Skip to main content
ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน ปี 49 กระทั่งปัจจุบัน  อันธพาล-ลัทธิพันธมิตร ได้ผลิต ตอกย้ำนำเสนอ วาทกรรมทางการเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก ผ่านเครือข่ายการสื่อสารที่กว้างขวางและร่วมด้วยช่วยกันกับองค์กรอันหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา บุคคลที่มีชื่อเสียง สว. ลากตั้ง ดารา ฯลฯ  ทั้งที่เป็นวาทกรรมเพื่อมุ่งทำลายฝ่ายตรงข้ามและใช้ในการยกยอปอปั้นลัทธิตนเอง


วาทกรรมบางอย่าง ลัทธิพันธมิตรประดิษฐ์ขึ้นโดยตรงสำหรับการกรรโชกข่มขู่รัฐบาลและสังคม แต่บางวาทกรรมไม่ได้คิดขึ้นเองหากแต่นำมาจากประธานองคมนตรี นักวิชาการ ราษฎรอาวุโส สื่อมวลชน และจากบรรดาบุคคลที่เทิดทูนระบอบอมาตยาธิปไตยไว้เหนือหัว แล้วลัทธิพันธมิตรนำมาขยายความเพิ่มเติม  ดัดแปลง ให้ความหมายใหม่

วาทกรรมไม่ใช่ความจริงแต่เป็นกระบวนการสร้างความจริง เป็นกระบวนการที่ทำให้ความเท็จกลายเป็นเรื่องน่าเชื่อถือ และมีน้ำหนักกระทั่งกลายเป็นความจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป จะว่าไปแล้ว สถาบันและองค์กรในกระบวนการยุติธรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ มากไปกว่านั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสถาปนาความจริง เช่น คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ใช่แค่ความคิดเห็นแต่ได้กลายเป็นความจริงที่ยุติ

วาทกรรมที่มุ่งทำลายฝ่ายตรงข้าม เช่น "จ๊อกกี้" "ระบอบทักษิณ" "ผลประโยชน์ทับซ้อน" "ไอ้หน้าเหลี่ยม"   "ขายชาติ" "ทหารของพระราชา"  "แทรกแซงสื่อ" "หมิ่นเบื้องสูง"  "เผด็จการรัฐสภา" "รัฐบาลสัตว์นรก" "รัฐบาลหุ่นเชิด" "นอมินี"  "ชาติล่มจมแล้ว" "สงครามครั้งสุดท้าย"ตลอดจนบทเพลงแปลง เพลงแต่ง บทกวีจำนวนมาก  ภาพวาด โลโก้ ฯลฯ

วาทกรรม "จ๊อกกี้" นั้นมาจากพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรีที่ไม่เคยผ่านการเลือกตั้ง โดยหมายถึงรัฐบาลของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ได้อยู่ยั่งยืนและมีความสำคัญอะไรมากนัก วาทกรรมนี้นับเป็นการแสดงออกถึงทัศนคติที่ชัดเจนของประธานองคมนตรีต่อรัฐบาลทักษิณและได้รับการขยายต่ออย่างกว้างขวาง

วาทกรรม "ขายชาติ" วาทกรรมนี้ใช้มาตลอดในประวัติศาสตร์ของการกล่าวหาทางการเมือง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครสามารถนำ "ชาติ" ไปขายได้เพราะ "ชาติ" เป็นเพียงจินตนาการทางการเมืองเท่านั้น ผู้รู้ท่านหนึ่งเคยตั้งข้อสังเกตว่าผู้ที่ชอบกล่าวหาผู้อื่นด้วยคำว่า "ขายชาติ" นั้นมักจะเป็นโจร

วาทกรรม "แทรกแซงสื่อ" คำนี้ได้ยินกันบ่อย เป็นคาถามหานิยมในการป้องกันตัวของบรรดาสื่อมวลชน อย่างไรก็ตาม การที่ลัทธิพันธมิตร บุกยึด NBT ตลอดจนการข่มขู่นักข่าวของนักรบศรีวิชัยนั้นไปไกลกว่าการแทรกแซงสื่อหลายเท่า

วาทกรรม "ระบอบทักษิณ"   ทักษิณไม่ใช่ระบบระบอบหรือนามธรรมที่ลอยอยู่ในอากาศ แต่เป็นตัวบุคคลที่รู้ร้อนรู้หนาวและจับต้องได้  ดังนั้น "ระบอบทักษิณ" จึงไม่มีอยู่จริง จับต้องไม่ได้ อาจกล่าวได้ว่า วาทกรรม "ระบอบทักษิณ" เป็นวาทกรรมที่งี่เง่าและไร้ความรับผิดชอบของนักวิชาการผู้ชอบประดิษฐ์อะไรเรื่อยเปื่อย

วาทกรรม "รัฐบาลสัตว์นรก" ถ้ารัฐบาลเป็นสัตว์นรก ลัทธินอกรีตอย่างพันธมิตรก็คงไม่ดีไปกว่ากัน ไม่มีลักษณะใด ๆ เลยที่บ่งบอกว่าลัทธินอกรีตอย่างพันธมิตรนั้นดีไปกว่าสัตว์นรกหรือดีไปกว่ากลุ่มคนที่กล่าวหา อันที่จริงโจรด่าโจรคงไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมากนัก

วาทกรรมต่าง ๆ ที่ลัทธิพันธมิตร ผลิตและนำมาใช้ทำลายฝ่ายตรงข้ามโดยมากแล้วเป็นเรื่องเพ้อเจ้อเหลวไหล

วาทกรรมที่มุ่งยกยอปอปั้นลัทธิตนเอง "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" "สันติวิธี" "อารยะขัดขืน" "ชุมนุมอย่างสงบ" "ยามเฝ้าแผ่นดิน" "สื่อแท้"  "กู้ชาติ"  "การเมืองใหม่" "เราจะสู้เพื่อในหลวง" "ผ้าพันคอสีฟ้า"  "พันธมิตรเด็ก" "มหาวิทยาลัยราชดำเนิน" "สาธิตมัฆวาน" "ประชาภิวัฒน์"  ฯลฯ

ลัทธิพันธมิตรพยายามทำให้วาทกรรมว่าด้วยความถูกต้องดีงามของตนเองกลายเป็นเรื่องจริง แต่ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ผ่านมาทำให้เราได้เห็นกันแล้วว่าวาทกรรมด้านนี้ของลัทธิพันธมิตรหลายประการเป็นเรื่องเท็จ

แค่ชื่อลัทธิ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" นั้นเป็นอะไรที่กลืนไม่ลงแล้ว ชื่อเรียกกับการกระทำนั้นไปคนละทาง เหมือนเรียกโจรว่าพระ

วาทกรรม "การชุมนุมโดยสงบ" ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการชุมนุมของลัทธิพันธมิตรทำให้คนจำนวนมากเดือดร้อนและจงใจทำให้เกิดความไม่สงบ การรุมทุบตีคนจนตาย การครอบครองยาเสพติด การขายอุปกรณ์เสพยาเสพติดอย่างเปิดเผย ตลอดจนอาวุธจำนวนมากที่ชาวพันธมิตรมีอยู่นั้นเป็นสิ่งที่บอกชัดอยู่แล้วว่าการชุมนุมของพันธมิตรสงบหรือไม่

วาทกรรม "อารยะขัดขืน" ผมเคยเสนอไปแล้วว่าเราควรจะเรียกว่า "อารยะข่มขืน" ดีกว่าหรือจะเรียกว่า "อนารยะขัดขืน" ก็ได้ เพราะไม่มีอะไรเลยที่แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ กล้าทำกล้ารับ  หรือความมีอารยะของพันธมิตร

วาทกรรม "ผ้าพันคอสีฟ้า"  แกนนำของลัทธิพันธมิตรต่อสู้โดยพยายาม "เอาหลังพิงวัง" ซึ่งไม่ใช่แนวทางการต่อสู้ที่ยุติธรรม แต่แสดงให้เห็นถึงความไร้น้ำยาของลัทธิพันธมิตรเองที่พยายามเอาใครต่อใครเข้ามาเกี่ยว

วาทกรรม "กู้ชาติ" ว่าที่จริง "ชาติ" ไม่ได้อัญเชิญให้ลัทธิพันธมิตรมาช่วยกู้  ดังที่กล่าวแล้วว่า "ชาติ" เป็นแค่จินตนาการเท่านั้น ไม่ต้องไปกู้ให้เสียเวลา คงจะได้อะไรที่เป็นรูปธรรมมากกว่าหากเปลี่ยนจากกู้ชาติเป็น "กู้แบ๊งค์"

การข่มขู่กรรโชกโดยอันธพาลลัทธิพันธมิตรใกล้ถึงจุดอิ่มตัว การขังตัวเองอยู่ในทำเนียบรัฐบาลไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ความชอบธรรมลดลง แนวร่วมหดหาย ผู้คนเบื่อหน่าย แกนนำเพี้ยนหนัก ไม่ช้าไม่นานสังคมไทยจะได้เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่าพันธมิตรนั้น นอกจากไร้ประโยชน์แล้วยังทำให้สังคมเสียหายอีกด้วย.

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
มหาชนสีแดงยื่นบันไดแห่งการยุบสภาให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีนลงมาอย่างง่าย ๆ ชนิดที่บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น แต่ไม่เป็นผลอะไร ด้วยโมหะจริต นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ดึงดันจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปแม้ว่าจะต้องทำอะไรที่เสียเกียรติความเป็นผู้นำไปมากก็ตาม
เมธัส บัวชุม
การเคลื่อนพลของคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดินน่าตื่นตาตื่นใจและอลังการสมการรอคอย แม้ว่าการมาทางเรือจะผิดจากความคาดหวังอยู่มากก็ตาม ผมยืนรอชมขบวนเรือของคนเสื้อแดงบนสะพานกรุงธนนานกว่า 3 ชั่วโมงพร้อมกับแดงคนอื่น ๆ เต็มสะพาน โบกไม้โบกมือ ไชโยโห่ร้องกับคนเสื้อแดงที่ขับรถผ่านไปมา
เมธัส บัวชุม
แม้ผลการตัดสินคดียึดทรัพย์เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่คนเสื้อแดงหลายคนยังรู้สึกเจ็บปวด บางคนถึงขั้นหลั่งน้ำตาทั้งที่เงินนั้นไม่ใช่เงินของตนเอง พวกอำมาตย์ พรรคประชาธิปัตย์และคนเสื้อเหลืองไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่าที่คนเสื้อแดงหลั่งน้ำตานั้นไม่ใช่เพราะเสียดายเงินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่ถูกยึดไปอย่างไม่เป็นธรรม แต่เป็นเพราะรู้สึกเจ็บปวดที่ตนเองทำอะไรไม่ได้เมื่อเห็นความอยุติธรรมบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาครั้งแล้วครั้งเล่า
เมธัส บัวชุม
ไม่ว่าผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ (ปล้นทรัพย์อย่างถูกกฎหมาย) ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร จะออกมาเป็นอย่างไร การลุกฮือของคนเสื้อแดงก็ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เสื้อแดงจำนวนไม่น้อยอาจไม่ได้ยี่หระเลยกับทรัพย์สินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเพราะนั่นเป็นราคาที่อดีตนายก ฯ ต้องจ่ายสำหรับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย หลายคนจะได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยนั้นถ้าไม่จ่ายด้วยเลือดและชีวิตก็ต้องจ่ายด้วยทรัพย์สินแสนแพง
เมธัส บัวชุม
 เมื่อความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายต่าง ๆ เขม็งเกลียวแน่นใกล้ถึงจุดวิกฤติ ข่าวเกี่ยวกับการทำรัฐประหารก็ลอยมาจากทางโน้นทางนี้เป็นระยะ น่าเชื่อบ้าง ไม่น่าเชื่อบ้าง ราวกับว่ารัฐประหารเป็นทางออกเดียวในการจัดการปัญหา
เมธัส บัวชุม
การเข้าครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยงอย่างผิดกฏหมายขององคมนตรีคุณธรรมสูงอย่างสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแม้แต่น้อย ไม่ใช่ข้อค้นพบที่น่าตื่นเต้น ไม่ใช่ความลับที่น้อยคนรู้ ชาวบ้านร้านตลาดในบริเวณนั้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่าวิลล่าสวยงามบนเขายายเที่ยงนั้นเป็นของใคร
เมธัส บัวชุม
ผมค่อนข้างแปลกใจที่สังคมไทยยังไม่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ว่าที่จริงสงกรานต์เลือดเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เป็นโอกาสเหมาะไม่น้อยสำหรับการเกิดสงครามกลางเมืองซึ่งอาจจะจบลงด้วยการทำลายพลังประชาชนรากหญ้าและคนชั้นกลางฝ่ายก้าวหน้าลงอย่างย่อยยับ จนยากที่จะฟื้นกลับคืนมาใหม่ หรืออาจเป็นไปในทางกลับกันก็ได้หากประชาชนได้รับชัยชนะคือระบอบประชาธิปไตยจะขยับไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด อำนาจของอำมาตย์จะถูกจำกัดวง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด?
เมธัส บัวชุม
-1- ฉันมีวิธีเผชิญหน้ากับอาการนอนไม่หลับด้วยการนอนลืมตาอยู่ในความมืด พยายามไม่คิดอะไร แต่ดวงความคิดของฉันก็ไหลลอยไปสู่เรื่องนั้นเรื่องนี้ หวนรำลึกไปถึงสถานที่และผู้คนที่ฉันเคยพานพบประหนึ่งว่าฉันเพิ่งจากผู้คนและสถานที่เหล่านั้นมา
เมธัส บัวชุม
เรื่องราวในชีวิตของคนเราสามารถนำมาเขียนแต่งเป็นนิยายได้ทั้งนั้น โดยการใส่พล็อตหรือท้องเรื่องเข้าไป ตีความให้ดูน่าสนใจ แล้วเสาะหา(สร้าง)ข้อมูลเพื่อยัดลงไปในพล็อตที่วางไว้โดยอาจหยิบเพียงบางช่วงบางตอนของชีวิตก็ได้
เมธัส บัวชุม
คงไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจแต่ประการใดที่เราได้เห็นปัญญาชนสยาม ปัญญาชนสาธารณะอย่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ไปออกโทรทัศน์ของทาง ASTV “รายการรู้ทันประเทศไทย” ที่มีเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการผู้หากินกับวาทกรรม “ชาวบ้าน” มายาวนาน งนี้เพราะหลายคนซึ้งแน่แก่ใจแล้วว่าบั้นปลายชีวิตของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้หลงตนนั้นโน้มเอียงไปทางเผด็จการ หรือไปทางศักดินามากเสียยิ่งกว่าจะยืนข้างชาวบ้านอย่างที่เขาพร่ำพูดถึงเสมอ
เมธัส บัวชุม
หากผมบอกว่าชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้แล้ว บางคนคงโต้แย้ง ผมจึงต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ให้กว้าง ๆ ว่า ชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจความเป็นไปของสังคมการเมืองในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าความหมายและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
เมธัส บัวชุม
รถไฟไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่มานาน โดยแทบไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรเลยตั้งแต่เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้เพราะความเสื่อมโทรมของรถไฟให้ประโยชน์แก่คนหลายกลุ่ม รวมทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ดังนั้นแนวคิดใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้รถไฟเปลี่ยนไปจึงถูกต่อต้านแม้จะมีผลการวิเคราะห์วิจัยรองรับอยู่จำนวนมาก