Skip to main content
 

นรัญกร กลวัชร

กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน


  


การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย ที่ยืดเยื้อและส่อเค้าความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น


เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ได้แถลงนโยบายเศรษฐกิจว่าด้วยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร ไว้อย่างน่าสนใจยิ่งว่า จะดำเนินการ "คุ้มครองและรักษาพื้นที่ ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตร ในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจน และชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร"

 

การแถลงนโยบายเช่นนี้ ชี้ให้เห็นว่าคณะทำงานของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ได้ทำการบ้านและศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินมาบ้างพอสมควร โดยเฉพาะการค้นหาทางออกในการแก้ไขปัญหาที่ดินของภาคประชาชนที่พยายามจะก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดกลไกหน่วยงานราชการ ซึ่งที่ผ่านมากว่า 30 ปี ได้ชี้ให้เห็นว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรได้ แนวนโยบายของคุณอภิสิทธิ์ จึงมีคำว่าโฉนดชุมชนและธนาคารที่ดิน ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ภาคประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้ริเริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว หากยังไม่มีการขยายผลหรือรับรองการดำเนินการจากภาครัฐอย่างเป็นทางการเท่านั้นเอง

 

คำว่าโฉนดชุมชน น่าจะเป็นคำใหม่ที่สังคมได้ยินมาไม่นาน เพื่อให้เกิดความกระจ่าง ผู้เขียนจึงขออนุญาตอธิบายถึงคำคำนี้ให้มากขึ้นสักนิด ตามความรู้ที่มีอย่างจำกัดของผู้เขียน โฉนดชุมชน เป็นเอกสารสิทธิ์ที่ดินชนิดหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาแม้ไม่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐ แต่เกษตรกรหลายกลุ่มได้ใช้เอกสารสิทธิ์โฉนดชุมชนนี้เป็นเครื่องมือในการรักษาและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมในชุมชนไว้ได้อย่างมีประสิทธิผล

 

ปัญหาการเปลี่ยนมือที่ดิน ปัญหาการสูญเสียที่ดินทำกิน และปัญหาการกว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรและขายต่อ เกิดขึ้นในชนบทไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี เกษตรกรหลายกลุ่มที่ผ่านประสบการณ์เหล่านี้มาแล้ว จึงสรุปบทเรียนร่วมกันว่า การมีเอกสารสิทธิ์แบบถือครองเดี่ยว หรือการมีเอกสารสิทธิ์ที่สามารถนำไปจำนองกับธนาคารได้ เป็นสาเหตุต้นๆ (รองมาจากปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ และปัญหาหนี้สิน) ที่ทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียที่ดิน ดังนั้นการที่จะคุ้มครองไม่ให้เกษตรกรสูญเสียที่ดินอีกครั้ง จึงต้องดำเนินการช่วยเหลือกันเป็นชุมชน โดยการร่วมมือกันก่อตั้งโฉนดชุมชนและธนาคารที่ดินนั่นเอง

 

กลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องสิทธิที่ดินและอยู่ในระหว่างการหาข้อสรุปร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ เช่น กลุ่มเกษตรกรที่ถูกหน่วยงานรัฐประกาศที่ป่าหรือที่รัฐอื่นๆ ทับที่ทำกิน กลุ่มเกษตรกรที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่เพิ่งหมดสัญญาเช่ากับบริษัทเอกชน หรือกลุ่มเกษตรกรที่เข้าไปจัดสรรที่ดินรกร้างและรอให้รัฐเข้าไปรับรองสิทธิ์ เกษตรกรเหล่านี้ได้ทำโครงการนำร่องและเลือกที่จะใช้โฉนดชุมชน และธนาคารที่ดินเป็นเครื่องมือในการทำงานและศึกษาเรียนรู้ร่วมกันของเกษตรกร ในการที่จะรักษาพื้นที่ทำกินของตนเองไว้ให้ได้ ท่ามกลางกระแสการโถมขาย และการเปลี่ยนมือที่ดินของเกษตรกรทั่วประเทศ

 

ผู้ที่ออกโฉนดชุมชนให้กับเกษตรกร คือองค์กรชุมชน หรือคณะกรรมการชุมชนที่ได้รับการยอมรับนับถือจากคนในชุมชน เกษตรกรผู้ที่เป็นสมาชิกยังคงสามารถทำกินและเลือกที่จะผลิตพืชผลการเกษตร หรือเลือกที่จะขายผลผลิตการเกษตรอย่างไรก็ได้ การตัดสินใจจะเป็นของครอบครัวเกษตรกร แต่เนื่องจากเอกสารสิทธิ์โฉนดชุมชน เป็นเอกสารสิทธิ์ที่พ่วงสิทธิที่ดินของเกษตรกรหลายคนไว้ในเอกสารสิทธิ์ใบเดียวกัน เกษตรกรแต่ละรายจึงไม่สามารถขายที่ดินของตนเองได้ รวมทั้งไม่สามารถนำที่ดินไปจำนองกับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐได้ ข้อดีคือป้องกันการเปลี่ยนมือหรือการสูญเสียที่ดินของเกษตรกร แต่ข้อเสียคือหากเกษตรกรมีความจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ จะนำที่ดินเหล่านี้ไปเป็นหลักทรัพย์ได้อย่างไร

 

ธนาคารที่ดินของชุมชนจะเข้ามาทำหน้าที่ลดจุดอ่อนตรงนี้ โดยการยินยอมให้เกษตรกรสมาชิกโฉนดชุมชนสามารถจำนองหรือขายที่ดินได้ แต่มีกฎเกณฑ์ว่าจะต้องจำนองหรือขายคืนให้กับธนาคารที่ดินเท่านั้น ในราคาที่เป็นธรรมที่ชุมชนร่วมกันกำหนด ไม่ใช่ราคาตลาดที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนกำหนด กฎเกณฑ์เช่นนี้ จึงเป็นการป้องกันไม่ให้ที่ดินตกไปอยู่ในมือของนักเก็งกำไรที่ดินจากภายนอก เพราะธนาคารที่ดินจะรับซื้อที่ดินไว้ และขายต่อให้กับเกษตรกรในชุมชนที่ยังมีที่ดินทำกินไม่เพียงพอ หรือรอขายคืนให้กับเกษตรกรรายเดิม นี่เป็นระบบการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรผู้ยากไร้ หรือมีที่ดินทำกินน้อย อย่างมีประสิทธิผลโดยมีชุมชนหรือองค์กรชุมชนเป็นผู้กำกับควบคุม

 

ที่มากไปกว่านั้น การทำงานร่วมกันของเกษตรกรในชุมชนและองค์กรชุมชนยังได้ส่งเสริมให้สมาชิกโฉนดชุมชนทำการผลิตในระบบที่ยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยผลิตอาหารเพื่อครอบครัวและชุมชน ผสมผสานไปกับการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อเป็นรายได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหนี้สินซ้ำซาก และต้องการขายที่ดินอีก สิทธิในที่ดินของเกษตรกรเหล่านี้จึงเป็นสิทธิด้านปัจเจก ที่สามารถทำการผลิต สืบทอดต่อลูกหลาน และขายต่อได้เมื่อมีความจำเป็น ควบคู่ไปกับสิทธิด้านชุมชน ที่จะเข้ามาควบคุมเพื่อให้ที่ดินถูกขายในราคาที่เป็นธรรม ถูกจัดสรรไปให้กับคนที่มีที่ดินน้อยและต้องการทำการเกษตรจริงๆ เช่นนี้ ที่ดินที่อยู่ในชุมชน ก็จะถูกคุ้มครองให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับคนในชุมชนในระยะยาว โดยไม่ต้องถูกเปลี่ยนมือ หรือเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ไปสู่อย่างอื่น

 

ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ใช่ชุมชนในความฝัน แต่ได้เริ่มต้นแล้วในชุมชนหลายแห่งในหลายภาค ชุมชนเหล่านี้ต้องการการสนับสนุนและขยายผลจากภาครัฐที่เป็นระบบ เท่าที่ผู้เขียนทราบที่มีการดำเนินการไปแล้วมีที่อำเภอแม่แฝก จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง และอาจจะมีอีกหลายที่ที่ผู้เขียนไม่ทราบก็เป็นได้

 

หากรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์มีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้กับคนจนตามที่กล่าวไว้จริง โฉนดชุมชนและธนาคารที่ดิน น่าจะเป็นนโยบายที่น่าสนใจ และมีประสิทธิภาพมากระดับหนึ่งที่จะป้องกันการสูญเสียที่ดินของเกษตรกร และคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมในสังคมไทยไว้ได้ ขอเพียงให้มีการสนับสนุนอย่างจริงจังเท่านั้นเอง

 

 

บล็อกของ คนไร้ที่ดิน

คนไร้ที่ดิน
โดย...สุภาภรณ์ วรพรพรรณ, ระวี ถาวร และ สมศักดิ์ สุขวงศ์   เส้นทางเข้าสู่บ้านตระ 29 มกราคม 2553 เดือนเต็มดวงในค่ำคืนนี้ อยู่ใกล้แทบจะเอามือคว้าได้ ฉันเข้านอนก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เมื่อหัวค่ำพี่น้องชาวบ้านตระได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและบรรพบุรุษของพวกเขา ฉันหลับตานอนเท่าไรก็ไม่ค่อยจะหลับ ด้วยจิตใจจินตนาการถึงหนังสือของบริก แฮม ยัง ที่เขียนเรื่องหมู่บ้านโบราณที่โลกลืมของอินเดียแดงเผ่าอินคาท่ามกลางป่าดงดิบบนเทือกเขาแอนดีส (The Lost City of Incas)
คนไร้ที่ดิน
กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย
คนไร้ที่ดิน
อารีวรรณ คูสันเทียะ กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นไร้พรมแดน     นับตั้งแต่เกิดวิกฤติด้านการเงิน ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไป เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวของสื่อต่างๆที่ออกมา เช่น “เกาหลีใต้กำลังเช่าที่ดินครึ่งหนึ่งของมาดากัสการ์ เพื่อผลิตอาหาร” (อันที่จริงแล้วไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นของบริษัทแดวู) ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากมักจะให้ความสนใจว่าผู้ที่มีบทบาทนำในการกว้านซื้อที่ดินเพื่อผลิตอาหารในระดับโลกนั้นเป็นประเทศ หรือรัฐบาลไหน ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การเกี่ยวพันของรัฐบาล เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน หรือเกาหลีใต้ แท้ที่จริงในขณะที่รัฐบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการเจรจา…
คนไร้ที่ดิน
ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา     ประเด็น “โลกร้อน” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใกล้ตัว ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส กล่าวกันว่ามนุษย์ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ที่แน่ๆคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และไม่มีทางเลือกใดๆต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ และประเด็นนี้เองที่ “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม” มีข้อเสนอต่อการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการประชุมที่กรุงเทพฯ และที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า
คนไร้ที่ดิน
รุ่งเช้าสายหมอกยังบ่จาง เด็กๆ จับกลุ่มเดินไปโรงเรียน หนุ่มสาวแบกตะกร้าหนักอึ้งกลับจากไร่ ผักกาดเขียวถูกเก็บมาสุมไว้ท้ายกระบะรถเตรียมส่งขายในเมือง ชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านหนองเต่ายังดำเนินเช่นทุกวัน  เพียงแต่วันนี้เป็นวันพิเศษสำหรับชาวบ้านหลายคน เพราะบ้านอยู่อู่นอนกำลังจะได้เอกสารสิทธิ์หลังรอคอยมาเกือบ  30 ปี
คนไร้ที่ดิน
นักข่าวพลเมือง เทือกเขาบรรทัดหวัดดีจ้า, เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างพัทลุงและนครศรีธรรมราช บ้านไร่เหนือก่อตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จากหลักฐานบ่งชี้คือ เครื่องใช้โบราณที่เป็นกระเบื้องและดินเผา โครงกระดูกที่ขุดพบ นอกจากนั้นยังมีสวนผลไม้โบราณ เช่น ทุเรียน มัดคุด มะปริง มะปราง ลางสาด เป็นต้น
คนไร้ที่ดิน
หวัดดีจ้า, 2-3 วันที่ผ่านมาได้พาทีมงานที่จะมาช่วยทำสารคดี หนังสั้น และพ็อคเก็ตบุค  ไปตะลอนทัวร์ชิมผลไม้ ในพื้นที่ทำงาน 3 หมู่บ้านของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด เลยเก็บมุมงามๆ และอิ่มอกอิ่มใจมาฝาก ตั้งใจยั่วน้ำลายทุกคน อยากชวนไปเก็บผลไม้กินด้วยตัวเองจ้า
คนไร้ที่ดิน
การที่สังคมถูกปล่อยปละละเลยให้ดำเนินไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยคาดการณ์ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับสังคม ผู้คนมีอาชีพที่หลากหลายมีรายได้สูง ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างสังคม สร้างชาติ และหล่อเลี้ยงระบบให้เจริญรุ่งเรืองยาวนาน โดยเน้นการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อสร้างรายได้และชี้วัดความสุขความเข็มแข้งมั่นคงของสังคมด้วยเงินตราและมูลค่าสมมุติต่างๆ
คนไร้ที่ดิน
คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินฯ ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร  ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ  เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้  หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ 
คนไร้ที่ดิน
  นรัญกร กลวัชรกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน  การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย…
คนไร้ที่ดิน
โดย...ลูกสาวชาวเล  ถ้าเอ่ยถึงที่ดินริมทะเลแล้วหลายคนคงอยากมีและอยากได้ไว้ครอบครองสักผืนหนึ่ง พื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หมู่บ้านริมทะเลหรือบนเกาะแก่งน้อยใหญ่ของไทยที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวประมงพื้นบ้านถูกขายออกไปสู่มือนายทุนจำนวนมาก และส่วนใหญ่นายหน้าก็ไม่ใช่ใครที่ไหนมักจะเป็นคนในพื้นที่นั้นเอง ถ้าเราลองสอบถามผู้คนในหมู่บ้านริมทะเลว่ายังเหลือที่ดินเป็นกรรมสิทธิครอบครองอยู่อีกกี่ครอบครัว คำตอบที่ได้ทำให้รู้สึกหนักใจได้มากทีเดียว ส่วนใหญ่เหลืออยู่เพียงร้อยละ ๒๐ - ๓๐ เท่านั้นเอง ที่พอมีเหลืออยู่ก็เพียงแค่พื้นที่ปลูกบ้าน…
คนไร้ที่ดิน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ กองเลขาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย(คปท.) นโยบายแจก 2 พันบาทเป็นมาตรการที่เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศของรัฐบาล ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หลังการประชุมได้ข้อสรุปว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับแจก 2 พันบาท ต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 กลุ่มคนนี้ คือ กลุ่มแรก คือ ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งหมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมปกติ หรือออกจากงานแต่ยังจ่ายสมทบต่อเนื่องด้วยตัวเอง ตามมาตรา 39 มีประมาณ 8 ล้านคน กลุ่มที่สอง คือ ผู้ที่เป็นบุคลากรของภาครัฐ…