สมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติได้ขออภัยที่ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองพลเมืองชิลีในโอกาสระลึก ๔๐ ปีนับแต่รัฐประหารที่นำปิโนเช่ต์ขึ้นสู่อำนาจ
ในวาระใกล้ครบรอบ ๔๐ ปีของรัฐประหารโดยทหารซึ่งตามมาด้วยการปกครองระบอบเผด็จการนาน ๑๗ ปีภายใต้การนำของพลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์ คณะผู้พิพากษาของประเทศชิลีได้เผยแพร่แถลงการณ์ต่อสาธารณะยอมรับว่าฝ่ายตุลาการสามารถจะทำได้และควรจะได้ทำมากกว่านั้นเพื่อประชาชนชาวชิลี
พลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์
แถลงการณ์ออกวันพุธที่ ๔ ก.ย. ศกนี้และลงนามโดย โรดริโก เซอร์ดา ประธานสมาคมฯ, รองประธานและคณะกรรมการสมาคม ระบุว่า:
“จำต้องกล่าวและตระหนักรับโดยชัดเจนอย่างสิ้นเชิงว่าฝ่ายตุลาการและโดยเฉพาะศาลฎีกาสมัยนั้นลังเลที่จะปฏิบัติภาระหน้าที่แกนกลางของตนในการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานและคุ้มครองบรรดาผู้ตกเป็นเหยื่อของการฉวยใช้อำนาจไปในทางมิชอบของรัฐ
“บัดนี้ถึงโมงยามที่เราต้องขออภัยอย่างไม่มีที่จะคลุมเครือผิดพลาดไปได้ต่อบรรดาเหยื่อทั้งหลาย ญาติของพวกเขาและสังคมชิลีที่ไม่สามารถจะชี้นำ ท้าทายและกระตุ้นสถาบันของเราและมวลสมาชิกของสถาบันนั้นให้ไม่ละเว้นจากการดำเนินการตามสิทธิที่พื้นฐานที่สุดและมิอาจล่วงละเมิดได้ ณ จังหวะอันคับขันใน ประวัติศาสตร์ดังกล่าวมานี้....”
แถลงการณ์ชี้ว่าศาลและผู้พิพากษาได้ปล่อยให้การข่มขู่และความหวาดกลัวการถูกคุมขังทรมานมาหักห้ามพวกตนไว้จากการเอาตัวสมาชิกของระบอบเผด็จการให้มาพร้อมรับผิดต่ออาชญากรรมของพวกเขารวมทั้งการคงการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้สืบไป
“ฝ่ายตุลาการสามารถจะทำได้และควรจะได้ทำมากกว่านั้นมากโดยเฉพาะเมื่อตนเป็นสถาบันเดียวของสาธารณรัฐที่มิได้ถูกดำเนินการโดยรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่จริงขณะนั้น”
ศาลฎีกากล่าวว่าจะอภิปรายถึงการทบทวนตัวศาลฎีกาเอง สิ่งที่ศาลได้ทำหรือไม่ได้ทำในช่วงทหารปกครองในวาระประชุมประจำวันศุกร์ที่จะถึงนี้ นายฮิวโก ดอลเมตสช์ โฆษกศาลฎีกาให้สัมภาษณ์สำนักข่าว CNN ประจำชิลีว่า:
“มีการทำอะไรกันไปมากพอควรเพื่อสถาปนาความจริงให้ประจักษ์ชัด กำหนดความรับผิดชอบบางประการ แต่คงมิอาจจรรโลงความยุติธรรมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นได้ ผมคิดว่ามันไม่มีสัจธรรมสัมบูรณ์ คงจะมีช่องโหว่ผิดพลาดอยู่บ้าง เรื่องที่ผ่านมาแล้ว ๔๐ ปีก็คงมีช่องโหว่ผิดพลาดแบบนั้นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ในรอบหลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าพวกที่มีส่วนร่วมในสิ่งนี้ก็ได้รับโทษกรรมอีกแบบไปแล้ว ผมไม่เชื่อว่ามันง่ายสำหรับบางคนที่จะมองหน้าลูกหลานของตัวเมื่อเรื่องนี้เป็นที่รู้กันทั่วไปในสาธารณชน”
การประท้วงเผด็จการอย่างสันติของชาวชิลีเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๕
ชาวชิลีกว่า ๓,๐๐๐ คนถูกสังหารระหว่างทหารปกครองประเทศ (ค.ศ. ๑๙๗๓ – ๑๙๙๐) และคดีคนถูกบังคับอุ้มหายกว่า ๑,๐๐๐ คดียังคาราคาซังอยู่ ประมาณว่าคนอีกกว่า ๒๘,๐๐๐ ถูกจับกุม หลายคนในจำนวนนี้ถูกทรมานในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
(รายงานข่าวจาก นสพ. The Santiago Times ของชิลี http://www.santiagotimes.cl/chile/human-rights-a-law/26686-chiles-judges-apologize-to-dictatorship-victims-
ตัวแถลงการณ์ของสมาคมผู้พิพากษาแห่งชาติชิลีฉบับภาษาสเปน ดูได้ที่ http://www.magistradosdechile.cl/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=55&Itemid=168 )
ภาพประกอบ พลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์, การประท้วงเผด็จการอย่างสันติของชาวชิลีเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๘๕)
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด...
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล