Skip to main content

กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย

และเมื่อประมาณกว่า 50 ปีที่ผ่านมา ณ ตำแหน่งหนึ่งของโลก คือหมู่บ้านชะเมา ตำบลทางพูน อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ชีวิตชายคนหนึ่ง อันภายหลังบรรพบุรุษของเขาตั้งชื่อให้ว่า นายสมพร พัฒนภูมิ ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งโดยแท้จริงแล้วการถือกำเนิดเกิดขึ้นของเหล่ามวลมนุษย์ ณ ตำแหน่งแห่งหนต่างๆบนโลกนั้น ก็ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานอันเดียวกัน ธรรมชาติเดียวกัน มิได้มีมนุษย์ ณ แห่งหนใด มิได้มีมนุษย์คนใดจะพิเศษหรือวิเศษวิโสกว่ากันเลย เพราะต่างก็มีภาระกิจที่เสมอเหมือนอยู่ในห้วงชีวิตของเหล่ามนุษย์ทั้งมวลที่เสมอกันทั้งสิ้น

 

แต่เหตุใดเล่าชีวิตของชายผู้นี้ สมพร พัฒนภูมิ จึงต้องสะดุดหยุดลง เราลองมาใคร่ครวญให้เห็นลึกและละเอียดไปอีกนิดว่า การต่อสู้ 5 ประการหลักๆของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงนั้นมีอะไรบ้าง 1.การต่อสู้กับความหิวโหย 2.การต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ 3.การต่อสู้กับภัยธรรมชาติ 4.การต่อสู้กับการดำรงเผ่าพันธุ์ 5.การต่อสู้กับความไม่รู้ ทั้ง 5 ประการนั้น สิ่งมีชีวิตหลาย ๆอย่างหรือสิ่งมีชีวิตทุกอย่างน่าจะมีสัญชาติญาณที่เหมือนๆกันทั้งสิ้น

 

เพียงแต่ว่ามนุษย์นี้ได้ต่อสู้ในสิ่งต่างๆ ด้วยการคิดค้นสร้าง-ทำ มิใช่เป็นการเก็บเกี่ยว-กิน จากธรรมชาติล้วนๆตามยถากรรม

 

มนุษย์มิได้เพียรพยายามเรียนรู้ปฏิบัติ สร้าง ทำ ซึ่งก็คือได้ร่วมกันดัดแปลงโลกทั้งเพื่อชีวิตตัวเอง ครอบครัว และส่งผลไปสู่คนอื่นๆในสังคมนี้ สังคมของโลกมนุษย์นี้

 

สมพร พัฒนภูมิ ก็คือชีวิตมนุษย์หนึ่งที่ได้เพียรพยายามและดำรงตนตามภารกิจ เยี่ยงมนุษย์มาตลอดทั้ง 50 กว่าปี

 

ทราบว่าเมื่อเติบโตมาถึงวัยใช้แรงงาน ในระยะหนึ่งนั้น เขาเป็นช่าง คือช่างเคาะปะผุ ทำสีรถยนต์ โดยเป็นลูกจ้างที่บริษัทแห่งหนึ่งในตลาดบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

ก่อนที่จะสูญเสียลมหายใจสุดท้ายแห่งการมีชีวิตนั้น เขาได้สมัครหรืออาสาเข้าไปสู่กระบวนการของนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดิน นักผลิตอาหารสะอาด นั่นก็คือการก้าวไปสู่ขบวนการของเกษตรกรยุคใหม่ในนามของพวกเรา ที่เรียกขานว่าสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)

 

คุณสมพร พัฒนภูมิ ได้ทุ่มเทแรงงานอาบเหงื่อต่างน้ำ ขุดสระเลี้ยงปลา ขุดพรวนพลิกผืนดิน หว่านโปรยเมล็ดพันธุ์งอกงามเป็นแปลงพืชผักต่างๆ กระทั่งเริ่มได้รับผลตอบแทนจากหยาดเหงื่อแรงงานของตน และกำลังขยายการผลิตออกไปอีก

 

ณ ห้วงเวลาสุดท้ายแห่งชีวิต คุณสมพร พัฒนภูมิ เพิ่งเสร็จจากการกรำงานหนักประจำวัน เขาวางจอบ ปุ้งกี๋ ไว้ในสระลูกใหม่ที่ยังขุดไม่เสร็จ ด้วยความมุ่งมั่นว่าจะให้เป็นที่เลี้ยงปลาอีกแห่งหนึ่ง เขาปาดเหงื่อด้วยหลังมือ มือที่หยาบกร้าน และเปื้อนธุลีดิน ขณะที่เดินมาสนทนาและจิบกาแฟข้างวงอาหารค่ำบนชานหน้ากระท่อมของเพื่อนบ้าน

 

กระสุนปืนนัดแรกทะลวงร่างแทรกกลางหัวใจ ความหวัง ความใฝ่ฝัน ในการเป็นเกษตรกรวูบวับดับสูญ “ช่วยด้วยผมถูกยิง” วงอาหารแตกกระเจิง พร้อมด้วยเสียงปืน เอ็ม.16 รัวถี่ยับตามมาอีกชุด มือข้างหนึ่งกดบาดแผลและวิ่งฝ่าความมืดหวังเอาชีวิตรอดจากคมกระสุน แต่มรณะกาลได้คลี่ม่านปกคลุมชีวิตของเขาเสียแล้ว ร่างนั้นทรุดลงที่โคนต้นปาล์มคู่กายคารวะผืนดินด้วยเลือดเนื้อและชีวิต ฝากห้วงหายใจสุดท้ายไว้กับความเมตตาแห่งแม่ธรณี

 

 

เจตจำนงค์ในการต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดิน สิทธิในความมั่นคงอาหาร และการสร้างสังคมที่เป็นธรรม รวมทั้งการกำหนดอนาคตของตนเอง ของคุณสมพร พัฒนภูมิ จักต้องได้รับการสืบสาน

 

เราขอประกาศยืนยันว่าเจตจำนงค์ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และเจตจำนงของคุณสมพร พัฒนภูมิ คือเจตจำนงอันเป็นองค์เอกภาพเดียวกัน และเจตจำนงดังกล่าวนี้เราต้องเชิดชูให้สูงเด่นยิ่งยิ่งขึ้นไป เพราะนี่คือ…


ความหวังที่ก้าวหน้า

ความหวังในการผลิตอาหารสะอาดเลี้ยงดูสังคม

ความหวังในการผลิตอาหารที่รับผิดชอบและมีความรักให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ความหวังในการสร้างความสัมพันธ์ทางการผลิตของมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

ความหวังในการจัดระบบการอยู่ร่วมใหม่ในสังคมอารยะของมวลมนุษย์

 

และเราขอประกาศไปสู่ผู้เอารัดเอาเปรียบที่กระทำต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน รวมทั้งผู้บงการให้คุณสมพร พัฒนภูมิ และเพื่อนของเราก่อนหน้าที่เสียชีวิตไปแล้ว จากการกระทำของพวกท่าน

 

พวกเราที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการกระทำของพวกทรพีเช่นพวกท่านๆทั้งหลายนั้น

 

ท่านพึงระวังไว้เถิดว่า “การตายสิบเกิดแสนนั้น” มันยังเป็นอุปมาที่สอดคล้องกับความเป็นจริงอยู่เสมอ สักวันหนึ่ง “น้ำจะท่วมฟ้า ปลาจะกินดาว” อย่างแน่นอน

 

หยุดเสียเถิด…พวกเอารัดเอาเปรียบ กดขี่สังคมคนจน เรามาร่วมพูดคุยปรึกษากันและกันเยี่ยงมนุษย์ได้หรือไม่ ขอเรียกร้องไปสู่ผู้รับใช้ พวกมือปืนทั้งหลายว่าพวกท่านก็คือทายาทของผู้ยากจนทั้งหลายนั่นเอง

ทำไมท่านไม่เปลี่ยนเส้นทางปืนเสียเล่า ทำไมท่านจึงทำลายบรรพบุรุษของท่าน

ทำไมท่านทำลายผู้มุ่งสร้าง สรรพสิ่งและอาหารเพื่อเลี้ยงดูพวกท่าน

จงหยุดพฤติกรรมเหล่านี้เสียเถิด!

 

เรามาร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ทางการผลิตเสียใหม่ได้หรือไม่?

 

ขอให้จิตใจกล้าหาญต่อสู้เด็ดเดี่ยวมั่นคงของคุณสมพรและวิญญาณสูงส่งของท่านจงกระจายเข้าสู่ในหมู่เพื่อนพ้องทั้งปวง ขอจงมีเจตจำนงให้กล้าแกร่งเยี่ยงท่าน จนกว่าภารกิจอันก้าวหน้านี้จักบรรลุ

 

ด้วยจิตคารวะ คณสมพร พัฒนภูมิ

 

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.)

มกราคม 2553

 

 

 

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
โดย...สุภาภรณ์ วรพรพรรณ, ระวี ถาวร และ สมศักดิ์ สุขวงศ์   เส้นทางเข้าสู่บ้านตระ 29 มกราคม 2553 เดือนเต็มดวงในค่ำคืนนี้ อยู่ใกล้แทบจะเอามือคว้าได้ ฉันเข้านอนก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เมื่อหัวค่ำพี่น้องชาวบ้านตระได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและบรรพบุรุษของพวกเขา ฉันหลับตานอนเท่าไรก็ไม่ค่อยจะหลับ ด้วยจิตใจจินตนาการถึงหนังสือของบริก แฮม ยัง ที่เขียนเรื่องหมู่บ้านโบราณที่โลกลืมของอินเดียแดงเผ่าอินคาท่ามกลางป่าดงดิบบนเทือกเขาแอนดีส (The Lost City of Incas)
คนไร้ที่ดิน
กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คนไร้ที่ดิน
อารีวรรณ คูสันเทียะ กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นไร้พรมแดน     นับตั้งแต่เกิดวิกฤติด้านการเงิน ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไป เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวของสื่อต่างๆที่ออกมา เช่น “เกาหลีใต้กำลังเช่าที่ดินครึ่งหนึ่งของมาดากัสการ์ เพื่อผลิตอาหาร” (อันที่จริงแล้วไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นของบริษัทแดวู) ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากมักจะให้ความสนใจว่าผู้ที่มีบทบาทนำในการกว้านซื้อที่ดินเพื่อผลิตอาหารในระดับโลกนั้นเป็นประเทศ หรือรัฐบาลไหน ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การเกี่ยวพันของรัฐบาล เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน หรือเกาหลีใต้ แท้ที่จริงในขณะที่รัฐบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการเจรจา…
คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา     ประเด็น “โลกร้อน” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใกล้ตัว ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส กล่าวกันว่ามนุษย์ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ที่แน่ๆคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และไม่มีทางเลือกใดๆต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ และประเด็นนี้เองที่ “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม” มีข้อเสนอต่อการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการประชุมที่กรุงเทพฯ และที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า
คนไร้ที่ดิน
รุ่งเช้าสายหมอกยังบ่จาง เด็กๆ จับกลุ่มเดินไปโรงเรียน หนุ่มสาวแบกตะกร้าหนักอึ้งกลับจากไร่ ผักกาดเขียวถูกเก็บมาสุมไว้ท้ายกระบะรถเตรียมส่งขายในเมือง ชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านหนองเต่ายังดำเนินเช่นทุกวัน  เพียงแต่วันนี้เป็นวันพิเศษสำหรับชาวบ้านหลายคน เพราะบ้านอยู่อู่นอนกำลังจะได้เอกสารสิทธิ์หลังรอคอยมาเกือบ  30 ปี
คนไร้ที่ดิน
นักข่าวพลเมือง เทือกเขาบรรทัดหวัดดีจ้า, เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างพัทลุงและนครศรีธรรมราช บ้านไร่เหนือก่อตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จากหลักฐานบ่งชี้คือ เครื่องใช้โบราณที่เป็นกระเบื้องและดินเผา โครงกระดูกที่ขุดพบ นอกจากนั้นยังมีสวนผลไม้โบราณ เช่น ทุเรียน มัดคุด มะปริง มะปราง ลางสาด เป็นต้น
คนไร้ที่ดิน
หวัดดีจ้า, 2-3 วันที่ผ่านมาได้พาทีมงานที่จะมาช่วยทำสารคดี หนังสั้น และพ็อคเก็ตบุค  ไปตะลอนทัวร์ชิมผลไม้ ในพื้นที่ทำงาน 3 หมู่บ้านของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด เลยเก็บมุมงามๆ และอิ่มอกอิ่มใจมาฝาก ตั้งใจยั่วน้ำลายทุกคน อยากชวนไปเก็บผลไม้กินด้วยตัวเองจ้า
คนไร้ที่ดิน
การที่สังคมถูกปล่อยปละละเลยให้ดำเนินไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยคาดการณ์ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับสังคม ผู้คนมีอาชีพที่หลากหลายมีรายได้สูง ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างสังคม สร้างชาติ และหล่อเลี้ยงระบบให้เจริญรุ่งเรืองยาวนาน โดยเน้นการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อสร้างรายได้และชี้วัดความสุขความเข็มแข้งมั่นคงของสังคมด้วยเงินตราและมูลค่าสมมุติต่างๆ
คนไร้ที่ดิน
คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินฯ ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร  ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ  เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้  หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ 
คนไร้ที่ดิน
  นรัญกร กลวัชรกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย…
คนไร้ที่ดิน
โดย...ลูกสาวชาวเล  ถ้าเอ่ยถึงที่ดินริมทะเลแล้วหลายคนคงอยากมีและอยากได้ไว้ครอบครองสักผืนหนึ่ง พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หมู่บ้านริมทะเลหรือบนเกาะแก่งน้อยใหญ่ของไทยที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้านถูกขายออกไปสู่มือนายทุนจำนวนมาก และส่วนใหญ่นายหน้าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมักจะเป็นคนในพื้นที่นั้นเอง ถ้าเราลองสอบถามผู้คนในหมู่บ้านริมทะเลว่ายังเหลือที่ดินเป็นกรรมสิทธิครอบครองอยู่อีกกี่ครอบครัว คำตอบที่ได้ทำให้รู้สึกหนักใจได้มากทีเดียว ส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ เท่านั้นเอง ที่พอมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่พื้นที่ปลูกบ้าน…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กองเลขาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) นโยบายแจก 2 พันบาทเป็นมาตรการที่เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศของรัฐบาล ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หลังการประชุมได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับแจก 2 พันบาท ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 กลุ่มคนนี้ คือ กลุ่มแรก คือ ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมปกติ หรือออกจากงานแต่ยังจ่ายสมทบต่อเนื่องด้วยตัวเอง ตามมาตรา 39 มีประมาณ 8 ล้านคน กลุ่มที่สอง คือ ผู้ที่เป็นบุคลากรของภาครัฐ…