Skip to main content

เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก

วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน

\\/--break--\>
หลังจากที่กลุ่มคณะราษฎรยึดอำนาจได้แล้ว ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็มีการเผยแพร่เอกสารสำคัญซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างมากที่เรียกว่า “ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1” อันถือเป็นการปลดแอกประชาชนจากเงื้อมเงาของกลุ่มอมาตยา 

"ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1” เขียนขึ้นในบรรยากาศทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างมาก ใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมาในการวิพากษ์สถาบันกษัตริย์ชนิดที่คนรุ่นใหม่คาดไม่ถึง ความตอนหนึ่งของประกาศฉบับนี้มีว่า

รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่า หลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไปหาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวคำหมิ่นประมาทราษฎร ผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กินว่า ราษฎรยังมีเสียงการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ คำพูดของพวกรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้เท่าไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังคน


ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎรไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่จะชุบมือเปิบและกวาดรวบรวมทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน
? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั่นเอง”


นี่คือถ้อยคำเผ็ดร้อนของ “ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่
1” ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นวันชาติ ได้มีการแต่งเพลงและเฉลิมฉลองวันชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.. 2482 ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี


โดยเนื้อหาสาระแล้ว เราสามารถเทียบเคียง “ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่
1” ซึ่งเป็นเหมือนหลักหมายแรกของเส้นทางประชาธิปไตยไทยกับ “คำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา” ได้ ความตอนหนึ่งในคำประกาศอิสรภาพของอเมริกา กล่าวว่า


"
เราถือความจริงเหล่านี้ว่าเป็นสิ่งประจักษ์แจ้ง ด้วยตนเอง กล่าวคือ ทุกคนเกิดมา เท่าเทียมกัน ต่างได้รับสิทธิ บางอย่าง ที่จะโอนให้แก่กัน มิได้จากพระเจ้า สิทธิเหล่านี้ ได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข และเพื่อที่จะให้ได้มา ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้ มนุษย์ จึงได้ตั้งรัฐบาลขึ้น และรัฐบาลนี้ ได้รับมอบอำนาจ จากความยินยอม ของผู้ที่อยู่ในปกครอง ของรัฐบาลนั้น และเมื่อใด รูปการปกครองใด มุ่งทำลายหลักการสำคัญเหล่านี้แล้ว ประชาชน ก็มีสิทธิ ที่จะเปลี่ยนรัฐบาลนั้น หรือยุบเลิก รัฐบาลนั้นเสีย แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นแทน ซึ่งวางรากฐาน อยู่บนหลักการ และจัดระเบียบ การใช้อำนาจ ตามรูปดังกล่าวแล้ว เพื่อให้เกิดผล ในการพิทักษ์ ความปลอดภัย และความผาสุก ของประชาชน"


จะเห็นได้ว่าทั้ง “ประกาศของคณะราษฎร ฉบับที่
1” และ “คำประกาศอิสรภาพของอเมริกา” นั้นต่างให้ความสำคัญกับประชาชนหรือมนุษย์อย่างถ้วนทั่วและเท่าเทียม ให้สิทธิ เสรีภาพเสมอกัน ในกรณีของไทยนั้นแน่นอนว่าฝ่ายศักดินาที่สูญเสียอำนาจย่อมไม่พอใจและพยายามที่จะทำลายมันลง


ดังนั้น ท่ามกลางการต่อสู้หนักหน่วง กระทั่งปรีดี พนมพยงค์ ผู้นำคนสำคัญของคณะราษฎรหมดอำนาจไป ก็ได้มีการยกเลิกวันชาติ
24 มิถุนายนเสียในปี 2503 ซึ่งตรงกับสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วก็มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ถือวันพระราชสมภพของพระบาทของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยแทน โดยให้เหตุผลว่า


ด้วยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้งหลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน


คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติต่างๆกัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ โดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศ
อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น”


จากนั้นเป็นต้นมา นิยามของคำว่า “ชาติที่เป็นของประชาชน” ก็ลดความหมายลง กลายเป็น “ชาติของคนบางกลุ่ม” เป็น “ชาติของกลุ่มศักดินา” เป็นชาติที่แยกออกจากประชาชนแต่กลับแนบแน่นกับพวกเจ้า


ตลกร้ายอีกเรื่องหนึ่งของคณะราษฎรก็คือ “วันชาติ” ซึ่งเป็นผลพวงแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตย ได้ถูกกลุ่มเจ้าฉวยใช้ไปเป็นสมบัติส่วนตนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
.

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
มหาชนสีแดงยื่นบันไดแห่งการยุบสภาให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีนลงมาอย่างง่าย ๆ ชนิดที่บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น แต่ไม่เป็นผลอะไร ด้วยโมหะจริต นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ดึงดันจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปแม้ว่าจะต้องทำอะไรที่เสียเกียรติความเป็นผู้นำไปมากก็ตาม
เมธัส บัวชุม
การเคลื่อนพลของคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดินน่าตื่นตาตื่นใจและอลังการสมการรอคอย แม้ว่าการมาทางเรือจะผิดจากความคาดหวังอยู่มากก็ตาม ผมยืนรอชมขบวนเรือของคนเสื้อแดงบนสะพานกรุงธนนานกว่า 3 ชั่วโมงพร้อมกับแดงคนอื่น ๆ เต็มสะพาน โบกไม้โบกมือ ไชโยโห่ร้องกับคนเสื้อแดงที่ขับรถผ่านไปมา
เมธัส บัวชุม
แม้ผลการตัดสินคดียึดทรัพย์เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่คนเสื้อแดงหลายคนยังรู้สึกเจ็บปวด บางคนถึงขั้นหลั่งน้ำตาทั้งที่เงินนั้นไม่ใช่เงินของตนเอง พวกอำมาตย์ พรรคประชาธิปัตย์และคนเสื้อเหลืองไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่าที่คนเสื้อแดงหลั่งน้ำตานั้นไม่ใช่เพราะเสียดายเงินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่ถูกยึดไปอย่างไม่เป็นธรรม แต่เป็นเพราะรู้สึกเจ็บปวดที่ตนเองทำอะไรไม่ได้เมื่อเห็นความอยุติธรรมบังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาครั้งแล้วครั้งเล่า
เมธัส บัวชุม
ไม่ว่าผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ (ปล้นทรัพย์อย่างถูกกฎหมาย) ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร จะออกมาเป็นอย่างไร การลุกฮือของคนเสื้อแดงก็ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เสื้อแดงจำนวนไม่น้อยอาจไม่ได้ยี่หระเลยกับทรัพย์สินของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเพราะนั่นเป็นราคาที่อดีตนายก ฯ ต้องจ่ายสำหรับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย หลายคนจะได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยนั้นถ้าไม่จ่ายด้วยเลือดและชีวิตก็ต้องจ่ายด้วยทรัพย์สินแสนแพง
เมธัส บัวชุม
 เมื่อความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายต่าง ๆ เขม็งเกลียวแน่นใกล้ถึงจุดวิกฤติ ข่าวเกี่ยวกับการทำรัฐประหารก็ลอยมาจากทางโน้นทางนี้เป็นระยะ น่าเชื่อบ้าง ไม่น่าเชื่อบ้าง ราวกับว่ารัฐประหารเป็นทางออกเดียวในการจัดการปัญหา
เมธัส บัวชุม
การเข้าครอบครองที่ดินบนเขายายเที่ยงอย่างผิดกฏหมายขององคมนตรีคุณธรรมสูงอย่างสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแม้แต่น้อย ไม่ใช่ข้อค้นพบที่น่าตื่นเต้น ไม่ใช่ความลับที่น้อยคนรู้ ชาวบ้านร้านตลาดในบริเวณนั้นต่างก็รู้กันเป็นอย่างดีว่าวิลล่าสวยงามบนเขายายเที่ยงนั้นเป็นของใคร
เมธัส บัวชุม
ผมค่อนข้างแปลกใจที่สังคมไทยยังไม่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ว่าที่จริงสงกรานต์เลือดเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เป็นโอกาสเหมาะไม่น้อยสำหรับการเกิดสงครามกลางเมืองซึ่งอาจจะจบลงด้วยการทำลายพลังประชาชนรากหญ้าและคนชั้นกลางฝ่ายก้าวหน้าลงอย่างย่อยยับ จนยากที่จะฟื้นกลับคืนมาใหม่ หรืออาจเป็นไปในทางกลับกันก็ได้หากประชาชนได้รับชัยชนะคือระบอบประชาธิปไตยจะขยับไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด อำนาจของอำมาตย์จะถูกจำกัดวง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด?
เมธัส บัวชุม
-1- ฉันมีวิธีเผชิญหน้ากับอาการนอนไม่หลับด้วยการนอนลืมตาอยู่ในความมืด พยายามไม่คิดอะไร แต่ดวงความคิดของฉันก็ไหลลอยไปสู่เรื่องนั้นเรื่องนี้ หวนรำลึกไปถึงสถานที่และผู้คนที่ฉันเคยพานพบประหนึ่งว่าฉันเพิ่งจากผู้คนและสถานที่เหล่านั้นมา
เมธัส บัวชุม
เรื่องราวในชีวิตของคนเราสามารถนำมาเขียนแต่งเป็นนิยายได้ทั้งนั้น โดยการใส่พล็อตหรือท้องเรื่องเข้าไป ตีความให้ดูน่าสนใจ แล้วเสาะหา(สร้าง)ข้อมูลเพื่อยัดลงไปในพล็อตที่วางไว้โดยอาจหยิบเพียงบางช่วงบางตอนของชีวิตก็ได้
เมธัส บัวชุม
คงไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจแต่ประการใดที่เราได้เห็นปัญญาชนสยาม ปัญญาชนสาธารณะอย่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ไปออกโทรทัศน์ของทาง ASTV “รายการรู้ทันประเทศไทย” ที่มีเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการผู้หากินกับวาทกรรม “ชาวบ้าน” มายาวนาน งนี้เพราะหลายคนซึ้งแน่แก่ใจแล้วว่าบั้นปลายชีวิตของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้หลงตนนั้นโน้มเอียงไปทางเผด็จการ หรือไปทางศักดินามากเสียยิ่งกว่าจะยืนข้างชาวบ้านอย่างที่เขาพร่ำพูดถึงเสมอ
เมธัส บัวชุม
หากผมบอกว่าชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้แล้ว บางคนคงโต้แย้ง ผมจึงต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ให้กว้าง ๆ ว่า ชาตินิยมเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงพอสำหรับการทำความเข้าใจความเป็นไปของสังคมการเมืองในโลกปัจจุบัน ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าความหมายและรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
เมธัส บัวชุม
รถไฟไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่มานาน โดยแทบไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรเลยตั้งแต่เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งนี้เพราะความเสื่อมโทรมของรถไฟให้ประโยชน์แก่คนหลายกลุ่ม รวมทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ดังนั้นแนวคิดใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้รถไฟเปลี่ยนไปจึงถูกต่อต้านแม้จะมีผลการวิเคราะห์วิจัยรองรับอยู่จำนวนมาก