Skip to main content

เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมเวที “เพศศึกษาเพื่อเยาวชน” ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ องค์การแพธ ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร จัดงานระดับภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขึ้น โดยการจัดครั้งนี้เป็นการครั้งแรกของภาคดังกล่าว

ภาพเวที เพศศึกษาเพื่อเยาวชน

ภายในงานมีเยาวชนจากหลายโรงเรียนและหลายกลุ่มเข้าร่วม พร้อมๆ ทั้งผู้ใหญ่จากหน่วยงานภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งธีมหลักๆ ของเวทีนี้คือ “ร่วมกันชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัย”

ทำไมต้องชี้โพรงให้กระรอก ในเมื่อกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นต้องเข้ายังไง – ใครคนหนึ่งถามผมขึ้นมาเมื่อรู้ว่าธีมหลักของงานคือเรื่องทำนองสอนให้วัยรุ่นมีเซ็กส์อย่างปลอดภัย

เพราะกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นเข้ายังไง แต่เขาเข้าอย่างไม่ปลอดภัยยังไงล่ะ พวกเราจึงต้องชี้โพรงอย่างปลอดภัยให้กับกระรอก – ผมตอบ, พร้อมอธิบายอีกว่า “ผู้ใหญ่มักมองเยาวชนเป็นกระรอกและเมื่อเราคุยเรื่องเพศแล้ว เขาทั้งหลายมักมองว่าการพูดคุยเรื่องเพศนั้นเป็นการชี้โพรงให้กระรอก ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นเยาวชนสามารถเข้าโพรงได้โดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่หรือใครมาชี้ด้วยซ้ำ”

เรื่องการเข้าโพรง อาจอุปมาเปรียบดั่งการมีเซ็กส์ก็เป็นได้ ทำไมผมคิดเช่นนี้ ก็เพราะพวกเราหลายคนมักคิดกันเช่นนี้ ดังนั้นผมเลยต้องคิดแบบนี้ด้วย หากใครจะอุปมาเป็นอย่างอื่นก็ไม่ว่ากัน แต่บริบทนี้ผมขอกล่าวถึงการเข้าโพรงโดยนัยยะของการมีเซ็กส์นะครับ

กล่าวสำหรับเรื่องการมีเซ็กส์นั้น ตอนนี้เรารู้กันอย่างทั่วไปว่า วัยรุ่นมีเซ็กส์กันในอายุที่น้อยลง ดูจากการวิจัยล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุขก็ชี้ให้เห็นว่าเยาวชนชายอายุ 15 ปี และเยาวชนหญิง อายุ 16 ปี โดยเฉลี่ยนั้นเริ่มมีเซ็กส์ครั้งแรก และครั้งนั้นๆ ล้วนเกิดขึ้นโดยเขาและเธอไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย (มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้รับการสำรวจและตอบแบบสอบถาม)

เมื่อพูดถึงเซ็กส์ครั้งแรกแล้ว – อยากชวนให้คนที่ “เคยมี” ประสบการณ์ด้านนี้ ลองคิดถึงครั้งนั้นของตนว่ามีที่ไหน บริบทที่เกิดขึ้นเป็นยังไง ความรู้สึกตอนนั้นเป็นแบบใด ฯลฯ หรือหากใครที่ยัง “ไม่เคยมี” แล้วคิดอยากจะมีลองคิดสิครับว่าจะมีตอนไหน อายุเท่าไหร่ พร้อมมากน้อยเพียงใดต่อการมีเซ็กส์ครั้งแรก ฯลฯ แล้วหากใครที่ยัง “ไม่เคยมี” และ “ไม่ขอมี” เลย หรือขอมีตอนพร้อมจริงๆ นั้น ก็ลองถามตัวเองว่า จะมีอย่างไรให้ปลอดภัย มีความสุข รับผิดชอบ ฯลฯ

เรื่องจังหวะและเวลาของการมีอะไรกันครั้งแรกนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่งครับท่านๆ  

เพื่อนที่รู้จักกัน ที่เคยมีเซ็กส์หลายๆ คน ต่างบอกโทนเสียงคล้ายกันว่า “ครั้งแรก” ของเขาและเธอนั้นเกิดจากความไม่ตั้งใจ ไม่พร้อม แต่เมื่อได้มีกับคนรักหรือแฟนหรือคู่นอนแล้ว ต่างก็พร้อมที่จะมี อย่างไม่อาจปฏิเสธต่อรองได้ (ผมไม่ได้ถามต่อว่าเพราะอะไร) ดังนั้นส่วนมากครั้งแรกของพวกเขาจึงไม่ได้เกิดจากการวางแผนไว้ล่วงหน้า หรือกำหนดว่าอีกสามสี่เดือนจะมีเซ็กส์เดือนนี้ จะมีวันนี้ จะมีชั่วโมงนี้ แต่มันเกิดขึ้นเพราะเหตุ ปัจจัย เงื่อนไข เฉพาะหน้ามันอำนวยแบบไม่ตั้งตัวเสียมากกว่า

ส่วนที่ใครจะนัดกันว่า “นี่เธอเดี๋ยว วันลอยกระทงเรามีเซ็กส์กันเถอะ” หรือ “เรารักกันมาก เรารอไปมีตอนวันวาเลนไทน์ดีกว่า” หรือ “อืม...ฉันขอมอบความรักให้เธอเป็นของขวัญตอนวันเกิดนะ” – แบบนี้ ผมไม่แน่ใจว่าจะมีใครคุยกันบ้าง

ขณะเดียวกันในทางตรงกันข้าม แน่นอนว่าบางคู่ที่ไม่คุยกัน แต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจจ้องรอคอยวันสำคัญๆ เพื่อครั้งแรกของเขาและเธอก็ได้ หรือทำนองเดียวกัน เขาและเธออาจอยากให้วันแรกของครั้งแรกเป็นที่จดจำในห้วงความทรงจำของเขาและเธอก็เป็นได้ ทีนี้หากเขาเลือกที่จะมีเซ็กส์ในวันต่างๆ เหล่านี้มันจะเกิดผลอะไรตามมา

จะท้องหรือ จะแท้งหรือ จะติดเชื้อเอชไอวีหรือ จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือ
แล้วหากเขาและเธอ มีเซ็กส์ในวันสำคัญ เทศกาลเด่นๆ นั้นๆ โดยใช้ถุงยางอนามัยล่ะ
เขาและเธอ จะท้องหรือ จะแท้งหรือ จะติดเชื้อเอชไอวีหรือ จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือ
แล้วมันจะเสียหายอันใดมิทราบ (ประเด็นนี้ผมหมายถึงทุกคนไม่เว้นว่าจะเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่นะครับ)

ทีนี้ เนื่องในวันสำคัญ เทศกาลเด่นที่คนออกมาตะโกนว่า “เด็กๆ จะมีเซ็กส์กันแล้ว” เรารีบมาห้าม มาปราม มาปราบกันหน่อยนั้น จะสามารถป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่จะตามมาได้จริงหรือเปล่า ผมไม่มั่นใจ (และคิดว่าคนประเภทนี้ชอบมายุ่งปริมณฑลส่วนตัวของวัยรุ่นมากเกินไป) เพราะเอาเข้าจริงๆ แล้ว หากใครจะมีอะไรกับใครนั้น เราจะไปรู้ได้ตลอดหรือไม่ แล้วคิดว่าเขาจะมีแค่วันสำคัญหรือเทศกาลเด่นๆ เท่านั้นเองหรือ

ประเด็นเรื่องว่า จะชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัยนั้น ทำได้ และต้องจำเป็นต้องทำทุกๆ วันเช่นกัน ไม่ใช่แค่วันสำคัญหรือเทศกาลเด่นๆ เท่านั้น - จริงๆ แล้ว ผมกลับมองว่าถ้าจะออกมากระตุ้นให้วัยรุ่นมีเซ็กส์อย่างปลอดภัย หรือใช้ชีวิตทางเพศของตัวเองอย่างรับผิดชอบนั้น ต้องเป็นสิ่งที่ ต้องทำทุกๆ วัน ไม่ใช่แค่วันสำคัญ หรือเทศกาลอย่างใด อย่างหนึ่งเท่านั้น

เพราะไม่อย่างนั้น พอถึงวันลอยกระทง – วันวาเลนไทน์ – วันเกิด – หรือวันอะไรอีกก็ตามแต่ ผู้ใหญ่ที่ชอบเข้ามาล่วงล้ำปริมณฑลส่วนตัวของวัยรุ่นดีนัก จะได้ไม่ต้องออกมาตีโพยตีพายแบบที่เป็นอยู่...

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ บางทีแล้วการที่เราออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น มันก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของการทำงานและพื้นที่สภาพแวดล้อม ซึ่งนั่นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของกลุ่มคนที่มากมายหลายประเภทเฉกเช่นดอกไม้ในสวนน่ายล ท่ามกลางบรรยากาศสังคมอมยิ้มไม่ออกเช่นนี้ เยาวชนคนหนุ่มสาวก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่เข้าไปอยู่ในบริบทของความย้อนแย้งขัดเกลาเราเขาเช่นนี้ กล่าวคือมีทั้งเยาวชนที่เห็นด้วยกับแนวทางของซีกพันธมิตร และเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยก็มีมาก ส่วนกลุ่ม “สองไม่เอา” นั่นก็มีไม่น้อย ทว่า กลุ่มที่ดูจะมีคือ “กรูไม่เอาสักอย่าง” เสียอีกที่มีเยอะ
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมของพี่ๆ ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มต้านพันธมิตรฯ คือ “อีกแล้วเหรอ”  ซึ่งเป็นความรู้สึกที่กลัวว่าเหตุการณ์จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เหมือนเมื่อครั้งปี 2549 อีกหนที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ถูกมองว่า เป็น “เงื่อนไข” สำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งล่าสุด แถมยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเลยแม้แต่นิด ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่คนอื่นๆ ทั่วไป เขาจะมองว่ากลุ่มพันธมิตร เอาดี เห็นงาม กับการทำให้เกิดเหตุการณ์เยี่ยงนั้นสำหรับนักประชาธิปไตยอีกฝากแล้ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ หลายวันที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ หลายคน ที่ติดตามข่าวเรื่องการชุมนุมของ “พันธมิตร” ต่างใจจดใจจ่ออยู่กับจุดมุ่งหมายท้ายสุดที่จะเดินไปถึง พร้อมๆ กับกระแสข่าวการ “ปฏิวัติ” ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อมั่นว่าการชุมนุมโดย “สันติ” อย่างมี “สติ” เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่สามารถดำเนินการได้ แต่การสลายการชุมนุมโดยการใช้ “ความรุนแรง” ที่ “ไร้สติ” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และปรารถนายิ่งนัก
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย1“ขอโดลเช่ เดอ ลาเช่ ขนาดกลางแก้วหนึ่งค่ะ เพิ่มกาแฟอีกชอตและะ No whip cream ค่ะ อ้อ! ขอแบบไลท์ด้วยนะคะ Low Calories ด้วย ขอบคุณค่ะ” เฮือก! โล่งอก! ฉันพูดประโยคยาวยืดนี่จบซะที! จะมีใครรู้ไหมนะว่าฉันต้องฝึกพูดคำว่า “โดลเช่ เดอ ลาเช่” มาตั้งกี่ครั้งกว่าจะมาเสนอหน้าสั่งกาแฟชื่อประหลาดอย่างคล่องปากนี่ได้ แต่คริๆ...คงไม่มีใครรู้หรอก เพราะฉันวางมาดดีไม่มีหลุดราวกับเรียนการแสดงจากครูแอ๋วมาเสียขนาดนี้ ใครๆก็ดูแต่เปลือกกันทั้งนั้นแหละเธอ! เอาล่ะ สะบัดบ๊อบไปนั่งรอกาแฟได้แล้วย่ะยัยมาริยา อ๊ายส์! จ่ายเงินก่อนสิยะเธอ!!  ฉันใช้ริมฝีปากที่ทาลิปสติค Christian Dior อย่างบรรจง ค่อยๆ ดูดกาแฟ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัยปล. คาวีเป็นชื่อพระเอกในละครตบจูบเรื่อง “สวรรค์เบี่ยง” ทางช่อง 3 ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้สวัสดีค่ะ คุณคาวี พักนี้มีข่าวข่มขืนขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์กันพรึ่บพรั่บ ราวกับคนในบ้านเมืองของเราร่วมแรงแข็งขัน (และแข่งขัน) กันข่มขืนเป็นเมกะโปรเจ็กต์ ตั้งแต่รุ่นเด็กประถมยันอาจารย์มหาวิทยาลัย ดูแล้วชวนห่อเหี่ยวละเหี่ยใจเสียฉิบ ไม่ยักเหมือนเวลาดูคุณคาวีข่มขืนเลยนะคะ ดูแล้วได้ความบันเทิงเริงเมืองปนโรแมนติค ก็แหม…เวลาพูดถึงคนร้ายข่มขืนผู้หญิงทีไร ใครๆ ก็นึกถึงแต่ผู้ชายตัวดำๆ ไว้หนวดเครารุงรัง หน้าเถื่อนๆ ยืนดักอยู่ตามซอกตึก เหม็นกลิ่นเหล้าคุ้งเคล้ากลิ่นเหงื่อปนกลิ่นคาวปลาตามตัว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมต้องคิดหนักและเหนื่อยกับการใช้พลังในการพัฒนาโครงการ “กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ” ของเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย โครงการนี้เป็นโครงการที่จะสร้างกลไกระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างรอบด้าน และสนับสนุนให้เยาวชน ตระหนักและมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เรื่องการป้องกันเอดส์ รู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยผ่านการดำเนินการกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ 8 กลุ่ม ใน 20 จังหวัดกระจายไปในภาคต่างๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 เดือน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย
กิตติพันธ์ กันจินะ
ประมาณวันที่ 14 เมษายน 2551 นี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ก็จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวและได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551ส่งผลให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่ม องค์กร เยาวชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ อย่างขะมักเขม้นอย่างไรก็ตามสำหรับเจตนารมณ์แล้ว กฎหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นมาเพื่อให้เกิดกลไกการสนับสนุนการมีส่วนร่วมและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมได้แรงบันดาลจากการเขียนเรื่องนี้จากภาพยนตร์เรื่อง “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” หนังใหม่ ที่กำลังฉายในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านๆ ว่ากันด้วยเรื่องของเนื้อหาในหนังนั้น ผมก็ยังไม่ได้ไปชม เพียงแต่ดูเนื้อในจากเว็บไซต์ก็พอสรุปคร่าวๆ ได้ว่าภาพยนตร์นี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่น 4 วัยในความรัก 4 มุม ทั้ง รักที่ต้องแย่งกัน รักนักร้องดาราคนโปรด รักนอกใจ และรักข้างเดียว ....อืม เอาเป็นว่า ใครอยากรู้เรื่องมากขึ้นลองเข้าเว็บไซต์ www.pidtermyai.com  ดูแล้วกันนะครับในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอชีวิตที่เกิดขึ้นของวัยรุ่นจำนวนหนึ่งในช่วงปิดเทอมใหญ่ ซึ่งบางคนก็ใช้เวลาไปแข่งกันขอเบอร์ผู้หญิง…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ใครจะไปรู้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างจะทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารที่สำคัญได้จริงๆ เรื่องเกิดเมื่อวันหนึ่ง, ขณะที่ผมกำลังออนไลน์โปรแกรมแชทยอดนิยมนั้น พี่ต้าร์ (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แห่งกลุ่ม Y-ACT) ก็ได้เข้าโปรแกรมออนไลน์ MSN จากในค่ายแห่งหนึ่ง ณ สวนแสนปาล์ม นครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน  “อยากดูป่ะ” พี่ต้าร์ถามและได้เปิดโปรแกรมวิดีโอออนไลน์ขึ้นมาผมตอบว่าอยาก – สักพัก ภาพเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ปรากฏออกมา และมีภาพของเพื่อนๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายกำลังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานผมถามพี่ต้าร์ว่ามาทำอะไรกัน?พี่ต้าร์ บอกว่า “วันนี้น้องอาชีวะกว่า สามสิบสถาบัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ในที่สุดนายกทักษิณ ก็ได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมอยู่ต่างประเทศตั้งปีกว่า กลับมาหนนี้ถือว่าได้กลับมาพิสูจน์ตัวเองในคดีต่างๆ ที่ตกเป็นจำเลย และยังได้กลับมาอยู่ใกล้ครอบครัวของตนเสียด้วย ยังไม่นับรวมถึงการที่จะต้องเข้ามาเคลียร์เรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคและการเมืองที่ยังไม่ค่อยลงตัวสักเท่าใดนัก  ผมดูการกลับมาของคุณทักษิณ แล้วนึกถึงชีวิตของเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านอีกหลายคน ที่ต่างก็พเนจรไปในที่ต่างๆ ไม่ได้กลับบ้าน หรือบ้างก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งชะตากรรมของเขาหลายๆ คน ถือว่า "หนัก" กว่าคุณทักษิณหลายเท่า…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน…