Skip to main content

-1-

พรรคประชาธิปัตย์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง โดยชูคำขวัญที่ฟังดูดัดจริตและกินไม่ได้ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน”

ผมได้ยินหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งคำนี้ออกมาแล้วก็ให้นึกสงสัยว่าจะมีใครซักกี่คนในโลกนี้เชื่อในสิ่งที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ พูดออกมา

พรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามสไตล์ถนัดด้วยการโฆษณาหาเสียงก่อนใครเพื่อน  ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคพลังประชาชนนั้นต้องเจอกับอำนาจชั่วที่คอยการสกัดกั้นทุกรูปแบบ

-2-

ต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคพลังประชาชนจะฝ่าต้านแรงสกัดจากอำนาจชั่วได้มากน้อยแค่ไหน การตัดทอนกำลังพรรคพลังประชาชนด้วยรูปแบบวิธีการต่าง ๆ จะทำให้พรรคพลังประชาชนอ่อนกำลังลงไปได้มากน้อยเพียงใด หรือว่าจะยิ่งทำให้พรรคการเมืองพรรคนี้เติบโตมากขึ้น ความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชนจะช่วยให้เอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้หรือไม่

ผมเชื่อว่า หากแม้นเมื่อใดที่ประเทศนี้สามารถปกครองด้วยหลักการของเสียงข้างมากจริงๆ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ต้องการทหาร เมื่อนั้นพรรคพลังประชาชนจะต้องได้จัดตั้งรัฐบาลอย่างแน่นอน เพราะประชาชนเสียงข้างมากของประเทศ ยังคงสนับสนุนพรรคไทยรักไทยที่กลายร่างเป็นพรรคพลังประชาชนภายใต้การนำของสมัคร สุนทรเวช หรืออย่างน้อยก็มีจำนวนมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน

บางคนชอบพรรคพลังประชาชนเพราะนโยบายต่าง ๆ ในอดีตที่ให้ความสำคัญแก่คนระดับล่าง (จะมีคนบางจำพวกแย้งในทันทีว่านโยบายของพรรคไทยรักไทยเดิม และของพรรคพลังประชาชนเป็นนโยบายประชานิยมที่ทำให้คนเป็นหนี้ ทำให้ประชาชนไม่รู้จักพึ่งตนเอง! ทั้งที่ประชาชนอยู่มาได้เป็นร้อยปีก่อนที่จะมีพรรคการเมืองด้วยซ้ำ)

บางคนชอบพรรคพลังประชาชน เพราะความสามารถของนักการเมืองในพื้นที่และความผูกพันภักดีที่มีต่อกัน ซึ่งความผูกพันภักดีที่ว่านี้คนชั้นกลางจะไม่มีทางเข้าใจได้เลยในชีวิตนี้ว่ามีความหมายความสำคัญอย่างไร

วันก่อน เจ้าหน้าที่คนหนึ่งในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าให้ฟังว่าจะอย่างไรก็ยังเลือกพรรคพลังประชาชนแม้ว่าจะไม่ได้เป็นพรรคที่จัดตั้งรัฐบาลก็ตาม เขาให้เหตุผลหลายข้อว่าทำไมจึงยังเลือกพรรคนี้

(แล้วเจ้าหน้าที่คนนี้ก็เล่าให้ฟังถึงข่าวอื้อฉาวเรื่องบ้านราคาสามสิบล้านของอธิการบดีสุรพล นิติไกรพจน์ ซึ่งผมไม่รู้ว่าจริงเท็จมากน้อยเพียงใด ใครที่มีพลังอำนาจช่วยเข้าไปตรวจสอบให้ทีเถิดว่าอธิการบดี ม.7 ท่านนี้  เอาเงินมากมายมาจากไหน มาจาก ”ผลประโยชน์ทับซ้อน” จากตำแหน่งอธิการบดีหรือเปล่า!)

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยที่จะชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังคงเชื่อมั่นศรัทธาในพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้นว่าจะเปลี่ยนชื่อไปแล้วก็ตาม

-3-

คำว่า “ประชาชนต้องมาก่อน” ของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ทำให้ผมต้องใช้จินตนาการขนาดหนัก เพราะนึกไม่ออกเลยจริง ๆ ว่าคนอย่างชวน หลีกภัย, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือเทพเทือก นั้นจะปล่อยให้ประชาชนมาก่อนได้อย่างไร

คิดไปคิดมา คำว่า “ประชาชนต้องมาก่อน” จึงน่าจะหมายถึงว่า “ประชาชนต้องมาซวย” ก่อนพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง ผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ ถึงรัฐประหารที่ผ่านมา     

หากติดตามประวัติศาสตร์การเมืองบ้าง ก็จะพบได้ไม่ยากว่าพรรคประชาธิปัตย์จะ “โชคดี”  ได้จัดตั้งรัฐบาลเสมอหลังเกิดการรัฐประหารแล้วมีการเลือกตั้ง จนอาจกล่าวได้ว่า “รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์กับรัฐประหารเป็นของคู่กัน”

รัฐประหารครั้งที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์สามารถ “สืบทอดอดีต” ของตัวเองได้อย่างดีโดยเล่นเป็น “ลูกคู่” คอยรับและส่งบทให้เข้ากับคณะรัฐประหารอย่างไม่ประดักประเดิดหรือละอายแก่ใจ บางคนจึงเรียกพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็น “อะไหล่ธิปัตย์” คือช่วยสนับสนุน ซ่อมแซม อำนวยความสะดวกแก่กลุ่มที่ยึดอำนาจ 

การที่พรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เกิดรัฐประหารกระทั่งเห็นพ้องด้วย การที่พรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้รัฐบาลเถื่อนทำงานไปโดยคอยเป็น “ลูกคู่” หรือเป็น “อะไหล่” นั้น ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากปล่อยประชาชนให้ซวยนั่นเอง

เป็นที่ตระหนักกันดีว่าสภาวะเศรษฐกิจหลังรัฐประหารนั้นตกต่ำ ประชาชนเดือดร้อน ค่ารถเมล์ขึ้น ค่าครองชีพเพิ่ม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นความซวยหลังรัฐประหารต่อเนื่องมาถึงก่อนการเลือกตั้ง เป็นความซวยของประชาชนที่ “เกิดขึ้นก่อน” ที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้เป็นรัฐบาล

ดังนั้น คำขวัญที่ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน” นั้นเป็นคำขวัญที่ยัง “กล่าวไม่หมดความ” คำขวัญที่ถูกต้องของพรรคประชาธิปัตย์ต้องเป็นว่า “ประชาชนต้องซวยก่อน”

แล้วพอประชาชนรับความซวยไปแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ก็จะได้เป็นรัฐบาลบริหารเงินงบประมาณเป็นล้านล้าน  สบายใจ.

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน