Skip to main content


เรานั่งพูดคุยบนชานหน้าบ้านอย่างออกรส ส่วนใหญ่ก็จะถามไถ่ทุกข์สุขกันและกัน เลยไปถึงญาติคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เห็นหน้ากันนาน


พี่เขยขึ้นเรือนมาสมทบเมื่อสิ้นเสียงออดของโรงเรียนได้พักใหญ่

ไปเป็นการ์ดยามมา เขาให้เดือนละสี่ร้อย” พี่สาวแจง เป็นรายได้เดียวที่เหลืออยู่ของครอบครัว


ทุกๆ วันพี่เขยจึงมีหน้าที่ไปเฝ้ายามตามจุดต่างๆ ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นกะ บางครั้งเวลาเปลี่ยนกะก็อาศัยฟังเสียงออดของโรงเรียน


กว่าจะร่ำลากันก็บ่ายคล้อย ฉันจำต้องรับของฝากจากพี่สาวด้วยความจำใจ เพราะเธอทั้งยัดเยียดและหว่านล้อม เกลือถุงใหญ่ ถั่วเหลือง และน้ำมันที่แบ่งจากบีบอยู่ในขวดน้ำอัดลม น้ำใจคนยากที่เอ่ยกับเราว่า “เอาไปกินเถอะ มันเหลือเก็บ เดี๋ยวสิ้นเดือนก็ได้อีก”


ก่อนที่ตะวันจะพลบเรายังพอมีเวลา ฉันและสามีจึงเดินเที่ยวไปเรื่อยเปื่อย เราเห็นสนามประจำป็อกคลาคล่ำไปด้วยผู้คน


สนามวอลเล่ห์บอลที่สร้างขึ้นอย่างง่ายๆ บนที่โล่งกว้าง ชายฉกรรจ์ฝั่งละหกคนกำลังขับเคี่ยวชิงชัยชนะกันอย่างดุเดือด ฝุ่นสีแดงคลุ้งกระจายตามแรงกระแทกของบอลที่ถูกตบลงบนพื้นสนาม เสียงเชียร์ข้างสนามเร่งเร้าให้เราก้าวเบียดผู้คนไปยืนชิดขอบสนาม


คนที่นี่เขามีพรสวรรค์เรื่องเล่นวอลเล่ห์บอลจริงๆ ดูสิ ขนาดเนตยังสูงกว่ามาตรฐานด้วยซ้ำ” ฉันเอ่ยวิเคราะห์กับสามี

แล้วเขาไม่นิยมเล่นกีฬาอย่างอื่นเหรอ เช่น ตะกร้อ หรือไม่ก็ฟุตบอล”

ตะกร้อก็มีบ้าง แต่ไม่มากนัก ส่วนฟุตบอลลืมไปได้เลยเพราะไม่มีสนามกว้างขนาดนั้น”

เล่นดีกันจริงๆ น่าจะติดทีมชาติได้นะเนี้ยะ”

แต่ทีมชาติไหนก็คงไปไม่ถึง” สามีต่อคำ ดูเหมือนนอกจากการเล่นดนตรีประเภทกีต้าร์ แล้วก็มีกีฬาวอลเลห์บอลที่เป็นนิยมของผู้คนที่นี่ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นความบันเทิงไม่กี่อย่างที่พวกเขาจะหาได้ในพื้นที่อันจำกัด



มาทางนี้สิมีอะไรจะให้ลอง” หลังจากเราดูวอลเล่ห์บอลได้สักพักท้องก็เริ่มส่งสัญญาณเตือน เราจึงไปทานก๋วยเตี๋ยวชามละสิบบาทในร้านค้าข้างสนามจนอิ่มหนำ

เขาเรียกว่าอะไร” ฉันมองตามมือที่สามีชี้ไป เห็นกล่องใสสี่ห้ากล่องวางเรียงกัน จะเป็นขนมก็ไม่ใช่ จะเป็นอาหารก็ไม่เชิง

ขอหมาก ห้าบาท” ฉันถึงบางอ้อ เมื่อคนขายหยิบพูขึ้นมากรีดปูนสีขาว เปิดฝากระปุกหยิบส่วนผสมของหมากที่แตกต่างไปจากที่ฉันเคยเห็น ในกระปุกนั้นมีทั้ง เม็ดถั่ว อ้อยชิ้นเล็กๆ มะพร้าวคั่วน้ำตาลชุบสีแดง และอีกหลายอย่างที่สามีฉันยังนึกเป็นชื่อภาษาไทยไม่ออก

หอมจัง ได้กลิ่นนมแมวด้วย” ฉันทดสอบหมากที่ขอตั้งชื่อมันว่าหมากลูกกวาด ทั้งที่จริงมันชื่อหมากหวาน เพราะมันทั้งหอมทั้งหวาน ไม่เหมือนหมากของยายทวดที่ฉันเคยชิม


เราเดินเคี้ยวหมากหวานไปจนถึงกระท่อมหลังใหญ่แห่งหนึ่ง ฉันมองเห็นเด็กพากันเอาหน้าแนบผนังกระท่อม สอดสายตาเข้าไปในรูไม้ไผ่สานอย่างสนอกสนใจ

ดูหนังกันไหม” เป็นคำชักชวนที่ฉันต้องหูผึ่ง

ในนี้นี่นะจะมีหนังให้ดู” ฉันยังไม่เชื่อหูตัวเอง

เราจ่ายค่าบัตรผ่านประตูเข้ามาในโรงหนังที่ว่าด้วยราคาเด็กสามบาท ผู้ใหญ่ห้าบาท นอกโรงหนังยังมีเด็กๆ ที่ไม่มีตังค์สามบาท ยืนเอาหน้าแนบผนังไม้ไผ่มองลอดช่องเข้ามาดู


ภายในโรงหนังค่อนข้างมืด มีเก้าอี้เรียงเป็นแถวยาวต่อกันไปสองช่วง เว้นตรงกลางสำหรับเดินเข้าออก หน้าสุดมีจอโทรทัศน์ขนาดยี่สิบสี่นิ้ว ลำโพงตัวใหญ่สองข้างส่งเสียงก้อง


เด็กเดินหนังกำลังกดเปลี่ยนแผ่นวีซีดีภาพยนตร์พม่า หนังกังฟูสมัยบรูซลีโลดแล่นบนจอแทน


เรานั่งในแถวที่สามถัดจากหน้าจอทีวี สามีทักทายหญิงสาวที่เคยรู้จัก เธอรวบผมที่ยาวปะเอวไว้ด้านซ้ายปะหน้าด้วยแป้งทานาคา ผู้หญิงที่นี่เกือบทั้งหมดนิยมนุ่งผ้าถุงและทาหน้าด้วยทานาคาจนหน้าลาย


ฉันเกือบจะหัวเราะแต่ก็หัวเราะไม่ออก คิดอีกทีก็เก๋ดี โรงหนังวีซีดีราคาตั๋วแค่ห้าบาท แต่ก็สร้างความสำราญได้ไม่แพ้กัน


ฉันดูหนังไม่จบ ข้างในร้อนเกินไปและหนังก็เก่าจนฟังเสียงพากย์ไม่รู้เรื่อง เราเดินเรื่อยเปื่อยสักพักจนถึงหอนาฬิกากลางลานชุมชน หน้าปัดนาฬิกา Seiko บอกเวลาเกือบห้าโมง เราจึงกุลีกุจอไปที่รถ เพราะหากเลยหกโมงเย็นไปแล้ว ก็จะไม่สามารถเข้าออกศูนย์ฯได้ และที่สำคัญเราขออนุญาตทางอำเภอได้เพียงไปเช้ากลับเย็น ไม่ได้รับอนุญาตให้ค้างในศูนย์ ฯ


แต่แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ฉันก็รู้สึกว่าผูกพันกับคนและสถานที่แห่งนี้อย่างบอกไม่ถูก ราวกับว่าครั้งหนึ่งฉันเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นี่จริงๆ มีญาติจริงๆ อยู่ที่นี่ จนเหมือนจะรับรู้และเข้าใจหัวอกของคนที่นี่ ที่อธิบายเป็นคำพูดได้อย่างยากเย็น.

