Skip to main content

การสูญเสีย ดูจะเป็นเงื่อนไขใหญ่ที่ทำให้คนเราตกไปสู่สภาวะที่เรียกว่า “เสียศูนย์”  มีคนเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อสามีตาย ภรรยาตกอยู่ในสภาวะเสียศูนย์ถึงยี่สิบปี ก่อนจะฆ่าตัวตายตาม  นี่เป็นเรื่องจริงหรือเรื่องโม้ก็ไม่อาจรู้ได้  แต่ความจริงที่เห็นโดยส่วนใหญ่ ความสูญเสียก็มักเป็นเรื่องที่กระทบกับหัวใจคนอย่างรุนแรง  เช่น อกหัก  หรือ คนที่เรารักตายไป  หรือความพ่ายแพ้  ซึ่งความพ่ายแพ้นี่ก็คือการเสียฟอร์ม มันก็คือการเสียศูนย์ความเป็นตัวตนนั่นเอง

การจมลงของมนุษย์อาจมีได้หลายแบบ  ที่เห็นเด่นชัดก็คือการปล่อยตัวเองไปตามอำนาจกิเลส ว่าก็คือ กลายเป็นขี้เมา ที่จะเอาเนื้อหาสาระอันใดมิได้อีก  นั่นอาจเป็นภาวะสยบยอม ทอดทิ้งตัวเองทั้งหมด  แล้วชีวิตเขาก็หยุดนิ่ง เหมือนกับว่ากาลเวลาไม่ได้เคลื่อนไป พวกเขากล่าวถ้อยคำเดิมๆ อารมณ์เดิมๆ ก่นด่า บ่นบ้าเดิมๆ

เข้าใจได้ว่า มนุษย์อาจตกไปสู่ภาวะนั้นได้เสมอ และทุกคน  หนักเบาอาจต่างกันไป หรือถ้าใครไม่ตกเลย นั่นก็คงเป็นโชคดีไป  แต่ส่วนใหญ่ ไม่มากก็น้อย ไม่หนักก็เบา ล้วนต้องประสบ  สิ่งสำคัญก็คือว่า  เมื่อตกลงไปแล้ว เราจะกลับมายังไง  การกับเป็นเรื่องสำคัญกว่ากระมัง ว่าจะตกหนักตกเบา  บางคนกลับมาได้เร็ว บางคนกลับมาช้า และมีบ้าง พบเห็นอยู่บ้าง คนที่ไม่ได้กลับมาอีกเลย


บางคนอาจกลับมา เพราะความรัก และผู้คนที่เกื้อหนุน  บางคนอาจกลับมาเพราะผู้มีปัญญาชี้นำ  บางคนก็กลับมา เพราะญาณทัศนะของตัวเอง อย่างหลังนี่คงต้องเป็นคนที่สะสมคุณงามความดี และการฝึกฝนมาไม่น้อย  ว่าก็คือ การกลับเป็นเรื่องสำคัญ และจะกลับมายังไง นั่นก็คงสุดแท้แต่การถึงพร้อมของแต่ละคน


ดูเหมือนว่า ทุกครั้งที่เรากลับมา (บางคนอาจจะเสียศูนย์หลายครั้ง) มันทำให้เรามั่นคงขึ้น (หรือเปล่า)  เราอาจเห็นรายละเอียดของชีวิตมากขึ้น เติบโตมากขึ้น  และการกลับมาก็เป็นการงอกงามมากขึ้น....กระมัง

