เมื่อวัยกำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่น สิ่งหนึ่งที่เราคิดถึงก็คือ เรื่องทะเลาะวิวาท การต่อยตีกัน ด้วยว่า ในงานมหรสพต่างๆ เมื่อเรายังเด็ก เราก็เห็นมีการต่อยตีกันอยุ่เสมอของวัยรุ่น และผู้คนมากมายก็มีเรื่องเล่าเรื่องกายต่อยตี คุยโม้โอ้อวดอย่างไรก็ว่ากันไป ตามแต่ประกบารณ์ของใครๆ หรือการรวมกลุ่มตั้งก๊วน แก๊งจักรยาน แก๊งมอเตอร์ไซค์ก็ว่ากันไป และส่วนใหญ่เราก็มักจะเห็นว่า พื้นที่แสดงแสนยานุภาพของกลุ่มก๊วนเหล่านี้ ก็มักอยุ่ในงานมหรสพ
ยามนั้นเมื่อเราได้ยินว่าใครเป็นนักเลง คนส่วนใหญ่ก็มักกล่าวถึงในด้านลบ ดูเหมือนนอกจากกลุ่มของเขาแล้ว คนอื่นๆ โดยเฉพาะคนในรุ่นราวคราวเดียวกันก็จะคบกันแบบผิวเผินเท่านั้น จึงดูเหมือนว่า ถ้าใครถูกกล่าวขานว่าเป็นนักเลง ผู้คนก็จะไม่ชอบ หรือหนักเข้าก็ถึงขั้นสาปแช่งเอาเลยก็มี นั่นก็เป็นการรับรู้ของเราในช่วงเวลานั้น ช่วงเวลาที่เราจะโตมาเป็นวัยรุ่น
เมื่อเราผ่านช่วงเวลานั้นมาพอสมควร ได้พบ และรู้จักผู้คนมากขึ้น เราก็เริ่มได้ยินได้ฟังว่า คนในยุคก่อนนั้นต้องเป็นนักเลง นั่นหมายถึงความกล้าที่จะปกป้อง ความกล้ามนการกระทำการในภารกิจของตัวเอง และดูเหมือนสางสำคัญที่สุดของนักเลงก็คือ สัจจะวาจา ว่ากันว่ายุคหนึ่ง หลายพื้นที่ในสังคม ผู้คนต้องดูแลตัวเองมาก ทั้งจากโจรผู้ร้าย จากสิงสาราสัตว์ ดังเช่นผู้ชายในสังคมชนบทสมัยก่อนล้วนแล้วแต่เป็นพราน แล้วก็ต้องเรียนรู้ศิลปะการต่อสุ้เอาไว้บ้าง เช่นการชกมวย หรือการใช้อาวุธ หรือกระทั่งเรียนรู้เรื่องการขโมยวัว ควาย ตามวัวตามควยเป็นต้น
ว่าในแง่ความกล้าของนักเลง คงไม่ใช่ความกล้าแบบดันทุรัง แต่ความกล้านั้นต้องกล้าต่อความจริง และความดี ดั่งที่ในหนังจีบชอบพูดกัน "กล้าทำต้องกล้ารับ" หรือนี่ก็คือปัจจัยอันสำคัญของนักเลง เพราะเมื่อยามที่เราพลาด หรือผิดไป เราก็กล้าที่จะรับความผิดพลาดนั้น มิใช้ดันทุรังว่าเราต้องเป็นฝ่ายถูกอยู่เสมอ และจะเอาแต่ชัยชนะ โดยไม่สนใจเงื่อนไขปัจจัยใดๆ เลย
เมื่อเด็กผู้หญิงตัวน้อยบอกว่า "โตขึ้นหนูจะเป็นนักเลง" เราบอกเธอไปว่า "ดีแล้ว แต่ความหมายของการเป็นนักเลง คือการปกป้องช่วยเหลือผู้อื่น เพราะคนที่คอยรังแกคนอื่นนั้น ไม่ใช่นักเลง แต่เรียกว่า อันธพาล" อย่างนั้นหรือเปล่า.......