Skip to main content
อัสนี วสันต์ ในเพลง "ก็เคยสัญญา" เคยแหกปากตะโกนประโยคที่ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"  อันหมายถึงความรักที่แปรผันตามวันเวลาที่ผ่านพ้น   แม้ว่าจะสัญญากันไว้หนักแน่นก็ตาม


ประโยคนี้ถูกตอกย้ำให้ฮือฮาอีกครั้งจากปาก แอ๊ด คาราบาว ผู้ซึ่งสวมบทนักร้อง นักดนตรี
"เพื่อชีวิต"  วิพากษ์วิจารณ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่โฆษณามอมเมาให้คนซื้อทั้งที่ไม่มีคุณค่าสารอาหารแต่ประการใด แต่ในเวลาต่อมา แอ๊ด คาราบาว กลับมาทำธุรกิจเครื่องดื่มบำรุงกำลัง "คาราบาวแดง" อย่างที่รู้กัน เมื่อมีคนถาม แอ๊ด คาราบาว บอกง่าย ๆ ว่า "เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"

กล่าวสำหรับ ส. ศิวรักษ์ แม้นเขาไม่เคยเอ่ยประโยคนี้แบบเดียวกับสองพี่น้องโชติกุลหรือแอ๊ด คาราบาว แต่หลายคนคงจะเอ่ยให้กับเขาไปแล้ว

ส. ศิวรักษ์ เป็นข่าวเด่น ข่าวดังอีกครั้งเพราะถูกจับในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรสำหรับปัญญาชนสยามรายนี้สำหรับการถูกตั้งข้อหานี้ แต่ที่ต่างออกไปอยู่ตรงที่ว่า หลังได้รับการประกันตัว แทนที่จะยืดอกยอมรับอย่างไม่หวาดหวั่น ส. ศิวรักษ์ กลับให้สัมภาษณ์และเขียน
"จดหมายป้ายขี้" ให้อดีต นายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร

ส. ศิวรักษ์ เชื่อว่าการถูกจับของเขาเกี่ยวข้องกับการที่เขาไปวิพากษ์วิจารณ์อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร  ดังนั้นหลังจากถูกจับจึงไม่ลังเลที่จะโจมตีอดีต นายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร อีกครั้ง ทั้งทางจดหมายที่เว็บไซต์ผู้จัดการนำมาเผยแพร่และการให้สัมภาษณ์ ที่น่าตกใจก็คือเนื้อหาของคำสัมภาษณ์และจดหมายนั้นแสดงให้เห็นความเป็นไปของ ส. ศิวรักษ์ ตามประโยคในเนื้อเพลงของอัสนี วสันต์ ที่ว่า
"เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"

เนื้อความใน
"จดหมายป้ายขี้" ของ ส. ศิวรักษ์ แสดงให้เห็นว่า ส. ศิวรักษ์ รับเอาความคิดและเชื่อในการเต้าข่าวเรื่องการแสดงละครที่รัชมังคลากีฬาสถาน ของส. ลิ้มทองกุล เข้ามาเต็มเปาอย่างขาดการตรวจสอบ งมงายหมกมุ่นต่อคำพูดของ ส.ลิ้มทองกุล อย่างชนิดที่ขาดการไตร่ตรองเอาเลยทีเดียว ความตอนหนึ่งในจดหมายของ ส. ศิวรักษ์ มีว่า

"รัฐบาลนี้เป็นร่างทรงของบุคคลที่ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังขอให้สังเกตว่างานมหกรรมเสื้อแดงที่จัดขึ้น ณ สนามกีฬารัชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นั้น ก่อนที่ทักษิณ ชินวัตร จะปรากฏตัวและเสียง (จากต่างประเทศ) บนจอยักษ์นั้น ได้มีละครเล่นโจมตีพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน แม้จะไม่เอ่ยพระนามตรงๆ ก็ตามที แต่รัฐบาลนี้ก็ไม่ดำเนินคดี และเมื่อทักษิณออกมาแสดงวาทะ เขาก็บอกว่าเขาจะกลับเมืองไทยได้ ก็ด้วยพระราชบารมีที่พระราชทานอภัยโทษให้เขา (ทั้งๆ ที่ความผิดของเขาไม่ใช่เรื่องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หากเป็นความฉ้อฉลทุจริตอย่างร้ายแรง) หาไม่ เขาก็ต้องอาศัยพลังประชาชน ทั้งนี้หมายความว่า ถ้าเบื้องสูงไม่ช่วยเขา เขาก็จะใช้เบื้องล่างเป็นขบวนการมาล้มล้างเบื้องสูงเสียกระนั้นหรือ แล้วนี่มิเป็นการอ้าขาผวาปีกเกินไปดอกหรือ ชั่งไม่รู้จักตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาตัวเองเอาเสียเลย"
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000132566

ความน่าสนใจของจดหมายของส. ศิวรักษ์ นอกจากอยู่ที่การหลงเชื่อลมลิ้มของส. ลิ้มทองกุลอย่างไม่ตรวจสอบแล้ว ยังอยู่ที่การใช้หยิบฉวยสถาบันกษัตริย์มาฟาดฟันทำลายผู้อื่นอีกด้วย

หาก ส. ศิวรักษ์ ต้องการให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจริงดังที่เขาพูดไว้หลายครั้ง เขาไม่ควรใช้สถาบัน ฯ เป็นเครื่องมือกล่าวหาผู้อื่น

หาก ส. ศิวรักษ์ คิดว่าการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์จะช่วยในการปกปักรักษาสถาบันฯ ไว้ให้ยืนยาวแล้ว เขาก็ไม่ควรผูกขาดการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ แบบสร้างสรรค์ไว้แต่เพียงผู้เดียว ส่วนคำพูดของอดีตนายก ฯ ทักษิณ  ชินวัตร ถึงสถาบันนั้น
"เป็นการอ้าขาผวาปีก" "ไม่รู้จักตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา"

ส. ศิวรักษ์ ก็เหมือนใครหลายคนในวัยใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นหมอประเวศ วะสี ศ.ระพี สาคริก กระทั่ง ศ.เสน่ห์ จามริก  คือไม่อาจธำรงความสง่างามและความทรงภูมิของตนเองไว้ได้ท่ามกลางความขัดแย้ง

ความขัดแย้งที่ต่างฝ่ายต่างฉุดกระชากลากถูกกันไปคนละข้าง ทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่ไขว้เขวเสียหลักกระทั่งได้รับผลกระทบกับตนเองจนดูเหมือนจะเสียกระบวนไป ภูมิรู้ที่มีอยู่ในตนก็ไม่สามารถช่วยสังคมออกจากความขัดแย้งได้ สับสนกับความเป็นไปและความเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถปรับความคิดความอ่าน

ว่าที่จริง ปรากฏการณ์
"เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน"  เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับ ส. ศิวรักษ์ หลังกลับจากเมืองนอก ที่ยังหนุ่มและใหม่เสียจนจับต้นชนปลาย แยกผิดแยกถูกไม่ออกในบทบาทของปรีดี  พนมยงค์ ว่าเป็นคุณหรือโทษต่อสถาบันกษัตริย์

เราได้เห็น ปรากฏการณ์
"เวลาเปลี่ยน ใจคนเปลี่ยน" ของส. ศิวรักษ์ เกิดขึ้นอีกครั้งต่อกรณีของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร ที่เขาออกตัวยืนข้างศักดินาและภาคประชาชนปลอม ๆ อย่างเปิดเผย

"เพราะคุณมีสถาบันกษัตริย์จะต้องมีศักดินาเล็กน้อย มีศักดินาเล็กน้อยไม่เสียหาย แต่มีศักดินามากเกินไปเสียหาย" http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=14409&Key=HilightNews

ส. ศิวรักษ์ นั้นแตกต่างกับส. ลิ้มทองกุลอย่างเทียบกันไม่ติด แต่ดูเหมือนว่าทั้งคู่กับกำลังโน้มเข้าหากันคือเอาตัวรอดโดยผูกขาดความจงรักภักดี และใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อโจมตีคนอื่น.

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน