Skip to main content

นนท์ นรัญกร

 


ประเทศไทยมีพื้นที่ป่า 147 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ซึ่งได้แก่ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ พื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 A และ ป่าสงวนแห่งชาติโซน C ประมาณ 80 ล้านไร่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การบริหารจัดการพื้นที่ป่าของของกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า มีบทเรียนหลายประการ ที่ไม่ได้ถูกนำมาถกเถียงในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานให้ดีขึ้น ในขณะที่กำลังจะสร้างปัญหาใหม่ตามมา ดังที่เป็นข่าวเรื่องความพยายามใน การเซ้งพื้นที่อุทยานฯ ให้กับภาคเอกชนเช่าทำธุรกิจ


บทเรียนประการแรก กฎหมายอุทยานแห่งชาติ ได้ให้อำนาจและดุลพินิจกับคณะกรรมการอุทยานฯ ในการประกาศเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ ในลักษณะของการรวมศูนย์สู่ส่วนกลาง ในขณะที่ประชาชนภาคส่วนต่างๆ ในระดับท้องถิ่น หมายรวมถึง นักวิชาการในพื้นที่ ข้าราชการในท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการประกาศเขตพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งตั้งอยู่ในท้องถิ่นได้แต่อย่างใด

ถึงแม้จะมีขั้นตอนของการปิดประกาศเพื่อแจ้งให้ประชาชนท้องถิ่นทราบถึงการประกาศเขตพื้นที่ป่า และประชาชนสามารถคัดค้านได้ตามเวลาที่กำหนด แต่ในทางปฏิบัติ การปิดประกาศกลับเป็นเพียงการแจ้งตามหน้าที่ หากประชาชนไม่ได้เห็นป้ายประกาศภายในเวลาที่กำหนด ประชาชนก็จะไม่มีสิทธิในการคัดค้านแต่อย่างใด ที่สำคัญการประกาศเขตป่าอนุรักษ์ในหลายพื้นที่ขาดการสำรวจอย่างละเอียดเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและที่ดินทำกินของชุมชน แต่ใช้ภาพถ่ายทางอากาศในการกำหนดเขตตามมติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการสำรวจและกำหนดแนวเขตฯ อุทยาน เนื่องจากภาพถ่ายทางอากาศไม่สามารถแยกให้เห็นได้ว่า พื้นที่ใดเป็นพื้นที่ปาและพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ทำกินและใช้ประโยชน์ของชุมชน


การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติต่างๆ ที่มีอยู่ถึง 102 แห่งทั่วประเทศ ที่ผ่านมาจึงก่อให้เกิดปัญหาการประกาศเขตพื้นที่ป่าทับซ้อนกับพื้นที่ตั้งชุมชน และที่ทำมาทำกินของชาวบ้านในท้องถิ่นมาโดยตลอด ปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติไม่ชัดเจนและเหลื่อมซ้อนกับพื้นที่ตั้งชุมชนเหล่านี้ ปัจจุบันยังไม่ได้รับการแก้ไข และยังไม่มีกลไกในการแก้ไขปัญหาร่วมระหว่างประชาชนกับอุทยานแห่งชาติแต่อย่างใด การเปิดให้ภาคธุรกิจเอกชนเข้ามาดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ของอุทยานฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอุทยานฯ ที่ยังคงมีปัญหาความขัดแย้งเรื่องพื้นที่ทับซ้อนกับชุมชน จึงน่าจะประเมินได้ว่า อนาคตต่อไปความขัดแย้งเรื่องพื้นที่อุทยานไม่ชัดเจน จะนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนในท้องถิ่นกับภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องการใช้พื้นที่เพิ่มขึ้นมาอีก


ประการที่สอง กฎหมายอุทยานแห่งชาติได้ให้อำนาจในการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานทั่วประเทศ ไว้กับคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นการบริหารราชการแบบเก่าที่ขัดกับหลักการมีส่วนร่วมและและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ บทเรียนเรื่องนี้คือ การบริหารจัดการพื้นที่อุทยานฯทั่วประเทศยังไม่มีโครงสร้าง หรือคณะทำงานที่ประชาชนส่วนต่างๆ สามารถเข้ามาตรวจสอบ หรือถ่วงดุลการทำงานของอุทยานฯ ได้ จึงดูคล้ายราวกับว่า หน้าที่การดูแลพื้นที่อุทยานฯ ทั่วประเทศ เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ เพียงลำพัง โครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อุทยานฯ กว่าที่ประชาชนจะรู้อาจจะดำเนินคืบหน้าไปแล้วมากก็ได้ ดังเป็นที่สงสัยกันในปัจจุบันว่า การให้เช่าพื้นที่อุทยานฯ ได้ดำเนินการไปแล้วในบางอุทยานฯ ใช่หรือไม่


หากมองย้อนกลับไปดูนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของรัฐบาล พ...ทักษิณ จะพบความจริงว่าความพยายามในการขอใช้พื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยกลุ่มธุรกิจเอกชนทั้งในและต่างประเทศ มีมาอย่างต่อเนื่องในหลากหลายรูปแบบ กรณีแรกคือกรณีที่กลุ่มธุรกิจสหรัฐอเมริกาพยายามผลักดันให้รัฐบาลไทยจัดตั้งกองทุนป่าไม้เขตร้อน ในปี 2544 เพื่อให้สหรัฐฯ สามารถเข้ามามีส่วนในการกำหนดนโยบายการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของไทยได้ ในนามคณะกรรมการดูแลกองทุนป่าไม้เขตร้อน โดยแลกกับผลประโยชน์ดอกเบี้ยจำนวน 400 ล้านบาทที่รัฐบาลไทยเป็นหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ในขณะนั้น พร้อมกับเงื่อนไขที่อนุญาตให้ภาคธุรกิจเอกชนของไทยและสหรัฐฯสามารถนำทรัพยากรชีวภาพที่ได้จากการศึกษาวิจัยจากป่าเขตร้อนในประเทศไทยไปจดสิทธิบัตรได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย


หรือแม้แต่คือนโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนในปี 2546 ที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดการแปลงพื้นที่อุทยานบางส่วนให้เป็นทุนด้วย โดยที่ภาคเอกชนที่ได้สิทธิ์ในการเช่าพื้นที่อุทยานฯ สามารถนำเอกสารสิทธิการเช่าไปแปลงให้เป็นทุนหรือขอกู้เงินจากสถาบันการเงินได้


จนมาถึงนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในปี 2548 ซึ่งต้องการเปิดให้ภาคธุรกิจเอกชน ครอบครองและใช้ประโยชน์พื้นที่อุทยานแห่งชาติได้ ถ้าอุทยานฯ นั้นๆ ถูกกำหนดให้อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (ร่าง พ... เขตเศรษฐกิจพิเศษ มาตรา 30) โดยเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ ต้องทำงานตามนโยบายของเขตเศรษฐกิจพิเศษที่บริหารโดยภาคธุรกิจเอกชน


ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรชีวภาพอุดมสมบูรณ์ ความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่อุทยานแห่งชาติ จึงเป็นที่จับจ้องของกลุ่มธุรกิจเอกชนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมาอย่างยาวนาน


การวิ่งเต้นของกลุ่มธุรกิจเอกชนผ่านนักการเมืองในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่ผลักดันให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ เปิดให้เอกชนสามารถเข้ามารับสัมปทานใช้ประโยชน์ในเขตอุทยานฯ ในครั้งนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งความพยายามที่ไม่ทิ้งแนวคิดเดิมที่ผ่านมา ซึ่งนักการเมือง ข้าราชการ และธุรกิจเอกชนบางกลุ่มมองอุทยานฯและทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่อุทยานฯ เป็นเพียงสินค้าหรือทรัพย์สินของหน่วยงานราชการที่สามารถแปลงเป็นทุน หรือต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้


สังคมไทยจึงต้องตอบคำถามสำคัญให้ได้ว่าการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนของสังคมในวันข้างหน้ากับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรฯ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของคนกลุ่มเล็กในระยะสั้น ความสมดุลควรจะอยู่ที่ใด และใครบ้างควรที่จะมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือมีดุลพินิจที่ดีพอในการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานฯ ให้เกิดความสมดุลนั้น


หากมองในแง่ดี ประชาชนไทยจำนวนมากในปัจจุบันตระหนักในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และเต็มใจที่จะสนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์ฯของภาครัฐ อีกทั้งมีชุมชนชาวบ้านจำนวนมากในระดับท้องถิ่น ที่ยังมีวิถีชีวิตที่งดงาม สอดคล้องกับธรรมชาติและระบบนิเวศวิทยา เป็นแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาที่สำคัญ ภาครัฐจึงไม่ควรเหมารวมว่า คนในท้องถิ่นทุกคนคือคนที่ทำลายป่า แต่ควรแยกแยะเพื่อให้ชุมชนและประชาชนภาคส่วนต่างๆ ในท้องถิ่น ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานฯ ร่วมกับภาครัฐอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ จะเป็นการลดงบประมาณที่ต้องใช้ไปจำนวนมากในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าด้วยซ้ำ


ก็ได้แต่หวังว่า พ...อุทยานแห่งชาติ ฉบับปรับปรุงแก้ไข ที่กำลังจะถูกผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้ จะมีมิติของการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการพื้นที่อุทยานฯ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างจริงจัง ไม่ใช่แอบเอาไปให้ใครเช่าและใช้ประโยชน์อย่างที่เป็นกังวลกัน


บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
โดย...สุภาภรณ์ วรพรพรรณ, ระวี ถาวร และ สมศักดิ์ สุขวงศ์   เส้นทางเข้าสู่บ้านตระ 29 มกราคม 2553 เดือนเต็มดวงในค่ำคืนนี้ อยู่ใกล้แทบจะเอามือคว้าได้ ฉันเข้านอนก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เมื่อหัวค่ำพี่น้องชาวบ้านตระได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและบรรพบุรุษของพวกเขา ฉันหลับตานอนเท่าไรก็ไม่ค่อยจะหลับ ด้วยจิตใจจินตนาการถึงหนังสือของบริก แฮม ยัง ที่เขียนเรื่องหมู่บ้านโบราณที่โลกลืมของอินเดียแดงเผ่าอินคาท่ามกลางป่าดงดิบบนเทือกเขาแอนดีส (The Lost City of Incas)
คนไร้ที่ดิน
กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คนไร้ที่ดิน
อารีวรรณ คูสันเทียะ กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นไร้พรมแดน     นับตั้งแต่เกิดวิกฤติด้านการเงิน ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไป เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวของสื่อต่างๆที่ออกมา เช่น “เกาหลีใต้กำลังเช่าที่ดินครึ่งหนึ่งของมาดากัสการ์ เพื่อผลิตอาหาร” (อันที่จริงแล้วไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นของบริษัทแดวู) ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากมักจะให้ความสนใจว่าผู้ที่มีบทบาทนำในการกว้านซื้อที่ดินเพื่อผลิตอาหารในระดับโลกนั้นเป็นประเทศ หรือรัฐบาลไหน ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การเกี่ยวพันของรัฐบาล เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน หรือเกาหลีใต้ แท้ที่จริงในขณะที่รัฐบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการเจรจา…
คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา     ประเด็น “โลกร้อน” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใกล้ตัว ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส กล่าวกันว่ามนุษย์ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ที่แน่ๆคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และไม่มีทางเลือกใดๆต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ และประเด็นนี้เองที่ “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม” มีข้อเสนอต่อการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการประชุมที่กรุงเทพฯ และที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า
คนไร้ที่ดิน
รุ่งเช้าสายหมอกยังบ่จาง เด็กๆ จับกลุ่มเดินไปโรงเรียน หนุ่มสาวแบกตะกร้าหนักอึ้งกลับจากไร่ ผักกาดเขียวถูกเก็บมาสุมไว้ท้ายกระบะรถเตรียมส่งขายในเมือง ชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านหนองเต่ายังดำเนินเช่นทุกวัน  เพียงแต่วันนี้เป็นวันพิเศษสำหรับชาวบ้านหลายคน เพราะบ้านอยู่อู่นอนกำลังจะได้เอกสารสิทธิ์หลังรอคอยมาเกือบ  30 ปี
คนไร้ที่ดิน
นักข่าวพลเมือง เทือกเขาบรรทัดหวัดดีจ้า, เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างพัทลุงและนครศรีธรรมราช บ้านไร่เหนือก่อตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จากหลักฐานบ่งชี้คือ เครื่องใช้โบราณที่เป็นกระเบื้องและดินเผา โครงกระดูกที่ขุดพบ นอกจากนั้นยังมีสวนผลไม้โบราณ เช่น ทุเรียน มัดคุด มะปริง มะปราง ลางสาด เป็นต้น
คนไร้ที่ดิน
หวัดดีจ้า, 2-3 วันที่ผ่านมาได้พาทีมงานที่จะมาช่วยทำสารคดี หนังสั้น และพ็อคเก็ตบุค  ไปตะลอนทัวร์ชิมผลไม้ ในพื้นที่ทำงาน 3 หมู่บ้านของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด เลยเก็บมุมงามๆ และอิ่มอกอิ่มใจมาฝาก ตั้งใจยั่วน้ำลายทุกคน อยากชวนไปเก็บผลไม้กินด้วยตัวเองจ้า
คนไร้ที่ดิน
การที่สังคมถูกปล่อยปละละเลยให้ดำเนินไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยคาดการณ์ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับสังคม ผู้คนมีอาชีพที่หลากหลายมีรายได้สูง ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างสังคม สร้างชาติ และหล่อเลี้ยงระบบให้เจริญรุ่งเรืองยาวนาน โดยเน้นการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อสร้างรายได้และชี้วัดความสุขความเข็มแข้งมั่นคงของสังคมด้วยเงินตราและมูลค่าสมมุติต่างๆ
คนไร้ที่ดิน
คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินฯ ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร  ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ  เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้  หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ 
คนไร้ที่ดิน
  นรัญกร กลวัชรกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย…
คนไร้ที่ดิน
โดย...ลูกสาวชาวเล  ถ้าเอ่ยถึงที่ดินริมทะเลแล้วหลายคนคงอยากมีและอยากได้ไว้ครอบครองสักผืนหนึ่ง พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หมู่บ้านริมทะเลหรือบนเกาะแก่งน้อยใหญ่ของไทยที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้านถูกขายออกไปสู่มือนายทุนจำนวนมาก และส่วนใหญ่นายหน้าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมักจะเป็นคนในพื้นที่นั้นเอง ถ้าเราลองสอบถามผู้คนในหมู่บ้านริมทะเลว่ายังเหลือที่ดินเป็นกรรมสิทธิครอบครองอยู่อีกกี่ครอบครัว คำตอบที่ได้ทำให้รู้สึกหนักใจได้มากทีเดียว ส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ เท่านั้นเอง ที่พอมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่พื้นที่ปลูกบ้าน…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กองเลขาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) นโยบายแจก 2 พันบาทเป็นมาตรการที่เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศของรัฐบาล ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หลังการประชุมได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับแจก 2 พันบาท ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 กลุ่มคนนี้ คือ กลุ่มแรก คือ ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมปกติ หรือออกจากงานแต่ยังจ่ายสมทบต่อเนื่องด้วยตัวเอง ตามมาตรา 39 มีประมาณ 8 ล้านคน กลุ่มที่สอง คือ ผู้ที่เป็นบุคลากรของภาครัฐ…