระทำความสูญเสียที่รุนแรงกว่าเดิมคงจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก

 

บล็อกของ ประกายไฟ

ประกายไฟ
รายการประกายTalk โดย DJ Bus กับ ป้าอุ๊ ภรรยาอากง SMS (23-05-2012) แขกรับเชิญ ป้าอุ๊ ภรรยา ของ อากง SMS หรือ นายอำพล ทีสามีเป็นผู้ต้องขังคดี ม.112 และเสียชีวิตในคุกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus กับ สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) 16-05-2012 แขกรับเชิญ สมบัติ บุญงามอนงค์ (ชื่อเล่น: หนูหริ่ง, หรือนามแฝงที่ใช้ในอินเตอร์เน็ท: บ.ก.ลายจุด) แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง พิธีกรร่วมรายการ: DJ.Bus @KonthaiUK ประเด็น การปั่นกระแส"แพงทั้งแผ่นดิน"กับการกดชีวิตอากงให้ถูก
ประกายไฟ
รายการประกาย Talk โดย DJ Bus "วันกรรมกรสากล" 02-05-2012 แขกรับเชิญ คุณ พัชนี คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย  
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ "วิวัฒนาการรัฐทุนนิยมไทย" วิทยากร เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ณัฐพล ใจจริง. อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย วีรนันท์ ฮวดศรี กลุ่มประกายไฟ
ประกายไฟ
เสวนาหัวข้อ “New Social Media กับการเคลื่อนไหวทางเมืองไทย” วิทยากร อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กรรมการเครือข่ายพลเมืองเน็ต เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย ปาลิดา ประการะโพธิ์ กลุ่มประกายไฟ ( วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55)   
ประกายไฟ
วันเสาร์ที่ 28 ม.ค.55 มาร์กซิสม์ 101 A ว่าด้วยทฤษฎีมาร์กซิสม์ เบื้องต้น บรรยาย เพื่อให้ความรู้พื้นฐาน มาร์กซิสต์   วิทยากร พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการ ณัชชา ตินตานนท์ กลุ่มประกายไฟ  
ประกายไฟ
  บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียงดนตรีแห่งทาสผิวดำได้ถือกำเนิดขึ้นในตอนปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมๆกับสถานภาพของคนผิวดำซึ่งมีสถานะ เป็นเพียงเป้าหมายของการทำให้ผู้อื่นเป็นปัจเจกชน เนื่องจากการเป็นเสรีชนและเสรีภาพในอเมริกานั้นต้องเป็นปัจเจกชนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวและต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  แต่ในความเป็นจริงทาสผิวดำเป็นเพียงทรัพย์สินของนายทาส เป็นเครื่องมือของการผลิต ซึ่งส่งผลให้นายทาสเป็นปัจเจกชน คนผิวดำ จึงไม่มีศักยภาพที่จะสร้างหรือทำให้เสรีภาพแบบอเมริกันเป็นคุณสมบัติของตนเอง แม้ว่าคนผิวดำจะมีส่วนร่วมในการปฏิวัติอเมริกา…
ประกายไฟ
  "แม้แต่นายทาสยังต้องหาเลี้ยงทาส แต่ในระบบทุนนิยม ลูกจ้างต้องเป็นผู้หาเลี้ยงนายจ้าง" ทิพรดา ตากดำรงศ์กุลท่ามกลางข้อเสนอที่มากมาย ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือง ความล้มเหลวของระบบตัวแทน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้งวุ่นวายของการเมืองไทย เมื่อคิดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่คอยอยู่ข้างหน้าแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับต้นตอปัญหา วิธีการแก้ ผุดออกมาเป็นดอกเห็ด เป็นเรื่องของประสบการณ์ของผู้ที่อ้างตนว่าเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง หรือนักวิชาการต่างๆที่พยายามอธิบายด้วยนามธรรมที่ไร้ความหมาย หรือะไรที่ดูซับซ้อน บทความชิ้นนี้จึงมุ่งชี้ชวนใหเห็นว่า…
ประกายไฟ
แถลงการณ์"การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุนลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ"ณ  อนุสรณ์สถาน ญาติวีรชน 14 ตุลาวันอาทิตย์ที่  28 กันยายน 2551 ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เสนอ "การเมืองใหม่" โดยอ้างว่าเป็นผู้จุดประกายการปฏิรูปการเมืองผ่าทางตัน "การเมืองแบบเก่า" ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองซื้อเสียง การคอร์รัปชั่นกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็น "เจ้าภาพ" เพื่อการสร้างประชาธิปไตย เพราะการเคลื่อนไหวและเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯที่ผ่านมาล้วนลดบทบาทและไม่เชื่อมั่นในอำนาจและความคิดของประชาชนคนธรรมดา…
ประกายไฟ
  แถลงการณ์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้1 กันยายน 2551จากเหตุการณ์การชุมนุมยืดเยื้อและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันระหว่างรัฐบาลพรรคพลังประชาชน และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาอันเป็นความขัดแย้งทางการเมืองของฝ่ายชนชั้นนายทุน มิใช่การต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของชนชั้นล่างอย่างแท้จริง กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มพันธมิตรนิสิตนักศึกษาที่ลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้มีความคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อสังคม ดังต่อไปนี้1. เราคัดค้านการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ…