Skip to main content
สาละวิน, ลูกรัก


ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ..2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 . ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า


สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า


แต่ความจริงแล้วเรื่องการแบ่งแยกว่าใครเป็นไทย ใครเป็นพม่านั้น แม่ไม่ได้ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งใหญ่นัก แม่เองก็ไม่ใช่ไทยแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์มาจากไหน มีแม่(ยาย)เป็นคนภาคอีสาน และพ่อซึ่งยังเป็นปริศนาชีวิตสำหรับแม่


ส่วนพ่อของลูกนั้นแท้จริงแล้วเป็นเพียงชนเผ่าเล็กๆ ที่อาศัยในแผ่นดินพม่า พ่อจึงไม่ได้ยอมรับตัวเองว่าเป็นคนพม่าเต็มร้อย เพราะ "พม่า" ที่หมายถึงรัฐที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการทหาร ก็ยังรุกรานรังแกชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ซึ่งก็ไม่เว้นแม้แต่เผ่าเล็กๆ อย่างชาวกระยัน หรือที่รู้จักกันดีในต่างแดนนี้ว่าเผ่ากระเหรี่ยงคอยาวนั่นแหละ


เมื่อก่อนก็ไม่มีใครรู้ว่า แม่น้ำสายไหน ภูเขาลูกใด เป็นพรมแดนประเทศอะไรหรอกลูก มนุษย์เกิดมาและรับรู้เพียงว่า เขาดำรงชีวิตอยู่ในสังคมวัฒนธรรมเช่นใด และเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตไปตามสังคมและวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ อาจจะมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้วยการไปมาหาสู่กันบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับรบราฆ่าฟันกันเพื่อแย่งชิงดินแดน เมื่อทรัพยากรในการดำรงชีวิตยังคงมีเหลือเฟือไม่ถึงขั้นกับฝืดเคือง


"
แผนที่" ซึ่งถูกขีดขึ้นภายหลังเมื่อไม่นานนี้จนกำหนดเป็นพรมแดนประเทศต่างๆ ขึ้นมา ก็เพียงเพื่อรับใช้ระบอบการปกครองของคนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น การล่าอาณานิคมเพื่อยึดครองพื้นที่ในยุคต่อมา เป็นสิ่งชี้ชัดว่ามนุษย์ยึดติดกับแผนที่เพื่อหาผลประโยชน์จากการยึดครองเท่านั้นเอง


ลูกที่เกิดและเติบโตบนผืนแผ่นดินที่เรียกว่า "ไทย" วันหนึ่งอาจอยากเดินทางย้อนกลับไปยังเส้นทางที่พ่อของลูกได้เดินเท้าจากมาเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ซึ่งต้องใช้เวลารอนแรมอยู่หลายคืนวัน


สาเหตุที่พ่อต้องเดินทางรอนแรมกลางป่าเขาข้ามตะเข็บชายแดนที่เต็มไปด้วยทุ่นระเบิด มายังฝั่งไทยนั้น แม่ได้สอบถามจากย่าผู้ซึ่งนำพาให้พ่อแม่มาพบกันยังฝั่งไทยนี้ ได้ความว่า


ครอบครัวของพ่อของลูกนั้นเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในประเทศพม่า แม้จะยืนยันตัวเองว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่เดิมเคยมีแผ่นดินเป็นอาณาเขตปกครองตนเองดังเช่นชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เมื่อถูกฉีกสัญญาปางโหลง จึงหันมาจับปืนรบกับพม่าเพื่อทวงสัญญาแผ่นดินคืน


คนหนุ่มในเผ่าของพ่อไม่น้อยทิ้งจอบเสียมหันมาจับปืน ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีกหลายเผ่า บางคนก็ทิ้งชีวิตไว้ในสมรภูมิและอีกมากมายที่หนีตายอพยพข้ามพรมแดนมายังไทย


เมื่อครั้งที่ย่ายังอาศัยที่พม่าก็ทำมาหากินตามประสาครอบครัวที่ยากจน คือรับจ้างทำนา เพราะไม่มีที่นาเป็นของตนเอง ส่วนลูกๆ ก็ต้องเฝ้าวัวให้กับเจ้าของนา วัวสองสามร้อยตัวใช้ลูกๆ 3-4 คนช่วยกันต้อนเลี้ยงในทุ่งหญ้า เมื่อครบปีก็จะได้ข้าวสารจากเจ้าของวัวเป็นค่าเหนื่อย


เมื่อทำงานมาอย่างเหนื่อยยาก กินไม่เคยอิ่ม บางมื้อต้องอาศัยน้ำข้าวลูบท้องประทังความหิว เคราะห์หามยามร้ายทหารพม่าเข้าปล้นชิงหมู่บ้านขูดรีดเอาข้าวสารที่เก็บกักตุน ซ้ำเติมความยากลำบากเข้าไปอีก


เมื่อวันหนึ่งย่าได้รับข่าวจากเพื่อนบ้านหลายครอบครัว ที่ได้อพยพเข้าประเทศไทย ถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้กินอิ่มนอนอุ่นกว่าเคย เพราะไม่ต้องคอยหวาดกลัวกับทุ่นระเบิดและทหารพม่าเช่นแต่ก่อน


นอกจากนี้ย่ายังทราบว่า หากต้องการเดินทางข้ามมายังฝั่งไทย ก็จะมีคนมานำทางให้ เป็นสิทธิพิเศษสำหรับเผ่ากระยันที่สวมห่วงมทองเหลืองไว้ที่คอเท่านั้น


เมื่อเกวียนเล่มแรกเริ่มหมุน เกวียนเล่มต่อไปก็เริ่มหมุนตาม ย่าจึงตัดสินใจหอบหิ้วลูกสามคนที่ยังเล็กอยู่เดินเท้าติดตามขบวนผู้คนเข้าฝั่งไทย ทิ้งลูกที่โตบ้างแล้วไว้เป็นแรงงานอยู่กับปู่ เพราะย่าคิดว่าหากมาเมืองไทยแล้วไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง ก็ยังสามารถกลับไปกินข้าวที่ลูกๆ ทำไว้ที่หมู่บ้านเดิมได้


เมื่อมาถึงศูนย์อพยพชั่วคราวบ้านในสอยจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีกะเรนนีอาศัยอยู่หลายชนเผ่า แต่เนื่องจากเผ่ากะยัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือสวมห่วงทองเหลืองไว้ที่คอและมีคอที่ยาวขึ้น ทำให้เป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้พบเห็น แล้ววันหนึ่งย่าก็ถูกขายลักษณะพิเศษของตนเอง แทนการจับจอบจับเสียม ทำไร่ไถนาที่เคยทำมาค่อนชีวิต


ย่าได้กลายมาเป็นดาราหน้ากล้อง เมื่อยามนักท่องเที่ยวเดินพ้นประตูเข้ามาในหมู่บ้าน เพื่อชมความแปลกประหลาดของชนเผ่าเล็กๆนี้ แลกกันเงินที่จ่ายให้ย่าเป็นรายเดือน เงินจำนวนหนึ่งพันห้าร้อยบาทเมื่อสิบปีก่อนหน้านี้ หากเปรียบเทียบชีวิตที่เคยอาศัยอยู่หมู่บ้านเดิม ก็นับว่าทำให้เศรษฐกิจในครอบครัวชาวกระยัน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว


แต่หากจะให้เปรียบระหว่างรายได้ที่นายทุนเรียกเก็บจากนักท่องเที่ยวกับค่าตอบแทนสำหรับหญิงกะยันที่สวมห่วงทองเหลืองก็อาจจะเรียกว่าแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน


สิบสี่ปีแล้วที่หมู่บ้านห้วยเสือเฒ่าถูกจัดตั้งขึ้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวกระยัน (กะเหรี่ยงคอยาว) และกระยอ (กะเหรี่ยงหูกว้าง) หมู่ที่ไม่มีบ้านเลขที่ในทะเบียนราษฎร์ แต่อยู่ห่างจากเมืองเพียงไม่กี่กิโลเมตร เพียงเพื่อให้ความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ในการเดินทางมาชมวิถีชีวิตของเผ่ากระยัน

 

 

บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
ฉันเป็นคนหนึ่งที่ติดตามชมละครเรื่องเมียหลวง ที่ถ่ายทอดทุกวันจันทร์-อังคารทางช่องเจ็ด เป็นละครไม่กี่เรื่องที่ฉันชอบดู ด้วยพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รับสัญญาณโทรทัศน์ได้เพียงไม่กี่ช่อง  และอีกเหตุผลหนึ่งคือละครดีๆ มีไม่กี่เรื่อง  แม้หลายคนจะเหมารวมละครทีวีของไทยว่าเป็นละครน้ำเน่าเสียส่วนใหญ่ แต่ฉันก็เชื่อว่าละครที่สร้างมาจาก นวนิยาย ก็น่าจะมีเนื้อหาสาระบางอย่างสอนใจคนดูได้บ้าง ไม่ใช่จะดูแต่เพียงฉากตบกันของบรรดาเมียน้อยของคุณอนิรุจเท่านั้น
เจนจิรา สุ
เรานั่งพูดคุยบนชานหน้าบ้านอย่างออกรส ส่วนใหญ่ก็จะถามไถ่ทุกข์สุขกันและกัน เลยไปถึงญาติคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เห็นหน้ากันนาน พี่เขยขึ้นเรือนมาสมทบเมื่อสิ้นเสียงออดของโรงเรียนได้พักใหญ่ “ไปเป็นการ์ดยามมา เขาให้เดือนละสี่ร้อย” พี่สาวแจง เป็นรายได้เดียวที่เหลืออยู่ของครอบครัว
เจนจิรา สุ
 "ไตรบานา" แม่เฒ่ากล่าวขอบคุณเป็นภาษากระยัน เมื่อเราบอกลาเป็นภาษาเดียวกัน ยังมีครอบครัวพี่สาวของสามีที่อยู่ถัดไปอีกสามป็อก เราตั้งใจว่าจะเยี่ยมก่อนที่จะไม่ได้พบหน้ากันอีก เพราะทางยูเอ็นฯ ได้แจ้งว่า ครอบครัวของเธอจะได้ไปประเทศที่สามในอีกไม่ช้า เราเดินเท้าไปตามทางเดินอันแสนพลุกพล่าน ราวกับว่าผู้คนเร่งรีบเดินทางสู่งานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไหนสักแห่ง ความแออัดของผู้คนซึ่งมีอยู่ราวๆ สองหมื่นคน ทำให้บนทางเท้าและที่สาธารณะต่างๆ ดูครึกครื้น กลบบังความทุกข์ของคนพลัดบ้าน
เจนจิรา สุ
บนถนนที่ทอดยาวสู่หุบเขาทางทิศตะวันตกของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เส้นทางที่ห่างออกมาเพียงสามสิบกิโลเมตรเศษ ลัดเลาะไปตามภูเขาบนถนนสายรพช. ซึ่งค่อยๆ แปรสภาพเป็นดินและหินลูกรังก่อนจะถึงสุดสายปลายทาง อันเป็นสถานที่คล้ายด่านกักกันมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่ไร้ประเทศและเสรีภาพ หมู่บ้านกลางป่าที่ปลูกเบียดเสียดเรียงรายทุกซอกหลีบของพื้นที่จัดสรร คนนับหมื่นอัดแน่นในที่อาศัยกว้างกว่าเท้าและหัวจะพาดวางเพียงไม่กี่วา ที่นี่คือศูนย์ผู้พักพิงบ้านในสอย
เจนจิรา สุ
 มีใครเคยใช้ชีวิตในบ้านนอกโดยเฉพาะทางภาคอีสาน เมื่อประมาณสัก 20 ปีก่อน อาจจะมีความทรงจำเกี่ยวกับวัดที่แตกต่างจากปัจจุบัน ฉันจำได้ว่าเมื่อครั้งยังเด็ก เราแทบจะก้มลงกราบที่เท้าพระ เมื่อท่านเดินผ่านด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบันเป็นไปได้ยาก ฉันเป็นชาวพุทธมาแต่อ้อนแต่ออก ด้วยหมู่บ้านที่มีวัดป่า พระเณรเพียงไม่กี่รูปหนึ่งในนั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องฉันเอง เราจึงเที่ยวเล่นแวะเวียนมาที่วัดทุกครั้งที่มีโอกาส ฉันยังจำไม่ลืมที่พระหลวงพี่ จับเราพี่น้องนั่งเรียงแถวทำสมาธิ เทศน์สอนประวัติความเป็นมาของพุทธเจ้าให้ฟัง ความที่ท่านบวชตั้งแต่อายุยังน้อย ตอนนี้ท่านจึงกลายเป็นเจ้าอาวาสไปแล้ว
เจนจิรา สุ
เราทยอยออกจากบ้านร้างด้วยดวงใจที่ปวดร้าว ตรอกเล็กๆ ยาวเกือบหนึ่งกิโลเมตร เป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนจากหมู่บ้านกลางป่าไปสู่บ้านห้วยปูแกงเก่า บัดนี้ถูกย่ำไปด้วยรอยของสัตว์สี่เท้า “เชื่อไหมว่าครั้งหนึ่ง เราเคยช่วยกันขนทรายจากแม่น้ำข้างล่างมาถมตรอกแห่งนี้ กระสอบทรายนับร้อยจากจำนวนคนเพียงหยิบมือเพื่อ....” ฉันหยุดคำพูดเพียงบางแค่นั้น ทิ้งบางส่วนค้างไว้ในความทรงจำ “เพื่ออะไรล่ะ” ใครคนหนึ่งยังคงตั้งคำถามต่อสิ่งที่ค้างคา “เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากหมู่บ้านข้างนอกเขามาเห็นวิถีชีวิตเรา มาเห็นหมู่บ้านที่เป็นหมู่บ้านจริงๆ ไม่ใช่มีแต่ร้านขายของ แต่มันคงไกลเกินไป…
เจนจิรา สุ
สมรภูมิแห่งนี้เรารบกับอะไร ที่ผ่านมาเราถูกจองจำไว้ในกรงที่มองไม่เห็น เรามีอาหาร มีที่อยู่หลับนอน แต่เราไม่สามารถเป็นคนเต็มคนได้ เพราะเราไม่มีสิทธิ์คิดหรือแสดงความคิดเห็น ไม่สามารถรู้สึกเจ็บแค้นร้อนหนาว เราต้องทำหน้าที่อันถูกกำหนดมาจากผู้คุม ต้องทำงานหนักเพื่อสร้างความร่ำรวยให้กับนาย เพียงเพื่อส่วนแบ่งที่ถูกเจียดให้พอประทังชีวิต แล้ววันหนึ่งเราต้องการปลดแอก เราต้องการตั้งอาจักรของตนเอง มีบ้านและที่ดินที่เป็นของเราจริงๆ ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมจากสมองและแรงกายของตนเอง
เจนจิรา สุ
ตุลาคม 2551"พร้อมหรือยัง"ใครคนหนึ่งตะโกนประโยคซ้ำเมื่อห้านาทีที่แล้ว เมื่อขบวนหนุ่มสาวต่างถิ่นยังคงง่วนอยู่กับการกดชัตเตอร์เก็บภาพแสงแดดยามเก้าโมงเช้า ช่างยวนใจให้ไม่อาจละสายตาจากหญิงกระยันที่ปะแป้งแต่งตัวกันจนเป็นที่เรียบร้อย หลายคนจึงยังเสียดายที่จะละกล้องแล้วออกเดินทาง "หากไปสายกว่านี้เราจะร้อนมากเมื่ออยู่กลางป่า" ฉันเตือนเพื่อนที่ไม่มีประสบการณ์ในการเดินเท้าสู่หมู่บ้านกลางป่าที่อยู่ห่างออกไปจากที่นี่ราวๆ สามกิโลดอย
เจนจิรา สุ
เสียงโหม่งขนาดใหญ่ประสานกับเสียงกลอง ฆ้อง ฉาบ แม้ฟังดูอึกทึกครึกโครม แต่ก็พลิ้วไหวไปตามทำนองขุล่ยมั้งที่เป็นขลุ่ยเฉพาะของชาวกระยัน ได้เริ่มขับประโคมหมู่บ้านราวป่า ส่งสัญญาณการเริ่มต้นของงานประเพณีต้นที “กะควาง” ในภาษากระยันถูกแปรออกมาเป็นภาษาเรียกอีกอย่างว่า “ต้นที” ซึ่งหมายถึงเสาไม้สีขาวแกะสลักปลายเสาให้เป็นรูปร่างคล้ายกับศิวลึงค์ ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ในหมู่บ้านชนเผ่ากระยัน(กระเหรี่ยงคอยาว) และชนเผ่ากระยา(กระเหรี่ยงแดง) ชาวกระยันเชื่อว่า ต้นทีเป็นต้นไม้ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรกบนโลกมนุษย์ การบูชาต้นทีก็เพื่อให้บรรพบุรุษของกระยัน…
เจนจิรา สุ
มีนาคม 2551 ฉันตอบจดหมายแฟนนักอ่านคอลัมน์ของฉันคนหนึ่ง เธอเป็นคนปักษ์ใต้ นานเป็นเดือนที่จดหมายมาถึงพร้อมเสื้อผ้าและข้าวของกล่องใหญ่ ด้วยเจตนาทดแทนความขาดแคลนตามความรู้สึกของเธอ ที่สัมผัสจากการอ่านในบันทึกของฉันอยู่สองสามฉบับ เธอบอกว่าอิจฉานิดๆ ในชีวิตที่เรียบง่ายที่ฉันเลือกเดิน ฉันจึงตอบเธอไปว่าฉันเป็นเพียงนกที่บินหลงทางมา ก่อนหน้านี้ฉันก็ได้รับจดหมาย เสียงโทรศัพท์ และหนังสือดีๆ ที่ถูกส่งมาจากคนเมืองไกลจากเพื่อนที่ห่างหายการติดต่อมานานแสนนาน และจากมิตรร่วมความรู้สึกที่ไม่เคยเห็นหน้า อาจดูเป็นเรื่องแปลกหรือมีเปอร์เซ็นต์น้อยเหลือเกิน ที่คนปกติธรรมดา เกิด และเติบโตในสังคมเมือง…
เจนจิรา สุ
20 พฤศจิกายน 2550 คืนนี้แสงจันทร์กำลังโผล่พ้นเหลี่ยมเขาทิศเหนือ ดาวพราวแต้มเต็มฟ้า เหล้าดีกรีแรงทิ้งก้นจอกตั้งวางเคียงดวงเทียนที่ถูกจุดขึ้นโดยแม่เฒ่า ฉันกระชับเสื้อกันหนาวอีกนิด เมื่อลมหนาวพรูมาทางหน้าต่างบานกว้าง แม่เฒ่าบอกให้ยกดื่มอีกสักจอกแล้วจะอุ่นขึ้น ฉันรินคืนให้แม่เฒ่าพลางถามถึงความหลังเมื่อครั้งที่ยังอยู่ที่เมืองดอยก่อ รัฐคะยา ประเทศพม่า “ตอนนั้นแม่ทำนามาได้ก็ต้องแบ่งให้กับเจ้าของนา ที่เหลือก็แทบไม่พอกิน ทหารพม่าก็ยังมาขูดรีดเอาอีก บางทีถ้าไม่ให้ก็ทุบตี พวกผู้ชายต้องพากันไปหลบซ่อนตัว  ไม่อย่างนั้นมันจะเกณฑ์ให้ไปขนระเบิดที่ชายแดน” “…
เจนจิรา สุ
10 พฤศจิกายน 2550 ฉันว่างเว้นจากการเขียนบันทึกไปนานด้วยทั้งภารกิจส่วนตัวที่ต้องยุ่งวุ่นวายกับเจ้าตัวน้อยที่อยู่ในวัยที่ต้องการการเอาใจใส่อย่างสูง และภารกิจของชุมชนที่ต้องเขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากหน่วยงานราชการ ทั้งงานประสานงาน งานประชุม ส่วนเวลาที่เหลือฉันก็ยกให้กับการคิดในเรื่องต่างๆ ฉัน สามี และลูกต้องเดินทางทุกๆ 3-5 วัน จากบ้านของตนเองที่สร้างไว้ใกล้เมืองไปบ้านห้วยเสือเฒ่าและบ้านใหม่ห้วยปูแกง การพักอาศัยที่บ้านของตัวเองที่สร้างไว้ใกล้เมืองนั้นก็ด้วยเหตุผลเดียวคือความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะการเดินทาง อยู่ใกล้โรงพยาบาล มีไฟฟ้าใช้สำหรับทำงาน หรือพักผ่อนด้วยการดูทีวี ติดตามข่าวสารโลกภายนอก…