Skip to main content

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับป๋าไมเคิ่ล ฮานาเก้ที่ได้รางวัลปาล์มทองอีกครั้งหนึ่งจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ Ffpภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Amour ที่เรียกได้ว่าเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งว่า ฝีมือการทำหนังของผู้กำกับคนนี้เป็นของจริงที่ยิ่งเวลาผ่านไปรสชาติการทำหนังของเขาก็ยิ่งเข้มข้นทุกทีไม่เหมือนผู้กำกับอีกหลายรายที่มือตกไปอย่างไม่น่าอภัย กระนั้นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับชายที่ชื่อว่า ไมเคิ่ล ฮานาเก้นี้ก็คือ แค่หนังเรื่องแรกของเขานั้นก็ปรากฏแววเก่งมาในทันที 

และหนังเรื่องแรกของเขาก็คือ The Seven Continent นั้นเอง
 และภาพยนตร์ที่โลกใบนี้ได้ต้อนรับชายผู้มีนามว่า ไมเคิ่ลฮานาเก้ 
กับหนังที่เป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า 
ไตรภาคของความเลือดเย็น  

 
หาก Funny Game คือผลงานที่ทำให้คนจำนวนมากรู้จักชื่อของเขาและได้รับรู้ความรู้สึกกระอักกระอ่วนในชัยชนะของความชั่วร้ายบวกการตบหน้าของคนดูอย่างจัง แต่กับหนังเรื่องนี้ ฮานาเก้ได้ทำสวนกลับจากหนังเรื่องนั้นกลายเป็นหนังที่เราได้อึ้ง งุนงง และไม่เข้าใจตั้งแต่จนจบ
 
เรื่องราวของหนังเกิดขึ้นในครอบครัวของคนชนชั้นกลาง ครอบครัวทีมีชีวิตแสนธรรมดาและอยู่อย่างสงบ พ่อต้องตื่นไปทำงาน แม่ตื่นมาทำอาหารเช้าให้เขาและลูกสาวที่ตื่นเตรียมไปเรียน ชีวิตของพวกเขาวนเวียนเป็นเข็มนาฬิกาที่ไม่มีวันสิ้นสุด ทุกวันชีวิตของพวกเขาจะดำเนินไปแบบนี้จนกระทั่งวันหนึ่งได้เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นเมื่อในวันหนึ่งเพื่อนบ้านมาพบศพของพวกเขาเข้าภายในบ้านที่มีแต่ซากปรักหักพัง ทุกสิ่งในบ้านพังหมดทุกอย่าง ร่างอันไร้วิญญาณของพวกเขานอนนิ่งอยู่บนเตียง ท่ามกลางความงุนงงของทุกคนที่ต่างตั้งคำถามว่า ทำไมพวกเขาถึงฆ่าตัวตาย
 
จากเนื้อเรื่องย่อที่อ่านแล้วหลายคนคงยกมือถามผมว่า มันเลือดเย็นตรงไหน ถ้าไปเทียบกับหนังเรื่องก่อนอย่าง Funny Game ยังดูน่ากลัวกว่า ผมเลยบอกว่า หนังเรื่องนี้เลือดเย็นก็ต้องที่มันวิพากษ์เรื่องคนชนชั้นกลางอย่างเราๆท่านๆในแบบที่เห็นพูดไม่ออกเหมือนกัน
 
หนังเปิดเรื่องด้วยภาพกิจวัตรประจำวันที่ซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งแน่นอนว่าเป็นชีวิตประจำวันที่หลายคนนั้นคุ้นชินทั้ง การตื่นนอน อาบน้ำ แปรงฟัน ทานอาหารเช้า ทำงาน ไปโรงเรียน กลับบ้าน ทานอาหารเย็น อาบน้ำ เข้านอนแล้วตื่นขึ้นมา หนังฉายภาพซ้ำไปซ้ำมาจนทำให้คนดูรู้สึกรำคาญประมาณว่า มึงจะทำเรื่องพวกนี้ซ้ำไปซ้ำมาทำไมว่ะ นั้นล่ะครับ เราคงลืมไปแล้วว่านั้นคือพฤติกรรมของเราที่เกิดขึ้นจริงๆทุกเช้านั้นเอง ความรู้สึกของเราจึงไม่ต่างกับตัวละครเท่าไหร่และนั่นทำให้เราเริ่มเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นมากขึ้น ซึ่งหนังจะแสดงภาพภาวะที่ผิดปกติจากการอยู่แบบนี้นานๆของครอบครัวนี้ เราได้รู้ว่าพวกเขาตั้งหน้าตั้งตาอยากจะไปเที่ยวกันในวันหยุด ณ ทวีปที่ 7 หรือออสเตรเลียในสิ่งหนังพูดถึง ที่ที่จะทำให้พวกเขาพ้นไปจากสภาพนี้ ซึ่งสิ่งที่เราได้รู้ก็คือ สุดท้ายพวกเขาไม่ได้ไปไหนอย่างที่คิดแถมยังมีเรื่องราวมากมายโผล่เข้ามาในชีวิตทั้งเรื่องที่คนพ่อกำลังถูกเลื่อนตำแหน่ง เรื่องร้านของแม่ที่น้องชายของเธอดูแล เรื่องสารพัดอย่างที่ถาโถมเข้าใส่ครอบครัวนี้แน่นอนว่า เราพูดดูหนังคงรู้สึกอึดอัดและน่ารำคาญกับหนังที่ไม่ให้เห็นอะไรไปมากกว่านี้
 
ซึ่งนั้นล่ะตอนนี้เราก็กำลังอยู่ในสถานะเดียวกับตัวละครแล้ว ดั่งกับหนังจะบอกเราว่า
พวกเอ็งไม่ได้ต่างไปจากครอบครัวนี้เท่าไหร่หรอกนะเฟ้ย
 
ครั้งก่อนผมได้เขียนถึงภาพยนตร์ที่เชื่อในความรักและสถาบันครอบครัวอย่าง It's Wonderful life ไปแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าหนังเชื่อมั่นในความดีอย่างสุดโต่ง ทว่าหนังเรื่องนี้กลับไม่เชื่อมั่นในเรื่องนี้เลยแม้แต่น้อย ฮานาเก้มองว่า ไอ้ภาพในหนังแบบนั้นมันไม่มีจริงหรอก มันมีแต่ภาพการล่มสลายแบบช้าๆภายใต้ระบบคนชนชั้นกลางต่างหากที่ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งเหมือนเครื่องจักรกันไปทุกที ดั่งฉากหนึ่งที่น่าจะเป็นฉากที่เป็นเหมือนคำตอบของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้อย่างดี มันเป็นฉากที่ครอบครัวนี้ไปล้างรถด้วยกัน พวกเขาที่อยู่ในรถต่างนั่งนิ่งไม่เคลื่อนไหวใดๆไม่มีคำพูดใดๆนอกจากเสียงเครื่องล้างรถที่ดังกระหึ่มราวกับเป็นเสียงที่ออกมาจากจิตใจของพวกเขา
 
หรืออีกในนัยหนึ่งก็คือ พวกเขาได้กลายเป็นเครื่องจักรกันไปหมดแล้ว
 
ดังนั้นต่อจากฉากนี้เราจึงได้เห็นฉากสุดช็อคที่เกิดขึ้นเมื่อเราเห็นทั้งสามคนไปซื้อของด้วยที่ซุปเปอร์ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ที่ดูแล้วได้แต่ฉงนว่า พวกเขาเอาไปทำอะไรกันทั้งค้อนอันใหญ่และสว่านและอีกมากมายก่อนที่ทุกอย่างจะมาเฉลยเมื่อเราได้เห็นภาพของการทำลายล้างทุกอย่างในบ้านแบบวินาศสันตะโรแบบไม่มีอะไรเหลือแม้กระทั่งตู้ปลาทองหรือกระทั่งเงินที่พวกเขายัดชักโครกไปหมด สิ่งที่พวกเขาเหลืออยู่ก็มีเพียงกันและกันบนเตียงพร้อมกับเปิดโทรทัศน์ฟังเพลง The Power of love ไปด้วยก่อนที่พวกเขาจะค่อยๆตายไปทีล่ะคน
 
คำถามเกิดขึ้นทันทีที่หนังจบ
 
ทำไมพวกเขาถึงฆ่าตัวตาย
 
เราคงไม่สามารถตอบได้ว่าเพราะเหตุใด แต่สิ่งที่หนังทำก็คือฉายภาพซ้ำๆกันของกิจวัตรประจำวัน ที่ทำให้เราพึงระลึกว่า ชีวิตของมนุษย์ตามระบบนั้นก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากหุ่นยนต์เลย เราถูกโปรแกรมให้มีชีวิตไปตามสั่ง ตื่นนอน อาบน้ำ กินข้าว ไปทำงาน ไปเรียน กลับบ้าน นอน ชีวิตที่แสนน่าเบื่อและซ้ำซากได้กัดกร่อนให้จิตใจของคนเริ่มห่างจากความเป็นคนไปทุกทีกลายเป็นความชินชา(ฉากหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ ฉากที่ครอบครัวนี้ขับรถไปเห็นอุบัติเหตุทว่า พวกเขากลับมองผ่านมันไปเฉยๆอย่างไม่ใยดี นั้นคือสัญญาณเตือนของการออกจากความเป็นมนุษย์ไปแล้ว เพราะอย่างน้อยพวกเขาจะรู้สึกอะไรบ้างไม่ใช่มองมันด้วยสายชินชาราวกับทุกอย่างเป็นปกติ) ดังนั้นการฆ่าตัวตายของเขาจึงเป็นทางเดียวของพวกเขาที่จะหลุดพ้นไปจากวงจรอุบาทว์นี้ไปให้ได้ เพราะการตายในความคิดของเขาคือ การหลุดพ้นจากครอบงำของระบบทุกอย่างนั้นเอง
 
เราคงเคยคิดว่า มนุษย์เป็นผู้กำหนดชีวิตของตัวเองมาตลอดทว่าสิ่งที่หนังได้ถามก็คือ จริงหรือที่เรากำหนดชีวิตตัวเอง ไม่ใช่ว่าเราถูกกำหนดโดยใครเหรอ ทำไมเราต้องทำงาน ทำไมเราต้องเรียนหนังสือ ทำไมเราต้องมีความรัก ต้องแต่งงาน ต้องทำนู้นนี่หลายอย่าง เรากำหนดมันด้วยตัวเองหรือว่า เราถูกสิ่งที่เรียกว่า มายาคติกำหนดกันแน่ ใครกำหนดว่าทำงานต้องซื้อบ้านซื้อรถกัน
 
ถ้าไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า มายาคติของคนชนชั้นกลาง
 
ที่จริงมีหนังอีกหลายเรื่องที่พูดถึงการล่มสลายของมายาคติคนชนชั้นกลางได้อย่างถึงพริกถึงขิงหากไม่นับเรื่องนี้ หนังผีอย่าง ลัดดาแลนด์ หรือ Revolutionary Road ก็พูดถึงสภาพการล่มสลายของระบบครอบครัวภายใต้ทุนนิยมคนชนชั้นกลางที่ถูกมายาคติทุกอย่างหล่อหลอมทับจนกลายเป็นเหมือนการถูกโปรแกรมไปแบบไม่รู้ตัว
 
น่าขนลุกดีไหมครับ 
 
แต่มันไม่น่าขนลุกมากกว่านั้นถ้าหนังไม่ขึ้นบอกว่า หนังเรื่องนี้สร้างจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง นั้นทำให้ผมครางฮือด้วยความตกใจเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็ไม่ได้ห่างจากเราเท่าไหร่
 
เพราะเรานั้นเป็นเพียงมนุษย์คนชนชั้นกลางเดินดินที่ทำได้เพียงแค่ใช้ชีวิตก่อนจะกลายเป็นเครื่องจักรในที่สุด

 

บล็อกของ Mister American

Mister American
ปี 2515 ณ หมู่บ้านห่างไกลผู้คนในจังหวัดกาญจนบุรี แย้ม เด็กสาวผู้เคยป่วยหนักจนเกือบตายได้มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น เธอเริ่มพูดจาด้วยคำหยาบคายกับคนในครอบครัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เริ่มโกหกและยุแยงให้คนในบ้านแตกคอกัน รวมทั้งลุกขึ้นมาตอนกลางคืนเพื่อนกินของสดทำให้คนในครอบครัวโดยเฉพาะ หยาด เกิดความสงสัยขึ
Mister American
สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน           “ความตาย...มันฆ่าเฮาได้แค่ครั้งเดียว แต่ความฮัก มันฆ่าเฉาไปเรื่อยๆๆ จนกว่าเฮาสิตายพุ่นเด้”บักมืด 
Mister American
                ระหว่างที่เขียนต้นฉบับบทความนี้อยู่นั้น การโหวตประธานรัฐสภาและรองประธานสองคนการประชุมสภาวันแรกได้จบลงแล้ว และ ผลคือ คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนใหม่ ร่วมกับ รองประธานสภาสองท่านจากพรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อ
Mister American
            คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดในซีซั่นนี้ที่เรียกว่า สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับบรรดาคนดูอนิเมชั่น และ คนดูหนังหลายคนได้เท่ากับ อนิเมชั่นซีรีย์เรื่อง Oshi no Ko หรือ ชื่อไทยว่า เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ผลงานดัดแปลงจากมังงะขายดีของ อากะ อาคาซากะ ที่ได้ฤกษ์ออกฉายไปเมื่อ
Mister American
                "พรมนิ้วลงไป หวังให้อัสนีกึกก้องด้วยละอองแสง                   กระหน่ำตีเข้าไปให้ถึงปลายทางของความเจ็บปวด
Mister American
                พอ Hellraiser ภาคใหม่จะลงฉายใน Hulu กันในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ (ซึ่งไทยจะได้ดูกันใน Disney Plus) นับว่าเป็นการกลับมาอีกครั้งของพินเฮดและเหล่าซีโนไบร์ต หนึ่งในไอค่อนของโลกสยองขวัญที่โด่งดังไม่แพ้ เฟรดดี้ ครูเกอร์ แห่ง Nightmare of elm street , เ
Mister American
พึ่งจบกันไปหมาด ๆ สำหรับอนิเมชั่นเรื่องดังประจำซีซั่นนี้อย่าง Lycoris  Recoli จากค่าย A-1 Picture ที่นอกจากจะเป็นม้ามืดประจำซีซั่นนี้ที่ได้รับความนิยมแบบถล่มทลายจนแซงหน้าบรรดาอนิเมชั่นฟอร์มยักษ์เรื่องอื่น ๆ ไปแบบไม่มีกังขา โดผลโหวตจากสำนักอนิเมชั่นต่าง ๆ โหวตให้เรื่องนี้อยู่
Mister American
“ทำไมถึงไม่มีหนังสัตว์ประหลาดไทยดี ๆ ออกมาสักทีวะ ?”
Mister American
คงไม่ต้องบอกว่า ณ ช่วงเวลานี้ หลาย ๆ คนคงให้ความสนใจกับการชุมนุมของบรรดาหนุ่มสาววัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษาคนรุ่นใหม่ที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ขับไล่เผด็จการ และ เปลี่ยนแปลงประเทศใหม่ กันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะปรากฏการณ์ของการชุมนุมที่เกิ