Skip to main content
ผมเคยดูวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ชื่อ "แฮมเมอร์" แสดงสดหลายครั้ง ต่างกรรมต่างวาระ ดูครั้งแรกเมื่อสิบกว่าปีก่อน ยอมรับว่าประทับใจมาก ครั้งต่อ ๆ มาก็ยังประทับใจ ทุกคนในวงตั้งใจเล่น ตั้งใจร้อง นักดนตรีหลายคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชิ้น เดี๋ยวขลุ่ย เดี๋ยวไวโอลิน ดูแล้วเพลิดเพลินนัก


แตกต่างจากวงดนตรี
"เพื่อชีวิต" ทั่ว  ๆ ไป แม้จะมีหนวดเครายาวรุงรัง แต่แฮมเมอร์ดูสะอาด ไม่มีลีลาหรือพิธีรีตองอะไรมาก ไม่ต้องเก๊กหน้าให้ดูเหมือนกับคนมีความคิดลึกซึ้งหรือดัดเสียงให้ฟังซึ้งเศร้าหรือด่านักการเมืองก่อนเข้าเพลง  วงดนตรีแฮมเมอร์เป็นอะไรที่น่าจดจำ

อย่างไรก็ตาม เสียงเพลงและการแสดงของแฮมเมอร์ไม่น่าประทับใจและน่าจดจำอีกแล้วเมื่อแฮมเมอร์เลือกที่จะสร้างอะไรใหม่ ๆ ให้กับตนเองโดยการกระโดดขึ้นเวทีของแก๊งค์ก่อการร้ายพันธมิตร เดินตามรอยวงดนตรีอย่าง "คาราวาน" เข้าสมทบเป็นหนึ่งของกลุ่มเสื้อเหลือง  ฝักใฝ่ศักดินา ใช้ความเป็นศิลปินฉวยโอกาสเกาะไปกับกระแสเพื่อหาที่ปักหลักให้กับตนเอง

วงแฮมเมอร์เกิดขึ้นมาในบริบทของการต่อสู้ทางการเมืองแห่งเดือนตุลาคม ร้องเล่นอยู่ในหมู่กรรมกรและนักศึกษา เปลี่ยนชื่อวงไปเรื่อย  ๆ เพื่อความปลอดภัย  กระทั่งกลายเป็นแฮมเมอร์ในที่สุด

เพลง
"บินหลา" ซึ่งเป็นเพลงสร้างชื่อของแฮมเมอร์ (มีการนำไปประกอบภาพยนตร์) เพลงนี้มีการแก้ไขคำเพียงเล็กน้อยจากบทเพลงที่   วิสา คัญทัพ แต่งให้กับขบวนการฝ่ายซ้าย ทำนองโดย จิ้น  กรรมาชน (เกิดกรณีเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ช่วงหนึ่งระหว่างแฮมเมอร์กับวิสา  คัญทัพ เพราะแฮมเมอร์ไม่ให้เครดิตกับเจ้าของเพลงตัวจริง) ส่วนเพลง "แม่" ก็ดัดแปลงมาจากเพลง "ความแค้นของแม่" ของวงคาราวาน

การรำลึกถึงเหตุการณ์ในเดือนตุลาคมที่จัดขึ้นตามที่ต่าง ๆ วงดนตรีเพื่อชีวิตหลายวงรวมทั้งแฮมเมอร์จะได้โอกาสขึ้นแสดง ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่าวงแฮมเมอร์เติบโตมาพร้อมกับการต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการประชาธิปไตย

ความขัดแย้งทางการเมือง และการเกิดขึ้นของกลุ่มก่อการร้ายพันธมิตรถือเป็นอีกวาระหนึ่งที่เหล่าวงดนตรีเพื่อชีวิตจะได้แสดงบทบาท ช่างเป็นเรื่องน่าเสียดายที่วงดนตรีที่เป็นตำนานและสร้างเพลงดี ๆ ไว้มากอย่างคาราวานเลือกไปยืนกับฝ่ายเหลือง  พร้อมพ่วงเอาแฮมเมอร์และเหล่ากวีซีไรท์ล้าหลังเข้าไปด้วยโดยคิดเอาง่าย ๆ ว่าแค่ต่อต้านอะไรที่มันดูเป็นทุนนิยมก็ถือว่าใช้ได้แล้วทั้งที่ตามจริงแล้วทุกลมหายใจเข้าออกในยุคปัจจุบันไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ทุนนิยม การทำทีเป็นต่อต้านทุนนิยมที่แท้แล้วคือการปฏิเสธ
"ปิศาจ" ที่อยู่ในตัวเอง

การเลือกข้างสีเหลืองทำให้แฮมเมอร์มีแฟนเพลงที่หลากหลาย และกลับมามีชื่ออีกครั้งหลังจากที่เป็นที่รู้จักกันในวงแคบ ๆ เท่านั้น   หากไม่ใช่เพราะความเป็นสีเหลือง หากไม่ใช่เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้วคงเป็นไปได้ยากที่แฮมเมอร์จะจัดคอนเสิร์ตในอินดอร์ สเตเดื้ยม หัวหมาก ในวาระที่ครบรอบ 30 ปี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
           



อารี ประธาน นักร้องนำของวงกล่าวถึงคอนเสิร์ตใหญ่ของพวกเขาว่า
"จุดประสงค์ของแฮมเมอร์หวังเพียงว่าฝันของเราคือ 30 ปีคอนเสิร์ต ซึ่งไม่รู้ว่าจะทำได้เมื่อไหร่ แต่เวลานี้ทำได้ กลุ่มมวลชนพันธมิตรฯ ก็จะเป็นกำลังใจสูงด้วย ฉะนั้นหากเราทำแล้วมันเกิดประโยชน์ต่อสังคมร่วมไปกับเอเอสทีวี ดูน่าจะเป็นความน่ารักในการสร้างประวัติศาสตร์ 30 ปีด้วย"
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000012705

ความพิเศษของคอนเสิร์ตนี้นอกจากจะมีแขกรับเชิญจากกลุ่มพันธมิตรอย่างสนธิ ลิ้มทองกุล 
ศรัณยู วงศ์กระจ่างและมงคล  อุทกแล้ว แฮมเมอร์ยังได้ขับขานบทเพลง "พ่อของเรา" ที่แต่งโดย "พลเอกเปรม ติณสูลานนท์" เป็นครั้งแรกด้วย

"ป๋าเปรมเป็นคนเขียนเพลงนี้ แล้วส่งมาให้แฮมเมอร์, ให้แฮมเมอร์ได้นำเสนอต่อไป ให้ทำในสไตล์ของแฮมเมอร์ 
เป็นเพลงที่ป๋าเขียนถึงในหลวง เราก็อยากให้คนไทยคิดตามเพลงนั้น" อารีเล่าต่อ "แต่การสื่ออารมณ์ของเพลง ป๋าเปรมบอกให้แฮมเมอร์ใช้อารมณ์ความเป็นแฮมเมอร์ อันนี้จึงเป็นเอกสิทธิ์หนึ่งที่ท่านบอกให้นำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนให้มากที่สุด การนำเพลงของป๋าเปรมมาไว้ในคอนเสิร์ตแล้วเป็นการเทิดทูนในหลวง เป็นเรื่องที่เรากตัญญู แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือเกียรติยศของเราด้วย กับ 30 ปีที่เราทำงานมา"
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000012705


ภาพการสวมกอดกันระหว่างสมาชิกวงแฮมเมอร์กับสนธิ  ลิ้มทองกุล เป็นอะไรที่เหนือคำบรรยาย  ความเขลาทำให้เสื่อมได้จริง ๆ .

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ภายใต้การนำของ สาวิทย์ แก้วหวาน ผู้ซึ่งเป็นแกนนำสหภาพแรงงาน ฯ เป็นการประท้วงในสไตล์เดียวกับการประท้วงของกลุ่มพันธมิตร นั่นคือเอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง 
เมธัส บัวชุม
หลังจากอิดออดเพื่อรักษาท่าทีแต่พองามแล้ว “ผู้ร้าย” สองคนก็เปิดตัวเปิดใจกระโจนเข้าสู่วง ”การเมือง” เต็มตัว “ผู้ร้าย” คนแรก
เมธัส บัวชุม
ไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนในอำเภอเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี นานมาแล้วที่ผมไม่ได้ออกไปไหน เพื่อนพาไปเที่ยวป่าและแวะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่แลดูลี้ลับ วังเวงและยากไร้
เมธัส บัวชุม
สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่กับความโง่ มีความโง่เป็นเจ้าเรือน นับวันความโง่ยิ่งแผ่ขยายแพร่กระจายไปราวเชื้อโรค หลายคนโง่โดยสุจริต  คนเหล่านี้น่าเห็นใจ ถูกครอบงำด้วยความไม่รู้  อคติ ความเกลียดชังทำให้ประสิทธิภาพในการคิดเสื่อมถอย สติปัญญาถูกบิดเบือนไป คนประเภทนี้โง่เพราะถูกอคติทำลายจนมืดบอด
เมธัส บัวชุม
  ในระหว่างที่รัฐบาลกำลังรวนเรเพราะความไร้ฝีมือและความเน่าจากภายใน แทนที่จะทุ่มสมองและแรงงานเพื่อกระหนาบกระหน่ำรัฐบาลโจร คนเสื้อแดงเฉดต่าง ๆ ก็กลับใช้โอกาสนี้วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงกระทั่งแตกออกเป็นสาย
เมธัส บัวชุม
ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์กำลังเดินทางไปในอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก และเตรียมหาที่อยู่บนดาวดวงอื่น ทั้งวิตกกังวลกับโรคระบาดชนิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้มนุษย์ต้องสูญพันธุ์ ประเทศไทยยังคงสนุกสนานเหมือนเด็กเล่นขายของกับการกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกระทั่งล้มสถาบันสนุกครับ สนุก
เมธัส บัวชุม
ตื่นเช้าขึ้นมา หากไม่มีอะไรเร่งด่วนต้องทำ ผมจะนั่งเขียนโน่น เขียนนี่พร้อม ๆ กับที่เข้าไปในบอร์ดประชาไท อ่านกระทู้ต่าง ๆ อยู่เงียบ ๆ มานานจนเกือบจะกลายเป็นกิจวัตร (ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์) แต่หลังเช้าไปแล้ว ผมก็ทำอย่างอื่น ไม่ได้นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวในบอร์ดประชาไทได้อีก ดังนั้นจึงได้อ่านเพียงบางกระทู้เท่านั้นและล้วนแล้วแต่เป็นการอ่านผ่านๆ ทั้งสิ้น
เมธัส บัวชุม
พักหลัง ผมเข้าไปเยื่ยมชมเว็บไซต์ "ASTVผู้จัดการ" บ่อยครั้ง เพื่ออยากรู้ว่าชาวสีเหลืองหรือกลุ่มพันธมิตรคิดอ่านกันอย่างไร มีนวัตกรรมอะไรบ้างในการทำลายฝ่ายตรงข้าม ศึกษากลวิธีในการเต้าข่าว การใส่ไคล้ การใช้ภาษาของบรรดาคอลัมนิสต์ กระทั่งแวะเข้าไปอ่าน "เรื่องนินทาราวตาเห็น" ของ "ซ้อเจ็ด" ผู้โด่งดัง
เมธัส บัวชุม
หลายวันก่อน ได้อ่านบทความของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง “ทางออกจากทักษิณ” (มติชนรายวัน, 20 ก.ค. 52.) บทความนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อเหลืองและแดง  เนื้อหาของบทความ นอกจากปัญญาชนรายนี้จะออกตัวให้กลุ่มพันธมิตรหรือเสื้อเหลืองโดยยกระดับความคิด และการกระทำของคนกลุ่มนี้ว่าเกิดจากทัศนะและความเข้าใจในประชาธิปไตยที่แตกต่างจากกลุ่มเสื้อแดงซึ่งทั้งสองกลุ่มล้วนแล้วแต่มีจุดอ่อน  
เมธัส บัวชุม
นานมาแล้ว ที่ผมไม่เคยเจ็บป่วยขนาดต้องไปโรงพยาบาลหรือหาหมอ อย่างมากก็แค่ซื้อยาแก้เจ็บคอมากิน แต่ครั้งนี้เจ็บคอหลายวัน บวกกับอาการมึนหัว เบื่ออาหาร เพลีย และปวดเมื่อยเนื้อตัวอย่างหนักขนาดทาถูสบู่ตามตัวยังรู้สึกปวดไปถึงกระดูก เวลานอนต้องนอนตะแคงอย่างเดียวจะนอนหงายหรือคว่ำไม่ได้เพราะปวดเมื่อย(ขนาดนั้น) ผมจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลแม้จะยังสงสัยอยู่ว่าคิดถูกหรือผิดกันแน่ น่าตกใจพอสมควรที่คนป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เต็มล้นโรงพยาบาล (แต่แทบไม่มีคนที่อยู่วัยเดียวกับผม) ผมคิดในใจว่าถ้าตนเองเป็นเพียงโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ก็คงจะมารับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลนี่แหละ…
เมธัส บัวชุม
การล่า 1 ล้านรายชื่อของสามเกลอแห่ง "ความจริงวันนี้" เพื่อถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นประเด็นให้คนเสื้อแดงถกเถียงแก้เซ็งไปพลาง ๆ โหมโรงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป มีความคิดเห็นค่อนข้างหลากหลายในหมู่คนเสื้อแดงด้วยกัน ทั้งนี้เพราะคนเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายในตัวเองอยู่แล้ว คือมีตั้งแต่ "แดงอนุรักษ์" ไปจนถึง "แดงถอนรากถอนโคน" ซึ่งลักษณะที่ว่านี้ไม่มีในหมู่คนเสื้อเหลือง
เมธัส บัวชุม
เป็นความคิดที่ดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความพยายามจะ “รื้อฟื้น” วันชาติขึ้น เพราะมันมีความหมายและนัยสำคัญต่อประชาธิปไตยและการเมืองไทยอย่างมาก วันชาติเป็นผลพวงของการยึดอำนาจของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ระบอบการปกครองแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเสียงและความคิดเห็นของประชาชน ภายใต้หลักนิติรัฐที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเสมอกัน