ความเห็นของนักธุรกิจ hi-profile มักมีคนสนใจฟัง โดยเฉพาะนักธุรกิจที่ควักกระเป๋าเช่าเวลาสถานีโทรทัศน์จัดรายการให้ตนเองได้บรรยายความรอบรู้จากประสบการณ์ส่วนตัวออกอากาศเป็นวิทยาทานแก่ชาวบ้านแบบ one-way communication คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ก็เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ข้อความเห็นข้างล่างนี้ มีที่เข้าใจผิดอยู่บางประเด็น:
1) เกาหลี(ใต้) ไต้หวัน สิงคโปร์แม้จนทุกวันนี้ก็ยังมีกรณีคอร์รัปชั่นและใช้อำนาจไปในทางมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองอยู่
ล่าสุดในเกาหลีใต้ มีกรณีหน่วยงานข่าวกรองของรัฐ (NIS) แทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยใช้คนโพสต์ข้อความเชียร์ผู้สมัครประธานาธิบดีปาร์คกึนเฮ และโจมตีผู้สมัครประธานาธิบดีฝ่ายค้าน จนถูกเปิดโปงสอบสวนและประท้วงเป็นการใหญ่ในขณะนี้ http://www.dw.de/south-koreans-protest-alleged-election-interference/a-17041363
ไต้หวันเกิดกรณีคอร์รัปชั่นอื้อฉาวต่อเนื่องหลายเรื่องซึ่งผู้ต้องหาคือบรรดาผู้ช่วยคนสนิทที่สุดของประธานาธิบดีหม่าหยิงโจวแห่งพรรคก๊กมินตั๋ง จนกระทั่งไต้หวันถูกตั้งสมญาอย่างน่าอายว่า "สาธารณรัฐแห่งการคอร์รัปชั่น" http://www.taipeitimes.com/News/editorials/archives/2013/06/04/2003563910
ส่วนสิงคโปร์ กรณีคอร์รัปชั่นอื้อฉาวล่าสุดถูกเปิดโปงออกมาเมื่อสองปีก่อนและการดำเนินคดียังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับหัวหน้า 2 หน่วยงานราชการสำคัญด้านความมั่นคงคือหัวหน้ากองกำลังป้องกันพลเรือนสิงคโปร์และหัวหน้าหน่วยงานปราบปรามยาเสพติดกลาง (the Singapore Civil Defence Force (SCDF) and the Central Narcotics Bureau (CNB) ) ต่างถูกสอบสวนว่ามีสัมพันธ์สวาทกับนักธุรกิจสาวด้าน IT และปล่อยปละละเลยให้ผลิตภัณฑ์ IT ที่สั่งซื้อเข้าหน่วยงานไม่ได้มาตรฐานเพราะเหตุนั้น http://globalvoicesonline.org/2012/01/27/singapore-corruption-scandal-in-least-corrupt-nation/ และ http://news.asiaone.com/News/Latest+News/Singapore/Story/A1Story20120125-323860.html
ดังนั้น 3 ประเทศแบบอย่างที่คุณวิกรมยกมา ไม่ได้ปลอดคอร์รัปชั่นอย่างที่ชวนให้เข้าใจนะครับ
2) ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของ 3 ประเทศดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับแนวนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล, กลุ่มธุรกิจหลักของแต่ละประเทศ, และโอกาสด้านการลงทุนและส่งออกที่อเมริกากับญี่ปุ่นเอื้ออำนวยให้ในยุคสงครามเย็นและสงครามเวียดนาม ไม่ใช่เพราะปราบคอร์รัปชั่นเกลี้ยงเกลาแต่อย่างใด เรื่องนี้คุณวิกรมคงต้องออกแรงอ่านค้นคว้าเอกสารตำราเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของสามประเทศนี้เพิ่มเติมหน่อยละครับ เช่น Michael Spence นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2001 โดยเฉพาะเล่ม The Next Convergence: The Future of Economic Growth in a Multispeed World, หรือ Ha-Joon Chang นักเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษ เชื้อสายเกาหลี โดยเฉพาะเรื่อง Globalisation, Economic Development and the Role of the State
3) ดังนั้นผมจึงไม่แน่ใจว่าการประหารชีวิตนักการเมืองและข้าราชการทุจริตคอร์รัปชั่นสักหมื่นคน เอาเข้าจริงจะแก้ปัญหานี้ได้นะครับ ความจริงข้อเสนอทำนองนี้ ไม่มีอะไรใหม่ ผมเคยได้ยินได้ฟังมาแล้วจากนักธุรกิจอิสระอินโดนีเซียซึ่งติดสินบนเจ้าหน้าที่อย่างโชกโชน (ดู สารคดีเรื่อง Faces of Everyday Corruption in Indonesia) เพียงแต่ผู้เสนอชาวอินโดนีเซียท่านนั้นไม่ดุเดือดเลือดพล่านถึงขนาดระบุจำนวนศพที่ต้องการว่าเป็นเท่าไหร่เพื่อแก้ปัญหานี้
กล่าวในแง่นี้ก็ต้องนับว่าจำนวนตัวเลข "ประหารสัก 10,000 คน" ของคุณวิกรมไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทยจริง ๆ อาทิเช่น
-จอมพลประภาส จารุเสถียรก็เพียงคาดคะเนว่าการปราบปรามนักศึกษาที่ประท้วงเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 อาจทำให้ "นักศึกษาจะเสียไปราว 2% จากจำนวนเป็นแสนคน" (คือแค่ 2,000 คน)
-การดำเนินสงครามต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณ ก็ปรากฏตัวเลขผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้าที่เสียชีวิตจากวิสามัญฆาตกรรมแค่ราว 2,275 ราย
-แม้แต่สงครามประชาชนระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2528 ก็มีผู้เสียชีวิตทั้งสองฝ่าย (ยังไม่นับชาวบ้านที่โดนลูกหลง) รวม 10}504 คน ซึ่งก็มากกว่าตัวเลขเสนอแนะของคุณวิกรมอยู่ แต่นั้นเป็นสงครามกลางเมืองนาน 20 ปี ขณะที่สิ่งที่คุณวิกรมเสนอนั้น คือให้ประหารในภาวะปกติของบ้านเมืองและคงไม่นานถึง 20 ปีแน่นอน
ก็ขอแนะนำให้คุณวิกรมลองเสนอคุณสุเทพ ณ กปปส. เพื่อให้ทางสภาประชาชนที่อาจจะก่อตั้งขึ้นในอนาคตได้พิจารณา เพราะถ้าเป็นสภาผู้แทนราษฎรปกติภายใต้รัฐธรรมนูญ คงจะยากอยู่ โดนประท้วงแหลกจากนานาอารยประเทศที่เขาซื้อสินค้าออกจากเราแน่ว่ามัน "ไม่อารยะ" เกินไป
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law)
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย!
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง