Skip to main content

เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก

วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน

\\/--break--\>
หลังจากที่กลุ่มคณะราษฎรยึดอำนาจได้แล้ว ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็มีการเผยแพร่เอกสารสำคัญซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างมากที่เรียกว่า “ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1” อันถือเป็นการปลดแอกประชาชนจากเงื้อมเงาของกลุ่มอมาตยา 

"ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1” เขียนขึ้นในบรรยากาศทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างมาก ใช้ถ้อยคำตรงไปตรงมาในการวิพากษ์สถาบันกษัตริย์ชนิดที่คนรุ่นใหม่คาดไม่ถึง ความตอนหนึ่งของประกาศฉบับนี้มีว่า

รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่า หลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไปหาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวคำหมิ่นประมาทราษฎร ผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กินว่า ราษฎรยังมีเสียงการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ คำพูดของพวกรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้เท่าไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังคน


ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎรไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่จะชุบมือเปิบและกวาดรวบรวมทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน
? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั่นเอง”


นี่คือถ้อยคำเผ็ดร้อนของ “ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่
1” ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นวันชาติ ได้มีการแต่งเพลงและเฉลิมฉลองวันชาติเป็นครั้งแรกในปี พ.. 2482 ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี


โดยเนื้อหาสาระแล้ว เราสามารถเทียบเคียง “ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่
1” ซึ่งเป็นเหมือนหลักหมายแรกของเส้นทางประชาธิปไตยไทยกับ “คำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา” ได้ ความตอนหนึ่งในคำประกาศอิสรภาพของอเมริกา กล่าวว่า


"
เราถือความจริงเหล่านี้ว่าเป็นสิ่งประจักษ์แจ้ง ด้วยตนเอง กล่าวคือ ทุกคนเกิดมา เท่าเทียมกัน ต่างได้รับสิทธิ บางอย่าง ที่จะโอนให้แก่กัน มิได้จากพระเจ้า สิทธิเหล่านี้ ได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข และเพื่อที่จะให้ได้มา ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้ มนุษย์ จึงได้ตั้งรัฐบาลขึ้น และรัฐบาลนี้ ได้รับมอบอำนาจ จากความยินยอม ของผู้ที่อยู่ในปกครอง ของรัฐบาลนั้น และเมื่อใด รูปการปกครองใด มุ่งทำลายหลักการสำคัญเหล่านี้แล้ว ประชาชน ก็มีสิทธิ ที่จะเปลี่ยนรัฐบาลนั้น หรือยุบเลิก รัฐบาลนั้นเสีย แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นแทน ซึ่งวางรากฐาน อยู่บนหลักการ และจัดระเบียบ การใช้อำนาจ ตามรูปดังกล่าวแล้ว เพื่อให้เกิดผล ในการพิทักษ์ ความปลอดภัย และความผาสุก ของประชาชน"


จะเห็นได้ว่าทั้ง “ประกาศของคณะราษฎร ฉบับที่
1” และ “คำประกาศอิสรภาพของอเมริกา” นั้นต่างให้ความสำคัญกับประชาชนหรือมนุษย์อย่างถ้วนทั่วและเท่าเทียม ให้สิทธิ เสรีภาพเสมอกัน ในกรณีของไทยนั้นแน่นอนว่าฝ่ายศักดินาที่สูญเสียอำนาจย่อมไม่พอใจและพยายามที่จะทำลายมันลง


ดังนั้น ท่ามกลางการต่อสู้หนักหน่วง กระทั่งปรีดี พนมพยงค์ ผู้นำคนสำคัญของคณะราษฎรหมดอำนาจไป ก็ได้มีการยกเลิกวันชาติ
24 มิถุนายนเสียในปี 2503 ซึ่งตรงกับสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วก็มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ถือวันพระราชสมภพของพระบาทของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยแทน โดยให้เหตุผลว่า


ด้วยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้งหลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน


คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติต่างๆกัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ โดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศ
อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น”


จากนั้นเป็นต้นมา นิยามของคำว่า “ชาติที่เป็นของประชาชน” ก็ลดความหมายลง กลายเป็น “ชาติของคนบางกลุ่ม” เป็น “ชาติของกลุ่มศักดินา” เป็นชาติที่แยกออกจากประชาชนแต่กลับแนบแน่นกับพวกเจ้า


ตลกร้ายอีกเรื่องหนึ่งของคณะราษฎรก็คือ “วันชาติ” ซึ่งเป็นผลพวงแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตย ได้ถูกกลุ่มเจ้าฉวยใช้ไปเป็นสมบัติส่วนตนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
.

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน