Skip to main content

บทความที่แล้วพยายามจะให้ความหมายของ “กวีเกรียน” ว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วเมื่อลองมาวิเคราะห์ พิจารณา สามารถสรุปรวบยอดได้ว่า กวีเกรียน นั้นเดินทางล้าหลัง อยู่ถึง 3 ก้าวด้วยกัน


ก้าวที่ 1 คือ ขาดการทบทวนอดีต ไม่สามารถนำอดีตมาเป็นบทเรียนได้ ไม่สามารถสกัดเก็บซับเอาข้อดี ข้อเสียในอดีตมาเป็นฐานคิดในการวิเคราะห์สังคมการเมือง


จะว่าไปบทเรียนในอดีตของสังคมไทยก็มีให้ศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง 2475, การต่อสู้ของเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการในอดีตหรือกระทั่งการต่อสู้อยู่ในป่าของพคท.ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเนื้อหาการต่อสู้อันเข้มข้นที่เป็นขุมทรัพย์ของการเรียนรู้และแรงดลใจ แต่กวีกลับเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้แบบผิด ๆ


ก้าวที่ 2 คือ ตามสังคมไม่ทัน กวีอาจมัวเมาหมกมุ่นอยู่กับจิตวิญญาณหรืออะไรที่สูงส่งเสียจนไม่ทราบว่าโลกได้ก้าวไปถึงไหนแล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกที่กวีมักจะมองไม่เห็นข้อดีของความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและมักจะมีท่าทีต่อต้านความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในโลกทุนนิยม กวีต่อต้านทุนนิยมโดยไม่ตระหนักแม้แต่นิดเดียวว่าตนเองเป็นผู้หนึ่งที่ช่วย “แบก” ให้โลกแห่งทุนนิยมเคลื่อนไปข้างหน้า กวีประณามนายทุนในขณะที่นั่งดื่มไวน์ชั้นดีหรือใช้เทคโนโลยีที่นายทุนผู้นั้นเป็นเจ้าของ


ก้าวที่ 3 มองไปข้างหน้าไม่ได้ สองข้อที่กล่าวมาทำให้กวีไม่สามารถมองไปข้างหน้าอย่างถูกต้อง แม่นตรงได้ ไม่สามารถประเมินแนวโน้มหรือจับทิศทางความเป็นไปของโลกและสังคม ขาดวิสัยทัศน์ คาดการณ์ผิดพลาด


เป็นต้นว่า ไม่สามารถวิเคราะห์หรือมองไกลได้ว่าการเคลื่อนไหวของพันธมิตร ฯ นั้น ทำลายระบอบประชาธิปไตยและที่สุดแล้วจะทำลายความเข้มแข็งของภาคประชาชนลง เพราะแท้จริงแล้วการเคลื่อนไหวของพันธมิตร ฯ ดำเนินไปภายใต้เงาปีกของระบอบราชการที่มีศาลและกองทัพและข้าราชการระดับสูงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ในขณะที่ประชาชนที่เข้าร่วมนั้นเป็นเพียงบริวารเท่านั้น-ข้อสังเกตเช่นนี้ กวีเกรียนจะมองไม่เห็นเพราะเชื่อว่าข้าราชการระดับสูงหรือผู้ดีจะบันดาลให้ประชาชนมีความสุข ความเจริญได้ ในขณะที่นักการเมืองนั้นมีแต่จะโกงกิน


3
ก้าวที่เชื่องช้าของกวี ส่งผลให้กวีไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ขาดการยอมรับทั้งที่มีความสามารถ การเข้าร่วมกับพันธมิตร ฯ ยิ่งทำให้สภาพบรรยากาศของกวีไทยอาการหนักเข้าไปอีก ปัญญาชนได้แต่ส่ายหัว ในขณะที่ประชาชนเสื่อมศรัทธา


ในที่นี้จะขอหยิบยกบางบทกวีมาให้ลองอ่าน บทกวีที่ยกมาเป็นของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ หนึ่งในกวีที่ร่วมหัวจมท้ายกับพันธมิตรฯ มาตลอด เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ แล้วเข้าใจว่าเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เขียนบทกวีให้พันธมิตรฯ มากที่สุด แม้กระทั่งคืนวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา เขาก็ยังขึ้นเวทีพันธมิตรฯ พร้อมขลุ่ยคู่ชีพ ปลุกระดมมวลชนให้ร่วมกันล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง


บทกวีชิ้นที่หยิบยกมานี้มีชื่อว่า “ทับซ้อน ทับทรวง” กล่าวถึงการสูญเสีย “เขาพระวิหาร” ซึ่งเนาวรัตน์มองว่าเป็นการ ”ประจานโง่ทั้งโลกา” แน่นอน เนาวรัตน์ มุ่งโจมตีรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ใครๆ ก็รู้ว่าเขาพระวิหารตกเป็นของเขมรอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ศาลโลกตัดสินแล้ว การมุ่งโจมตีรัฐบาลสมัครในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องน่าสมเพชของกวี มากกว่าใครอื่น


เนาวรัตน์ ว่าต่อไปว่าการเสียเขาพระวิหารนั้น เสียศักดิ์ศรี เสียที่เกิดเป็นคนไทย จากนั้นก็โยงเข้าสู่เรื่องของทุนนิยมและรัฐบาลหุ่นเชิดแบบเดียวกับพันธมิตร ฯ


ผมเคยเขียนไปแล้วว่าบทกวีการเมืองนั้นให้งามทั้งเนื้อหาและภาษานั้นยาก บทกวีชิ้นนี้ของเนาวรัตน์ก็เช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เรียกว่า “สุกเอาเผากิน” เพราะไม่มีอะไรเลยนอกจากการก่นด่าด้วยภาษาแบบเดียวกับที่พันธมิตรฯ ใช้ “ปล้นชาติ ปล้นแผ่นดิน” “อันธพาลครองเมือง”


บทกวีชิ้นนี้ของเนาวรัตน์ ไม่มีอะไรให้ตีความ ทื่อและเท่อ ขาดศิลปะ ลองอ่านดูเองก็แล้วกัน ผมคิดว่าบางทีบทกวีตามฝาผนังในห้องน้ำยังน่าอ่านกว่านี้อีก.

         ๏ ทับซ้อน ทับทรวง ๏
         
๏ เสียเขาพระวิหาร
        
ประจานโง่ทั้งโลกา
        
เสียสัจจะวาจา
       
จะรักษาอธิปไตย
       
        
๏ เสียศักดิ์และเสียศรี
       
ทั้งเสียทีที่เป็นไทย
       
เสียท่าพวกสาไถย

           เล่ห์กะเท่ พวกนายทุน
       
        
๏ ทับซ้อน กันซ้อนซับ
       
มันจับมือกันชุลมุน
       
เชิดรัฐบาลหุ่น
       
ที่หอกหักเข้าชักยนต์
       
       
๏ ผิดกฎ ว่ากฎผิด
       
ต้องติดกับว่าติดกล
        
แก้กฎ ด้วยโฉดฉล
       
เข้าปล้นชาติปล้นแผ่นดิน
       
       
๏ ย่อยยับแสนทรัพยา
       
ให้ผีบ้า ให้ห่ากิน
       
อาเพศ ทั้งปถพิน
       
พวกอันธพาลมันครองเมือง
       
       
๏ เสียเขา พระวิหาร
       
ประจานชั่วได้ทุกเรื่อง
       
ชั่วร้ายอันรุ่งเรือง
       
ระยำยำ ประเทศไทย
       
       
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
       
.๒๓//๕๑


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
-1-พรรคประชาธิปัตย์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง โดยชูคำขวัญที่ฟังดูดัดจริตและกินไม่ได้ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน”ผมได้ยินหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งคำนี้ออกมาแล้วก็ให้นึกสงสัยว่าจะมีใครซักกี่คนในโลกนี้เชื่อในสิ่งที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ พูดออกมาพรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามสไตล์ถนัดด้วยการโฆษณาหาเสียงก่อนใครเพื่อน  ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคพลังประชาชนนั้นต้องเจอกับอำนาจชั่วที่คอยการสกัดกั้นทุกรูปแบบ-2-ต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคพลังประชาชนจะฝ่าต้านแรงสกัดจากอำนาจชั่วได้มากน้อยแค่ไหน…
เมธัส บัวชุม
อันที่จริง ผมตั้งใจจะหยุดเขียนบทความการเมืองสักระยะด้วยรู้สึกระอากับความวิปริตทางปัญญาของสังคมไทย ผมยังรู้สึกหลอนไม่หายกับการยึดอำนาจของทหารท่ามกลางความดีอกดีใจของพวก “ทาสที่ปล่อยไม่ไป” และพวกที่กลุ้มรุมทึ้งแย่งผลประโยชน์ “แห่งชาติ” ที่ไม่ได้ “เหลือแต่กระดูก” หลังการจากไปของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกลุ่มคนเหล่านี้ที่เข้ามายึดกุมอำนาจหลังรัฐประหาร ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการสร้างประชาธิปไตยหรือปฏิรูปการเมือง  รัฐบาลเถื่อนของนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ คมช. คตส. กกต. ที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้างที่เป็นสร้างเสริมประชาธิปไตย หรือปฏิรูปการเมืองไปสู่ครรลองประชาธิปไตยนอกจากสมคบคิดกันกวาดล้างกลุ่ม…
เมธัส บัวชุม
นิตยสาร “ราหูอมจันทร์” เกิดขึ้นท่ามกลางความซบเซาทั้งทางด้านการเขียน การอ่านและการวิจารณ์ของแวดวงเรื่องสั้นไทย ราหูอมจันทร์ เป็นนิตยสารรายครึ่งปีหรือที่ทางผู้จัดทำเรียกว่ารายฤดูกาล เป็นการคัดสรรเรื่องสั้นที่มีผู้ส่งไปจากทั่วสารทิศเพื่อรวมพิมพ์เป็นเล่มบรรดาคอเรื่องสั้น ต่างวาดหวังว่าการมาถึงของราหูอมจันทร์อาจช่วยให้วงการคึกคักขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย   อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านแล้ว ต้องกล่าวตามตรงว่าราหูอมจันทร์ Vol. 3 “วันปลดปล่อยผีเสื้อ” นั้นมีระดับคุณภาพที่น่าผิดหวังไม่น้อย ทางผู้จัดทำนิตยสารนี้คือกองทุน “กนกพงศ์  สงสมพันธุ์” ก็ยอมรับว่า“ราหูอมจันทร์ Vol. 3…