Skip to main content

Kasian Tejapira(8/9/56)

สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
 
ในวาระใกล้ครบรอบ ๔๐ ปีของรัฐประหารโดยทหารซึ่งตามมาด้วยการปกครองระบอบเผด็จการนาน ๑๗ ปีภายใต้การนำของพลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์ คณะผู้พิพากษาของประเทศชิลีได้เผยแพร่แถลงการณ์ต่อสาธารณะยอมรับว่าฝ่ายตุลาการสามารถจะทำได้และควรจะได้ทำมากกว่านั้นเพื่อประชาชนชาวชิลี
พลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์
 
แถลงการณ์ออกวันพุธที่ ๔ ก.ย. ศกนี้และลงนามโดย โรดริโก เซอร์ดา ประธานสมาคมฯ, รองประธานและคณะกรรมการสมาคม ระบุว่า: 
 
“จำต้องกล่าวและตระหนักรับโดยชัดเจนอย่างสิ้นเชิงว่าฝ่ายตุลาการและโดยเฉพาะศาลฎีกาสมัยนั้นลังเลที่จะปฏิบัติภาระหน้าที่แกนกลางของตนในการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานและคุ้มครองบรรดาผู้ตกเป็นเหยื่อของการฉวยใช้อำนาจไปในทางมิชอบของรัฐ
 
“บัดนี้ถึงโมงยามที่เราต้องขออภัยอย่างไม่มีที่จะคลุมเครือผิดพลาดไปได้ต่อบรรดาเหยื่อทั้งหลาย ญาติของพวกเขาและสังคมชิลีที่ไม่สามารถจะชี้นำ ท้าทายและกระตุ้นสถาบันของเราและมวลสมาชิกของสถาบันนั้นให้ไม่ละเว้นจากการดำเนินการตามสิทธิที่พื้นฐานที่สุดและมิอาจล่วงละเมิดได้ ณ จังหวะอันคับขันใน ประวัติศาสตร์ดังกล่าวมานี้....”
 
แถลงการณ์ชี้ว่าศาลและผู้พิพากษาได้ปล่อยให้การข่มขู่และความหวาดกลัวการถูกคุมขังทรมานมาหักห้ามพวกตนไว้จากการเอาตัวสมาชิกของระบอบเผด็จการให้มาพร้อมรับผิดต่ออาชญากรรมของพวกเขารวมทั้งการคงการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้สืบไป
 
“ฝ่ายตุลาการสามารถจะทำได้และควรจะได้ทำมากกว่านั้นมากโดยเฉพาะเมื่อตนเป็นสถาบันเดียวของสาธารณรัฐที่มิได้ถูกดำเนินการโดยรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่จริงขณะนั้น”
 
ศาลฎีกากล่าวว่าจะอภิปรายถึงการทบทวนตัวศาลฎีกาเอง สิ่งที่ศาลได้ทำหรือไม่ได้ทำในช่วงทหารปกครองในวาระประชุมประจำวันศุกร์ที่จะถึงนี้ นายฮิวโก ดอลเมตสช์ โฆษกศาลฎีกาให้สัมภาษณ์สำนักข่าว CNN ประจำชิลีว่า:
 
“มีการทำอะไรกันไปมากพอควรเพื่อสถาปนาความจริงให้ประจักษ์ชัด กำหนดความรับผิดชอบบางประการ แต่คงมิอาจจรรโลงความยุติธรรมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นได้ ผมคิดว่ามันไม่มีสัจธรรมสัมบูรณ์ คงจะมีช่องโหว่ผิดพลาดอยู่บ้าง เรื่องที่ผ่านมาแล้ว ๔๐ ปีก็คงมีช่องโหว่ผิดพลาดแบบนั้นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ในรอบหลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าพวกที่มีส่วนร่วมในสิ่งนี้ก็ได้รับโทษกรรมอีกแบบไปแล้ว ผมไม่เชื่อว่ามันง่ายสำหรับบางคนที่จะมองหน้าลูกหลานของตัวเมื่อเรื่องนี้เป็นที่รู้กันทั่วไปในสาธารณชน”
 
การประท้วงเผด็จการอย่างสันติของชาวชิลีเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๕
ชาวชิลีกว่า ๓,๐๐๐ คนถูกสังหารระหว่างทหารปกครองประเทศ (ค.ศ. ๑๙๗๓ – ๑๙๙๐) และคดีคนถูกบังคับอุ้มหายกว่า ๑,๐๐๐ คดียังคาราคาซังอยู่ ประมาณว่าคนอีกกว่า ๒๘,๐๐๐ ถูกจับกุม หลายคนในจำนวนนี้ถูกทรมานในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
 
(รายงานข่าวจาก นสพ. The Santiago Times ของชิลี http://www.santiagotimes.cl/chile/human-rights-a-law/26686-chiles-judges-apologize-to-dictatorship-victims-
ตัวแถลงการณ์ของสมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติชิลีฉบับภาษาสเปน ดูได้ที่ http://www.magistradosdechile.cl/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=55&Itemid=168 )
 
ภาพประกอบ พลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์, การประท้วงเผด็จการอย่างสันติของชาวชิลีเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๕)

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"