ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
แนวคิดพื้นฐานมาจาก Max Weber นักสังคมวิทยาเยอรมัน (ค.ศ. ๑๘๖๔ – ๑๙๒๐) ที่เสนอเค้าโครงความคิดดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่องสังคมวิทยาทางเศรษฐกิจของเขาว่ามีกลไกอะไรบ้างที่กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมใช้ส่งอิทธิพลต่อรัฐ ซึ่งก็ได้แก่:
๑) กลไกเชิงกฎหมายและสถาบัน ซึ่งเป็นกลไกหลักเพื่อการดังกล่าวในระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า และในทางกลับกันก็เป็นกลไกที่มีรูปแบบพัฒนาไปน้อยที่สุดในระบบเศรษฐกิจที่ยากไร้ เช่น ในระบบเศรษฐกิจยากไร้ทั้งหลาย หอการค้าและสหภาพแรงงานจะเป็นตัวแทนประชากรส่วนน้อยนิด ขณะที่พรรคการเมืองก็แตกเป็นมุ้งเล็กมุ้งน้อย ไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ยิ่งระบบเศรษฐกิจพัฒนาไปน้อยเท่าไหร่ กลไกกดดันเชิงกฎหมายและสถาบันก็ยิ่งด้อยพัฒนาเท่านั้น ส่วนในระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ามั่งคั่งกว่า กลุ่มล็อบบี้วิ่งเต้นในสภาฯก็ดี พรรคการเมือง ก็ดี สหภาพแรงงานก็ดี และการระดมเงินจากกลุ่มธุรกิจเพื่อสนับสนุนพรรค/ผู้สมัครอย่างถูกกฎหมายก็ดีล้วนก่อตั้งมั่นคงเป็นระเบียบแบบแผนมายาวนาน
๒) เครือข่ายอุปถัมภ์ไม่เป็นทางการ ถือเป็นกลไกใจกลางที่ใช้ส่งอิทธิพลกดดันรัฐในระบบเศรษฐกิจยากจนทั้งหลาย ระบบอุปถัมภ์ในเศรษฐกิจเหล่านี้ทำหน้าที่ทดแทนรัฐสวัสดิการซึ่งไม่เพียงพอสนองตอบต่อความเรียกร้องต้องการสวัสดิการจากรัฐของประชากรจำนวนมาก
๓) การแสวงหาค่าเช่าเศรษฐกิจ/คอร์รัปชั่นผิดกฎหมาย เอาเข้าจริงกลไกประเภทนี้เชื่อมโยงกับเครือข่ายอุปถัมภ์ไม่เป็นทางการอย่างใกล้ชิด ในสภาพที่ขาดกลไกสถาบันเพื่อส่งอิทธิพลกดดันต่อรัฐที่ใช้การได้ ระบบอุปถัมภ์และคอร์รัปชั่นจึงกลายเป็นรูปแบบสำคัญที่ใช้ทดแทนในระบบเศรษฐกิจด้อยพัฒนาทั้งหลาย
๔) ความรุนแรงทางการเมือง ในกรณีกลไก ๓ ประเภทข้างต้นใช้การไม่ได้ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำการทางการเมืองส่งอิทธิพลต่อรัฐ วิธีการที่เหลือก็คือใช้ความรุนแรงทางการเมืองก่อการกำเริบ/กบฏ เพื่อส่งอิทธิพล/ยึดอำนาจ/ฉวยริบรัฐมาเป็นของตนเสียทีเดียว
Max Weber นักสังคมวิทยาเยอรมัน
กลไกทั้ง ๔ ประเภทนี้ อันไหนจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นมาทดแทนกันเป็นกลไกหลัก ขึ้นอยู่กับ
ก) ขั้นตอนการพัฒนาต่าง ๆ กันในระบบเศรษฐกิจ
ข) ระเบียบข้อตกลงทางการเมืองในระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
บทกวีไว้อาลัยการจากไปของ 'ไม้หนึ่ง ก.กุนที' ที่ถูกยิงเสียชีวิตวันนี้ "เมื่อกวีจากไปไร้กวี.."
เกษียร เตชะพีระ
ที่คุณสุเทพ ณ กปปส.คัดค้านการเลือกตั้งก่อนปฏิรูป ยืนกรานว่าต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ก็มีนัยการเมืองสำคัญตรงนี้ คือต้องทำแท้ง “อำนาจอธิปไตย” ของปวงชนชาวไทยให้จงได้ ไม่ให้มันได้คลอดได้ผุดได้เกิดผ่านกระบวนการเลือกตั้งมาลืมตาดูโลก ทำแท้ง “อำนาจอธิปไตย” ของปวงชนชาวไทยได้สำเร็จแล้ว ก็จะได้เคลมตนเองเป็น “รัฏฐาธิปัตย์” แทนนั่นปะไร
ด้านกลับการเมือง: ความหดหู่ห่อเหี่ยวในความฮึกห้าวเหิมหาญของขบวนการแอนตี้เลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย
เกษียร เตชะพีระ
พลังฮึกห้าวเหิมหาญของม็อบและขบวนการใดที่ก่อตัวขึ้นโดยกัดกร่อนบ่อนทำลายเหล่าสถาบันการเมืองของชาติให้เสื่อมทรุดถดถอยราบคาบลงไป ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่สร้างสรรค์อะไรขึ้นมา มีแต่พลังทำลาย ผลได้ของการเคลื่อนไหว ไม่ยั่งยืน เมื่อฝุ่นหายตลบแล้วก็จะพบว่ามีแต่ซากปรักหักพังแห่งสถาบันการเมืองของชาติทั้งชาติ โดยไม่ได้ดอกผลการต่อสู้อะไรจริงจังยั่งยืนขึ้นมาเลย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อสังเกตหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างและปรับปรุงระบบลอจิสติกส์ของประเทศใหม่ ผิดรัฐธรรมนูญ
เกษียร เตชะพีระ
ผมอ่านข้อเสนอที่นายกแพทยสภาและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขแถลงล่าสุดแล้ว มีความเห็นว่ามัน "ไม่เป็นกลาง" ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้...
เกษียร เตชะพีระ
วิธีการที่ผิด ไม่สามารถนำไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้องดีงามได้ และคนอื่นเป็นเจ้าของประเทศไทยเหมือนกันเท่ากับผมและคุณ เท่ากันเป๊ะ