ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
แนวคิดพื้นฐานมาจาก Max Weber นักสังคมวิทยาเยอรมัน (ค.ศ. ๑๘๖๔ – ๑๙๒๐) ที่เสนอเค้าโครงความคิดดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่องสังคมวิทยาทางเศรษฐกิจของเขาว่ามีกลไกอะไรบ้างที่กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมใช้ส่งอิทธิพลต่อรัฐ ซึ่งก็ได้แก่:
๑) กลไกเชิงกฎหมายและสถาบัน ซึ่งเป็นกลไกหลักเพื่อการดังกล่าวในระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า และในทางกลับกันก็เป็นกลไกที่มีรูปแบบพัฒนาไปน้อยที่สุดในระบบเศรษฐกิจที่ยากไร้ เช่น ในระบบเศรษฐกิจยากไร้ทั้งหลาย หอการค้าและสหภาพแรงงานจะเป็นตัวแทนประชากรส่วนน้อยนิด ขณะที่พรรคการเมืองก็แตกเป็นมุ้งเล็กมุ้งน้อย ไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ยิ่งระบบเศรษฐกิจพัฒนาไปน้อยเท่าไหร่ กลไกกดดันเชิงกฎหมายและสถาบันก็ยิ่งด้อยพัฒนาเท่านั้น ส่วนในระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ามั่งคั่งกว่า กลุ่มล็อบบี้วิ่งเต้นในสภาฯก็ดี พรรคการเมือง ก็ดี สหภาพแรงงานก็ดี และการระดมเงินจากกลุ่มธุรกิจเพื่อสนับสนุนพรรค/ผู้สมัครอย่างถูกกฎหมายก็ดีล้วนก่อตั้งมั่นคงเป็นระเบียบแบบแผนมายาวนาน
๒) เครือข่ายอุปถัมภ์ไม่เป็นทางการ ถือเป็นกลไกใจกลางที่ใช้ส่งอิทธิพลกดดันรัฐในระบบเศรษฐกิจยากจนทั้งหลาย ระบบอุปถัมภ์ในเศรษฐกิจเหล่านี้ทำหน้าที่ทดแทนรัฐสวัสดิการซึ่งไม่เพียงพอสนองตอบต่อความเรียกร้องต้องการสวัสดิการจากรัฐของประชากรจำนวนมาก
๓) การแสวงหาค่าเช่าเศรษฐกิจ/คอร์รัปชั่นผิดกฎหมาย เอาเข้าจริงกลไกประเภทนี้เชื่อมโยงกับเครือข่ายอุปถัมภ์ไม่เป็นทางการอย่างใกล้ชิด ในสภาพที่ขาดกลไกสถาบันเพื่อส่งอิทธิพลกดดันต่อรัฐที่ใช้การได้ ระบบอุปถัมภ์และคอร์รัปชั่นจึงกลายเป็นรูปแบบสำคัญที่ใช้ทดแทนในระบบเศรษฐกิจด้อยพัฒนาทั้งหลาย
๔) ความรุนแรงทางการเมือง ในกรณีกลไก ๓ ประเภทข้างต้นใช้การไม่ได้ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำการทางการเมืองส่งอิทธิพลต่อรัฐ วิธีการที่เหลือก็คือใช้ความรุนแรงทางการเมืองก่อการกำเริบ/กบฏ เพื่อส่งอิทธิพล/ยึดอำนาจ/ฉวยริบรัฐมาเป็นของตนเสียทีเดียว
Max Weber นักสังคมวิทยาเยอรมัน
กลไกทั้ง ๔ ประเภทนี้ อันไหนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาทดแทนกันเป็นกลไกหลัก ขึ้นอยู่กับ
ก) ขั้นตอนการพัฒนาต่าง ๆ กันในระบบเศรษฐกิจ
ข) ระเบียบข้อตกลงทางการเมืองในระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"