Skip to main content
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
 
 
แนวคิดพื้นฐานมาจาก Max Weber นักสังคมวิทยาเยอรมัน (ค.ศ. ๑๘๖๔ – ๑๙๒๐) ที่เสนอเค้าโครงความคิดดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่องสังคมวิทยาทางเศรษฐกิจของเขาว่ามีกลไกอะไรบ้างที่กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมใช้ส่งอิทธิพลต่อรัฐ ซึ่งก็ได้แก่:
 
๑) กลไกเชิงกฎหมายและสถาบัน ซึ่งเป็นกลไกหลักเพื่อการดังกล่าวในระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า และในทางกลับกันก็เป็นกลไกที่มีรูปแบบพัฒนาไปน้อยที่สุดในระบบเศรษฐกิจที่ยากไร้ เช่น ในระบบเศรษฐกิจยากไร้ทั้งหลาย หอการค้าและสหภาพแรงงานจะเป็นตัวแทนประชากรส่วนน้อยนิด ขณะที่พรรคการเมืองก็แตกเป็นมุ้งเล็กมุ้งน้อย ไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ยิ่งระบบเศรษฐกิจพัฒนาไปน้อยเท่าไหร่ กลไกกดดันเชิงกฎหมายและสถาบันก็ยิ่งด้อยพัฒนาเท่านั้น ส่วนในระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ามั่งคั่งกว่า กลุ่มล็อบบี้วิ่งเต้นในสภาฯก็ดี พรรคการเมือง ก็ดี สหภาพแรงงานก็ดี และการระดมเงินจากกลุ่มธุรกิจเพื่อสนับสนุนพรรค/ผู้สมัครอย่างถูกกฎหมายก็ดีล้วนก่อตั้งมั่นคงเป็นระเบียบแบบแผนมายาวนาน
 
๒) เครือข่ายอุปถัมภ์ไม่เป็นทางการ ถือเป็นกลไกใจกลางที่ใช้ส่งอิทธิพลกดดันรัฐในระบบเศรษฐกิจยากจนทั้งหลาย ระบบอุปถัมภ์ในเศรษฐกิจเหล่านี้ทำหน้าที่ทดแทนรัฐสวัสดิการซึ่งไม่เพียงพอสนองตอบต่อความเรียกร้องต้องการสวัสดิการจากรัฐของประชากรจำนวนมาก
 
๓) การแสวงหาค่าเช่าเศรษฐกิจ/คอร์รัปชั่นผิดกฎหมาย เอาเข้าจริงกลไกประเภทนี้เชื่อมโยงกับเครือข่ายอุปถัมภ์ไม่เป็นทางการอย่างใกล้ชิด ในสภาพที่ขาดกลไกสถาบันเพื่อส่งอิทธิพลกดดันต่อรัฐที่ใช้การได้ ระบบอุปถัมภ์และคอร์รัปชั่นจึงกลายเป็นรูปแบบสำคัญที่ใช้ทดแทนในระบบเศรษฐกิจด้อยพัฒนาทั้งหลาย
 
๔) ความรุนแรงทางการเมือง ในกรณีกลไก ๓ ประเภทข้างต้นใช้การไม่ได้ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำการทางการเมืองส่งอิทธิพลต่อรัฐ วิธีการที่เหลือก็คือใช้ความรุนแรงทางการเมืองก่อการกำเริบ/กบฏ เพื่อส่งอิทธิพล/ยึดอำนาจ/ฉวยริบรัฐมาเป็นของตนเสียทีเดียว
Max Weber นักสังคมวิทยาเยอรมัน 
 
กลไกทั้ง ๔ ประเภทนี้ อันไหนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาทดแทนกันเป็นกลไกหลัก ขึ้นอยู่กับ 
ก) ขั้นตอนการพัฒนาต่าง ๆ กันในระบบเศรษฐกิจ
ข) ระเบียบข้อตกลงทางการเมืองในระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง