“การเป็นเกย์ กระเทย เป็นเรื่องวิปริต”
“พวกนี้แม่งผิดธรรมชาติ ธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมามีสองเพศ พวกนี้ฝืนธรรมชาติ”
คำพูดที่เกิดขึ้นในสื่อออนไลน์ของประเทศไทยที่บ่งบอกว่า ประเทศไทยที่เป็นประเทศที่บอกว่า เป็นอิสระ เป็นประชาธิปไตยนั้นยังไม่ใช่ประเทศที่มีเสรีภาพต่อเพศที่สามหรือเพศทางเลือกได้อย่างแท้จริง อันเนื่องจากทัศนคติที่คับแคบทางความคิดที่ถูกหล่อหลอมมาจากในอดีตผ่านสื่อต่างๆที่ต่างมีธงตั้งขึ้นมาเลยว่า การเป็นเพศที่สามนั้นคือความผิดปกติ บางคนถึงกับบอกว่า การเป็นเพศที่สามนั้นเป็นถึงอาการป่วย บางคนถึงกับแสดงอาการบอกว่า เพศที่สามนั้นเป็นโรคติดต่อกันไปเลยทีเดียว
ทำไมคนไทยจึงเกิดอาการเกลียดเพศที่สามกันนักทั้งที่พวกเขาก็ไม่ต่างอะไรกับเราๆท่านๆเสียด้วยซ้ำไป
ครับ แน่นอนว่า มันเกิดมาจากสื่อที่สร้างภาพของเพศที่สามไปในเชิงนี้มาตลอดเวลา แต่เหนือสิ่งอื่นใดมันเกิดมาจากมายาคติภาพของสังคมที่หล่อหลอมมานานโดยให้เชื่อว่า โลกใบนี้มีแค่ชายและหญิงเท่านั้นและผลกระทบนี้ก็เกิดขึ้นกับใครหลายคนอยู่ใช่น้อย
ดังเช่นที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้
ไม่ได้ขอให้มารัก เล่าชีวิตของตัวละครสามคู่ที่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยแบ่งออกเป็นสามเรื่องที่เล่าคู่ขนานกันไปโดยเรื่องแรกเป็นเรื่องราวของ เจ้น้ำ(เพ็ญพักตร์) กระเทยสาวที่ผ่านการแปลงเพศไปเรียบร้อยแล้วที่เดินทางกลับมาเมืองเหนือเพื่อทำอะไรบางอย่าง เธอได้มีความสัมพันธ์คลุกคลีกับช่างเครื่องหนุ่มที่พึ่งอกหักกับแฟนที่กรุงเทพมา เรื่องที่สอง เล่าเรื่องเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ถูกพ่อบังคับให้บวชเณรเพื่อแก้ความผิดเพศในตัวลูก ซึ่งแน่นอนว่าเขาไม่ยอมบวชจนกระทั่งเขาได้พบกับหลวงพี่สุดหล่อเข้าทำให้เขาตัดสินใจบวชเป็นเณร และเรื่องสุดท้ายคือเรื่องราวของลูกชายเจ้าของร้านคาร์บาเรต์แห่งหนึ่งที่พัทยาที่เดินทางมาจัดการร้านของพ่อที่เป็นกระเทยที่พึ่งเสียชีวิตไป เขาได้สัมผัสชีวิตของเหล่ากระเทยที่ทำงานอยู่ที่นี่ ในขณะที่ตัวเขาต้องเผชิญหน้ากับทัศนคติรังเกียจเพศที่สามของตัวเองไปด้วย ซึ่งเขาก็ได้เผชิญหน้ากับความรู้สึกเมื่อได้ใกล้ชิดกับกระเทยคนหนึ่งและหลงรักกระเทยแปลงเพศอีกคนหนึ่งไปด้วย
สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของหนังเรื่องนี้นอกจากการแสดงชั้นยอดของคุณเพ็ญพักตร์ก็คือ การที่หนังเล่าเรื่องของเพศที่สามได้อย่างตรงไปตรงมาและที่สำคัญมีชีวิตชีวาในความที่มันควรจะเป็นแบบนั้นเสียที
กระเทยในหนังเรื่องช่างแตกต่างกับหนังกระเทยหลายเรื่องที่ถูกสร้างขึ้นมาในรอบหลายสิบปีผ่านการผลิตซ้ำหลายครั้งต่อหลายคนโดยการรับบทแสดงโดยผู้ชายโดยเฉพาะตลกที่ทำพวกเขาให้กลายเป็นตัวตลกเรียกเสียงหัวเราะโดยไม่ได้ใส่ใจความเป็นมนุษย์ของพวกเขา ดังนั้นภาพของกระเทยในห้วงความคิดของคนไทยจึงมีลักษณะเป็นตัวการ์ตูนที่สามารถแบ่งออกมาได้ด้วยคำสั้นๆก็คือ พูดหยาบคาย คิดแต่เรื่องผู้ชาย กระเทยที่เป็นตัวตลก กระเทยที่ไม่ใช่คน ซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นภาพมายาคติของคนไทยในที่สุดเมื่อนึกถึงกระเทยย่อมนึกถึงสิ่งที่ว่ามานี้ หรือแย่กว่านั้นก็ถึงขั้นเป็นตัวร้ายกันไปเลย(อย่างตัวละครในเรื่อง คนกินเมียที่ตัวร้ายเป็นเกย์ที่หลงรักพระเอกและทำการฆ่าภรรยาของพระเอกทุกคนจนพระเอกได้ฉายาว่า คนกินเมีย) นั้นเป็นการสะท้อนค่านิยมของสายตาคนไทยว่า ไม่เคยมองพวกเขาเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวกันเลยด้วยซ้ำไป แน่นอนว่าในหนังเองก็สะท้อนภาพนี้ผ่านสายตารังเกียจของผู้คน หรือสายตาของ ต้นไม้ ลูกชายเจ้าของคาบาเรต์เองก็ตามที่เขานั้นแสดงอาการรังเกียจนี้ออกมาหลายต่อหลายครั้ง
ทว่าสำหรับกระเทยหรือเพศที่สามในหนังของคุณธัญญ์วารินนั้นจึงค่อนข้างแตกต่างไปจากกระเทยที่เรารู้จักไปพอสมควรเพราะ เรื่องราวของพวกเขาในนี้ดูเป็นธรรมชาติ มีชีวิต มีจิตใจยิ่งกว่าหนังกระเทยเรื่องใด ภาพในหนังนั้นเข้ากับคำว่า จงยอมรับในสิ่งที่เราเป็นเพราะ มันเปี่ยมไปด้วยความสุขยิ่งที่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่การฝืนตัวเองด้วยการเก็บทุกอย่างซ่อนไว้ใต้พรมจนทำให้เรื่องราวทุกอย่างเลวร้ายไปมากกว่านี้
ดังนั้นหนังเรื่องนี้จึงเป็นการตั้งคำถามต่อมายาคติทางเพศที่กล้าหาญชาญชัยอย่างยิ่งในสภาพสังคมไทยที่แสนจะบิดเบี้ยวและเต็มไปด้วยวาทกรรมและมายาคติที่ถูกสร้างขึ้นมากมายจนทำให้เพศที่สามกลายเป็นต้องเลือกที่จะยอมทำตามมายาคตินั้นเพื่ออยู่ในสังคมหรือสัตว์ประหลาดในสังคมไปเลย
นั้นคือ มายาคติของความเป็นชายหรือมายาคติของความเป็นพ่อนั้นเอง
มายาคตินี้ก็คือ เป็นผู้ชายจะต้องเป็นผู้นำครอบครัว ต้องมีความสมชาย ต้องบวชเพื่อทดแทนบุญคุณ ต้องแต่งงานกับผู้หญิงและมีลูกเพื่อสืบสกุล เป็นต้น ซึ่งเป็นมายาคติที่สังคมเบ็ดเสร็จที่ชายทุกคนต้องพึงกระทำ (ซึ่งหลายอย่างในชีวิตของเราก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมมายาคตินี้อาทิ ของเล่นอย่าง รถ ปืน ดาบ ที่เป็นเหมือนของเล่นที่ใช้เพื่อส่งเสริมเพศสภาพของเด็กชายให้มีความสมชาย) ดังนั้นหากชายใดไม่สามารถทำตามมายาคติที่ว่าได้ก็จะมี วาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมารองรับอย่าง ถ้าไม่บวชก็เสียชาติเกิด วาทกรรมว่าด้วยเรื่อง การเกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ที่นำความเชื่อไปผูกกับมายาคติความกตัญญูยิ่งทำให้หลายคนยินยอมที่จะทำตามมายาคตินี้ด้วยความกลัวต่อวาทกรรมนี้อย่างง่ายดาย ครับสำหรับเพศชายอาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่กับเรื่องนี้ แต่กับเพศที่สามล่ะ พวกเขาจะทำอย่างไรกัน บางคนอาจจะยอมเสียสละส่วนตนเพื่อบวชไปงั้นๆอย่างน้อยก็ทำให้ญาติๆหรือพ่อแม่สบายก็พอ (แต่ก็มีคำถามต่อมาว่า ไม่บวชจะบาปไหม หรืออาจจะมองไปมากกว่านั้นก็ตรงคำถามว่า การบวชนั้นคือ การแสดงฐานะทางสังคมของครอบครัวหรือไม่) ดังนั้นการที่เป็นกระเทย เกย์ แล้วบวชไม่ได้ จึงเป็นเรื่องผิดในสังคมไทยไป(ดังนั้นถามต่อไปว่า การไม่บวชแต่ดูแลพ่อแม่ได้ตลอดชีวิตถือเป็นบาปหรือไม่ ทดแทนการบวชได้ไหม)
ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่ง
ดังนั้นการที่พ่อบังคับให้ลูกบวชเป็นเณรนั้นก็เพื่อต้องการจะทำลายความเป็นเกย์ เพศในตัวลูก(ซึ่งพ่ออาจจะมองอาการแบบนี้เป็น เสมือนผีเข้าที่ต้องใช้การปัดเป่าด้วยศาสนา) หลายคนบอกว่า ศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาที่มีเสรีภาพแต่เอาจริงก็ไม่ใช่แบบนั้น เพราะอย่าลืมว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงห้ามไม่ให้บัณเฑาะก์บวช (ซึ่งคือกระเทยแท้ที่มีทั้งสองเพศหรือขันที) ซึ่งหากมองก็พบว่า มายาคติรังเกียจเพศที่สามนี้มีมานานแล้วจริงๆ
และที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ มายาคตินี้ได้ครอบงำความคิดของเพศที่สามไทยหลายคนจนต้องแต่งงานกับผู้หญิง(เพื่อปกป้องสถานะทางเพศของตัวเอง) มีลูก ทำงาน มีบ้าน ซึ่งเป็นไปตามมายาคติที่กำหนดเอาไว้ (แน่นอนว่าในสังคมไทยมีแบบนี้เยอะมาก) และแน่นอนว่ามันเสี่ยงต่อการที่ความจะแตกและทำให้ครอบครัวแตกแยกและส่งผลมาถึงคนรุ่นลูกแบบเดียวกับต้นไม้เจอและส่งผลให้เขาเกลียดพ่อของตัวเองแบบเข้าไส้ โดยที่เขาไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับตัวพ่อเลย
ที่จริงแล้วการตายของพ่ออาจจะทำให้เขารู้สึกโล่งใจที่พ่อที่ผิดปกติในความคิดของเขาได้ตายลงไป ทว่าการมาค้นพบอดีตของพ่อเขาก็ทำให้เขาได้พบกับสิ่งเขาไม่รู้เกี่ยวกับพ่อของเขาว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนพ่อยังรักเขาเสมอ พ่อของเขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในทุกๆวัน ในโลกอันเสรีที่ไร้กรอบของมายาคติอันแสนคับแคบ พ่อไม่ได้ต้องการให้เขารักตัวพ่อ แต่ต้องการให้รู้ว่า พ่อรักเขามาแค่ไหนก็เพียงพอ
ดังนั้นตอนจบของหนังที่รวมสามเรื่องมารวมกันจึงเป็นภาพสะท้อนของอิสรภาพที่ได้มอบให้คนดูผ่านเรื่องราวของเพศที่สามที่เผชิญหน้ากับสิ่งที่ต่างๆมาตลอดชีวิต รวมทั้งตอนจบปลายเปิดที่ให้เราไปคิดเองว่า อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป
ดังนั้นของขวัญชิ้นสุดท้ายที่พ่อได้มอบให้ต้นไม้ก็คือ
อิสรภาพนั้นเอง
บล็อกของ Mister American
Mister American
(บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องเบาๆเพื่อให้เตรียมตัวกันให้พร้อมก่อนชมภาพยนตร์เรื่อง Prometheus)
Mister American
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับป๋าไมเคิ่ล ฮานาเก้ที่ได้รางวัลปาล์มทองอีกครั้งหนึ่งจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ Ffpภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Amour ที่เรียกได้ว่าเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งว่า ฝีมือการทำหนังของผู้กำกับคนนี้เป็นของจริงที่ยิ่งเวลาผ่านไปรสชาติการทำหนังของเขาก็ยิ่งเข้มข้นทุกทีไม่เหมือนผู้กำกับอีกหลายรายที่มือตกไปอย่างไม่น่าอภัย กระนั้นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับชายที่ชื่อว่า ไมเคิ่ล ฮานาเก้นี้ก็คือ แค่หนังเรื่องแรกของเขานั้นก็ปรากฏแววเก่งมาในทันที
และหนังเรื่องแรกของเขาก็คือ The Seven Continent นั้นเอง
Mister American
ถ้าเอ่ยชื่อของไมเคิ่ล ฮานาเก้ ถ้าไม่ใช่แฟนหนังจริงๆหลายคนอาจจะไม่รู้จักเขาเท่ากับผู้กำกับคนอื่นๆอย่าง ไมเคิ่ล เบย์ สปีลเบิร์กหรือคาเมร่อนก็ตาม แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่หลายคนมารู้จักผู้กำกับจากยุโรปได้ก็คงไม่พ้นนิยามหนังของเขาที่หลายให้คำว่า โหดเหี้ยม เลือดเย็น และน่าขนลุก โดยหนังที่หลายคนมักจะ
Mister American
(เนื้อหาบทความนี้อาจะเปิดเผยความลับของภาพยนตร์)
ผมเชื่อว่าทุกคนเคยมีความฝัน
ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยที่ฮีโร่ของญี่ปุ่นอย่าง อุลตร้าแมน ไอ้มดแดง ขบวนการห้าสีบุกจอโทรทัศน์ หลายคนในตอนนั้นยังเป็นเด็กตัวน้อยๆที่เฝ้ารอคอยหน้าจอที่สัปดาห์เพื่อจะได้ชมฮีโร่ของตัวเองปราบปรามเหล่าร้ายในหน้าจอที่หวังยึดครองโลก เราได้สนุกสนานกับการผจญภัยของพวกเขา บางคนอาจจะถึงขั้นอยากเป็นฮีโร่กับเขาบ้างเลยทีเดียว หรือบางคนอาจจะใฝ่ฝันที่จะได้เห็นฮีโร่ตัวจริงด้วยสายตาของตัวเอง
ซึ่งเด็กชายที่ชื่อ ฟิล โคลสัน คือหนึ่งในนั้น
Mister American
ครั้งหนึ่งเมื่อภาพยนตร์เรื่อง เฉือน ของผู้กำกับก้องเกียรติ โขมศิริ ได้ลงโรงฉายชนกับภาพยนตร์รัก Feel Good อย่างรถไฟฟ้ามาหานะเธอนั้นหลายคนที่ไปชมเรื่องนี้ต่างอึ้งกับภาพความโหดร้าย ของฆาตกรต่อเนื่องของไทยที่คาดว่าจะเป็นภาพยนตร์ฆาตกรต่อเนื่องที่น่าสนใจ เรื่องหนึ่ง และมีคำถามขึ้นมาว่า