Skip to main content

Kasian Tejapira(13/2/56)

ข่าวผู้ก่อความไม่สงบยกกำลังบุกตีค่ายนาวิกโยธินที่นราธิวาสกลางดึกคืนที่ผ่านมาซึ่งมีการสู้รบหนักและฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบแตกพ่ายเสียชีวิตเกือบยี่สิบราย ดูจะสอดรับกับข่าวคราวช่วงหลังที่ปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบรุกเร้ารุนแรงครึกโครมขึ้นเป็นลำดับ คำถามคือมันสะท้อนสถานการณ์อย่างไร?

ผมไม่ได้ติดตามสถานการณ์ภาคใต้อย่างเกาะติดใกล้ชิดมาหลายปีแล้ว ด้วยความสนเท่ห์ใจ ได้สอบถามไปยังอดีตนักข่าว นักวิจัยชายแดนภาคใต้ท่านหนึ่งซึ่งรู้จักกันและตอนนี้กำลังไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลบอกเล่าแนวโน้มตามที่เธอสังเกตเห็นว่าการยกระดับการโจมตีรุนแรงขึ้นและมีลักษณะสู้รบเป็นแบบแผนทางทหารมากขึ้นนี้สะท้อนอะไร? ขั้นตอนใหม่ของการต่อสู้ทางทหารหรือ? รึว่าเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ?

เธอวิเคราะห์ให้ฟังว่า:

มันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ที่ไม่เปลี่ยนของผู้ก่อความไม่สงบ อันเป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการทหารมากกว่างานการเมือง เท่าที่เธอสืบทราบปีกการเมืองของขบวนการอ่อนแอ ทำให้ปีกการทหารครอบงำขบวนการ เอาเข้าจริงผู้ก่อความไม่สงบกำลังสูญเสียแรงสนับสนุนของมวลชนลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากปฏิบัติการรุนแรงแบบไม่จำแนกแยกแยะเป้า รวมทั้งการโจมตีเป้าหมายอ่อนเปราะ เช่น ครู เป็นต้น แม้แต่เอ็นจีโอซึ่งเห็นด้วยกับการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่มากขึ้นก็ยังถึงกับเริ่มใช้ถ้อยคำว่านี่มันเข้าข่าย "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" ขณะที่ประชาคมสากลส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบเช่นกัน ในทางการเมือง ฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบจึงเพลี่ยงพล้ำเสียท่า แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงจะยุติในเวลาอันใกล้

จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น ผมอดคิดไม่ได้ว่าใช่หรือไม่ว่าปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบตั้งใจจะล่อหลอกยั่วยุดึงให้กองทัพไทยไปทุ่มการทหาร และวางงานการเมืองที่กำลังได้เปรียบลง ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด

ที่น่าเสียดายคือผมเกรงว่าการริเริ่มการรุกทางการเมืองที่อาจจะช่วยพลิกสถานการณ์ชายแดนภาคใต้นี้อาจคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งกำลังหมกมุ่นเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศที่จะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูงเป็นหลักเหนืออื่นใด ในภาวะที่รัฐบาลยึดแนวทาง "เศรษฐกิจนำ การเมืองตามหลัง" และจะไม่ขยับเดินขาหลังทางการเมืองแบบ "สุ่มเสี่ยง" ใด ๆ ยกเว้นมีฉันทมติมหาชนทั่วประเทศอย่างล้มหลามรองรับคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่การปฏิรูปเชิงรุกทางการเมืองใด ๆ จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าในเรื่องชายแดนภาคใต้หรืออื่น ๆ

คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯที่น่ารักมากในรอบหลายสิบปีที่เรามีนายกฯน่าหยิกน่าชังกันมา แต่ถ้าคาดหวังการนำทางการเมืองเชิงรุกจากเธอแล้ว ก็อาจจะยาก ยกเว้นประชาชนไทยยกขาเดินล้ำหน้าเธอไปอย่างชัดเจนก้าวโต ๆ ใหญ่ ๆ ยาว ๆ จนเธอเห็นว่าอ้าว... ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้วนี่นา เธอจึงอาจจะขยับรัฐบาลตามมานิดหนึ่ง สักครึ่งก้าว โดยอาศัยขาใหญ่ของประชาชนกางออกคุ้มภัยให้

อันนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า the politics of mediocrity

จากข้อวิเคราะห์ข้างต้น ผมอดคิดไม่ได้ว่าใช่หรือไม่ว่าปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบตั้งใจจะล่อหลอกยั่วยุดึงให้กองทัพไทยไปทุ่มการทหาร และวางงานการเมืองที่กำลังได้เปรียบลง ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด

ที่น่าเสียดายคือผมเกรงว่าการริเริ่มการรุกทางการเมืองที่อาจจะช่วยพลิกสถานการณ์ชายแดนภาคใต้นี้อาจคาดหวังได้ยากจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งกำลังหมกมุ่นเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศที่จะก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะรางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคเพื่อเลื่อนชั้นเป็นประเทศรายได้สูงเป็นหลักเหนืออื่นใด ในภาวะที่รัฐบาลยึดแนวทาง "เศรษฐกิจนำ การเมืองตามหลัง" และจะไม่ขยับเดินขาหลังทางการเมืองแบบ "สุ่มเสี่ยง" ใด ๆ ยกเว้นมีฉันทมติมหาชนทั่วประเทศอย่างล้มหลามรองรับคุ้มครองแล้ว ก็ยากที่การปฏิรูปเชิงรุกทางการเมืองใด ๆ จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ไม่ว่าในเรื่องชายแดนภาคใต้หรืออื่น ๆ

คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯที่น่ารักมากในรอบหลายสิบปีที่เรามีนายกฯน่าหยิกน่าชังกันมา แต่ถ้าคาดหวังการนำทางการเมืองเชิงรุกจากเธอแล้ว ก็อาจจะยาก ยกเว้นประชาชนไทยยกขาเดินล้ำหน้าเธอไปอย่างชัดเจนก้าวโต ๆ ใหญ่ ๆ ยาว ๆ จนเธอเห็นว่าอ้าว... ชาวบ้านเค้าไปกันไกลแล้วนี่นา เธอจึงอาจจะขยับรัฐบาลตามมานิดหนึ่ง สักครึ่งก้าว โดยอาศัยขาใหญ่ของประชาชนกางออกคุ้มภัยให้

อันนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า the politics of mediocrity

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง