Skip to main content

อารีวรรณ คูสันเทียะ
กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นไร้พรมแดน

 

 

นับตั้งแต่เกิดวิกฤติด้านการเงิน ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไป เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวของสื่อต่างๆที่ออกมา เช่น “เกาหลีใต้กำลังเช่าที่ดินครึ่งหนึ่งของมาดากัสการ์ เพื่อผลิตอาหาร” (อันที่จริงแล้วไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นของบริษัทแดวู) ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากมักจะให้ความสนใจว่าผู้ที่มีบทบาทนำในการกว้านซื้อที่ดินเพื่อผลิตอาหารในระดับโลกนั้นเป็นประเทศ หรือรัฐบาลไหน ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การเกี่ยวพันของรัฐบาล เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน หรือเกาหลีใต้ แท้ที่จริงในขณะที่รัฐบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการเจรจา แต่ผลที่สุดแล้วบริษัทธุรกิจ คือผู้ที่เข้าควบคุมที่ดินเหล่านั้น และผลประโยชน์ของบริษัทก็มีเป้าหมายที่แตกต่างไปจากผลประโยชน์ของรัฐบาล ถ้ามองให้ลึกซึ้งกันจริงๆเราจะพบว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังที่แท้จริงของการเจรจาเหล่านี้

 

นี่กำลังเป็นการริเริ่มใหม่ของภาคธุรกิจ”

มีหลายตัวอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้แก่ ในรายงานของ สถาบันวิจัยนโยบายอาหารนานาชาติ International Food Policy Research Institute (IFPRI) เมื่อเดือนเมษายน 2552 แสดงให้เห็นถึงขนาดของการกว้านซื้อที่ดินของนักลงทุนต่างชาติในแอฟริกา ตั้งแต่ปี 2549 บริษัท Lonrho ซึ่งมีฐานในอังกฤษ  เช่าที่ดิน 25,000 เฮคเตอร์ หรือ 156,250 ไร่ เพื่อปลูกข้าวในอังโกลา จีนซื้อหาที่ดิน 2.8 ล้านเฮคเตอร์ หรือ 17.5 ล้านไร่เพื่อปลูกพืชน้ำมันสำหรับผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในคองโก ควาตาร์เช่าที่ดิน 20,000 เฮคเตอร์ หรือ 125,000 ไร่ เพื่อปลูกผักและผลไม้ในเคนยา โดยแลกกับการสนับสนุนโครงการสร้างท่าเรือมูลค่า2 .3 พันล้านเหรียญ


เฉพาะในเอธิโอเปีย อินเดียลงทุนไปถึงสี่พันล้านเหรียญ ทางด้านเกษตร อันรวมถึงนิคมปลูกดอกไม้ และ อ้อย ประเทศยูเออี ซื้อที่ดิน 5,000 เฮคเตอร์ หรือ 31,250 ไร่ สำหรับธุรกิจร่วมทุนเพื่อปลูกชา กับบริษัทที่ทำธุรกิจเกษตรของแอฟริกาตะวันออก บริษัทของเยอรมัน ซื้อที่ดิน 13,000 เฮคเตอร์ หรือ 81,250 ไร่สำหรับปลูกพืชในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ บริษัทของอังกฤษปลูกสบู่ดำสำหรับเป็นพืชพลังงาน นักลงทุนจากซาอุฯ เช่าที่ดินโดยแลกเปลี่ยนกับการลงทุนหนึ่งล้านเหรียญในประเทศนั้น


ในมาดาคัสคาร์ บริษัทแดวูของเกาหลีใต้ ต้องการที่ดิน 1.3 ล้านเฮคเตอร์ หรือ 8.1 ล้านไร่(ขนาดเท่าประเทศเบลเยียมทั้งประเทศ)เพื่อปลูกข้าวโพด การดำเนินการดังกล่าวของแดวู เกิดขึ้นภายหลังคำเตือนของ องค์การอาหารและเกษตร ว่า “...ความพยายามที่จะครอบครองที่ดินการเกษตร ของประเทศต่างๆ (ซึ่งหมายถึงประเทศเช่น จีน มาเลเซีย และประเทศตะวันออกกลาง เป็นต้น) อาจจะกลายเป็นระบบอาณานิคมสมัยใหม่..”  โครงการของแดวูต้องล้มเลิกไป เมื่อผู้นำคนใหม่ของมาดาคัสการ์ยกเลิกข้อตกลงดังกล่าว  ในไนจีเรีย บริษัทของอังกฤษ  Trans4mation Agric-tech ครอบครองที่ดิน 10,000 เฮคเตอร์ หรือ 62,500 ไร่สำหรับการเกษตร ขณะที่ บริษัทจีน ครอบครองที่ดิน 10,000 เฮคเตอร์ สำหรับปลูกข้าว


ซูดาน ก็เป็นเป้าหมายของกลุ่มล่าที่ดินเหล่านี้เช่นกัน อียิปต์ครอบครองที่ดินเพื่อปลูกข้าวสาลี สองล้านตันต่อปี จอร์แดนครอบครองที่ดิน 25,000 เฮคเตอร์ หรือ 156,250 ไร่เพื่อเลี้ยงสัตว์ และพืชอาหาร คูเวตสามารถสร้างพันธมิตรระดับ “บิ๊ก” ในประเทศนี้ ควาตาร์จัดตั้งบริษัทโฮลดิงก์เพื่อลงทุนด้านการเกษตร ซาอุดิอาระเบียเช่าที่ 10,000 เฮคเตอร์ หรือ 62,500 ไร่เพื่อปลูกข้าวโพด ผัก และ ปศุสัตว์ เกาหลีใต้ ถือครองที่ดิน 690,000 เฮคเตอร์ หรือ 4.3 ล้านไร่เพื่อปลูกข้าวสาลี ขณะที่ยูเออีลงทุนในที่ดิน 378,000 เฮคเตอร์ หรือ 2.3 ล้านไร่เพื่อปลูก ข้าวโพด ข้าวสาลี มัน และถั่ว

 

และเมื่อเร็วๆนี้ ในเดือนสิงหาคม 2552 รัฐบาลของเมอริเตียส เกาะหนึ่งที่อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ดำเนินการผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินระยะยาว จำนวน 20,000 เฮคตาร์ หรือประมาณ 125,000 ไร่ ในประเทศโมซัมบิก เพื่อผลิตข้าวส่งไปยังตลาดของประเทศเมอริเตียส

 

นี่คือการค้นหาแหล่งผลิตอาหารจากภายนอก คงไม่มีคำถามอะไรถ้านี่คือการดำเนินการของรัฐบาล ในฐานะประชาชนชาวมอริเตียส อาจคิดว่าพื้นที่การเกษตรเหล่านี้กำลังจะผลิตข้าวและส่งกลับไปยังบ้านเกิดของตนเอง แต่ไม่เป็นเช่นนั้น รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศ กลับแบ่งสัญญาเช่าที่ดินให้กับสองบริษัท บริษัทหนึ่งจากสิงคโปร์ (ซึ่งกำลังมีข้อกังวลว่ากำลังพัฒนาตลาดจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของตนเองในแอฟริกา) และอีกหนึ่งบริษัทจากสวาซีแลนด์ (ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ แต่กำลังดำเนินการผลิตพืชพลังงานในแอฟริกาตอนใต้ด้วยเช่นกัน)

 

ตัวอย่างเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า เราไม่ควรมืดบอดว่านี่เป็นเพียงการดำเนินการโดยรัฐบาลเท่านั้น เพราะท้ายที่สุด สิ่งที่บริษัทต้องการคือความมั่นคง และเขามีกฎหมาย เงินทุน และที่ปรึกษาด้านการเมืองเป็นเครื่องมือ

 

การเริ่มต้นผลักดันโดยรัฐบาลเพื่อมองหาความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหารราคาถูก ตอนนี้ได้กลายเป็นรูปแบบการงอกเงยทางธุรกิจและภาคธุรกิจจำนวนมากกำลังโดดลงมาเล่นเรื่องการลงทุนด้านการเกษตรเพื่อให้เกิดความหลากหลายในกิจการของตนเอง”

 

ยิ่งไปกว่านั้นได้มีการหันเหทิศทางของภาคธุรกิจเพื่อกว้านซื้อและครอบครองพื้นที่การเกษตรของโลก โดยภาคธุรกิจดั้งเดิมหรือบริษัทการเกษตรขนาดใหญ่ เช่น ยูนิลีเวอร์ หรือ โดล ภายใต้รูปแบบเกษตรพันธะสัญญาล่วงหน้า และข้ออ้างทางโวหารที่ว่า “การลงทุนภาคเกษตร” ด้วยมนตราของวิชาการด้านการพัฒนาในวันนี้ จึงไม่ควรเข้าใจแบบอัตโนมัติไปว่ามันหมายถึงกองทุนเพื่อสาธารณะ แต่มันกำลังกลายเป็นธุรกิจของธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ

 

บทบาทของกองทุนด้านการเงิน

 

เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งว่าใครคือนักธุรกิจหรือนักลงทุนตัวจริงที่กำลังครอบครองพื้นที่การเกษตรทั่วโลกเพื่อผลิตอาหารหลักต่างๆ จากการรวบรวมข้อมูล บทบาทการลงทุนทางการเงิน กองทุนและบริษัท มีข้อค้นพบที่มีนัยสำคัญว่า มีมากกว่า 120 รูปแบบการลงทุน ส่วนใหญ่แล้วก่อตั้งขึ้นใหม่ และกำลังเข้ายึดพื้นที่การเกษตรทั่วโลก ภายหลังภาวะการณ์ความตื่นตระหนักด้านวิกฤติการเงิน บริษัทเหล่านี้มีผลประโยชน์เพิ่มขึ้นนับหมื่นล้านเหรียญ ตารางไม่ได้แสดงรายละเอียดมากนัก อย่างไรก็ตามก็ได้เห็นตัวอย่างประเภทของการลงทุนหรือเครื่องมือที่ใช้ และจุดมุ่งหมายในการลงทุนระดับต่างๆ (ดูข้อมูลตารางนี้ได้ที่ http://www.grain.org/m/?id=266)

 

การลงทุนภาคเอกชนไม่ได้หันกลับมาลงทุนด้านการเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาความหิวโหยหรือขจัดความยากจนของภาคชนบทให้กับโลก พวกเขาต้องการผลประโยชน์ ชัดเจนและตรงๆเลย และโลกทุกวันนี้ได้เปลี่ยนไปสู่วิถีที่ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำเงินจำนวนมหาศาลจากพื้นที่การเกษตร จากมุมมองด้านการลงทุน ความต้องการอาหารของโลกจำเป็นต้องมีการผลิตที่มั่นคง รักษาระดับราคาอาหารไว้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผลตอบแทนการลงทุนจะคืนให้กับผู้ที่ควบคุมฐานทรัพยากรการผลิตที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่ดินและน้ำ ปัจจุบันอยู่ในภาวะที่ตรึงเครียดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ภายหลังภาวะวิกฤติการเงิน มีการกล่าวถึง ทางเลือกการลงทุน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน หรือ พื้นที่การเกษตร ซึ่งกำลังแย่งชิงกันอย่างดุเดือด ลักษณะของพื้นที่การเกษตรโดยตัวของมันเองแล้วไม่สามารถสร้างให้เกิดการขยายตัวได้มากนัก เนื่องจากมูลค่าของมันไม่ได้ขึ้นและลงได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับการซื้อขายทองและการแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่การลงทุนด้านนี้จะทำให้บริษัทของพวกเขาสามารถมีรูปแบบความสำเร็จที่หลากหลายขึ้น

 

แต่นี่ไม่เพียงเฉพาะที่ดินเท่านั้น แต่นี่คือการผลิต นักลงทุนมีความมั่นใจว่าเขาสามารถไปแอฟริกา เอเชีย ลาตินอเมริกา และอดีตสหภาพโซเวียตเพื่อร่วมทุนทางด้านเทคโนโลยี เงินทุน และทักษะการจัดการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปลี่ยนให้พื้นที่การเกษตรที่มีศักยภาพต่ำไปสู่กิจการด้านธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ ในหลายกรณี เป้าหมายของรายได้จาการลงทุนจะมีทั้งจากผลผลิตและจากที่ดิน โดยคาดหวังว่ามูลค่าจะเพิ่มขึ้น นี่คือการปฏิวัติเขียวในแบบฉบับของบริษัทอย่างแท้จริง และเป็นความทะเยอทะยานขนาดใหญ่ “นายของฉันต้องการสร้างธุรกิจฟาร์มแห่งแรกของเอกซอลโมบิล” นี่คือคำกล่าวของโจเซฟ คาร์วิน หุ้นส่วนของอัลติมา กองทุนการเกษตรในโลกเดียว ที่ได้รวบรวมการลงทุนการเกษตรข้ามชาติ ในนิวยอร์คเมื่อเดือน มิ.. 2552 จากนั้นรัฐบาล ธนาคารโลก และยูเอ็นต้องการจะมีส่วนร่วมกับเรื่องนี้

 

จากรวยไปสู่รวยมากขึ้น

 

ฉันเชื่อมั่นว่าพื้นที่การเกษตรคือการลงทุนที่ดีที่สุดในเวลานี้ ในที่สุดจากการพัฒนาที่ดินใหม่ เทคโนโลยีหรือทั้งสองอย่างควบคู่กันไป แน่นอนว่าราคาอาหารจะสูงขึ้นเพียงพอที่อุปทานของตลาดจะอยู่ในระดับเดียวกับอุปสงค์หรือความต้องการของตลาดพอดี และจากนั้นตลาดขาขึ้นจะสิ้นสุดลง แต่นั่นยังอีกยาวกว่าจะมาถึง”

 

วันนี้การร่วมทุนกับของเจ้าของที่ดินรายใหม่เป็นดุลพินิจเฉพาะของผู้จัดการกองทุน โดยเฉพาะกองทุนที่ดำเนินกิจการด้านที่ดินการเกษตร นักลงทุนรายใหญ่ กองทุนบำนาญ ธนาคารขนาดใหญ่ และอื่นๆที่คล้ายกัน การขยับเพิ่มขึ้นของปริมาณการลงทุนค่อนข้างสังเกตเห็นได้ชัด ในช่วงที่คนตื่นตระหนกจากวิกฤติด้านการเงิน เราสามารถเห็นได้ว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถูกใช้ไปกับการกว้านซื้อที่ดินทางการเกษตรและการเพิ่มขึ้นของคนที่รวยขึ้นอย่างกระทันหัน และบางส่วนของเม็ดเงินนี้เป็นเงินออมของครูปลดเกษียณที่หามาได้อย่างยากลำบาก ลูกจ้างทางสังคม และคนงานในโรงงานจากประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ นั่นหมายความว่าประชาชนธรรมดามีส่วนได้ส่วนเสียกับกระแสที่เกิดขึ้นนี้ด้วย ในขณะที่พวกเขาอาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

 

กล่าวได้ว่า อิทธิพลใหม่ในการผลักดันกับผลประโยชน์ของบริษัทมาด้วยกัน โดยต้องการเงื่อนไขที่สนับสนุน เอื้ออำนวยและปกป้องการลงทุนในที่ดินทางการเกษตรของพวกเขา พวกเขาต้องการลดอุปสรรคด้านกฎหมายการถือครองที่ดินของต่างชาติ และขจัดประเทศคู่ค้าด้านการส่งออกอาหารออกไป และนำข้อตกลงเรื่องจีเอ็มโอเข้ามาแทน เรื่องนี้เราแน่ใจได้ว่าเขากำลังทำงานกับรัฐบาลของเขา ธนาคารด้านการพัฒนาต่างๆ เพื่อให้เป้าหมายเรื่องข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ ข้อตกลงด้านการลงทุนสองฝ่าย และการบริจาคโดยมีเงื่อนไขร่วมอยู่ด้วย

 

จริงๆแล้ว การกว้านซื้อที่ดินข้ามชาติ เพิ่มมากขึ้นจากวาระของรัฐบาลระหว่างซีกโลกเหนือและใต้ ความกังวลของเขาได้สนับสนุนให้เกิดการแผ่ขยายธุรกิจของบรรษัทด้านการเกษตรและอาหารข้ามชาติ โดยคาดหวังว่านี่จะเป็นทางออกต่อวิกฤติอาหาร โครงการและความร่วมมือในทุกวันนี้จุดมุ่งหมายทั้งหมดก็เพื่อให้เกิดโครงสร้าง และการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหาร

 

จากพื้นฐานของเงินทุน และการผลิตเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่เพื่อตลาดส่งออก อาจดูเหมือนว่านี่เป็นหมวกใบเก่า แต่หลายเรื่องเป็นสิ่งใหม่และแตกต่าง เช่น อย่างแรก ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในรูปแบบนี้จะถูกผูกมัดไว้ในข้อตกลงด้วย (ในขณะที่การปฏิวัติเขียวไม่ได้ทำแบบนี้) อย่างที่สอง รูปแบบการเงินแบบใหม่ ก็เป็นพื้นฐานสำคัญ อย่างที่สาม การเพิ่มขึ้นของตัวละครสำคัญของบรรษัทและพี่เบิ้มจากโลกใต้ ก็มีบทบาทสำคัญด้วย บรรษัทข้ามชาติของสหรัฐอเมริกาและยุโรป เช่น คาร์กิล ไทสัน ดาโนน และเนสเล่ย์ ที่เคยเป็นไก่นอนบ่อน ตอนนี้กำลังหดปีก เนื่องจากการรวมตัวกันของบริษัทของโลกใต้ เช่น คอฟโค(จีน) โอแลม(สิงคโปร์) สาโวลา (ซาอุฯ) อัลมาเรีย(ซาอุฯ) และเจบีเอส (บราซิล) รายงานเมื่อเร็วๆนี้ของยูเอ็นเรื่องการค้าและการพัฒนาระบุว่า 40 % ของการผนึกกำลังและการครอบครองพื้นที่การผลิตด้านการเกษตรในปีที่ผ่านมาเป็นของบริษัทในซีกโลกโต้กับโลกใต้ พูดอย่างตรงๆก็คือ อนาคตของอุตสาหกรรมด้านอาหารในแอฟริกาจะถูกขับเคลื่อนโดยนักลงทุนของบราซิล เชื้อชาติจีน และอ่าวอาหรับ

 

การส่งออกอาหารไม่มั่นคงอีกต่อไป

 

การกว้านซื้อที่ดินในวันนี้ได้ทำให้ภาคธุรกิจมีบทบาทมากขึ้น ชัดเจนว่าการลงทุนด้านการเกษตรไม่ใช่สิ่งที่จะนำอธิปไตยทางอาหารมาสู่เรา ความหิวโหยเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่ประชากรก็เพิ่มขึ้น และมันไม่ได้ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารขึ้นด้วย แกนนำเกษตรกรผู้หนึ่งในเบนินตระหนักถึงการแย่งชิงที่ดินเหล่านี้ว่า มันคือตัวการสำคัญที่ทำให้การส่งออกอาหารไม่มีความมั่นคง มีคำตอบที่ประชาชนบางคนอาจต้องการ จะเลือกอะไร ข้าวโพด หรือเงิน ซึ่งต้องแลกด้วยการเอาทรัพยากรอาหารออกไปจากพวกเขา เขาพูดถูก ในกรณีส่วนมาก นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการทำเกษตร ดังเช่นที่เครือข่ายชาวนามาสิปัก ที่ฟิลิปปินส์ ตระหนักแล้วว่า “พวกเขาแย่งเอาสิ่งมีชีวิตและธาตุอาหารไปจากดิน จากการทำเกษตรเข้มข้น ตักตวงเอาไปได้ไม่กี่ปี และทิ้งชุมชนท้องถิ่นไว้กับทะเลทราย”

 

เมื่อพูดถึงคลื่นของเงินที่พัดเข้ามาเพื่อเป้าหมายที่จะแก้ไขวิกฤติความอดอยากของโลก เราได้บทเรียนว่านี่คือเล่ห์เหลี่ยมและอันตรายอย่างแท้จริง จากสำนักงานใหญ่ของยูเอ็นที่นิวยอร์คถึงระเบียงตึกของกองทุนสหภาพยุโรป ทุกคนกำลังพูดว่านี่คือการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นธรรม ทั้งหมดที่เราต้องทำคือ คิดไปข้างหน้า ยอมรับตัวแปรเสริมที่มีเหตุผลและมีวินัยในข้อตกลงในการกว้านซื้อที่ดินนี้ จากนั้นพวกเขาจะสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ไม่ต้องหวาดกลัวการลงทุน ธนาคารโลกต้องการริเริ่มสำนักงานที่ดูแลด้านข้อตกลงและการตรวจสอบขึ้นมาเฉพาะ เพื่อให้เกิดการกว้านซื้อที่ดินอย่างยั่งยืน โดยให้เป็นในเส้นทางเดียวกับเรื่องปาล์มน้ำมัน ป่าไม้ หรือประเด็นอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ก่อนที่จะป่าวประกาศว่านี่คือการแลกเปลี่ยนที่เป็นธรรม ต้องฉลาดกว่าที่จะถามว่ากับใคร ใครคือนักลงทุน อะไรคือผลประโยชน์ที่เขาจะได้ เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อ เพราะมีเงินมากเหลือเกินในเส้นทางนี้ มีประสบการณ์ทางสังคมมากเหลือเกินในผลกระทบที่เคยได้รับ จากการสัมปทานที่ดินขนาดใหญ่และหนีที่เกิดขึ้นในอดีต ทั้งจากเหมืองแร่ หรือ แปลงเกษตรขนาดใหญ่ ในขณะที่อุตสาหกรรมการเกษตรและการเงินเหล่านี้ก็ยังมีบทบาทหลักจนถึงทุกวันนี้ การลงทุนต้องจ่ายอย่างเป็นธรรมอย่างแท้จริง เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่ารัฐบาลหรือองค์กรระหว่างประเทศจะสามารถจัดการให้พวกเขารับผิดชอบหนี้เหล่านี้ได้

 

การสนับสนุนให้เกิดลงทุนด้านที่ดินทางการเกษตรไม่ใช่การเริ่มต้นที่ถูกต้อง แต่ควรสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยเพื่อนำไปสู่การสร้างอธิปไตยทางอาหารที่แท้จริง มันคือเป้าหมายสองขั้วที่แตกต่างกัน และไม่ควรทำผิดพลาดโดยการขจัดขั้วใดขั้วหนึ่งออกไป สิ่งสำคัญคือการมองอย่างลึกซึ้งว่าใครคือนักลงทุน และอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการอย่างแท้จริง และสิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การค้นหาทางออกต่อวิกฤติอาหารบนจุดยืนพื้นฐานที่แท้จริง

 

อ้างอิง

  1. บทความเรื่อง The new farm owners : Corporate investors lead the rush for control over overseas farmland , GRAIN, October 2009.

  2. บทความเรื่อง The food rush: Rising demand in China and west sparks African land grab , Guardian.co.uk, July 2009.

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
โดย...สุภาภรณ์ วรพรพรรณ, ระวี ถาวร และ สมศักดิ์ สุขวงศ์   เส้นทางเข้าสู่บ้านตระ 29 มกราคม 2553 เดือนเต็มดวงในค่ำคืนนี้ อยู่ใกล้แทบจะเอามือคว้าได้ ฉันเข้านอนก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เมื่อหัวค่ำพี่น้องชาวบ้านตระได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและบรรพบุรุษของพวกเขา ฉันหลับตานอนเท่าไรก็ไม่ค่อยจะหลับ ด้วยจิตใจจินตนาการถึงหนังสือของบริก แฮม ยัง ที่เขียนเรื่องหมู่บ้านโบราณที่โลกลืมของอินเดียแดงเผ่าอินคาท่ามกลางป่าดงดิบบนเทือกเขาแอนดีส (The Lost City of Incas)
คนไร้ที่ดิน
กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คนไร้ที่ดิน
อารีวรรณ คูสันเทียะ กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นไร้พรมแดน     นับตั้งแต่เกิดวิกฤติด้านการเงิน ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไป เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวของสื่อต่างๆที่ออกมา เช่น “เกาหลีใต้กำลังเช่าที่ดินครึ่งหนึ่งของมาดากัสการ์ เพื่อผลิตอาหาร” (อันที่จริงแล้วไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นของบริษัทแดวู) ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากมักจะให้ความสนใจว่าผู้ที่มีบทบาทนำในการกว้านซื้อที่ดินเพื่อผลิตอาหารในระดับโลกนั้นเป็นประเทศ หรือรัฐบาลไหน ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การเกี่ยวพันของรัฐบาล เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน หรือเกาหลีใต้ แท้ที่จริงในขณะที่รัฐบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการเจรจา…
คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา     ประเด็น “โลกร้อน” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใกล้ตัว ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส กล่าวกันว่ามนุษย์ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ที่แน่ๆคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และไม่มีทางเลือกใดๆต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ และประเด็นนี้เองที่ “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม” มีข้อเสนอต่อการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการประชุมที่กรุงเทพฯ และที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า
คนไร้ที่ดิน
รุ่งเช้าสายหมอกยังบ่จาง เด็กๆ จับกลุ่มเดินไปโรงเรียน หนุ่มสาวแบกตะกร้าหนักอึ้งกลับจากไร่ ผักกาดเขียวถูกเก็บมาสุมไว้ท้ายกระบะรถเตรียมส่งขายในเมือง ชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านหนองเต่ายังดำเนินเช่นทุกวัน  เพียงแต่วันนี้เป็นวันพิเศษสำหรับชาวบ้านหลายคน เพราะบ้านอยู่อู่นอนกำลังจะได้เอกสารสิทธิ์หลังรอคอยมาเกือบ  30 ปี
คนไร้ที่ดิน
นักข่าวพลเมือง เทือกเขาบรรทัดหวัดดีจ้า, เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างพัทลุงและนครศรีธรรมราช บ้านไร่เหนือก่อตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จากหลักฐานบ่งชี้คือ เครื่องใช้โบราณที่เป็นกระเบื้องและดินเผา โครงกระดูกที่ขุดพบ นอกจากนั้นยังมีสวนผลไม้โบราณ เช่น ทุเรียน มัดคุด มะปริง มะปราง ลางสาด เป็นต้น
คนไร้ที่ดิน
หวัดดีจ้า, 2-3 วันที่ผ่านมาได้พาทีมงานที่จะมาช่วยทำสารคดี หนังสั้น และพ็อคเก็ตบุค  ไปตะลอนทัวร์ชิมผลไม้ ในพื้นที่ทำงาน 3 หมู่บ้านของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด เลยเก็บมุมงามๆ และอิ่มอกอิ่มใจมาฝาก ตั้งใจยั่วน้ำลายทุกคน อยากชวนไปเก็บผลไม้กินด้วยตัวเองจ้า
คนไร้ที่ดิน
การที่สังคมถูกปล่อยปละละเลยให้ดำเนินไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยคาดการณ์ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับสังคม ผู้คนมีอาชีพที่หลากหลายมีรายได้สูง ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างสังคม สร้างชาติ และหล่อเลี้ยงระบบให้เจริญรุ่งเรืองยาวนาน โดยเน้นการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อสร้างรายได้และชี้วัดความสุขความเข็มแข้งมั่นคงของสังคมด้วยเงินตราและมูลค่าสมมุติต่างๆ
คนไร้ที่ดิน
คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินฯ ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร  ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ  เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้  หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ 
คนไร้ที่ดิน
  นรัญกร กลวัชรกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย…
คนไร้ที่ดิน
โดย...ลูกสาวชาวเล  ถ้าเอ่ยถึงที่ดินริมทะเลแล้วหลายคนคงอยากมีและอยากได้ไว้ครอบครองสักผืนหนึ่ง พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หมู่บ้านริมทะเลหรือบนเกาะแก่งน้อยใหญ่ของไทยที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้านถูกขายออกไปสู่มือนายทุนจำนวนมาก และส่วนใหญ่นายหน้าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมักจะเป็นคนในพื้นที่นั้นเอง ถ้าเราลองสอบถามผู้คนในหมู่บ้านริมทะเลว่ายังเหลือที่ดินเป็นกรรมสิทธิครอบครองอยู่อีกกี่ครอบครัว คำตอบที่ได้ทำให้รู้สึกหนักใจได้มากทีเดียว ส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ เท่านั้นเอง ที่พอมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่พื้นที่ปลูกบ้าน…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กองเลขาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) นโยบายแจก 2 พันบาทเป็นมาตรการที่เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศของรัฐบาล ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หลังการประชุมได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับแจก 2 พันบาท ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 กลุ่มคนนี้ คือ กลุ่มแรก คือ ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมปกติ หรือออกจากงานแต่ยังจ่ายสมทบต่อเนื่องด้วยตัวเอง ตามมาตรา 39 มีประมาณ 8 ล้านคน กลุ่มที่สอง คือ ผู้ที่เป็นบุคลากรของภาครัฐ…