Skip to main content

โดย...ลูกสาวชาวเล


  
ถ้าเอ่ยถึงที่ดินริมทะเลแล้วหลายคนคงอยากมีและอยากได้ไว้ครอบครองสักผืนหนึ่ง พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หมู่บ้านริมทะเลหรือบนเกาะแก่งน้อยใหญ่ของไทยที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้านถูกขายออกไปสู่มือนายทุนจำนวนมาก และส่วนใหญ่นายหน้าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมักจะเป็นคนในพื้นที่นั้นเอง ถ้าเราลองสอบถามผู้คนในหมู่บ้านริมทะเลว่ายังเหลือที่ดินเป็นกรรมสิทธิครอบครองอยู่อีกกี่ครอบครัว คำตอบที่ได้ทำให้รู้สึกหนักใจได้มากทีเดียว ส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ เท่านั้นเอง ที่พอมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่พื้นที่ปลูกบ้าน บางคนแม้กระทั่งบ้านที่อยู่ก็ไม่มีเอกสารสิทธิ

กระแสการพัฒนาประเทศและการปั่นราคาที่ดินเร่งผลักดันให้ชาวบ้านขายที่ดินซึ่งเป็นสมบัติเพียงอย่างเดียวออกไปอย่างไม่มีวันฟื้นคืน เรื่องราวต่อไปนี้เป็นกรณีตัวอย่างจากครอบครัวหนึ่งที่สร้างความขัดแย้ง ความทุกข์ทรมานให้แก่คนภายในครอบครัวต่อเนื่องยาวนานจนกระทั่งปัจจุบัน

 

นางมิยะ และนายแช็น มะเหร็ม สองสามีภรรยาที่อยู่อาศัยในชุมชนประมงขนาดเล็ก ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง แต่งงานอยู่กินกันมากกว่า ๕๗ ปี มีลูกด้วยกันทั้งหมด ๙ คน ซึ่งตลอดชีวิตที่ผ่านมา ผู้เฒ่าทั้งสองเป็นเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลาน เป็นคนที่มีน้ำใจเอื้ออาทร ชอบช่วยเหลือคนอื่นอยู่เสมอ ครอบครัวนางมิยะและนายแช็นเป็นครอบครัวชาวประมงที่มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย อาศัยทะเลเป็นแหล่งทำมาหากิน เช้าออกทะเลหากุ้งหาปลา เย็นกลับบ้านกินข้าวอาบน้ำอาบท่าแล้วเข้านอน ใช้ชีวิตแบบนี้มาตลอด

 

จนกระทั่งเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๑ ในยุคสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี และได้ประกาศนโยบายการท่องเที่ยว เพื่อต้องการให้ชาวต่างชาติเข้าท่องเที่ยวในประเทศไทย หลังจากได้มีนโยบายนี้ออกมา มีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินบริเวณชายทะเลเพื่อทำรีสอร์ท ทำให้ราคาที่ดินริมชายเลมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ


ครอบครัวที่เคยอยู่กันมาอย่างมีความสุข ความเป็นพี่เป็นน้องที่เคยมีเริ่มหายไป เมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาถามซื้อที่ดินแปลงที่ติดชายทะเลซึ่งเป็นที่ดินมรดกที่นางมิยะได้รับมาจากบิดา และเป็นที่ดินที่มีบ่อน้ำจืดอยู่ริมชายหาด (บ่อทวด บ่อน้ำที่คนในชุมชนใช้สำหรับอุปโภคบริโภค) ในราคา ๙ ล้านบาท ซึ่งนายแชน และนางมิยะ ได้ปฎิเสธไปและไม่ยอมขาย

 

ต่อมาเมื่อพี่ชายร่วมอุทธรณ์ของนางมิยะรู้จึงเกิดความโลภอยากจะได้ที่ดินเพื่อนำไปขาย จึงพยายามหาช่องทางกลั้นแกล้งต่างๆนานาเพื่อต้องการให้นายแชน และนางมิยะหนีไปอยู่ที่อื่น จนกระทั่งในปี ๒๕๓๓ ลูกเขยคนโตของนายแชน และนางมิยะ ถูกยิงตาย ได้ทิ้งลูกสาวของนางมิยะที่กำลังตั้งครรภ์อยู่แปดเดือน พร้อมทั้งลูกอีก ๔ คนเอาไว้

 

ด้วยความตกใจกลัว ประกอบกับไม่เคยเจอเรื่องร้ายๆแบบนี้มาก่อน นายแชน และนางมิยะ ได้พาลูกๆหลานๆหนีไปอยู่ที่บ้านเกาะปู อ.เหนือคลอง จ.กระบี่

 

ด้วยความรักในแผ่นดินเกิด บวกกับคำสั่งเสียของผู้เป็นพ่อนายดำ รัญวาศรี ตลอดระยะเวลา ๑ ปี ที่ไปอยู่เกาะปูทุกคืนนางมิยะไม่เคยนอนหลับสนิทเลย ทุกครั้งที่หลับตานางมิยะจะได้ยินคำสั่งเสียของพ่อ "มึงอยู่ที่นี่อย่าไปไหน ที่ดินผืนนี้อย่าให้ใครขาย สมบัติที่มีอย่าให้ฉิบหาย ถ้าใครขายสมบัติของกูมันจะต้องฉิบหาย และตายโหง กูขอให้มึงอยู่ที่นี้อย่าไปไหน และถึงแม้กูจะตายไป กูก็จะไม่ไปไหนกูจะอยู่ที่นี่ อยู่เป็นเพื่อนมึง" ด้วยคำสั่งเสียที่นางมิยะไม่เคยลืม และกุโบร์ (สุสาน) ที่ฝั่งร่างของผู้เป็นพ่อก็ได้ฝั่งอยู่ในที่ดินผืนนั้น ตามคำสัญญา ทำให้นางมิยะตัดสินใจเดินทางกลับบ้าน ในปี ๒๕๓๔ นั้นเอง

 

นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า ๑๘ ปีแล้วที่ที่นายแช็น และนางมิยะต้องต่อสู้เพื่อปกป้องที่ดินผืนนี้ ตามคำสั่งเสียของผู้เป็นพ่อ นางมิยะกลายเป็นโรคหัวใจ ลูกชายคนที่ ๒ เป็นโรคประสาท ลูกๆของนายแช็น และนางมิยะ อยู่อย่างเจ็บปวด "บังเตไม่ได้ตายคนเดียว แต่พวกเราทั้งหมดก็ได้ตายตามไปด้วย ทุกวันนี้พวกเรามีชีวิตอยู่เหมือนตายทั้งเป็น" เป็นคำพูดของลูกๆของนายแชน และนางมิยะ พูดอยู่เสมอ

 

ตลอดระยะเวลา ๑๘ ปี พี่ชายของนางมิยะ และลูกๆพยายามทุกวิถีทางที่จะแย่งที่ดินของนายแชน และนางมิยะไปขาย ทั้งข่มขู่คุกคาม ฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบีบบังคับต่างๆนานาแต่ไม่เคยได้ผล นายแชน และนางมิยะ และลูกๆ ยังยืนยันตามเจตนารมณ์เดิมอยู่เสมอ

 

"กูไม่ขาย กูไม่อยากให้ชาวบ้านแหลมไทรต้องเดือดร้อน กูได้เงินไปอยู่สุขสบายก็จริง แต่พี่น้องข้างหลังลำบากกูไม่อยากให้ใครสาปแช่งตามหลัง" เป็นคำพูดที่นางมิยะ พูดเสมอเมื่อมีคนมาขอซื้อที่ดินจากนาง

 

"คนเลพันกูไม่เคยเห็นเงินเป็นล้านๆที่เขาว่าก็จริง ฮึ..!คนเลพันเราขึ้นอยู่ดอน(อยู่ไกลจากทะเล หรืออยู่ในเมือง) มีแต่อดตาย แต่ถ้าเราอยู่ใกล้ทะเล ถ้าไม่มีข้าวสาร เราก็สามารถออกเลไปตกปลา หรือวางอวนก็ได้มาแล้วส่วนซื้อข้าวสารโลสองโล แต่ถ้าอยู่ดอนพอเงินหมดเราไม่รู้จะไปทำมาหากินอะไร กูเห็นมามากแล้วคนที่ขายที่ดิน ฉิบหายทุกราย เพราะโต๊ะย่าตายายมันสาปแช่ง เขาอุตสาห์สร้างไว้ให้ แต่ลูกหลานเอาไปขาย" หลายๆคำพูดที่กลั่นออกมาจากความรู้สึกของผู้เฒ่าทั้งสอง


สังคมในยุคทุนนิยมนี้คงจะไม่มีใครจะเข้าใจถึงความรักและความผูกพันธ์ต่อผืนแผ่นดินที่ฝังรก และหลายคนอาจจะมองว่าครอบครัวนี้เป็นเพียงครอบครัวเล็กๆที่ไม่มีคุณค่าอะไรเลยในสังคมคนส่วนใหญ่


ในอดีตถ้าเรานึกทบทวนถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย บรรพบุรุษของเราต้องเสียเลือดเสียเนื้อตั้งเท่าไหร่เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไว้ให้ลูกหลาน แต่มา ณ วันนี้คนต่างชาติหิ้วกระเป๋าเจมส์บอนมาลูกเดียวก็ซื้อแผ่นดินของเราไปได้สบาย

 

พวกเรากำลังตกอยู่ในสงครามแย่งชิงทรัพยากร จากคนที่เขามีอำนาจเหนือกว่า เท่าทันข้อมูลมากกว่า คุณกำลังตกเป็นทาสในสังคมที่ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตย คุณกำลังจะสิ้นชาติ สิ้นศาสนา วัฒนธรรม สิ้นอิสรภาพ คุณจะยอมสิโรราบ แค่อำนาจเงินกระนั้นหรือ?

 

ลุกขึ้นเถิด ลุกขึ้นร่วมกันปกป้องแผ่นดินแม่ ก่อนที่จะสิ้นชาติ สิ้นแผ่นดิน นี่เป็นคำร้องขอจากครอบครัวเล็กๆที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายเปิดประเทศเพื่อสนองการท่องเที่ยว

 

ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ไม่ได้ชี้วัดกันด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี แต่ความสุขของคนเราอยู่ที่ความพอเพียง "ดังพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง"

 

 

 

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา    การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดประเด็นการปฏิรูปที่ดิน แจกสปก. นับว่าโดนใจประชาชนที่เฝ้ารอคอย สปก. 4-01 และหวังว่าวันหนึ่งจะมีการออกเป็นโฉนดที่ดินตามแรงโฆษณาของเจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมือง ปัญหาการไม่มี สปก. 4-01 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินมีจำนวนมาก มีโครงการปฏิรูปที่ดิน แต่ยังไม่มีการปฏิรูปที่ดิน และยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนของความซ้ำซ้อนระหว่างแนวเขตของเขตปฏิรูปที่ดินกับที่ดินของรัฐประเภทอื่น เช่น พื้นที่ป่าตามกฎหมาย ที่ราชพัสดุ ที่สาธารณประโยชน์…
คนไร้ที่ดิน
โดย... สมจิต คงทน กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  ก่อนจะมาเป็นนารวม ชาวบ้านเขวาโคก-เขวาทุ่ง ต.สระบัว อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลและฟื้นฟูสภาพป่าสาธารณะของชุมชนที่อยู่คู่มากับหมู่บ้าน ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ไว้สำหรับหาอยู่หากิน เก็บของป่า เก็บเห็ด เก็บฟืน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตแต่เมื่อปี 2538 มีกลุ่มทุนเอกชนจากนอกพื้นที่ทั้งหมด 8 ราย มาบุกรุก แผ้วถางป่าธรรมชาติดอนหนองโมง-หนองกลางของหมู่บ้าน เป็นเหตุให้ชาวบ้านที่นี่รวมกลุ่มกันต่อสู้เพื่อรักษาที่ดินผืนนี้ไว้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน
คนไร้ที่ดิน
กองเลขาฯเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ความขัดแย้งและการต่อสู้ของชนชั้นปกครองเป็นไปอย่างดุเดือดและยืดเยื้อ มากกว่า 3 ปี จนยกระดับขึ้นเป็นความขัดแย้งหลักของสังคมไทยในขณะนี้ ขั้วความขัดแย้งคือ กลุ่มทุนอนุรักษ์นิยมภายใต้อิทธิพลศักดินา ส่วนอีกฝ่ายคือ กลุ่มทุนเสรีนิยมใหม่ ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้โดยง่าย เพราะเป็นการทำศึกวัดดุลกำลัง เพื่อนำไปสู่การจัดปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจครั้งใหม่ ทั้งอำนาจในทางการเมือง อำนาจในการควบคุมระบบเศรษฐกิจและฐานทรัพยากรของสังคม ศึกช่วงชิงการยึดกุมความได้เปรียบในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจละการผลิตครั้งนี้ “ชนชั้นผู้ชม”…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา เครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ ศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนพื้นที่อันดามัน และเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชายฝั่นอันดามัน ได้จัดเวทีสัมมนาเรื่อง “ทางออกกรณียึดที่ดินชุมชนสัมปทานป่า-เลให้นายทุน” ที่ศูนย์การเรียนรู้ควนปริง ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง มีผู้เข้าร่วมเวทีกว่า 150 คน ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ อาจารย์จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาที่ดินของหน่วยงานรัฐไว้อย่างน่าสนใจ…
คนไร้ที่ดิน
ศลิษา ทองสังข์ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ปัญหาเรื่องที่ดินเป็นปัญหาทางการเมืองและโครงสร้าง ปัญหาที่ดินไม่ได้จำกัดเฉพาะชาวนา หรือคนสลัม แม้แต่คนเมือง คนชั้นกลางก็ประสบปัญหาที่ดินอยู่อาศัย การใช้ประเด็นเรื่องการผูกขาดที่ดิน นักการเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพล ทุนข้ามชาติ และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมและผลกระทบที่เกิดขึ้น จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกับสังคมโดยรวมเพื่อสร้างแรงผลักดันการกระจายการถือครองที่ดินได้ ที่ผ่านมามีการผลักดันให้เกิดการแก้ไขมาตรการทางภาษีที่ดิน ตัวอย่างเช่น ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ตั้งแต่ปี 2541 เป็นเวลา 10 ปี เต็ม…
คนไร้ที่ดิน
นนท์ นรัญกร   ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 147 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งได้แก่ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ พื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 A และ ป่าสงวนแห่งชาติโซน C ประมาณ 80 ล้านไร่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบริหารจัดการพื้นที่ป่าของของกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า มีบทเรียนหลายประการ ที่ไม่ได้ถูกนำมาถกเถียงในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานให้ดีขึ้น ในขณะที่กำลังจะสร้างปัญหาใหม่ตามมา ดังที่เป็นข่าวเรื่องความพยายามใน การเซ้งพื้นที่อุทยานฯ ให้กับภาคเอกชนเช่าทำธุรกิจ บทเรียนประการแรก…
คนไร้ที่ดิน
พงษ์ทิพย์  สำราญจิตต์สังคมไทย  เป็นสังคมที่เกษตรกรและคนจนไร้ที่ดิน แทบจะไม่มีที่ยืนหรือสามารถบอกเล่าสถานะของตนเองต่อสังคมได้ โครงสร้างสังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ การผลิตและการตลาด  ได้ถูกผูกขาดและกำกับควบคุมโดยคนกลุ่มเล็ก บริษัทธุรกิจเอกชนที่มีเงินลงทุนมหาศาล ในสนามเศรษฐกิจที่ถูกผูกขาดไว้แล้วเช่นนี้  แน่นอนว่าเกษตรกรรายย่อยย่อมมิอาจแข่งขันได้ นี่เป็นที่มาของสภาพการณ์ในชนบทสังคมไทยที่เกษตรกรรายย่อยกำลังกลายเป็นแรงงานรับจ้างและคนจนไร้ที่ดินมากขึ้นทุกขณะ
คนไร้ที่ดิน
                                                                                                   …
คนไร้ที่ดิน
  สมจิต  คงทนกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน (โลโคลแอค)เมื่อชาวบ้านถูกฟ้องคดี"ก่อนถูกฟ้องคดีเขาเป็นคนขยัน พอถูกจับและยึดที่ดินไป  ซึ่งเป็นที่ดินที่เขาสองคนผัวเมียได้อยู่อาศัยทำกินกันมายาวนาน เขากลายเป็นคนคิดมาก ควบคุมสติตัวเองไม่ได้  ทุบตีเมียตัวเอง และเคยคิดฆ่าตัวตาย จนกลายเป็นปัญหาครอบครัว สุดท้ายก็ต้องแยกทางกัน  ส่วนลูก 2 คนก็แบ่งกันไปคนละคน"  นางเหิม เพชรน้อย ชาวบ้านตำบลบ้านนา จังหวัดพัทลุง เล่าถึงชะตากรรมชีวิตของเพื่อนบ้านครอบครัวหนึ่งที่ถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า หรือ…