Skip to main content
บทความเรื่อง "แรงฤทธิ์ แต่อ่อนผล" ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนรายวันhttp://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01020352&sectionid=0130&day=2009-03-02 (วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11314) มีหลายประโยค หลายวลี หลายคำที่อ่านแล้วต้องส่ายหัวด้วยความอิดหนาระอาใจกับอคติและภูมิปัญญาของเขา แต่มีอยู่ประโยคหนึ่งที่อ่านแล้วทำให้ผมสะดุดหยุดกึกในทันทีคือประโยคที่ว่า


"
ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"


ประโยคนี้ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ทำให้ผมได้ข้อสรุปหนักแน่นชัดเจนว่า นิธิ เอียวศรีวงศ์ เพี้ยนไปแล้วจริง ๆ


ทันทีที่ประโยคนี้ผ่านเข้ามาทางสายตาสู่สมอง ผมเกิดคำถามมากมายที่อยากจะถามกลับไปว่า

"เราสามารถรักอภิสิทธิ์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักการทำรัฐประหารและรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักพลเอกเปรม ติณสูลานนท์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักเจ้าและรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักหมอประเวศ วะสี แอนด์เดอะแก๊งค์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"เราสามารถรักนิธิ เอียวศรีวงศ์และรักประชาธิปไตยพร้อมกันได้หรือไม่ ?"

"นิธิ เอียวศรีวงศ์ กำลังปกป้องประชาธิปไตยอยู่หรือ ?"


นิธิ เอียวศรีวงศ์ ขึ้นต้นบทความของเขาด้วยคำถามที่ว่า "กลุ่มคนเสื้อแดงกำลังปกป้องประชาธิปไตยอยู่หรือ?" จากนั้นก็สาธยายไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ หาข้อมูล ยกตัวอย่างการเคลื่อนไหวต่อต้านกดดันการจัดงาน Gay Pride ที่เชียงใหม่ของคนเสื้อแดงมาสนับสนุนคำตอบที่มีอยู่ในใจแล้วว่าคนเสื้อแดงนั้นไม่ได้ปกป้องประชาธิปไตย!

ทีนี้มาลองพยายามทำความเข้าใจกับประโยคสำคัญที่ว่า "ไม่ผิดอะไรที่จะรักทักษิณ แต่รักทักษิณและรักประชาธิปไตยพร้อมกันไม่ได้ เพราะสองอย่างนี้ขัดแย้งกันเอง"


นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่า "คุณทักษิณไม่ใช่ตัวแทนของประชาธิปไตย อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในสายตาของคนจำนวนมากพอสมควร ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ คุณทักษิณเป็นได้แต่เพียงตัวแทนของรูปแบบแต่ขาดเนื้อหาของประชาธิปไตย ภายใต้คุณทักษิณ รัฐไทยทำให้มีผู้เสียชีวิตนอกกระบวนการทางกฎหมายได้เกือบ 3,000 คน มีการอุ้มฆ่าอีกหลายร้อยโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเอง สื่อซึ่งก็ไม่ค่อยมีสมรรถภาพอยู่แล้ว กลับถูกแทรกแซงอย่างหนัก ทั้งผ่านคำสั่งหรือคำเตือนโดยตรง ไปจนถึงการกำกับด้วยการถอนโฆษณา, การซื้อหุ้นควบรวมกิจการ และการข่มขู่คุกคามนักหนังสือพิมพ์ อีกทั้งวางนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองและพรรคพวก โยกย้ายและแต่งตั้งข้าราชการเพื่อสร้างฐานอำนาจถาวรให้แก่ตนเองฯลฯ"


เราสามารถยกตัวอย่าง "เนื้อหา" ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้หลายข้อกว่านี้มาก เช่น การฆ่ามุสลิมในมัสยิดกรือเซะ การทำให้คนตายกรณีตากใบ ฯลฯ แต่ในทางกลับกัน เราสามารถยกตัวอย่าง "เนื้อหา" ที่เป็นประชาธิปไตย(ที่กินได้)ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรได้มากกว่ามากเช่นเดียวกัน เช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค, กองทุนหมู่บ้านละล้าน, การกำจัดผู้มีอิทธิพล ปัญหาก็คืออะไรคือเนื้อหาของประชาธิปไตยที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ หมายถึง?


นิธิ เอียวศรีวงศ์บอกว่า "ประชาธิปไตยของโลกยุคใหม่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่กลไกในระบบการเมืองเท่านั้น แต่หมายถึงการเคลื่อนไหวและการจัดองค์กรของประชาชนทุกระดับเพื่อการต่อรอง และไม่ใช่การต่อรองทางการเมืองในระบบอย่างเดียว รวมถึงการต่อรองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมด้วย"


นิยามเบื้องต้นเรื่องประชาธิปไตยของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ฟังดูเข้าท่าแต่เหมือนลอยอยู่ในอากาศ แล้วก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร หากนิธิ เอียวศรีวงศ์ ต้องการจะสื่อว่านโยบายสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ไม่ส่งเสริมกระทั่งขัดขวางเนื้อหาของประชาธิปไตยตามนิยามข้างต้น คำถามก็เกิดขึ้นว่ามีรัฐบาลใดบ้างที่สนับสนุนเนื้อหาประชาธิปไตย ?


ทีนี้เราลองพิจารณาสิ่งที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนถึงอภิสิทธิ เวชชาชีวะ บ้าง เขาเคยเขียนว่า

"นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวลแต่สง่างามในครั้งนี้" (ความสง่างามของอภิสิทธิ, มติชนรายวัน,วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2550) 


เป็นความเพี้ยนในทางหลักการที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะเลือกด่าเฉพาะเจาะจงที่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร

เป็นความเพี้ยนอันเกิดจากอคติและความมืดบอดที่ไม่เข้าใจเรื่องสัญลักษณ์และแรงดลใจของคนระดับรากหญ้า


จะว่าไป นิธิ เอียวศรีวงศ์ มีบทบาทในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยน้อยมากกระทั่งไม่มีเลย

จะว่าไป นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็ไม่ได้ดีไปกว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ในเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตยที่กินได้และจับต้องได้จริง


ใครก็ได้ช่วยถามให้ทีว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ กำลังปกป้องประชาธิปไตยอยู่หรือ?"


บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
-1-พรรคประชาธิปัตย์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง โดยชูคำขวัญที่ฟังดูดัดจริตและกินไม่ได้ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน”ผมได้ยินหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งคำนี้ออกมาแล้วก็ให้นึกสงสัยว่าจะมีใครซักกี่คนในโลกนี้เชื่อในสิ่งที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ พูดออกมาพรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามสไตล์ถนัดด้วยการโฆษณาหาเสียงก่อนใครเพื่อน  ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคพลังประชาชนนั้นต้องเจอกับอำนาจชั่วที่คอยการสกัดกั้นทุกรูปแบบ-2-ต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคพลังประชาชนจะฝ่าต้านแรงสกัดจากอำนาจชั่วได้มากน้อยแค่ไหน…
เมธัส บัวชุม
อันที่จริง ผมตั้งใจจะหยุดเขียนบทความการเมืองสักระยะด้วยรู้สึกระอากับความวิปริตทางปัญญาของสังคมไทย ผมยังรู้สึกหลอนไม่หายกับการยึดอำนาจของทหารท่ามกลางความดีอกดีใจของพวก “ทาสที่ปล่อยไม่ไป” และพวกที่กลุ้มรุมทึ้งแย่งผลประโยชน์ “แห่งชาติ” ที่ไม่ได้ “เหลือแต่กระดูก” หลังการจากไปของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรกลุ่มคนเหล่านี้ที่เข้ามายึดกุมอำนาจหลังรัฐประหาร ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการสร้างประชาธิปไตยหรือปฏิรูปการเมือง  รัฐบาลเถื่อนของนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ กับ คมช. คตส. กกต. ที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้างที่เป็นสร้างเสริมประชาธิปไตย หรือปฏิรูปการเมืองไปสู่ครรลองประชาธิปไตยนอกจากสมคบคิดกันกวาดล้างกลุ่ม…
เมธัส บัวชุม
นิตยสาร “ราหูอมจันทร์” เกิดขึ้นท่ามกลางความซบเซาทั้งทางด้านการเขียน การอ่านและการวิจารณ์ของแวดวงเรื่องสั้นไทย ราหูอมจันทร์ เป็นนิตยสารรายครึ่งปีหรือที่ทางผู้จัดทำเรียกว่ารายฤดูกาล เป็นการคัดสรรเรื่องสั้นที่มีผู้ส่งไปจากทั่วสารทิศเพื่อรวมพิมพ์เป็นเล่มบรรดาคอเรื่องสั้น ต่างวาดหวังว่าการมาถึงของราหูอมจันทร์อาจช่วยให้วงการคึกคักขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย   อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านแล้ว ต้องกล่าวตามตรงว่าราหูอมจันทร์ Vol. 3 “วันปลดปล่อยผีเสื้อ” นั้นมีระดับคุณภาพที่น่าผิดหวังไม่น้อย ทางผู้จัดทำนิตยสารนี้คือกองทุน “กนกพงศ์  สงสมพันธุ์” ก็ยอมรับว่า“ราหูอมจันทร์ Vol. 3…