Skip to main content
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา


เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ


นับเป็นเวลาเกือบสิบปีที่แม่เฒ่ามะโนไปโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย แม่เฒ่าเยียวยาโรคร้ายเล็กน้อยด้วยยาสมุนไพรที่นำติดตัวมาจากประเทศพม่า และเหล้าขาวดีกรีแรง โดยหารู้ไม่ว่า "ยาดี" ที่แม่เฒ่าชอบพูดถึงเวลาใครถามไถ่เรื่องสุขภาพ จะกลายมาเป็นปีศาจร้ายทำลายร่างกายจนต้องเข้ารับการเยียวยาอย่างเร่งด่วน


"โรคตับโต เกิดจากการกินเผ็ดเกินไป เค็มเกินไป ที่สำคัญคนส่วนใหญ่เป็นโรคตับเพราะดื่มเหล้าเป็นประจำ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นโรคตับแข็งในอนาคตได้ " คุณหมอชี้แจงและเตือนให้แม่เฒ่าเลิกกินอาหารที่เผ็ดและเค็มเกินไป


แต่แม่เฒ่ารู้ดีว่าสาเหตุของการเจ็บป่วยมิใช่เกิดจากการลื่นล้ม หรือกินอาหารรสจัดแต่เป็นเพราะการจิบเหล้าขาวมาเป็นเวลานานนั่นเอง


เมื่อหมออนุญาตให้มะโนกลับบ้าน แม่เฒ่าก็ต้องตกใจกับบิลค่ารักษาเป็นเงินจำนวนกว่าครึ่งหมื่น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง รู้ดีว่าหญิงกระยันเป็นคนต่างด้าว ไม่มีบัตรทอง ซึ่งต้องรับภาระจ่ายค่ารักษาเองทั้งหมด แต่โดยทั่วไปจะแจ้งไปยังนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อที่ทางสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลจะมาช่วยจ่ายให้บางส่วน โดยทางผู้ป่วยต้องทยอยจ่ายค่ารักษาส่วนที่เหลือให้กับทางสังคมสงเคราะห์ภายหลัง


วันนั้นแม่เฒ่ามีเงินติดตัวไปโรงพยาบาลเพียงสามพันบาท จึงขอจ่ายก่อนสองพันห้าร้อยบาท แม่เฒ่าบ่นอุบอิบว่าไม่อยากมาโรงพยาบาลเลย เพราะต้องเสียเงินเยอะ แต่ก็ดีใจที่จะได้ออกจากโรงพยาบาลเสียทีเพราะนอนมาหลายคืนแล้ว


หมอนัดให้มารับยาอีกครั้งในเดือนถัดไป ซึ่งยาโรคตับคงจะต้องทานติดต่อนานเป็นปี แม่เฒ่ารับปากกับหมอว่าจะเลิกเหล้า และรีบไปทำบัตรทองคนต่างด้าว ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณหนึ่งพันห้าร้อยบาทต่อปี เพื่อการมาโรงพยาบาลครั้งต่อๆไปจะได้ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาแพงๆ อีก


บัตรทองคนต่างด้าว ส่วนใหญ่แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องทำกันแทบทุกคน เพราะสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก ทั้งนี้กฎหมายมิได้ระบุลงไปชัดเจนว่าแรงงานต่างด้าวต้องทำบัตรประกันสุขภาพทั่วหน้ากันทุกคน ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของนายจ้าง และความต้องการตนเอง


ที่หมู่บ้านห้วยเสือเฒ่า มีหญิงกระยันเพียงไม่กี่คนที่มีบัตรดังกล่าว มะนาง ที่ป่วยบ่อยครั้งและต้องไปนอนโรงพยาบาลให้น้ำเกลืออยู่เสมอ จะต่อบัตรประกันสุขภาพทุกๆ ปี


มีทารกกระยันหลายรายที่เกิดในโรงพยาบาลประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน เคยได้บัตรทองจากโรงพยาบาลเมื่อประมาณปี 2548 แต่พอผ่านไปสอง-สามปี โรงพยาบาลก็แจ้งทางผู้ปกครองเด็กว่า บัตรไม่สามารถใช้ได้ ต้องยึดบัตรดังกล่าวคืนโรงพยาบาล และให้ไปแจ้งทำบัตรใหม่โดยเสียค่าธรรมเนียมปีละหนึ่งพันห้าร้อยบาท

 

ในขณะที่กฎหมายการให้สัญชาติไทยแก่เด็กที่เกิดในราชอาณาจักรไทย สามารถขอลงรายการสัญชาติไทยได้ ตามมาตรา 23 ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.2551 แม้ว่าบุคคลดังกล่าวจะมีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ซึ่งถ้าบุคคลนั้นอาศัยอยู่จริงในราชอาณาจักรไทยติดต่อกัน โดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือประเทศไทย ให้ได้สัญชาติไทยตั้งแต่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ


ในอนาคตเด็กกระยันที่เกิดในประเทศไทยก็จะได้รับสัญชาติไทย ดูเหมือนเป็นช่องทางเดียวที่จะทำให้กระยันรุ่นลูกรุ่นหลายคน ได้มีสิทธิใช้บริการการรักษาพยาบาลฟรีจากภาครัฐได้ แต่จะอีกนานแค่ไหน ไม่มีใครรู้เพราะเมื่อผู้ปกครองของเด็กไปดำเนินการขอลงรายการสัญชาติกับทางอำเภอ กลับได้รับกระดาษแผ่นเล็กๆ เขียนข้อความระบุวันเวลานัดหมายสืบหลักฐานพยาน ซึ่งวันเวลาที่ระบุไว้ในกระดาษเพื่อนัดสืบหลักฐานพยาน ต้องรอนานกว่า 2 ปี.

บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
  สาละวิน,ลูกรัก เมื่อครั้งที่แม่มาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกนั้น แม่อายุได้ 18 ปี เชียงใหม่ในความรู้สึกของแม่มันช่างกว้างใหญ่สวยงาม  แม่เป็นเพียงเด็กบ้านนอกจนๆ ที่มีเพียงเงินค่ารถติดตัวไม่กี่บาท ที่เหลือก็เป็นค่าลงทะเบียนสอบเอ็นทรานซ์ แม่มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพจากวิวนอกเมืองยามรถแล่นผ่าน  แม่อธิษฐานในใจว่า หากมีบุญที่จะได้มาอยู่เชียงใหม่  ก็จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุฯ ให้ได้
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือจนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก เช้าวันที่สองของการไปคลอด ในมือของแม่ยังคงว่างเปล่า ทั้งที่ทุกคนในห้องหลังคลอดต่างมีห่อของขวัญอยู่ในมือกันคนละห่อ พ่อของลูกเทียวไปมาระหว่างห้องหลังคลอด ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องรอคลอด กับห้องพักเด็กอ่อน ที่อยู่ไกลออกไปอีกหนึ่งช่วงตึก ที่นั่นมีห่อของขวัญของแม่นอนอยู่ในตู้อบเล็กๆ ขนาดเท่ากับตัวลูก
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก ในเช้าที่แม่ต้องเดินทางไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลในเมือง เป็นเช้าสุดท้ายที่แม่ได้นอนตื่นสายเช่นที่แม่เคยเป็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร หลังจากมีสาละวินแล้ว แม่ก็ไม่ได้ตื่นสายอีกเลย มันเป็นเช้าปกติที่แม่ตื่นขึ้นมาพบว่าอุ้มท้องลูกได้เก้าเดือนแล้ว และวันนี้หมอนัดให้แม่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล
เจนจิรา สุ
 สาละวิน,ลูกรัก  ลูกมักตื่นแต่เช้า เช้าที่เรียกว่าไก่โห่เลยที่เดียว  มีคนเคยพูดไว้ว่า มีเด็กทารก กับคนแก่ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือตื่นเช้ามากๆ  แต่จุดประสงค์ของการตื่นเช้าของคนต่างวัยกลับต่างกัน เด็กทารกนั้น ตื่นเต้นกับโลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และหลับมานานในท้องแม่จนกระตือรือร้นที่จะตื่นมาเรียนรู้โลกใบกว้าง  ในขณะที่คนแก่ซึ่งอยู่บนโลกมานานรู้ว่าจะเหลือเวลาอยู่ดูโลกนี้ได้อีกไม่นาน  จึงไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการนอน
เจนจิรา สุ
แม่มองย้อนกลับไปในวัยเด็ก อุปนิสัยก้าวร้าวรุนแรง ที่เคยแสดงออกทางกายภาพนั้นมันยังคงซ่อนอยู่ในจิตใจและแสดงออกมาในรูปแบบอื่นเมื่อเราโตขึ้น เช่น เมื่อก่อนที่แม่จะมีลูก แม่เป็นนักดื่มตัวยงคนหนึ่ง เมื่อเมาจนได้ที่ ความก้าวร้าวรุนแรงก็จะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ จนบางครั้งเพื่อนฝูงต่างก็เอือมระอา 
คนที่ขาดพื้นฐานความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเช่นแม่นั้น ย่อมมีผลต่อพฤติกรรมจากเด็กจนถึงผู้ใหญ่และอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หากแม่ไม่มองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นและไล่เรียงสิ่งผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา เพื่อเป็นอุทาหรณ์และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เพราะหากแม่มัวแต่โทษว่าสิ่งที่ตัวเองทำผิดต่างๆ…
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ในวันที่แม่เริ่มจับปากกาเขียนถึงลูก สาละวินอายุได้หนึ่งเดือนกับสิบแปดวัน แม่นั่งอยู่ข้างๆ เบาะเล็กๆสีชมพู ซึ่งลูกอาจจะแปลกใจที่แม่เลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้เป็นสีชมพูนั้น แม่ยอมรับว่าในใจตอนแรกของแม่ก็หวังจะให้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
เจนจิรา สุ
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ
เจนจิรา สุ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินึกถึงเมื่อเดินทางมาเยือนภาคเหนือของไทยแม้หนทางที่มุ่งสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากจังหวัดเชียงใหม่   จะคดโค้งลาดชันน่าหวาดเสียวจนขึ้นชื่อว่า   หากใครเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนจะเป็นดั่งผู้พิชิตจำนวนโค้งมากที่สุดถึง 1,864 โค้งเลยทีเดียว