Skip to main content

ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง

ภาพประกอบสรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน Global Trends 2030

Kasian Tejapira (24/12/2012)

สภาข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ (National Intelligence Council) ซึ่งเป็นหน่วยงานของผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่ทำงานให้สำนักงานผู้อำนวยการข่าวกรองของสหรัฐฯ เพิ่งเผยแพร่รายงาน Global Trends 2030 หนาเกือบ ๑๖๐ หน้า ซึ่งเป็นชุดรายงานประจำฉบับที่ ๕ เพื่อเป็นกรอบการมองแนวโน้มโลกใน ๑๘ ปีข้างหน้า สำหรับหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯและผู้วางนโยบายระดับต่าง ๆ ใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อวางแผนงานรับมือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (เคาะดาวน์โหลดรายงานได้ที่ลิงค์ http://publicintelligence.net/global-trends-2030/)

สำหรับข้อสังเกตหลัก ๆ น่าสนใจของรายงานฉบับนี้ มีอาทิ:

- ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป เอาเข้าจริงจะไม่มีประเทศเดียวโดด ๆ ใดในโลกมีอิทธิพลแบบนั้นเลย ทว่าพลังอำนาจจะตกไปอยู่กับพันธมิตร/แนวร่วมระหว่างประเทศต่าง ๆ แทน


- เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น ๑.๔ เท่าของเศรษฐกิจญี่ปุ่นตอนนั้น, เศรษฐกิจเอเชียจะใหญ่กว่าเศรษฐกิจของทวีปอเมริกาเหนือกับยุโรปรวมกัน เศรษฐกิจโลกจะพึ่งพาขึ้นต่อสภาพเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายมากขึ้น แทนโลกตะวันตก

- อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจีนจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ คือ

๑) เศรษฐกิจจีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอลงในประเทศ เช่น น้ำซึ่งขาดแคลนทางภาคเหนือของจีน

๒) สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว จำนวนคนแก่เป็นสัดส่วนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคนวัยทำงานเพราะผลลัพธ์รวมของนโยบายคุมจำนวนประชากร (ให้มีลูกได้ครอบครัวละคน) เผลอ ๆ สังคมจีนจะแก่เสียก่อนจะทันรวยพออุ้มชูเลี้ยงดูคนแก่เหล่านั้น

- โลกจะต้องการทรัพยากรมากขึ้นในสภาพที่ประชากรโลกเพิ่มจาก ๗.๑ พันล้านคนในปัจจุบัน --> ๘ พันล้านคนในปี ๒๐๓๐, เกือบครึ่งของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเขตที่มีปัญหาน้ำอย่างหนักหน่วง สภาพทรัพยากรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกที่มีจำกัดจะเพิ่มโอกาสเกิดความขัดแย้งในภูมิภาคแอฟริกา ตะวันออกกลางและเอเชียใต้

- จากนี้บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดจากความรู้สึกไม่มั่นคงในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกมากขึ้นในอนาคต (แบบที่สหรัฐฯกำลังทำในซีเรีย) เช่นในเอเชียอาคเนย์และตะวันออกกลาง และสหรัฐฯจะทำเช่นนั้นได้ดีหากสามารถเล่นบทดังกล่าวร่วมกันกับจีน หากทำได้จริง ก็น่าจะเป็นฉากอนาคตโลกที่ดีที่สุดในมุมมองของรายงาน

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง