Skip to main content

Kasian Tejapira(8/9/56)

สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
 
ในวาระใกล้ครบรอบ ๔๐ ปีของรัฐประหารโดยทหารซึ่งตามมาด้วยการปกครองระบอบเผด็จการนาน ๑๗ ปีภายใต้การนำของพลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์ คณะผู้พิพากษาของประเทศชิลีได้เผยแพร่แถลงการณ์ต่อสาธารณะยอมรับว่าฝ่ายตุลาการสามารถจะทำได้และควรจะได้ทำมากกว่านั้นเพื่อประชาชนชาวชิลี
พลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์
 
แถลงการณ์ออกวันพุธที่ ๔ ก.ย. ศกนี้และลงนามโดย โรดริโก เซอร์ดา ประธานสมาคมฯ, รองประธานและคณะกรรมการสมาคม ระบุว่า: 
 
“จำต้องกล่าวและตระหนักรับโดยชัดเจนอย่างสิ้นเชิงว่าฝ่ายตุลาการและโดยเฉพาะศาลฎีกาสมัยนั้นลังเลที่จะปฏิบัติภาระหน้าที่แกนกลางของตนในการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานและคุ้มครองบรรดาผู้ตกเป็นเหยื่อของการฉวยใช้อำนาจไปในทางมิชอบของรัฐ
 
“บัดนี้ถึงโมงยามที่เราต้องขออภัยอย่างไม่มีที่จะคลุมเครือผิดพลาดไปได้ต่อบรรดาเหยื่อทั้งหลาย ญาติของพวกเขาและสังคมชิลีที่ไม่สามารถจะชี้นำ ท้าทายและกระตุ้นสถาบันของเราและมวลสมาชิกของสถาบันนั้นให้ไม่ละเว้นจากการดำเนินการตามสิทธิที่พื้นฐานที่สุดและมิอาจล่วงละเมิดได้ ณ จังหวะอันคับขันใน ประวัติศาสตร์ดังกล่าวมานี้....”
 
แถลงการณ์ชี้ว่าศาลและผู้พิพากษาได้ปล่อยให้การข่มขู่และความหวาดกลัวการถูกคุมขังทรมานมาหักห้ามพวกตนไว้จากการเอาตัวสมาชิกของระบอบเผด็จการให้มาพร้อมรับผิดต่ออาชญากรรมของพวกเขารวมทั้งการคงการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้สืบไป
 
“ฝ่ายตุลาการสามารถจะทำได้และควรจะได้ทำมากกว่านั้นมากโดยเฉพาะเมื่อตนเป็นสถาบันเดียวของสาธารณรัฐที่มิได้ถูกดำเนินการโดยรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่จริงขณะนั้น”
 
ศาลฎีกากล่าวว่าจะอภิปรายถึงการทบทวนตัวศาลฎีกาเอง สิ่งที่ศาลได้ทำหรือไม่ได้ทำในช่วงทหารปกครองในวาระประชุมประจำวันศุกร์ที่จะถึงนี้ นายฮิวโก ดอลเมตสช์ โฆษกศาลฎีกาให้สัมภาษณ์สำนักข่าว CNN ประจำชิลีว่า:
 
“มีการทำอะไรกันไปมากพอควรเพื่อสถาปนาความจริงให้ประจักษ์ชัด กำหนดความรับผิดชอบบางประการ แต่คงมิอาจจรรโลงความยุติธรรมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นได้ ผมคิดว่ามันไม่มีสัจธรรมสัมบูรณ์ คงจะมีช่องโหว่ผิดพลาดอยู่บ้าง เรื่องที่ผ่านมาแล้ว ๔๐ ปีก็คงมีช่องโหว่ผิดพลาดแบบนั้นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ในรอบหลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าพวกที่มีส่วนร่วมในสิ่งนี้ก็ได้รับโทษกรรมอีกแบบไปแล้ว ผมไม่เชื่อว่ามันง่ายสำหรับบางคนที่จะมองหน้าลูกหลานของตัวเมื่อเรื่องนี้เป็นที่รู้กันทั่วไปในสาธารณชน”
 
การประท้วงเผด็จการอย่างสันติของชาวชิลีเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๕
ชาวชิลีกว่า ๓,๐๐๐ คนถูกสังหารระหว่างทหารปกครองประเทศ (ค.ศ. ๑๙๗๓ – ๑๙๙๐) และคดีคนถูกบังคับอุ้มหายกว่า ๑,๐๐๐ คดียังคาราคาซังอยู่ ประมาณว่าคนอีกกว่า ๒๘,๐๐๐ ถูกจับกุม หลายคนในจำนวนนี้ถูกทรมานในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
 
(รายงานข่าวจาก นสพ. The Santiago Times ของชิลี http://www.santiagotimes.cl/chile/human-rights-a-law/26686-chiles-judges-apologize-to-dictatorship-victims-
ตัวแถลงการณ์ของสมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติชิลีฉบับภาษาสเปน ดูได้ที่ http://www.magistradosdechile.cl/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=55&Itemid=168 )
 
ภาพประกอบ พลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์, การประท้วงเผด็จการอย่างสันติของชาวชิลีเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๕)

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม