ปล.ผมเอางานเก็บข้อมูลที่ผมไปลงพื้นที่มาร่วมแลกเปลี่ยนครับ วันนี้อาจเปลี่ยนไปบ้างเพราะเอาเนื้อหามาล้วน "น่าคิดว่าสวัสดิการมีคนพูดเยอะหลายเครือข่ายไปเคลื่อนทางนโยบาย แต่ต้องถามแล้วรูปธรรม (อันที่จับต้องได้คืออะไรหน้าตาแบบไหน) เลยลองเอามาแลกเปลี่ยนกันครับ" ว่าจากการทำงานของเครือข่าย จันทรบุรี ตราด ที่เอาทุนทางสังคมมาจับและเป็นตัวเล่นนั้น ฐานการเงินสัจจะออมทรัพย์ พัฒนาเป็นกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือคนในชุมชน
พระสงฆ์คือนักจัดสวัสดิการ
"เครือข่ายพระสงฆ์เพื่อสวัสดิการผนึกพลังเพื่อการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชน จากหลักธรรมนำมาสู่หลักการเงินเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง"
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2553 - 1 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา เครือข่ายพระสงฆ์และผู้แทนศูนย์ต้นกล้าคุณธรรมสวัสดิการชุมชน ได้เปิดเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เวทีเครือข่ายพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน แนวทางพัฒนาศูนย์เรียนรู้องค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน” ณ วัดไผ่ล้อม จังหวัดตราด โดยเวทีดังกล่าวมุ่งเน้นให้เกิดการจุดประกายให้เครือข่ายพระสงฆ์เกิดความร่วมมือในการจัดสวัสดิการชุมชน รวมถึงหาแนวทางการประสานหลักศาสนธรรมเพื่อพัฒนาแนวทางในการพัฒนชุมชนและระบบสวัสดิการอย่างยั่งยืน
ในวันที่ 31 มกราคม 2553 เป็นกิจกรรมใหญ่ที่รวมกัลยาณมิตรทางธรรมและเครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการทุกสารทิศต่างมาร่วมกันทั้งในจังหวัดตราดและพื้นที่ใกล้เคียง ในวัน“วันมงคลเสวนา” โดยกิจกรรมประกอบด้วย ตลาดนัดโพธิสัตว์ค้าขายโดยชุมชนและธนาคารขยะเป็นต้น กิจกรรมทั้งหมดจะนำดอกผลจากการจำหน่ายและประมูลสินค้ามาเข้ากองทุนสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อการพัฒนาสวัสดิการร่วม และกิจกรรมที่เป็นสีสันของงานของงานคือ “วงเสวนากองทุนสวัสดิการเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” ในพื้นที่ลานธรรมที่ทุกคนต่างมาร่วมกันด้วยใจที่ศรัทธาร่วมกัน
พระอาจารย์ สุบิน ปณีโต เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมกล่าวว่า การนำธรรมมะมาเกี่ยวข้องกับการเงิน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันกับชุมช สิ่งนั้นคือความซื่อสัตย์และนำมาปรับเป็นหลักการของการของกองบุญสัจจะ แต่มนุษย์ทุกคนล้วนมีการเกิดแก่เจ็บตาย จะมีการหาหลักพึ่งพิงการดำเนินการอย่างไร และสร้างความเป็นปึกแผ่นของชุมชนจึงนำธรรมวมะเข้ามาเป็นฐานในการทำงาน จึงจำเป็นต้องมีสวัสดิการ ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาระบบสวัสดิการของวัดไผ่ล้อมจึงเป็น (การเงิน-กลุ่มสัจจะ-ระบบการเงิน-การจัดสวัสดิการ) ณ ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 62,542 คน มีงบประมาณหมุนเวียนรวมกว่า 1,097,416,703 บาท
และการนำหลักการมาปฏิบัติ เป็นรูปแบบสัจจะของความจริง เพื่อใช้หลักศาสนธรรมชี้นำให้เห็นหนทาง เห็นยามเจ็บจนและแก่ ถ้าเห็นว่าสำคัญเราต้องการทำให้เห็นกระบวนการทำงานให้ได้ ต้องสร้างสวัสดิการเพื่อให้ชุมชนเข็มแข็ง ต้องมาหาแนวทางการทำงานอย่างไรดีขึ้นยั่งยืนยิ่งขึ้น เราต้องประหยัดและมีความซื่อสัตย์เพื่อกระบวนการทำงานที่ยั่งยืน “จัดการคนไม่มีธรรมให้มีธรรมนำมาเข้าวงจรให้ได้” โดยอาศัยกระบวนการการเงินของชาวบ้าน การเชื่อมโยงแนวทางการทำงานเศรษฐกิจชุมชนตนเอง การบังคับให้สมาชิกเกิดการทำบัญชีครัวเรือน จึงสามารถมากู้เงินได้ของกลุ่ม และพัฒนากรรมการของกลุ่มให้เป็นไปตามทิศทางเดียวกัน พระอาจารย์ สุบิน ปณีโต กล่าวย้ำ
พระอาจารย์มนัส ขันติธัมโม ผู้ริเริ่มเครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ จังหวัดจันทบุรี และที่ปรึกโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อหาแนวทาง โดยกล่าวว่า กลุ่มสัจจะในจังหวัดจันทบุรีเกิดจากเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากจังหวัดตราด เห็นแล้วเกิดการประทับใจในกระบวนการการทำงานเพื่อการพัฒนานำมาใช้ในพื้นที่จันทบุรีได้ จึงเริ่มนำแนวคิดมามีการก่อตั้ง 10 มีนาคม 2539 ตำบลท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ใช้วัดเป็นฐาน ใน 1 วัด จะมี 1 กลุ่ม โดยมีวัดเข้าร่วมทั้งสิ้น125 วัด มีสมาชิกประมาณ 50,000 คน และงบประมาณโดยรวมประมาณ 500,000,000 บาท ที่ทำให้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วก็คือ ทุกคนอยากได้สวัสดิการ วิธีการทำให้สวัสดิการโตเร็วและเคลื่อนไปอย่างมั่นคงมากขึ้น คือการลดเงินปัญผลให้น้อยลงไปเรื่อยๆ และมีแนวทางในการชี้แจงเป็นแนวทางการดำเนินการอย่างชัดเจน การแบ่งเงินกำไรออกมาเป็น 2 ส่วน 70 เปอร์เซนต์ปันผล 30 เปอร์เซนต์กลับเขามาส่วนกลางกลุ่มสัจจเป็นเรื่องการบริหารจัดการก่อน แล้วจึงมีเงินที่สามารถเอามาจัดการสวัสดิการได้
ด้าน อาจารย์ ภีม ภคเมธาวี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้สะท้อนระบบภาครัฐในการจัดการระบบสวัสดิการและองค์กรการเงินในปัจจุบันว่า แนวทางเข้าถึงสวัสดิการของรัฐรูปแบบการจัดการ สิ่งที่ชุมชนทำอยู่ภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริมและเกิดการเข้ามาร่วมมือและเข้ามาร่วมได้อย่างไร รัฐบาลมีการใช้รูปแบบการจัดสวัสดิการที่มีหลายระดับ จากระบบการเสียภาษีของประชาชนให้กับภาครัฐ และกลไกการจัดการระยะที่ผ่านมารัฐบาลเริ่มใช้กลไกชุมชนเข้ามาเริ่มจัดกระบวนการทิศทาง อาทิ กองทุน กขคจ. รัฐโยนลงมาในหมู่บ้าน หมู่บ้านดำเนินการจัดการกันเอง หมู่บ้านไหนเข้มแข็งเกิดการหมุนเวียนพัฒนา แต่ว่าหมู่บ้านไหนอ่อนแอเงินทุนจะน้อลลงและยุบกลุ่มไปในที่สุด เช่นเดียวกับเงินกองทุนหมู่บ้านให้ตั้งกรรมการและเกิดการบริหารกันเอง หมู่บ้านไหนเข้มแข็งดูแลกันได้ หมูบ้านไหนอ่อนแอก็หมดไป ไม่สามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลพยายามใช้กลไกชุมชนเป็นการจัดการกันเอง ความแตกต่าง เงินที่รัฐบาลโยนลงมาคือ “การติดตามอย่างต่อเนื่องให้หมู่บ้านนั้นๆมีความเข้มแข็งขึ้น มีผู้ชี้นำอย่างที่ถูกควรก็จะเป็นแนวทางการดำเนินการอย่างถูกต้องต่อไป ต้องให้กระบวนการเรียนรู้ชุมชนช่วยกันเป็นพี่เลี้ยงพัฒนาระบบการบริหารจัดการ” ดังนั้นเงินเป็นทั้งสิ่งที่ดีที่ช่วยสร้างพลังองค์กรชุมชนและชุมชนให้เข้มแข็ง แต่อีกด้านก็เป็นเสมือนงูพิษ หรือ รูปแบบการทำที่ทำให้ชุมชนล่มสลาย
ดังนั้น ชุมชนจะเข้มแข็งและจัดการให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็ง การนำธรรมะไปสู่ชุมชน ผ่านเครืองมือที่เรียกว่า สวัสดิการชุมชนจะมีแนวทางการดำเนินงานอย่างไรอย่างยั่งยืนและเกิดประสานความร่วมมืออย่างจริงจัง ดร.ทิพวัลย์ สีจันทร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวทิ้งท้าย