Skip to main content

  “สิ่งที่เป็นความจริง เราไม่จำเป็นต้องเอามาพูดกันก็ได้ เราเอาเรื่องดี ๆ มาพูดกันดีกว่า” (1) คำพูดจากรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมท่านหนึ่งที่พูดในระหว่างเหตุการณ์แบนหนังเรื่องหนึ่งในปี 2554 ที่กลายเป็นข่าวใหญ่เมื่อมีคนบอกว่า หนังเรื่องนี้ละเมิดศีลธรรมอันดีของประชาชน จนหนังถูกแบน คำพูดของเขาได้บ่งบอกถึงทัศนคติของเขาต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้คิดเลยว่า หนังที่เขาเกลียดนั้นกำลังเล่าเรื่องสิ่งที่คนไทยรู้อยู่แล้ว แต่ไม่สามารถเอามานำเสนอบนแผ่นฟิลม์มีฉะนั้นจะมีการแบนหรือเซ็นเซอร์

ตาม พรบ ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้แบ่งการจัดเรตภาพยนตร์เอาไว้ 5 ประเภทได้แก่ หมวดส่งเสริม หมวดทั่วไป หมวด 13 ปีขึ้นไป หมวด 15 ปีขึ้น และห้ามอายุ 20 ปีลงไปชม และเรต ฉ หรือห้ามเผยแพร่ภายในราชอาณาจักร 
 
ซึ่งเรต ฉ นี้เองที่เป็นปัญหามากเพราะ มีหนังหลายเรื่องโดนแบนไปแล้วด้วยข้อหาขัดศีลธรรมอันดีของประเทศ ทำให้หลายคนต้องมาพิจารณาว่า ในเมื่อเรตแล้วจะแบนไปทำไม
 
นั้นทำให้คำพูดของรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมในตอนนั้นที่ว่า ไม่ต้องเอาสิ่งที่เป็นความจริงมาพูดกันเด่นชัดทำให้หนังไทยหลายเรื่องหลีกเลี่ยงจะพูดถึงปัญหาต่าง ๆ ในประเทศหรือไม่ก็ต้องหาวิธีในการพูดถึงเรื่องนั้น ๆ โดยอ้อมไม่พูดตรง ๆ อาทิการทำหนังผี หรือ หนังตลกกันไปเลย
 
สมกับคำที่ว่า เรารู้ประเทศนี้มีอะไรบ้าง แต่ที่สำคัญเราบอกไม่ได้ ยิ่งผ่านสื่อแล้วยิ่งแล้วใหญ่
 
ท่ามกลางกระแสการเปิดประตูอาเซียนที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่ปี ทำให้หลายคนยิ่งกลัวว่า ความจริงจะทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยไปในสักวันทั้ง ๆ ที่ มันเป็นเรื่องที่คนไทยรู้แต่พูดไม่ได้ แม้กระทั่งจะเอ่ยถึงยังต้องฉุกคิดว่า จะโดนแบนหรือไม่ 
 
ช่างเป็นสถานการณ์เลวร้ายอย่างยิ่ง
 
หลายปีแล้วที่เราไม่มีหนังที่พูดถึงปัญหาต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมาหรือกระทั่งกล้าใส่ประเด็นหนัก ๆ ลงไปบอกเล่า เพราะหนังไทยหลายเรื่องเลือกจะหลับหูหลับตารักกันแบบไม่ลืมหูลืมตาราวกับโลกนี้เป็นสีชมพู 
 
ฟังดูแล้วหัวเราะไม่ออกนะครับ
 
 
หันหน้าออกไปทางใต้เดินทางสู่ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศที่บอกว่าเป็นประเทศอิสลามที่มีคนนับถือมากที่สุดในโลก แถมเมื่อพูดถึงวงการภาพยนตร์ก็คงไม่เป็นที่รู้จักเท่าใดนัก จนเรียกได้ว่า วงการภาพยนตร์นั้นเขาอาจจะตามหลังเราหลายปีแสงอยู่ไม่ใช่น้อยในความคิดใครหลายคน แต่ว่าในขณะที่ประเทศไทยกำลังหยุดนิ่งเพราะปัญหาภายใน วงการภาพยนตร์ก็กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หลังการมาของภาพยนตร์แอ็คชั่นมาร์เชียลอาร์ตอย่าง The Raid Redemption ที่เรียกกระแสความนิยมหนังต่อสู้ให้กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่เงียบไปนาน และกลับมาอีกครั้ง
 
 
เรื่องราวของ The Raid นั้นเป็นเรื่องราวของรามา ตำรวจหนุ่มที่ออกเดินทางไปทำภารกิจรวมกับหน่วยสวาทของเขาที่ได้รับภารกิจลับในการบุกมาจับกุมพ่อค้ายาเสพติดรายใหญ่ของประเทศภายในเซฟเฮ้าส์แห่งหนึ่งกลางเมือง ทว่าภารกิจที่ดูเหมือนง่าย ๆ คล้ายกับการปอกกล้วยเข้าปากกลับกลายเป็นการต้อนหนูเข้ากรงแทน เมื่อพวกพ่อค้ายาเสพติดดันรู้ตัวเสียก่อนและปิดทางออกทั้งหมดก่อนจะประกาศให้ใครที่ฆ่าตำรวจได้จะได้เช่าห้องที่อยู่ฟรีตลอดชีพส่งผลให้คนทั้งตึกกลายเป็นศัตรูและหันมาไล่ฆ่าตำรวจกันอย่างบ้าคลั่ง การต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดของตำรวจที่เหลือรามาจึงเริ่มขึ้น
 
สิ่งที่น่าสนใจในหนังเรื่องนี้นอกจาก ฉากต่อสู้ที่มันดุเดือด รวมทั้งการโชว์ศิลปะการต่อสู้ที่หลายคนถึงกับเอียงหัวว่า มันคืออะไร อย่าง ปันจักสีลัต ให้หลายคนได้รู้จักแล้ว ความโดดเด่นของหนังก็คือ การพูดถึงสภาพสังคมอินโดนีเซียได้อย่างเข้าใจ เราจะเห็นว่า ประชาชนในประเทศอินโดนีเซียนี้ค่อนข้างจะยากจนอย่างยิ่ง เรามองเห็นสภาพการเป็นอยู่ของพวกเขา เราก็พอเข้าใจได้ว่า เหตุใดพวกเขาถึงหยิบมีดหรืออาวุธอื่น ๆ มาไล่สังหารตำรวจตามคำสั่งของเจ้าพ่อที่บอกว่าจะให้เช่าห้องฟรีนี้ ซึ่งหากพิจารณาดูจากรายได้ของคนอินโดนีเซียแล้วเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4458 เหรียญต่อปีต่อคน ซึ่งน้อยกว่าคนไทยมาก บวกกับประชากรที่มีมากที่สุดในประเทศอาเซียนยิ่งทำให้ประเทศพัฒนาได้ช้ามาก ๆ 
 
 
จึงไม่น่าแปลกใจที่เราเห็นคนในตึกยอมมาเสี่ยงไล่ฆ่าตำรวจเพียงเพื่อการเช่าห้องตลอดชีวิตนั้นเอง
 
นอกจากหนังได้ทำให้เห็นภาพทัศนคติของประชาชนต่อตำรวจ หรือ ระบบราชการของประเทศนี้ว่า เน่าเหม็นมากขนาดไหน เพราะ เราได้รู้จากปากของพ่อค้ายาเสพติดว่า ตำรวจใหญ่ ๆ ในกรมจะกำจัดพวกเขาทิ้ง เพราะ พวกเขาไปทำลายเส้นทางธุรกิจของพวกเขากัน และที่สำคัญเขาจ่ายให้พวกใหญ่ ๆ โต ๆ เยอะแยะ
พวกแกไม่รอดแน่ ถ้ากลับไป
 
นั้นทำให้เรามองเห็นภาพของระบบราชการของอินโด ไม่สิ หลายประเทศรวมทั้งไทยเองที่ระบบราชการเอ่ย ตำรวจเอ่ย ต่างไม่สามารถพึ่งพิงอะไรแถมยังเป็นส่วนหนึ่งของความโสมมในประเทศนั้น ๆ เสียอีก ทำให้ประชาชนเลือกที่จะตั้งแง่ไว้ก่อนเลยว่า
 
ตำรวจเป็นคนเลว
 
ซึ่งพฤติกรรมนี้ได้ถูกสะท้อนจากชายผู้เช่าห้องชั้น 7 ที่แสดงอาการไม่ชอบใจพวกตำรวจเท่าใดนักที่พวกตำรวจมีพฤติกรรมไม่ดีกับเขา ทั้งกี่พูดจาไม่สุภาพกระทั่งการด่าทอจน รามา พระเอกของเรื่องต้องบอกกับชายผู้เช่าห้องคนนี้และต่อว่าตำรวจที่ทำแบบนั้นไปแล้วพูดว่า ตำรวจไม่ได้เลวกันไปหมดทุกคนอย่างที่คิดและเขาก็แสดงให้เห็นในเรื่องว่า ตำรวจไม่ได้เลวทุกคนจริง ๆ นั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมชายคนนี้ถึงยอมเปิดประตูห้องให้พวกรามามาซ่อนในขณะที่หนีจากแก๊งมีดมาเชเต้ที่กำลังไล่ล่าพวกเขา ทั้ง ๆ ที่พวกเขากลัวจะต้องเดือดร้อนเพราะเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป
 
 
 
นอกจากนี้หนังยังแสดงให้เห็นภาพของการชิงดีชิงเด่นในที่ลับของตำรวจผ่านตัวตำรวจเก่าที่มากับทีมด้วย และเขานี่เองที่ทำให้เรารู้ว่า เขาแอบมาทำภารกิจนี้โดยไม่มีใครรู้ ซึ่งเป้าหมายของเขาคือการจับตัวพ่อค่ายาคนนี้ไปเพื่อแลกกับลาภยศเพิ่มเติม ทว่าการตัดสินใจของเขาได้นำมาสู่ความตายของคนในทีมโดยไม่มีใครรู้เลย
 
หลายคนมองว่า หนังเรื่องนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับหนังบู้ของฮ่องกงในยุคก่อน ๆ ที่ชอบพูดถึงเรื่องตำรวจ โดยเฉพาะหนังของเฉินหลงหลาย ๆ เรื่องที่มักจะตั้งคำถามถึงระบบยุติธรรมและราชการเสมอ ซึ่ง The Raid นั้นตัวผู้กำกับก็บอกว่า เขาเอาพล้อตแบบนี้มาจากหนังฮ่องกงพวกนี้แหละครับ และที่น่าสนใจอย่างก็คือ ประเด็นนี้ไม่เคยล้าสมัยไปเลยจนกระทั่งปัจจุบันและที่สำคัญ
 
เป็นเกือบทุกประเทศ
 
เหมือนกับปัญหายาเสพติดที่ไม่ว่าประเทศไหนก็มีทั้งนั้น
 
นอกจากนี้ตัวหนังแทบจะไม่มีความเป็นชาตินิยมเลย หากเปรียบกับหนังต่อสู้เรื่องดังอื่น ๆ ไม่ต้องไปไกลมากครับ อย่าง องค์บาก เราก็เป็นหนังต่อสู้ชาตินิยมสุดขั้วด้วยการสร้างตัวละครคนไทยให้ต่อกรกับชาวต่างชาติที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อประเทศนี้ และคู่ต่อสู้ของจา พนม คนสุดท้ายนั้นเป็นนักมวยพม่า
 
 
 
ที่บ่งบอกว่าประวัติศาสตร์ไทยนั้นเป็นตัวกำหนดชาตินิยมในตัวคนไทยอย่างแท้จริง หรืออย่างเรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่พูดถึงการบุกรุกของต่างชาติที่เช้ามากอบโกยของสำคัญของชาติไป (ในที่นี้คือช้าง)  หรือกระโดดไปแถวฮ่องกงยกตัวอย่าง หนังอย่าง Ip Man ที่เล่นกับความทรงจำอันเจ็บปวดของคนจีนที่มีต่อต่างชาติที่มาย่ำยีอย่าง ญี่ปุ่น หรือ ฝรั่ง เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าหนังต่อสู้ส่วนมากจะอยู่ในวาทะชาตินิยมเกือบทั้งหมด
 
 
หรือจะเป็นเพราะ ตัวหนังอย่าง The Raid นั้นไม่ใช่ผู้กำกับที่เป็นคนอินโดนีเซียกำกับกันแน่ ถึงไม่มีวาระชาตินิยมในหนังเลยด้วยซ้ำไป 
 
หรือเพราะเป็นคนชาติอื่น (ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นเวลล์) เลยสามารถวิพากษ์ประเทศได้โดยใช้สายตาของคนนอกได้อย่างมีอิสระกันแน่
 
ทฤษฏีนี้สามารถยืนยันได้หากเราหันมามองหนังที่สร้างโดยชายต่างชาติและมองประเทศไทยด้วยสายตาที่ต่างออกไปจากที่ไทยเราเห็น อย่าง หนังอย่าง ศพไม่เงียบ ที่บอกเล่าภาพของศาสนาและพระในมุมมองที่ต่างออกไปจากที่เราเห็นทุกเมื่อเชื่อวัน หรือหนังฮอลลีวู้ดอย่าง Hangover 2 ที่มองประเทศไทยเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยเซ็กซ์ ยาเสพติด และเรื่องอีกหลายเรื่องที่คนไทยไม่สามารถพูดได้เลยด้วยซ้ำไป
 
มีคนบอกว่า บางครั้งคนบ้าก็มองอะไรได้ดีกว่าคนปกติทั่วไป ฉันใดฉันนั้น คนในประเทศไทยก็ไม่อาจจะมองเห็นปัญหาที่คนภายนอกเห็นได้เช่นกัน

หรือเราจะปล่อยให้คำพูดที่ว่า สิ่งที่เป็นความจริง เราไม่จำเป็นต้องเอามาพูดกันก็ได้ เราเอาเรื่องดี ๆ มาพูดกันดีกว่า นั้นถุกหล่อหลอมกลายเป็นเบ้าหลอมความจริงของประเทศนี้กัน

ในเมื่อสื่อสะท้อนความจริง และหากสื่อไม่สามารถพูดความจริงได้ จะเรียกว่า สื่อได้หรือ
 
หรือจะให้ใครสักคนพูดว่า บางเรื่องตายก็บอกไม่ได้กันแน่

อืม...น่าคิดนะครับ
 
(1) ข้อมูลจากวารสาร Crop Magazine ม.กรุงเทพ ฉบับที่ 2 ปี 2554 บทสัมภาษณ์ค้นหาความลับในสวนหลังบ้าน 

บล็อกของ Mister American

Mister American
ปี 2515 ณ หมู่บ้านห่างไกลผู้คนในจังหวัดกาญจนบุรี แย้ม เด็กสาวผู้เคยป่วยหนักจนเกือบตายได้มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น เธอเริ่มพูดจาด้วยคำหยาบคายกับคนในครอบครัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เริ่มโกหกและยุแยงให้คนในบ้านแตกคอกัน รวมทั้งลุกขึ้นมาตอนกลางคืนเพื่อนกินของสดทำให้คนในครอบครัวโดยเฉพาะ หยาด เกิดความสงสัยขึ
Mister American
สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน           “ความตาย...มันฆ่าเฮาได้แค่ครั้งเดียว แต่ความฮัก มันฆ่าเฉาไปเรื่อยๆๆ จนกว่าเฮาสิตายพุ่นเด้”บักมืด 
Mister American
                ระหว่างที่เขียนต้นฉบับบทความนี้อยู่นั้น การโหวตประธานรัฐสภาและรองประธานสองคนการประชุมสภาวันแรกได้จบลงแล้ว และ ผลคือ คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนใหม่ ร่วมกับ รองประธานสภาสองท่านจากพรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อ
Mister American
            คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดในซีซั่นนี้ที่เรียกว่า สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับบรรดาคนดูอนิเมชั่น และ คนดูหนังหลายคนได้เท่ากับ อนิเมชั่นซีรีย์เรื่อง Oshi no Ko หรือ ชื่อไทยว่า เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ผลงานดัดแปลงจากมังงะขายดีของ อากะ อาคาซากะ ที่ได้ฤกษ์ออกฉายไปเมื่อ
Mister American
                "พรมนิ้วลงไป หวังให้อัสนีกึกก้องด้วยละอองแสง                   กระหน่ำตีเข้าไปให้ถึงปลายทางของความเจ็บปวด
Mister American
                พอ Hellraiser ภาคใหม่จะลงฉายใน Hulu กันในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ (ซึ่งไทยจะได้ดูกันใน Disney Plus) นับว่าเป็นการกลับมาอีกครั้งของพินเฮดและเหล่าซีโนไบร์ต หนึ่งในไอค่อนของโลกสยองขวัญที่โด่งดังไม่แพ้ เฟรดดี้ ครูเกอร์ แห่ง Nightmare of elm street , เ
Mister American
พึ่งจบกันไปหมาด ๆ สำหรับอนิเมชั่นเรื่องดังประจำซีซั่นนี้อย่าง Lycoris  Recoli จากค่าย A-1 Picture ที่นอกจากจะเป็นม้ามืดประจำซีซั่นนี้ที่ได้รับความนิยมแบบถล่มทลายจนแซงหน้าบรรดาอนิเมชั่นฟอร์มยักษ์เรื่องอื่น ๆ ไปแบบไม่มีกังขา โดผลโหวตจากสำนักอนิเมชั่นต่าง ๆ โหวตให้เรื่องนี้อยู่
Mister American
“ทำไมถึงไม่มีหนังสัตว์ประหลาดไทยดี ๆ ออกมาสักทีวะ ?”
Mister American
คงไม่ต้องบอกว่า ณ ช่วงเวลานี้ หลาย ๆ คนคงให้ความสนใจกับการชุมนุมของบรรดาหนุ่มสาววัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษาคนรุ่นใหม่ที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ขับไล่เผด็จการ และ เปลี่ยนแปลงประเทศใหม่ กันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะปรากฏการณ์ของการชุมนุมที่เกิ