 

 

บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
  สาละวิน,ลูกรัก เมื่อครั้งที่แม่มาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกนั้น แม่อายุได้ 18 ปี เชียงใหม่ในความรู้สึกของแม่มันช่างกว้างใหญ่สวยงาม  แม่เป็นเพียงเด็กบ้านนอกจนๆ ที่มีเพียงเงินค่ารถติดตัวไม่กี่บาท ที่เหลือก็เป็นค่าลงทะเบียนสอบเอ็นทรานซ์ แม่มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพจากวิวนอกเมืองยามรถแล่นผ่าน  แม่อธิษฐานในใจว่า หากมีบุญที่จะได้มาอยู่เชียงใหม่  ก็จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุฯ ให้ได้
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือจนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก เช้าวันที่สองของการไปคลอด ในมือของแม่ยังคงว่างเปล่า ทั้งที่ทุกคนในห้องหลังคลอดต่างมีห่อของขวัญอยู่ในมือกันคนละห่อ พ่อของลูกเทียวไปมาระหว่างห้องหลังคลอด ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องรอคลอด กับห้องพักเด็กอ่อน ที่อยู่ไกลออกไปอีกหนึ่งช่วงตึก ที่นั่นมีห่อของขวัญของแม่นอนอยู่ในตู้อบเล็กๆ ขนาดเท่ากับตัวลูก
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก ในเช้าที่แม่ต้องเดินทางไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลในเมือง เป็นเช้าสุดท้ายที่แม่ได้นอนตื่นสายเช่นที่แม่เคยเป็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร หลังจากมีสาละวินแล้ว แม่ก็ไม่ได้ตื่นสายอีกเลย มันเป็นเช้าปกติที่แม่ตื่นขึ้นมาพบว่าอุ้มท้องลูกได้เก้าเดือนแล้ว และวันนี้หมอนัดให้แม่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล
เจนจิรา สุ
 สาละวิน,ลูกรัก  ลูกมักตื่นแต่เช้า เช้าที่เรียกว่าไก่โห่เลยที่เดียว  มีคนเคยพูดไว้ว่า มีเด็กทารก กับคนแก่ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือตื่นเช้ามากๆ  แต่จุดประสงค์ของการตื่นเช้าของคนต่างวัยกลับต่างกัน เด็กทารกนั้น ตื่นเต้นกับโลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และหลับมานานในท้องแม่จนกระตือรือร้นที่จะตื่นมาเรียนรู้โลกใบกว้าง  ในขณะที่คนแก่ซึ่งอยู่บนโลกมานานรู้ว่าจะเหลือเวลาอยู่ดูโลกนี้ได้อีกไม่นาน  จึงไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการนอน
เจนจิรา สุ
แม่มองย้อนกลับไปในวัยเด็ก อุปนิสัยก้าวร้าวรุนแรง ที่เคยแสดงออกทางกายภาพนั้นมันยังคงซ่อนอยู่ในจิตใจและแสดงออกมาในรูปแบบอื่นเมื่อเราโตขึ้น เช่น เมื่อก่อนที่แม่จะมีลูก แม่เป็นนักดื่มตัวยงคนหนึ่ง เมื่อเมาจนได้ที่ ความก้าวร้าวรุนแรงก็จะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ จนบางครั้งเพื่อนฝูงต่างก็เอือมระอา 
คนที่ขาดพื้นฐานความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเช่นแม่นั้น ย่อมมีผลต่อพฤติกรรมจากเด็กจนถึงผู้ใหญ่และอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หากแม่ไม่มองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นและไล่เรียงสิ่งผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา เพื่อเป็นอุทาหรณ์และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เพราะหากแม่มัวแต่โทษว่าสิ่งที่ตัวเองทำผิดต่างๆ…
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ในวันที่แม่เริ่มจับปากกาเขียนถึงลูก สาละวินอายุได้หนึ่งเดือนกับสิบแปดวัน แม่นั่งอยู่ข้างๆ เบาะเล็กๆสีชมพู ซึ่งลูกอาจจะแปลกใจที่แม่เลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้เป็นสีชมพูนั้น แม่ยอมรับว่าในใจตอนแรกของแม่ก็หวังจะให้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
เจนจิรา สุ
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ
เจนจิรา สุ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินึกถึงเมื่อเดินทางมาเยือนภาคเหนือของไทยแม้หนทางที่มุ่งสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากจังหวัดเชียงใหม่   จะคดโค้งลาดชันน่าหวาดเสียวจนขึ้นชื่อว่า   หากใครเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนจะเป็นดั่งผู้พิชิตจำนวนโค้งมากที่สุดถึง 1,864 โค้งเลยทีเดียว