Skip to main content

มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน

Kasian Tejapira(29 ธ.ค.55)

อาจารย์ ดร. พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย ผู้จบมาทางกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยตรงจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน (และกำลังขยับจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มาเข้าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ช่วยชี้ให้ผมเห็นสิ่งแปลกพิลึกอย่างหนึ่งในหลาย ๆ อย่างในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ซึ่งผมมองข้าม/หลงลืมไปว่า วรรคสี่ของมาตรา ๑๗๑ แห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้จำกัดการดำรงตำแหน่งของนายกฯไว้ไม่ให้เกินแปดปีต่อกัน อันเป็นหัวข้อที่อ.พรสันต์ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเปรียบเทียบประเด็นนี้ในระบบการเมืองไทยปัจจุบันกับสหรัฐอเมริกา
 
ผมเข้าใจว่ากล่าวในทางการเมืองเปรียบเทียบแล้ว ปกติ มาตรการจำกัดการดำรงตำแหน่งของหัวหน้าฝ่ายบริหาร (Executive Term Limits) แบบนี้มักใช้กันในระบบประธานาธิบดี ซึ่งอำนาจฝ่ายบริหารเป็นอิสระจากอำนาจนิติบัญญัติ เพื่อป้องกันแนวโน้มอำนาจนิยมของฝ่ายบริหาร หากประธานาธิบดีกุมอำนาจต่อกันนานเกินไป อาจทำให้เสียระบบถ่วงดุลตรวจสอบระหว่างอำนาจฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเป็นอิสระต่อกันไปได้ 
 
ทว่าในระบบรัฐสภา ซึ่งการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขึ้นอยู่กับการได้รับความไว้วางใจจากเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัตินั้น ก็มีกลไกการลงมติไว้วางใจ/ไม่ไว้วางใจของสภาดังกล่าวเป็นตัวถ่วงดุลตรวจสอบอำนาจฝ่ายบริหารให้ขึ้นต่อสภาอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีข้อกำหนดจำกัดช่วงเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯไว้อีกชั้นหนึ่ง ตราบใดที่นายกฯยังได้รับความไว้วางใจจากผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ในสภา ซึ่งสะท้อนว่ายังได้รับการสนับสนุนจากประชาชน นายกฯก็มีความชอบธรรมที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้เป็นธรรมดา แก่นแกนหัวใจของความยั่งยืนแห่งอำนาจของฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาจึงอยู่ที่ความไว้วางใจจากสภาและแรงสนับสนุนจากประชาชน ไม่ใช่กำหนดเวลาโดยพลการใด ๆ
 
การเพิ่มข้อกำหนดแปลกปลอมพิลึกที่อธิบายได้ยากเข้ามากำกับควบคุมการดำรงตำแหน่งนายกฯทับซ้อนไว้อีกชั้นหนึ่งในวรรคสี่ของมาตรา ๑๗๑ จึงสะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่างมีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณว่าอาจสามารถกุมอำนาจไปได้เนิ่นนานเกิน ๘ ปี จึงตีวงขีดเส้นจำกัดไว้ ไม่ให้ใครไม่ว่าทักษิณ นอมินีหรือพวกพ้องญาติมิตรทำซ้ำได้อีก ซึ่งก็สะท้อนความหวาดระแวง-ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่างมีต่อเสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ปม ‘พล.ท.นันทเดช’ นำเสนอเกรดของ 7 นักศึกษา 'ดาวดิน' ระบุเกรดไม่ดี จวกไม่เคยคิดเรียน ‘เกษียร’ สวนชกเด็กใต้เข็มขัด ชี้ไม่ควรลืมว่า ‘Steve Jobs’ ก็เรียนไม่จบ ระบุสำหรับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม การเรียนย่อมได้รับผลกระทบบ้างเป็นธรรมดา
เกษียร เตชะพีระ
ตอบกระทู้พันทิป หลังมีผู้เรียกร้องให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยยกตัวอย่าง ‘สมศักดิ์-วรเจตน์’
เกษียร เตชะพีระ
รายงานของ Freedom House ชี้ ปี 2014 เป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ระบุตะวันออกกลางสูญเสียเสรีภาพชัดเจนสุด พร้อมฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่ที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปคือการยอมรับความคิดว่าไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้เมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคาม กลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
เกษียร เตชะพีระ
"มาตรา 10 ของ ร่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ขยายอำนาจการดักจับ แฮ็กบัญชี ยึดคอมพิวเตอร์ แฮ็กระบบ อันนี้คือขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ จากที่เคยต้องขอหมายศาล พรบ. แก้ใหม่ ไม่ต้องขอหมายศาล ทำได้เลย แล้วคนพวกนี้เป็นใคร ไม่รู้" จอห์น วิญญู กล่าวในรายงานเจาะข่าวตื้น ผมเห็นด้วยกับคุณจอห์น วิญญู และชอสนับสนุนด้วยข้อถกเถียงจากมุมมองหลักนิติธรรม (the rule of law) 
เกษียร เตชะพีระ
พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย
เกษียร เตชะพีระ
วิพากษ์ข้อเสนอหลักของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยนายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.หรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ฯลฯ
เกษียร เตชะพีระ
รายงานล่าสุด ILO ชี้ค่าแรงยังต่ำ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในโลกยิ่งเพิ่ม, ค่าจ้างประเทศรวยสูงกว่าประเทศจน 3 เท่า, การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่ทำให้คนตกงานเว้ยเฮ้ย! 
เกษียร เตชะพีระ
ความคิดเห็นต่อเนื่องจากกรณีที่เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ ถึงกรณีที่มีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเขียนโน้ตถึงอาจารย์ที่ปรึกษาให้ติดต่อกลับ  โดยระบุถึงสิ่งที่สำคัญมากกว่าในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ...
เกษียร เตชะพีระ
ในฐานะที่ "รัฐ" ตามคำนิยามของเวเบอร์ 1. สิทธิผูกขาดเหนือการใช้กำลังทางกายภาพหรือนัยหนึ่งการใช้ความรุนแรง 2. โดยชอบธรรม และ 3 ภายในอาณาเขตหนึ่งๆ
เกษียร เตชะพีระ
ข้อแนะนำถึงคสช.และรัฐบาล. คืนความปกติให้สังคมเศรษฐกิจไทยมากที่สุด ลดมาตรการใช้อำนาจผิดปกติให้เหลือต่ำสุด ความแตกต่างขัดแย้งทางความคิดเห็นและผลประโยชน์ในสังคมพหุนิยมที่มีความแตกต่างหลากหลายเป็นเรื่องปกติ
เกษียร เตชะพีระ
สำหรับผมและเพื่อนพ้อง “คนเดือนตุลา” จำนวนหนึ่ง รัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าเศร้าเสียใจยิ่ง