Skip to main content
สาละวิน, ลูกรัก


ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ..2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 . ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า


สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า


แต่ความจริงแล้วเรื่องการแบ่งแยกว่าใครเป็นไทย ใครเป็นพม่านั้น แม่ไม่ได้ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งใหญ่นัก แม่เองก็ไม่ใช่ไทยแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์มาจากไหน มีแม่(ยาย)เป็นคนภาคอีสาน และพ่อซึ่งยังเป็นปริศนาชีวิตสำหรับแม่


ส่วนพ่อของลูกนั้นแท้จริงแล้วเป็นเพียงชนเผ่าเล็กๆ ที่อาศัยในแผ่นดินพม่า พ่อจึงไม่ได้ยอมรับตัวเองว่าเป็นคนพม่าเต็มร้อย เพราะ "พม่า" ที่หมายถึงรัฐที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการทหาร ก็ยังรุกรานรังแกชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ซึ่งก็ไม่เว้นแม้แต่เผ่าเล็กๆ อย่างชาวกระยัน หรือที่รู้จักกันดีในต่างแดนนี้ว่าเผ่ากระเหรี่ยงคอยาวนั่นแหละ


เมื่อก่อนก็ไม่มีใครรู้ว่า แม่น้ำสายไหน ภูเขาลูกใด เป็นพรมแดนประเทศอะไรหรอกลูก มนุษย์เกิดมาและรับรู้เพียงว่า เขาดำรงชีวิตอยู่ในสังคมวัฒนธรรมเช่นใด และเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตไปตามสังคมและวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ อาจจะมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้วยการไปมาหาสู่กันบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับรบราฆ่าฟันกันเพื่อแย่งชิงดินแดน เมื่อทรัพยากรในการดำรงชีวิตยังคงมีเหลือเฟือไม่ถึงขั้นกับฝืดเคือง


"
แผนที่" ซึ่งถูกขีดขึ้นภายหลังเมื่อไม่นานนี้จนกำหนดเป็นพรมแดนประเทศต่างๆ ขึ้นมา ก็เพียงเพื่อรับใช้ระบอบการปกครองของคนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น การล่าอาณานิคมเพื่อยึดครองพื้นที่ในยุคต่อมา เป็นสิ่งชี้ชัดว่ามนุษย์ยึดติดกับแผนที่เพื่อหาผลประโยชน์จากการยึดครองเท่านั้นเอง


ลูกที่เกิดและเติบโตบนผืนแผ่นดินที่เรียกว่า "ไทย" วันหนึ่งอาจอยากเดินทางย้อนกลับไปยังเส้นทางที่พ่อของลูกได้เดินเท้าจากมาเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ซึ่งต้องใช้เวลารอนแรมอยู่หลายคืนวัน


สาเหตุที่พ่อต้องเดินทางรอนแรมกลางป่าเขาข้ามตะเข็บชายแดนที่เต็มไปด้วยทุ่นระเบิด มายังฝั่งไทยนั้น แม่ได้สอบถามจากย่าผู้ซึ่งนำพาให้พ่อแม่มาพบกันยังฝั่งไทยนี้ ได้ความว่า


ครอบครัวของพ่อของลูกนั้นเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในประเทศพม่า แม้จะยืนยันตัวเองว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่เดิมเคยมีแผ่นดินเป็นอาณาเขตปกครองตนเองดังเช่นชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เมื่อถูกฉีกสัญญาปางโหลง จึงหันมาจับปืนรบกับพม่าเพื่อทวงสัญญาแผ่นดินคืน


คนหนุ่มในเผ่าของพ่อไม่น้อยทิ้งจอบเสียมหันมาจับปืน ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีกหลายเผ่า บางคนก็ทิ้งชีวิตไว้ในสมรภูมิและอีกมากมายที่หนีตายอพยพข้ามพรมแดนมายังไทย


เมื่อครั้งที่ย่ายังอาศัยที่พม่าก็ทำมาหากินตามประสาครอบครัวที่ยากจน คือรับจ้างทำนา เพราะไม่มีที่นาเป็นของตนเอง ส่วนลูกๆ ก็ต้องเฝ้าวัวให้กับเจ้าของนา วัวสองสามร้อยตัวใช้ลูกๆ 3-4 คนช่วยกันต้อนเลี้ยงในทุ่งหญ้า เมื่อครบปีก็จะได้ข้าวสารจากเจ้าของวัวเป็นค่าเหนื่อย


เมื่อทำงานมาอย่างเหนื่อยยาก กินไม่เคยอิ่ม บางมื้อต้องอาศัยน้ำข้าวลูบท้องประทังความหิว เคราะห์หามยามร้ายทหารพม่าเข้าปล้นชิงหมู่บ้านขูดรีดเอาข้าวสารที่เก็บกักตุน ซ้ำเติมความยากลำบากเข้าไปอีก


เมื่อวันหนึ่งย่าได้รับข่าวจากเพื่อนบ้านหลายครอบครัว ที่ได้อพยพเข้าประเทศไทย ถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้กินอิ่มนอนอุ่นกว่าเคย เพราะไม่ต้องคอยหวาดกลัวกับทุ่นระเบิดและทหารพม่าเช่นแต่ก่อน


นอกจากนี้ย่ายังทราบว่า หากต้องการเดินทางข้ามมายังฝั่งไทย ก็จะมีคนมานำทางให้ เป็นสิทธิพิเศษสำหรับเผ่ากระยันที่สวมห่วงมทองเหลืองไว้ที่คอเท่านั้น


เมื่อเกวียนเล่มแรกเริ่มหมุน เกวียนเล่มต่อไปก็เริ่มหมุนตาม ย่าจึงตัดสินใจหอบหิ้วลูกสามคนที่ยังเล็กอยู่เดินเท้าติดตามขบวนผู้คนเข้าฝั่งไทย ทิ้งลูกที่โตบ้างแล้วไว้เป็นแรงงานอยู่กับปู่ เพราะย่าคิดว่าหากมาเมืองไทยแล้วไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง ก็ยังสามารถกลับไปกินข้าวที่ลูกๆ ทำไว้ที่หมู่บ้านเดิมได้


เมื่อมาถึงศูนย์อพยพชั่วคราวบ้านในสอยจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีกะเรนนีอาศัยอยู่หลายชนเผ่า แต่เนื่องจากเผ่ากะยัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือสวมห่วงทองเหลืองไว้ที่คอและมีคอที่ยาวขึ้น ทำให้เป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็น แล้ววันหนึ่งย่าก็ถูกขายลักษณะพิเศษของตนเอง แทนการจับจอบจับเสียม ทำไร่ไถนาที่เคยทำมาค่อนชีวิต


ย่าได้กลายมาเป็นดาราหน้ากล้อง เมื่อยามนักท่องเที่ยวเดินพ้นประตูเข้ามาในหมู่บ้าน เพื่อชมความแปลกประหลาดของชนเผ่าเล็กๆนี้ แลกกันเงินที่จ่ายให้ย่าเป็นรายเดือน เงินจำนวนหนึ่งพันห้าร้อยบาทเมื่อสิบปีก่อนหน้านี้ หากเปรียบเทียบชีวิตที่เคยอาศัยอยู่หมู่บ้านเดิม ก็นับว่าทำให้เศรษฐกิจในครอบครัวชาวกระยัน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว


แต่หากจะให้เปรียบระหว่างรายได้ที่นายทุนเรียกเก็บจากนักท่องเที่ยวกับค่าตอบแทนสำหรับหญิงกะยันที่สวมห่วงทองเหลืองก็อาจจะเรียกว่าแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน


สิบสี่ปีแล้วที่หมู่บ้านห้วยเสือเฒ่าถูกจัดตั้งขึ้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวกระยัน (กะเหรี่ยงคอยาว) และกระยอ (กะเหรี่ยงหูกว้าง) หมู่ที่ไม่มีบ้านเลขที่ในทะเบียนราษฎร์ แต่อยู่ห่างจากเมืองเพียงไม่กี่กิโลเมตร เพียงเพื่อให้ความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ในการเดินทางมาชมวิถีชีวิตของเผ่ากระยัน

 

 

บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
  สาละวิน,ลูกรัก เมื่อครั้งที่แม่มาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกนั้น แม่อายุได้ 18 ปี เชียงใหม่ในความรู้สึกของแม่มันช่างกว้างใหญ่สวยงาม  แม่เป็นเพียงเด็กบ้านนอกจนๆ ที่มีเพียงเงินค่ารถติดตัวไม่กี่บาท ที่เหลือก็เป็นค่าลงทะเบียนสอบเอ็นทรานซ์ แม่มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพจากวิวนอกเมืองยามรถแล่นผ่าน  แม่อธิษฐานในใจว่า หากมีบุญที่จะได้มาอยู่เชียงใหม่  ก็จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุฯ ให้ได้
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือจนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก เช้าวันที่สองของการไปคลอด ในมือของแม่ยังคงว่างเปล่า ทั้งที่ทุกคนในห้องหลังคลอดต่างมีห่อของขวัญอยู่ในมือกันคนละห่อ พ่อของลูกเทียวไปมาระหว่างห้องหลังคลอด ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องรอคลอด กับห้องพักเด็กอ่อน ที่อยู่ไกลออกไปอีกหนึ่งช่วงตึก ที่นั่นมีห่อของขวัญของแม่นอนอยู่ในตู้อบเล็กๆ ขนาดเท่ากับตัวลูก
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก ในเช้าที่แม่ต้องเดินทางไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลในเมือง เป็นเช้าสุดท้ายที่แม่ได้นอนตื่นสายเช่นที่แม่เคยเป็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร หลังจากมีสาละวินแล้ว แม่ก็ไม่ได้ตื่นสายอีกเลย มันเป็นเช้าปกติที่แม่ตื่นขึ้นมาพบว่าอุ้มท้องลูกได้เก้าเดือนแล้ว และวันนี้หมอนัดให้แม่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล
เจนจิรา สุ
 สาละวิน,ลูกรัก  ลูกมักตื่นแต่เช้า เช้าที่เรียกว่าไก่โห่เลยที่เดียว  มีคนเคยพูดไว้ว่า มีเด็กทารก กับคนแก่ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือตื่นเช้ามากๆ  แต่จุดประสงค์ของการตื่นเช้าของคนต่างวัยกลับต่างกัน เด็กทารกนั้น ตื่นเต้นกับโลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และหลับมานานในท้องแม่จนกระตือรือร้นที่จะตื่นมาเรียนรู้โลกใบกว้าง  ในขณะที่คนแก่ซึ่งอยู่บนโลกมานานรู้ว่าจะเหลือเวลาอยู่ดูโลกนี้ได้อีกไม่นาน  จึงไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการนอน
เจนจิรา สุ
แม่มองย้อนกลับไปในวัยเด็ก อุปนิสัยก้าวร้าวรุนแรง ที่เคยแสดงออกทางกายภาพนั้นมันยังคงซ่อนอยู่ในจิตใจและแสดงออกมาในรูปแบบอื่นเมื่อเราโตขึ้น เช่น เมื่อก่อนที่แม่จะมีลูก แม่เป็นนักดื่มตัวยงคนหนึ่ง เมื่อเมาจนได้ที่ ความก้าวร้าวรุนแรงก็จะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ จนบางครั้งเพื่อนฝูงต่างก็เอือมระอา 
คนที่ขาดพื้นฐานความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเช่นแม่นั้น ย่อมมีผลต่อพฤติกรรมจากเด็กจนถึงผู้ใหญ่และอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หากแม่ไม่มองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นและไล่เรียงสิ่งผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา เพื่อเป็นอุทาหรณ์และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เพราะหากแม่มัวแต่โทษว่าสิ่งที่ตัวเองทำผิดต่างๆ…
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ในวันที่แม่เริ่มจับปากกาเขียนถึงลูก สาละวินอายุได้หนึ่งเดือนกับสิบแปดวัน แม่นั่งอยู่ข้างๆ เบาะเล็กๆสีชมพู ซึ่งลูกอาจจะแปลกใจที่แม่เลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้เป็นสีชมพูนั้น แม่ยอมรับว่าในใจตอนแรกของแม่ก็หวังจะให้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
เจนจิรา สุ
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ
เจนจิรา สุ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินึกถึงเมื่อเดินทางมาเยือนภาคเหนือของไทยแม้หนทางที่มุ่งสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากจังหวัดเชียงใหม่   จะคดโค้งลาดชันน่าหวาดเสียวจนขึ้นชื่อว่า   หากใครเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนจะเป็นดั่งผู้พิชิตจำนวนโค้งมากที่สุดถึง 1,864 โค้งเลยทีเดียว