บล็อกของ นาโก๊ะลี

นาโก๊ะลี
เรื่องเล่าจีนแต่โบราณเรื่องหนึ่ง  เล่ากันมาว่า  ผู้เฒ่าเซียนหมากล้อมขณะกำลังนั่งเดินหมาก เด็กหนุ่มที่เดินหมากอยู่ด้วยถามขึ้นว่า ผู้เฒ่าท่านรอบรู้ทุกเรื่องหรือเปล่า  ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  ท่านรู้เรื่องการปกครองหรือเปล่า ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  รู้เรื่องกฎหมายหรือเปล่า  ผู้เฒ่าบอกไม่รู้ รู้เรื่องดาราศาสตร์หรือเปล่า ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  รู้เรื่องศิลปะศาสตร์หรือเปล่า ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  แล้วท่านรู้เรื่องอะไรบ้าง ผู้เฒ่าบอก รู้เรื่องเดินหมาก  เราไม่รู้อะไรนอกจากเรื่องเดินหมาก  มนุษย์ควรมีสิ่งที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง จนแตกฉาน  หากรู้ทุกเรื่อง…
นาโก๊ะลี
ติช นัท ฮันห์  เล่าไว้ในหนังสือยองท่านตอนหนึ่งว่า  มีคนถามว่า เวลาใดเป็นเวลาที่คนเราจะมาความสุขมากที่สุด  ท่านตอบว่า เวลานี้ไง  เพราะว่าเมื่อเวลาผ่านไปสิบปี ยี่สิบปีข้างหน้า  เราจะรฤกถึงวันนี้อย่างมีความสุข   นี่เองมันจึงหมายความว่า ทุกวันล้วนเป็นวันแห่งความสุข สิ้นปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ความจริงมันก็คงเป็นวันเหมือนกับวันอื่นๆ  ผ่านมาและผ่านไป  คงมีผู้คนส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ตื่นเต้น กับเทศกาลปีใหม่  ปีนี้  คราวนี้   ขณะที่ผู้คนต่างหา และเฉลิมฉลองตามแบบตนช่วงเทศกาล  พวกเราหลายคน นัดกันที่กลางทุ่งนา หนองจ๊อม แม่โจ้  เชียงใหม่…
นาโก๊ะลี
ดูเหมือนว่า  บางคราวการอยู่ร่วมกันของผู้คนนั้นเป็นเรื่องยากลำบากนักหนา  ด้วยวิถี วิธีที่ผ่านไปของพวกเขาทั้งหลาย  สิ่งที่ปรากฏดูเหมือนว่าอะไรก็ตามที่มันมากเกินไป ล้วนเป็นเรื่องเลวร้าย  หรือบางอย่างมิได้ถึงขั้นเลวร้ายมันก็เกิดเป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่ความล้มเหลว สู่ความขาดพร่องของวิถี หรือการปิดกั้นการเรียนรู้  ดังว่า...สถานการณ์จำลองหลายครั้งในกิจกรรมการเรียนรู้  ที่เรามักพบเห็นผู้คนผู้....มากเกินไปทั้งหลาย เช่น เงียบเกินไป ก้าวร้าวเกินไป  นั่นก็เป็นตัวปิดกั้นการเรียนรู้ของชีวิต  ทั้งหมดนั้นมันบ่งบอกว่าบางมนุษย์นั้นชอบอยู่คนเดียว …
นาโก๊ะลี
บางเวลา  บางเหตุปัจจัยได้นำพาความคิดคำนึงย้อนกาลสมัยกลับไปยังวัยเยาว์  นั่นย่อมได้พบเห็นการเติบโตของตัวเอง  วันเวลาเหล่านั้นทั้งหมดจะว่ายาวนานก็ยาวนาน  จะว่ารวดเร็วก็รวดเร็วยิ่ง    ภาพของบางช่วงเวลาปรากฎเด่นชัด  ภาพของบางช่วงเวลาก็หลงเหลือเลือนลาง แล้วภาพของบางช่วงเวลาก้ลบหายไปหมดแล้ว  นับรวมไปถึงว่าคุณค่า หรือสูญเปล่าของเรื่องราวทั้งหลายในระหว่างนั้น  นั่นก็อาจเป็นธรรมดาอันหนึ่ง  ที่สุดแล้ว ภาวะความเป็นไปของเรื่องราว  การแสดงออก หรือถ้อยคำ ล้วนสะท้อนภาพภาวะภายในที่เป็นไประหว่างนั้น  เมื่อค่อยๆ…
นาโก๊ะลี
ฟังว่า... นานมาแล้ว นานจนไม่อาจนับว่ามันเป็นเวลากี่ช่วงอายุขัย  นับแต่กาลนั้น กองไฟลุกสว่างและอุ่น กลางค่ำคืนเหน็บหนาว  ทอดวางตามถิ่นที่อาศัยของมนุษย์  กาลนั้น นอกจากเป็นแสงสว่าง  นอกจากเป็นความอุ่น  นอกจากป้องกันภัยจากสัตว์ร้ายนานา  แต่กองไฟยังกลายเป็นสถานที่สำคัญอันหนึ่ง ว่าก็คือ ผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ใช้พื้นที่ข้างกองไฟนี้ในการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ทั้งนิทาน ปรัมปรา จารีต ประเพณี  สัพเพเหระ สารทุกข์ สุกดิบ ข่าวคราว  นั่นคล้ายว่าเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาสู่ชุมชน ล้วนต้องผ่านข้างกองไฟนี้  คืนแล้วคืนเล่า …
นาโก๊ะลี
เราทั้งหลายต่างรับรู้กันโดยพื้นฐานว่า  เหล่าศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นจิตรกร นักดนตรี กวี หรือแขนงอื่นใดล้วนสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาจากแรงบันดาลใจทั้งสิ้น  หลายคนให้ค่าคำนี้ยิ่งใหญ่ บางคนอาจน้อยลงไปนิด นั่นก็หาเป็นไรไม่  แต่ความจริงก็คือ ด้วยแรงบันดาลใจนั่นเองที่ส่งผลให้ศิลปินน้อยใหญ่ใหม่เก่าทั้งหลายสร้างสรรค์ผลงานอันมีความหมายและทรงค่า  หากปราศจากแรงบันดาลใจเสียแล้ว ศิลปินก็ไม่อาจสร้างงานได้อีกต่อไป  หรือเมื่อแรงบันดาลใจร่อยหรอลง ศิลปินก็อาจลดสถานะเหลือสภาพเพียงช่าง  แต่กระนั้นแรงบันดาลใจของช่างก็อาจคือการทำมาหาเลี้ยงชีวิต  เป็นสัมมาอาชีวะอันมีความหมาย …
นาโก๊ะลี
นักบริหารท่านหนึ่งกล่าวว่า  “ผู้ที่เรียนรู้จากประสบการณ์ถือเป็นคนฉลาด  แต่ผู้ที่เรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นด้วยเป็นคนฉลาดกว่า”  ในขณะที่ยุคสมัยการเรียนรู้ของมนุษย์ มุ่งเน้นไปที่เนื้อหาวิชาการ ทฤษฎีต่างๆ  แบ่งสายแยกแขนงแตกต่อ สืบค้นต้นตอแสวงหาความรู้ ไม่ก็สร้างความรู้ สร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรม หรือให้มันรับใช้ความเชื่อของตัวเองหรือกลุ่มของตัวเอง  นั่นก็ว่า ทฤษฎีของใครก็ของใคร  ทั้งนั้นก็คงใช่หรอก ว่าเป็นการแสวงหาความรู้ของมนุษย์  มากกว่านั้นหลายเจ้าทฤษฎีก็ขวนขวายหาวิธี สร้างวิธีเข้าสู่ความรู้โดยวิธีลัด …
นาโก๊ะลี
วันแต่ละวัน ซึ่งก็คือตลอดเวลาของชีวิต  มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธการสื่อสาร  มีบ้างหรอกวิธี หรือเครื่องมือสื่อสารที่สามารถตัดต่อ เรียบเรียงโดยผ่านการใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ด้วยเหตุด้วยผลว่าจะได้หรือเสีย ดีหรือร้าย  ในแง่นี้ก็อาจจะว่าเฉพาะไปที่การเขียน  ซึ่งมันเป็นการสื่อสารที่ค่อนข้างช้า  ความช้านี่เองที่ทำให้สามารถกลั่นกรองเรื่องราวเนื้อหานั้นๆ  แต่การสื่อสารที่รวดเร็ว ว่าก็คือการสนทนานั้นมันเป็นการสื่อสารทันใด  มันจึงทำให้กรองได้น้อย  มีบ้างหรอกความพยายามที่จะ ‘คิดก่อนพูด’ แต่มันก็ไม่ได้ใช้ได้ทุกครั้ง  ยิ่งขณะภาวะที่ความคิดคับแคบด้วยแล้ว …
นาโก๊ะลี
เรื่องเล่าในแถบถิ่นภูเขา  และเผ่าชนบนภูเขานั้น หลายต่อหลายเรื่อง หลายต่อหลายคราว มักมีเรื่องราวแห่งการเดินทาง และนักเดินทางอยู่เสมอ  ณ แผ่นดินนี้ จากเทือกผีปันน้ำ ถึงถนนธงชัย จรดตะนาวศรี  หมู่บ้านเล็กๆ แทรกตัวอยู่บนภูเขามานานนัก  นับจากหมู่บ้านที่มีสามหลัง ห้าหลัง ถึงหมู่บ้านที่มีนับสิบนับร้อยหลัง  จัดวางอยู่บนขุนเขาสลับซับซ้อน และนั่นเอง ขุนเขาใหญ่ที่ยาวเหยียดนี้จึงเต็มไปด้วยหนทางนับร้อยนับพันทาง  เชื่อมโยงต่อสายถึงกันและกัน  ในวิถีแห่งการเดินทางนี่เอง จึงทำให้เราพบเสมอว่า เมื่อเราเยือนถิ่นทางเหนือ เรามักคนจากทางใต้ อยู่ ณ แดนเหนือ …
นาโก๊ะลี
ค่ำ.....มหานครถนนสายหนึ่งคลาคล่ำไปด้วยรถราและผู้คน  ว่ากันว่าถนนสายนี้  มักเนืองแน่นไปด้วยรถและคนอยู่เสมอไม่เว้นวาย  หลายคนหวาดผวาที่จะผ่านเข้าไปในถนนสายนี้ โดยเฉพาะรถรับจ้างสาธารณะไม่ประจำทางทั้งหลาย  ตึกแถวร้านค้าขายของคึกคักจนหน้าร้านล้ำเข้ามาบนทางเท้า  ริมทางรถยนต์ผู้ค้าเร่ปูผ้า หรือตั้งโต๊ะเรียงรายเป็นแนวบนทางเท้า  นั่นทำให้ทางที่แคบอยู่แล้ว ยิ่งแคบลงไปอีกมาก  คนจำนวนหนึ่งต้องออกมาเดินอยู่บนทางรถยนต์  นั่นก็ยิ่งทำให้รถยนต์ที่มากอยู่แล้วต้องเสียทางวิ่งไปอีกหนึ่งเส้นทาง …
นาโก๊ะลี
ในช่วงชีวิตคนๆ หนึ่ง ว่ากันโดยส่วนใหญ่ตามประสบการณ์ที่เห็นอยู่  คงมีช่วงเวลาหนึ่งที่ชีวิตก้าวลงสู่ช่วงตกต่ำ  ในแง่นี้อาจจะหนักกว่าคำว่า “ขาลง”  ว่าก็คือชีวิตเริ่มล้มเหลว ทุกข์แสนสาหัส  ดูเหมือนช่วงเวลานั้นไม่ว่าจะพยายามเพียงใด  ทุ่มเทเพียงใด  มันก็ยังไม่มีอะไรดีขึ้น ยังคงแย่ลงๆ เรื่อยๆ  บางครั้งมันก็หนักหนาเกินกว่าจะทนไหว  ซึ่งแน่นอนว่าคนส่วนหนึ่งทนไม่ได้กับสภาวะนั้น  กรณีฆ่าตัวตายจึงเกิดขึ้น  เพราะเมื่อคนยิ่งแย่ลง  ต่ำลง  มันก็ได้เข้าสู่จุดศูนย์ของความเปราะบางมากที่สุด  บริเวณจุดศูนย์ของความเปราะบางนี้เองที่มันก็มีความข้น –…
นาโก๊ะลี
ดูเหมือนว่าขณะที่มุมหนึ่งหรือหลายมุมของโลกผันแปรไปในระบบระบอบของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เกิดนวัตกรรมสำหรับชีวิตมากขึ้นทุกวัน ตัวแทนหรือผู้ผลิตบอก กรอกข้อมูลเข้าไปในจิตไร้สำนึกของเราทุกวันว่า สิ่งทั้งหลายนั้นล้วนจำเป็นสำหรับชีวิต หรืออย่างน้อยมันก็ทำให้ชีวิตเราสุขสบายขึ้น หลายวาระที่สิ่งทั้งหลายนั้นมันไม่ได้นำพาเฉพาะความสะดวกเพียงอย่างเดียว แต่มันได้นำพาความยุ่งยากซับซ้อนมาด้วยเสมอ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว หรือบางครั้งเราก็เสพได้สะดวกขึ้น แต่ก็ทำให้เวลาส่วนหนึ่งหายไปจากชีวิตเรา หรือเมื่อเริ่มจากสิ่งหนึ่ง มันก็พาเราไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่ง หลายๆ สิ่ง…