Skip to main content
สาละวิน,ลูกรัก


พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือ


จนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม


ในขณะที่พ่อของลูกเกิดและเติบโตในสังคมวัฒนธรรมชาวกระยันตั้งแต่เด็กจนโต จนไม่สามารถแยกขาดจากความเชื่อ พิธีกรรมที่ฝังรากลึกอยู่ในสายเลือด


การเลี้ยงดูสาละวินท่ามกลางความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อนั้น แม่เองจึงต้องแบ่งรับแบ่งสู้กับพิธีกรรมต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวลูก และคิดว่ามันไม่เป็นผลเสียอะไรมากมาย กลับเป็นผลดีในทางจิตวิทยาเสียด้วยซ้ำ


เพราะความเชื่อนำไปสู่ความศรัทธา เมื่อคนมีจิตศรัทธา จิตที่อยู่เหนือกาย เช่นคำที่พระว่า "จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" แล้วไซร้ เมื่อผ่านพิธีกรรมที่เกิดมาจากศรัทธาอันแรงกล้า ก็จะก่อให้เกิดผลดีตามไปด้วย


เช่นวันนี้ ที่แม่ยอมให้จัดพีธีเรียกขวัญลูก ด้วยย่าของลูกเชื่อว่า ลูกร้องไห้งอแงในยามค่ำคืนอยู่นานเกือบครึ่งเดือนแล้ว ทั้งยังเพิ่งสร่างไข้ จึงทำให้ไม่ยอมทานข้าวได้มากเช่นเคย


ชาวกระยันเชื่อว่า ขวัญของเด็กออกจากร่างหนีไปเที่ยวเล่นไกล หรือไม่ก็ขวัญหายระหว่างทาง และไม่สามารถกลับเข้าร่างของตนเองได้ จึงต้องมีพิธีเรียกขวัญขึ้น


ก่อนวันพิธีพ่อกับแม่ต้องจัดเตรียม สัตว์ไว้ทำพิธี ทั้งหมู และไก่อีกหลายตัว เมื่อถึงวันเรียกขวัญ หมูเจ้ากรรมก็ต้องถูกเชือด เพื่อนำเนื้อมาประกอบพิธีกรรม ในหลายขั้นตอน


ขั้นแรกเมื่อหมูเจ้ากรรมถูกชำแหละเนื้อ พ่อหมอจะดูที่ตับของหมู เพื่อทำนายในส่วนของภาพรวมของครอบครัว ว่าจะมีสิ่งดี หรือสิ่งไม่ดีอย่างไรเกิดขึ้นกับครอบครัวของเราบ้าง ต่อมาก็จะนำเนื้อหมูและเครื่องในที่สำคัญ ทั้งที่นำมาหุงต้มเรียบร้อยแล้ว และที่ดิบๆอยู่ ใส่ไว้ในก๋วยหรือตะกร้า ซึ่งจะนำไปเซ่นไหว้วิญญาณที่อยู่ตามถนนหนทางหรือป่าเขา ในทิศใดทิศหนึ่งที่ทำนายไว้ว่าขวัญของลูกจะไปตกอยู่ เพื่อเบิกทางให้ขวัญกลับเข้าร่าง

 

โดยในก๋วยดังกล่าวจะประกอบด้วย เครื่องเซ่นไหว้อื่นๆ เช่น หมากพู ยาสูบ เหล้าต้ม เหรียญเงิน มีด พร้า เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีข้าวของมีค่าใส่ลงไปด้วยก็ได้ โดยในตอนกลับก็สามารถหยิบกลับมาด้วยได้เช่นกัน


พ่อหมอจะมีอาสาสมัครสองคน ซึ่งจะเรียกกันว่าหมา คนหนึ่งคอยช่วยหยิบยกของเซ่นไหว้ อีกคนจะคอยเห่าคอยหอน คือทำเสียงคล้ายหมา เวลาไปถึงจุดที่ตั้งของเซ่นไหว้


เมื่อพ่อหมอทำพิธีเซ่นไหว้เสร็จก็จะทิ้งก๋วยไว้ แล้วเรียกวิญญาณกลับตามมา ทุกคนในบ้านก็จะนั่งคอยอยู่ในบ้าน โดยเฉพาะลูกที่พ่อหมอจะต้องขานชื่อ ซึ่งผู้ถูกขานชื่อต้องรับว่า "เฮ๊ย" แปลว่าอยู่ ในกรณีลูกที่เล็กมากพ่อจึงต้องคอยขานรับแทน


นอกจากหมูแล้วยังต้องใช้ ไก่สดๆ และต้องเป็นไก่ตัวเมียในกรณีที่ลูกเป็นผู้ชาย และต้องเป็นไก่ตัวผู้ถ้าเป็นลูกสาว


พ่อหมอจะทำการเชือดคอ ให้เลือดไก่ออกมาที่ปาก แล้วใช้ปากไก่แตะมาที่หน้าผากของคนในบ้าน ให้เกิดเป็นรอยเลือดติดอยู่ ซึ่งรอยดังกล่าวต้องให้ติดไว้อย่างน้อยหนึ่งวันโดยไม่ลบออก


จากนั้นจะยกสำรับอาหารที่ปรุงจากเนื้อหมู ให้ทุกคนในบ้านล้อมวงทาน โดยต้องทานให้หมดเกลี้ยงชาม พ่อเฒ่าพ่อแก่ในหมู่บ้านก็จะขึ้นมาผลัดกันมัดข้อมือคนในบ้าน ด้วยฝ้ายสีขาวจนครบทุกคน


พ่อหมอจะใช้ไก่อีกตัวหนึ่งหลังจากเสร็จพิธีเพื่อทำนายว่า ขวัญลูกน้อยเข้าร่างเป็นที่เรียบร้อยแล้วหรือยัง โดยจะดูที่กระดูกหน้าแข้งของไก่ทั้งสองข้าง ซึ่งจะมีรูเล็กๆที่สามารถสอดไม้ไผ่แหลมๆ เข้าไปได้ ซึ่งต้องอาศัยความรู้จากการทำนายที่สืบต่อๆกันมา


พ่อหมอจะไว้ชีวิตไก่ตัวหนึ่งปล่อยไว้กลางบ้าน เป็นตัวแทนว่าขวัญของลูกกลับมาแล้ว โดยจะสาดเข้าสารไปทั่วบ้าน หากไก่กินข้าวสารดี ไม่ตื่นหนีแสดงว่าขวัญของลูกคืนร่างดีแล้ว ทั้งนี้เจ้าบ้านต้องสาดข้าวสารไปทั่วบ้านอย่างน้อยสามวันติดกัน หลังจากจบวันพิธีแล้ว


เมื่อพิธีกรรมสิ้นสุดลง ก็จะมีการจัดเลี้ยงอาหาร เครื่องดื่ม ให้กับชาวบ้าน และแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญบ้านไปในตัว


พ่อหมอก็จะต้องเดินทางกลับบ้านโดยทันทีหลังจากเสร็จสิ้นพิธีทุกอย่าง โดยเจ้าบ้านจะต้องแบ่งเนื้อหมู น้ำส้ม น้ำหวาน เหล้า ฯลฯ ใส่ในถุงย่ามติดตัวให้พ่อหมอกลับด้วย รวมทั้งเงินค่าทำพิธีอีกจำนวนหนึ่ง


ทั้งนี้หมาทั้งสองตัว หรืออาสาสมัครที่คอยเป็นผู้ช่วยเหลือพ่อหมอในการทำพิธีก็จะได้รับส่วนแบ่งตามไปด้วย


กว่าพิธีต่างๆจะจบลงที่ล้างจานชามภาชนะก็เกือบเย็น ลูกมีท่าทีแจ่มใสขึ้น แม่คิดว่าลูก

คงสนุกกับผู้คนที่แวะเวียนเข้ามาทักทาย ชลมุนอยู่ใต้ถุนบ้านกับแขกเหรื่อที่มาร่วมงาน ตื่นเต้นกับพิธีกรรมแปลกๆ จนเหนื่อยล้าและหลับง่ายดายไม่ร้องสักแอะ


สมแล้วกับค่าทำขวัญที่เสียไปหลายตังค์ แม่คิดว่าขวัญของลูกคงคืนร่าง เมื่อได้สัมผัสกับโลกแปลกใหม่อีกอย่างหนึ่งของชีวิต.


รักลูก,แม่

 

 

บล็อกของ เจนจิรา สุ

เจนจิรา สุ
  สาละวิน,ลูกรัก เมื่อครั้งที่แม่มาจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรกนั้น แม่อายุได้ 18 ปี เชียงใหม่ในความรู้สึกของแม่มันช่างกว้างใหญ่สวยงาม  แม่เป็นเพียงเด็กบ้านนอกจนๆ ที่มีเพียงเงินค่ารถติดตัวไม่กี่บาท ที่เหลือก็เป็นค่าลงทะเบียนสอบเอ็นทรานซ์ แม่มองเห็นพระธาตุดอยสุเทพจากวิวนอกเมืองยามรถแล่นผ่าน  แม่อธิษฐานในใจว่า หากมีบุญที่จะได้มาอยู่เชียงใหม่  ก็จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุฯ ให้ได้
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก แม่ได้เล่าถึงพิธีกรรมในการเรียกขวัญลูกในบทบันทึกที่ผ่านมา แม่ก็นึกขึ้นมาได้ว่ายังมีพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของแม่เช่นกัน
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก พ่อกับแม่ต่างเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างริบลับ แม่นั้นแม้จะเกิดที่ภาคอีสานของประเทศ แต่ก็ซึมซับวัฒนธรรมอีสานได้เพียงน้อยนิด ก็ต้องมาใช้ชีวิตและเติบโตที่ภาคเหนือจนกระทั่งเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย ก็ดูเหมือนจะตัดขาดกับฐานวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่สังคมชั้นกลางเป็นกระแสหลักอยู่รายล้อม
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก เช้าวันที่สองของการไปคลอด ในมือของแม่ยังคงว่างเปล่า ทั้งที่ทุกคนในห้องหลังคลอดต่างมีห่อของขวัญอยู่ในมือกันคนละห่อ พ่อของลูกเทียวไปมาระหว่างห้องหลังคลอด ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องรอคลอด กับห้องพักเด็กอ่อน ที่อยู่ไกลออกไปอีกหนึ่งช่วงตึก ที่นั่นมีห่อของขวัญของแม่นอนอยู่ในตู้อบเล็กๆ ขนาดเท่ากับตัวลูก
เจนจิรา สุ
สาละวิน,ลูกรัก ในเช้าที่แม่ต้องเดินทางไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลในเมือง เป็นเช้าสุดท้ายที่แม่ได้นอนตื่นสายเช่นที่แม่เคยเป็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร หลังจากมีสาละวินแล้ว แม่ก็ไม่ได้ตื่นสายอีกเลย มันเป็นเช้าปกติที่แม่ตื่นขึ้นมาพบว่าอุ้มท้องลูกได้เก้าเดือนแล้ว และวันนี้หมอนัดให้แม่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล
เจนจิรา สุ
 สาละวิน,ลูกรัก  ลูกมักตื่นแต่เช้า เช้าที่เรียกว่าไก่โห่เลยที่เดียว  มีคนเคยพูดไว้ว่า มีเด็กทารก กับคนแก่ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน คือตื่นเช้ามากๆ  แต่จุดประสงค์ของการตื่นเช้าของคนต่างวัยกลับต่างกัน เด็กทารกนั้น ตื่นเต้นกับโลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย และหลับมานานในท้องแม่จนกระตือรือร้นที่จะตื่นมาเรียนรู้โลกใบกว้าง  ในขณะที่คนแก่ซึ่งอยู่บนโลกมานานรู้ว่าจะเหลือเวลาอยู่ดูโลกนี้ได้อีกไม่นาน  จึงไม่อยากจะเสียเวลาไปกับการนอน
เจนจิรา สุ
แม่มองย้อนกลับไปในวัยเด็ก อุปนิสัยก้าวร้าวรุนแรง ที่เคยแสดงออกทางกายภาพนั้นมันยังคงซ่อนอยู่ในจิตใจและแสดงออกมาในรูปแบบอื่นเมื่อเราโตขึ้น เช่น เมื่อก่อนที่แม่จะมีลูก แม่เป็นนักดื่มตัวยงคนหนึ่ง เมื่อเมาจนได้ที่ ความก้าวร้าวรุนแรงก็จะปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ จนบางครั้งเพื่อนฝูงต่างก็เอือมระอา 
คนที่ขาดพื้นฐานความรักความอบอุ่นจากครอบครัวเช่นแม่นั้น ย่อมมีผลต่อพฤติกรรมจากเด็กจนถึงผู้ใหญ่และอาจติดตัวไปตลอดชีวิตเลยก็เป็นได้ หากแม่ไม่มองย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นและไล่เรียงสิ่งผิดพลาดในชีวิตที่ผ่านมา เพื่อเป็นอุทาหรณ์และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เพราะหากแม่มัวแต่โทษว่าสิ่งที่ตัวเองทำผิดต่างๆ…
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ในวันที่แม่เริ่มจับปากกาเขียนถึงลูก สาละวินอายุได้หนึ่งเดือนกับสิบแปดวัน แม่นั่งอยู่ข้างๆ เบาะเล็กๆสีชมพู ซึ่งลูกอาจจะแปลกใจที่แม่เลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้เป็นสีชมพูนั้น แม่ยอมรับว่าในใจตอนแรกของแม่ก็หวังจะให้ลูกคนแรกเป็นผู้หญิง
เจนจิรา สุ
นักท่องเที่ยวต่างชาติยอมจ่ายค่าตั๋วอย่างต่ำหนึ่งร้อยถึงสองร้อยห้าสิบบาทเป็นค่าเข้าชม วิถีชีวิตที่จำลองขึ้นของชาวกระยันที่ถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวว่า "กะเหรี่ยงคอยาว" และนับเป็นความสำเร็จของกลุ่มนายทุนและการโปรโมทการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำให้คนทั่วประเทศหลั่งไหลเข้ามาชมกระเหรี่ยงคอยาว จนเป็นที่รับรู้กันว่าหากจะมาดูชนเผ่าที่มหัศจรรย์ที่สุดต้องมาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแห่งนี้
เจนจิรา สุ
สาละวิน, ลูกรัก ลูกลืมตาดูโลกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2550 ในตอนค่ำเวลา 19.21 น. ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 4 ปีกุน แม่ให้ชื่อลูกไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดว่า "สาละวิน" ชึ่งหมายถึงชื่อของแม่น้ำพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า สาละวินของแม่ถือกำเนิดมาจากแม่ซึ่งเป็นคนไทยและพ่อที่อพยพมาจากพม่า ชื่อของลูกที่เปรียบเทียบได้กับแม่น้ำพรมแดนเชื่อมสายสัมพันธ์ให้เราสองคนอยู่เคียงข้างกันตลอดไปดังเช่นไทยและพม่า
เจนจิรา สุ
มะโนตัดสินใจอยู่นานกว่าสองวันหลังจากที่หญิงกระยันร่างกายผอมบางอายุ 52 ปี สะดุดล้มในห้องน้ำจนทำให้ให้เกิดอาการบวมที่ท้องด้านขวา เมื่อทนการรบเร้าจากคนรอบข้างไม่ไหวให้ไปหาหมอ เธอจึงเปิดหีบใบใหญ่ที่ใส่ข้าวของเงินทองที่มีอยู่รวมไปถึงเอกสารประจำตัวต่างๆ เพื่อค้นใบเล็กๆ สีเขียว มันเป็นบัตรเข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่พบ
เจนจิรา สุ
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอีกจังหวัดหนึ่งในประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินึกถึงเมื่อเดินทางมาเยือนภาคเหนือของไทยแม้หนทางที่มุ่งสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจากจังหวัดเชียงใหม่   จะคดโค้งลาดชันน่าหวาดเสียวจนขึ้นชื่อว่า   หากใครเดินทางมาถึงแม่ฮ่องสอนจะเป็นดั่งผู้พิชิตจำนวนโค้งมากที่สุดถึง 1,864 โค้งเลยทีเดียว